• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2545 ง่ายแต่ลึก4 เริ่มต้นจากจุดสบายแล้วจะง่าย 451008

เริ่มต้นจากจุดสบายแล้วจะง่าย 451008

 

ต้องมองจึ่งเห็นไซร้ ในใจ

หมั่นหยุดมองเรื่อยไป สิ่งนั้น

มองพระเห็นพระใส ผุดผ่าน

เชื่อพ่ออย่าดื้อรั้น อย่างนี้เห็นใส

ตะวันธรรม

 


เริ่มต้นจากจุดสบายแล้วจะง่าย

วันอังคารที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕


Link ไฟล์เสียงนำนั่งสมาธิใน youtube 

ง่ายแต่ลึก​ 4 |EP.17| : เริ่มต้นจากจุดสบาย...แล้วจะง่าย 


เมื่อเราบูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไปตั้งใจให้แน่แน่ว มุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานกันทุกๆ คนนะ ให้นั่งขัดสมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตัก พอสบายๆ หลับตาของเราเบาๆ ค่อนลูก พอสบายๆ คล้ายๆ กับตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าไปบีบเปลือกตา อย่ากดลูกนัยน์ตา

 

แล้วก็ทำใจของเราให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น ให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ให้ปลดให้ปล่อย ให้วาง ทำใจให้ว่างๆ

 

คราวนี้เราก็มาสมมติว่า ภายในร่างกายของเราปราศจากอวัยวะ ปอด ตับ ม้าม ไต หัวใจ เป็นต้น สมมติเป็นที่โล่งๆ ว่างๆ เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพรง กลวงภายใน คล้ายๆ ท่อแก้ว ท่อเพชรใสๆ

 

สบายตรงไหน วางใจตรงนั้นไปก่อน

 

เราทำการบ้านกันมาทุกวัน ปฏิบัติธรรมก็สม่ำเสมอ เราเริ่มเข้าใจเรื่องการวางใจแล้ว บางคนพอนึกรวมใจไปที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่กลางท้องของเรา ในตำแหน่งที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ ก็ลงไปได้เลย อย่างสบายๆ โดยไม่เกร็ง ไม่กดลูกนัยน์ตา

 

แต่บางท่านยังทำไม่ได้ ก็ให้เริ่มวางใจ ณ จุดที่เรามีความรู้สึกว่าสบายไปก่อน ซึ่งจะเป็นตรงไหนก็ได้ โดยไม่คำนึงถึง ฐานที่ ๗ แล้วพอเริ่มรู้สึกว่า มันสบาย เริ่มรู้สึกว่าง่าย ค่อยๆ ได้สัมผัสความสุขจากสมาธิ คือ เริ่มรู้สึกว่า ตัวที่ทึบๆ หนาๆ มันเริ่มโปร่ง เริ่มโล่ง เริ่มว่างๆ เริ่มเคว้งคว้าง เหมือนอยู่กลางอวกาศ บางท่านตัวหายไปเลย เหมือนไม่มีตัว มีแต่ความรู้สึกของใจ

 

บางคนก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรเมื่อเจอภาวะโล่งๆ ว่างๆ ตัวหายไป สิ่งที่ควรจะต้องทำคือ ใจสบายตรงไหน ก็เอาตรงนั้นไปก่อน และพอถูกส่วนสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว เราค่อยนึกน้อมกลับเข้ามา หรือจะมีเครื่องหมายที่ใสๆ เล็กขนาดปลายเข็มก็มี ขนาดดวงดาวในอากาศก็มี จะปรากฏเกิดขึ้นตรงที่ใจเราหยุดนิ่ง เราก็จับภาพนั้น คือ ดูไปเฉยๆ ดูเผินๆ อย่าถึงกับจ้องนะ คือ จะว่าดูก็ไม่เชิง จะว่าไม่ดูก็ไม่ใช่ มันอยู่ระหว่างกลางๆ ถ้าหากเราดูเป็น คืออยู่ระหว่างกลางจริงๆ จุดใสๆ นั้นจะนิ่ง แต่ถ้าเราตั้งใจมากเกินไป มันจะหาย แต่ถ้าเผลอก็หายอีกเหมือนกันจ้องไม่ได้ จ้องก็หาย เผลอก็หาย

 

ทำตัวเหมือนหุ่นยนต์


ตรงความพอดีตรงนี้แหละ เราต้องทำให้ได้ด้วยวิธีคือ นิ่งเฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องตั้งคำถามในใจ ไม่มีข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น เหมือนตัวเราเป็นหุ่นยนต์ที่ไม่มีมันสมอง คิดไม่เป็นหรือไม่มีความคิด ต้องทำอย่างนี้นะ

 

คิดไม่เป็นนี่ ใช้ได้ตลอดเลย เพราะการศึกษาความรู้ภายในนั้น ไม่ต้องใช้ความคิดเลย เป็นความรู้ที่เกิดจากความไม่คิด คือ จิตหยุดนิ่งๆ บริสุทธิ์ แล้วก็สว่าง สว่างแล้วก็เห็น เห็นแล้วก็รู้ ซึ่งแตกต่างจากที่เราเคยเรียนรู้มา ต้องฟัง ต้องอ่าน ต้องคิด ต้องขีดเขียน แต่นี่ไม่ใช่ มันเป็นความรู้ที่เกิดจากหยุดกับนิ่ง ไม่มีความคิดเลย ใจจะปลอดความคิด จิตจะหยุดนิ่งๆ

 

ความรู้อย่างนี้เขาเรียกว่า “ภาวนามยปัญญา” ความรู้ที่เกิดจากหยุดกับนิ่ง แล้วก็สว่าง เห็นแล้วก็รู้ เราต้องเข้าใจขบวนการตรงนี้เสียก่อน ซึ่งมันกลับตาลปัตรกับความรู้ทางโลกที่เราได้เคยเรียนรู้มา

 

ถ้าทำอย่างนี้ได้ มันก็ง่าย เราก็จะศึกษาความรู้ภายในได้ แต่ถ้าไปใช้ระบบของความคิดแบบโลกๆ เราจะไม่มีวันเจอความรู้ภายในเลย ต้องจำคำนี้เอาไว้นะลูกนะ

 

เพราะฉะนั้น ต้องหยุดกับนิ่งอย่างเดียว วางใจตรงไหนก่อนก็ได้ พอจิตนิ่งนุ่มนวลควรแก่การงานแล้วค่อยน้อมเข้ามา เพราะสภาวะใจตอนนั้นมันจะแจ่มใส มีชีวิตชีวา จะตื่นตัวภายใน ซึ่งแตกต่างจากที่เราเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน

 

พอใจนิ่งนุ่มนวลควรแก่การงานแล้ว การน้อมเข้ามาตั้งที่ฐานที่ ๗ มันง่าย นึกนิดเดียวแค่นั้นเอง นึกแผ่วๆ เหมือนเป็น สำนึกลึกๆ ของความนึกคิดเท่านั้น มันก็ลงมาที่ฐานที่ ๗ แล้ว หลังจากนั้นใจของเราจะหยุดนิ่งๆ อยู่ที่กลางจุดใสๆ นิ่งเรื่อยไปเลย นิ่งอย่างสบายๆ

 

“สบาย” ตลอดเส้นทาง

 

ต้องสบายนะลูกนะ อย่าทิ้งคำนี้ ถ้านิ่งอย่างลำบากๆ รู้สึกอึดอัด คับแคบ ไม่มีความสุขมันไม่สบายเลยทั้งร่างกายและจิตใจ อย่างนั้นไม่ใช่แล้ว อย่าดันทุรังทำต่อ ให้ค่อยๆ ผ่อนมาคลี่คลายระบบประสาทกล้ามเนื้อ พอเรานึกคลาย จิตก็จะคลายตัว พอคลายก็สู่ภาวะ โล่งๆ ว่างๆ ก็นิ่งใหม่ ต้องฝึกกันอย่างนี้แหละ ฝึกให้ได้

 

แล้วเดี๋ยวเราเห็นดวงใสๆ มันจะสว่าง นั่งหลับตาแล้วไม่มืดเห็นดวงใสๆ เราก็ดูไปเรื่อยๆ นิ่งถูกส่วน มันจะขยาย แล้วก็จะถูกดึงดูดเข้าไปข้างใน ทั้งดึงทั้งดูดเลย เหมือนมีแม่เหล็กยักษ์ แม่เหล็กโลกดูดเข้าไป บางคนก็ตกใจ หวาดเสียว เพราะไม่รู้มันอะไร ไม่เคยเจอ ต้องตามใจนะลูกนะ อย่าไปฝืนใจ อย่าไปฝืนความรู้สึกอย่างนั้น ปล่อยไป ปล่อยคือทำเฉยๆ อย่างเดียว ไม่ใช่ดันนะ แล้วจะเป็นของมันไปเอง ต้องจำนะลูกนะ

 

ต้องมั่นใจ เราทำได้


การศึกษาความรู้ภายในไม่ยาก ถ้าเรารู้จัก เข้าใจ แล้วก็วางใจเป็น รู้ขั้นตอนของประสบการณ์ภายใน เดี๋ยวเราจะทำได้ทำเป็นกันทุกคนนั่นแหละ

 

ก่อนอื่น ลูกจะต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเองว่า คนอย่างเราทำได้ ขอให้รู้วิธีการที่ถูกต้องเท่านั้น เดี๋ยวเราจะทำให้ถูกต้อง แล้วเราก็ทำได้ ต้องมีความเชื่อมั่นตรงนี้ก่อน อย่าไปมัวลังเลสงสัยว่า เอ๊ะ คนอย่างเรากิเลสหนา ปัญญาหยาบ ผ่านชีวิตมาหมองเสียตั้งเยอะจะทำได้ไหมนะ เลิกคิดนะลูกนะ ความคิดชนิดนี้อย่าให้มี ถ้าเราไม่มั่นใจในตัวเราแล้ว เราจะไปทำอะไรได้หลับตาอ้าปากตักอาหารเรามั่นใจยังตักเข้าปากได้เลยนะ หลับตาเอานิ้วจิ้มรูจมูกก็ยังจิ้มได้ถูกต้อง เพราะฉะนั้นเราต้องมั่นใจว่า เราต้องทำได้ เพราะเรารู้วิธีการแล้ว ซึ่งก็บอกไปหมดแล้ว ไม่ได้ปิดบังอะไรเลย เราก็ต้องฝึกฝนไปเรื่อยๆ


ฝึกใจทุกที่ ทุกเวลา


ต้องรักอย่างหลงใหล ฝึกไป นั่งฝึก ยืนฝึก เดินฝึก นอนฝึก มีเวลาว่างเป็นฝึก เพราะนี่คือวิชชาชีวิต วิชชาที่สำคัญที่สุดของชีวิต เราจะเรียนจบดอกเตอร์กี่แขนงก็แล้วแต่ มันก็เป็นไปเพื่อให้ได้ปัจจัย ๔ มา หรือให้ได้รับความยกย่องนับถือเป็นเครดิตทางสังคมเท่านั้น แต่เวลาใกล้ละโลกเอามาช่วยชีวิต ก่อนไปสู่ปรโลกไม่ได้

 

สิ่งที่เรากำลังเรียนรู้เรื่องหยุดนิ่งนี่แหละ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เป็นวิชชาของชีวิตที่แท้จริง เพราะฉะนั้นต้องขยันฝึกฝนอยู่ในห้องน้ำก็ฝึกได้ จะขับถ่ายก็ฝึกได้ ฝึกบนโถนั่นแหละ ไม่บาป จะล้างหน้า แปรงฟัน จะอาบน้ำ ก็ฝึกได้ ล้างจาน ปัดกวาดบ้าน ฝึกได้ นั่ง นอน ยืน เดิน ตรงไหนเราก็ฝึกได้ เพราะเรารู้หลักวิชชาอยู่แล้ว

 

หลักวิชชา


สติ สบาย สม่ำเสมอ หยุดเป็นตัวสำเร็จ วางใจเบาๆ สบายๆ จะนึกเป็นภาพก็ได้ หรือจะไม่นึกเป็นภาพ ภาพเป็นดวงก็ได้ องค์พระก็ได้ หลวงปู่ คุณยายก็ได้ ผลหมากรากไม้ เพชรนิลจินดา ได้ทั้งนั้น ยกเว้นภาพที่นึกแล้วใจตกต่ำ ถ้านึกแล้วใจสูงส่ง บริสุทธิ์ นึกได้

 

เรารู้หลักวิชชาแล้ว วิธีนึกก็สอนหมดแล้ว ให้เบาๆ สบายๆ

 

หนักเราก็รู้ เบาเราก็รู้ เวลานึกหนักๆ ร่างกายจะบอกเรา มันจะอุทธรณ์ร้องโวยวายเลยว่า ไม่ถูกวิธี ปวดลูกนัยน์ตา ตึงหน้าผาก ปวดหัว ท้องเกร็ง นิ้วกระดก ไหล่ยก เบื่อ ชักท้อ อยากเลิกนั่ง เมื่อไรจะหมดเวลาสักที กายและใจเขาอุทธรณ์บอกเราเราก็อย่าไปดันทุรังทำ ต้องปรับยุทธวิธีใหม่

 

ถ้าทำถูกต้อง ถูกวิธี รู้สึกนั่งแล้วสบ๊าย สบาย ใจขยาย ร่างกายขยาย โล่ง โปร่ง เบา ใจนุ่มนวลควรแก่การงาน รู้สึก เวลาหมดเร็วจังเลย ไม่อยากให้หลวงพ่อหรือพระอาจารย์สัพเพฯ เลย อยากนั่งนานๆ ก้นเราเหมือนมีกาวชั้นดีตรึงเราติดไว้กับพื้น หรือบางทีเรานั่งงอๆ ตัว พอถูกส่วนเข้า ตัวมันยืดตรงขึ้นมาเอง เรามีความรู้สึก เอ๊ะ วันนี้เรานั่งสง่าจังเลย ชอบจังเลย รู้สึกสบ๊าย สบาย รู้สึกหน้ามันยิ้ม อยากยิ้ม อยากแย้มเป็นไปเองเลย อย่างนี้ถูกวิธี เพราะฉะนั้นกายและใจจะบอกเราเองว่า ถูกวิธี พอถูกวิธีเราก็ทำต่อไป ถ้ายิ่งนั่งหน้าบึ้ง คิ้วขมวดแก่ลงไปทุกทีเลย ก่อนนั่งอายุ ๒๐ ปี พอเลิกนั่งอายุ ๓๐, ๔๐ ปี นั่นไม่ถูกวิธีแล้ว

 

เราได้เรียนรู้ ได้เข้าใจแล้วว่า อย่างไหนผิดวิธี อย่างไหนถูกวิธี เราก็ต้องเชื่อมั่นว่า เราต้องทำได้ เหลืออย่างเดียวฝึกไปเรื่อยๆ แล้วก็หมั่นสังเกต เราจะได้พบเหตุแห่งการบกพร่องและช่องทางแห่งความสำเร็จ

 

ถูกส่วน ดวงก็ใส ใจก็ใส แตะเบาๆ ดวงก็ขยาย เดี๋ยวก็เข้าถึงดวงใหม่ มันจะเหมือนตกศูนย์ วูบ เอ้า ถึงอีกดวงแล้ว พอนิ่งต่อไป เข้าถึงอีกดวงแล้ว สุกใสขึ้น สว่างขึ้นไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็เข้าถึงกายในกาย ถึงองค์พระ ถูกตามส่วนที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านได้ค้นพบมา มีอยู่ในตัวของตัวท่านและในมนุษย์ทุกคน รวมทั้งตัวเราด้วย

 

วันไหนนั่งดี ให้นั่งต่อ


ฝึกไปเรื่อยๆ อย่าเกียจคร้าน อย่าผัดวันประกันพรุ่ง แล้ววันไหนนั่งดี อย่ารีบเลิกเสียก่อนนะลูกนะ โดยคิดว่า เออ วันนี้เรานั่งดีจัง นอนเสียก่อนเถอะ ไว้พรุ่งนี้นั่งใหม่ เราจะนั่งให้ดีกว่า วันนี้ อย่าประพฤติ อย่าทำนะลูกนะ เพราะโอกาสที่จะนั่งถูกส่วนอย่างนี้ มันหายาก เราลงทุนนั่งมาก็เพื่อการนี้ เมื่อมาถึงตรงนี้อย่าไปห่วงเรื่องการนอน เราหลับมาตั้งหลายสิบปีแล้ว จะอดนอนสักคืนหนึ่งจะเป็นไรไป นั่งต่อไปเรื่อยๆ นะลูกนะ อย่าเลิก

 

พอถึงเวลาร่างกายจะบอกเราเองว่า อยากพัก ถ้าร่างกายบอกเราอยากพักผ่อน เราก็อย่าไปฝืนธรรมชาติ เราก็นอนไปพักเพราะร่างกายอยากพัก ไม่ใช่ร่างกายยังไม่พร้อมที่จะพัก แต่ใจกังวล กลัวจะหลับน้อย ตื่นมาหน้าจะไม่นวล ไม่ใส กลัวไปงัวเงียที่ทำงาน ทำให้ขาดความมั่นใจ อย่าไปเลยเถิดคิดฟุ้งซ่านขนาดนั้น เพราะโอกาสที่จะถูกส่วนมันยากกว่าการถูกรางวัลที่ ๑ นะลูกนะ เพราะฉะนั้น ถึงตรงนั้นแล้ว อย่าเพิ่งรีบเลิก นั่งไปเรื่อยๆ แล้วเดี๋ยวจะดีมาก ถ้าได้สักครั้งหนึ่งอย่างถูกส่วนและถูกต้อง มันจะติดไปตลอดชาติเลย

 

แต่ถ้าเราไปเลิกเสียก่อนตอนกำลังจะดี นั่งกี่ทีกี่ทีมันก็ไม่ได้อย่างนั้น หรือกว่าจะได้อีกก็เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี นานทีเดียว เพราะใจเราอาลัยอาวรณ์กับประสบการณ์นั้น พอเริ่มนั่งก็อยากจะได้แบบนั้นเลย ลืมไปว่า วันนั้นทำอย่างไร ลืมนึกถึงวิธีการ แต่ไพล่ไปนึกถึงประสบการณ์ที่ได้ในวันนั้น ความคิดอย่างนี้ก็เลยมาเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงธรรม

 

ทั้งหมดที่แนะนำมา จำนะลูกนะ จะทำให้ลูกทุกคนได้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง มีความสุขตั้งแต่เราเข้าถึงจนตลอดชีวิต ทำให้เราไปสู่สุคติภพ ทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องราวของชีวิต ทำให้เราเวลาทำบุญแล้ว ทำน้อยก็ได้มากทำมากก็มากเป็นทับทวี เพราะทำด้วยจิตที่บริสุทธิ์ ผ่องใสถูกหลักวิชชา มีสิ่งที่ดีๆ อีกเยอะ นับไม่ถ้วนอย่าง เมื่อเราได้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว

 

คืนนี้นั่งให้ดีนะลูกนะ ใครเหนื่อย ใครง่วง ใครเพลีย ใครนั่งแล้วตึง ก็ปล่อยให้หลับไปในกลาง พอสดชื่นแล้วก็ตื่นมาทำใหม่ ใครเมื่อยก็ขยับ ฟุ้งก็ลืมตาแล้วก็ว่ากันใหม่ ให้ลูกทุกคนสมหวังดังใจในการเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวทุกๆ คน ต่างคนต่างนั่งกันไปเงียบๆ

 

สาธุชน : บ้านแก้วเรือนทองของคุณยายอาจารย์ฯ : ๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.


Add Comment
2545, ง่ายแต่ลึก4
วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ►  เดือน สิงหาคม (233)
    • ▼  เดือน กรกฎาคม (123)
      • ความเพลินส่วนเกินของชีวิต 481030C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว 481023C รอบสาย
      • โลกุตรธรรม ๙ 481016C รอบสาย
      • พิจารณามี ๒ อย่าง 481009D รอบบ่าย
      • เส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน 481009C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวเรา 480828C รอบสาย
      • ที่มาของพระพุทธรูป 480717C รอบสาย
      • วัตถุประสงค์ของชีวิต 480710C รอบสาย
      • เมื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว 480605D รอบบ่าย
      • เหตุการณ์วันตรัสรู้ 480522C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จในสมัยพุทธกาล 480515D รอบบ่าย
      • อิสรภาพที่แท้จริง 480417D รอบบ่าย
      • กรณียกิจ 480313C รอบสาย
      • สมาธิเหมือนเส้นผมบังภูเขา 480130C รอบสาย
      • ชีวิตในสังสารวัฏมีภัยมาก 480123C รอบสาย
      • HOW TO เข้าถึงธรรม 480116C รอบสาย
      • พุทธภาวะภายในตัว 470711C รอบสาย
      • สมถวิปัสสนา 470516C รอบสาย
      • สติปัฏฐาน ๔ 470620C รอบสาย
      • ป่วยอย่างสง่างาม 470502D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งคืองานที่แท้จริง 490122D รอบบ่าย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน 481211D รอบสาย
      • การเห็นด้วยปัญญา 481225C รอบสาย
      • อานิสงส์การฝึกใจให้หยุดนิ่ง 481211D รอบบ่าย
      • การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 460316C รอบสาย
      • ภาพที่สำคัญของชีวิต 460309C รอบสาย
      • มโณปริธานอันยิ่งใหญ่ 460119D รอบบ่าย
      • จริงต้องได้ 460504D รอบบ่าย
      • ลูกมีบุญที่จะเข้าถึงธรรมได้ 450515F รอบค่ำ
      • ฝึกใจหยุดนิ่งอย่างสบาย 450516F รอบค่ำ
      • งานที่แท้จริง 450306F รอบค่ำ
      • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
      • นึกถึงสิ่งที่คุ้นเคย 450525F รอบค่ำ
      • หยุดนิ่งสำคัญที่สุด 450529F รอบค่ำ
      • ชีวิตเป็นของน้อย 450428C รอบสาย
      • หยุดแค่พริบตาเดียวได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ 450305F รอบค่ำ
      • หลับตื่นในอู่ทะเลบุญ 450510F รอบค่ำ
      • ทางเดินของใจ 7 ฐาน 450613F รอบค่ำ
      • อานุภาพหยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • กิเลสประจำกายและวิธีแก้ 450912F รอบค่ำ
      • ปรับที่ใจใช่ที่ภาพ/แก้กดลูกนัยน์ตา 450615F รอบค่ำ
      • เทคนิควิธีการปฏิบัติธรรม 450528F รอบค่ำ
      • นึกบริกรรมนิมิตด้วยสิ่งที่คุ้นเคย 450524F รอบค่ำ
      • หนีกรรมไม่พ้น 450302F รอบค่ำ
      • แผนผังชีวิต 450514F รอบค่ำ
      • หาตัวกลัวให้เจอ 450629F รอบค่ำ
      • ลูกไก่เจาะกระเปาะไข่ 450518F รอบค่ำ
      • วิธีแก้ กดลูกนัยน์ตา 450607F รอบค่ำ
      • อานิสงส์การเข้าถึงพระรัตนตรัย 451022F รอบค่ำ
      • การตอบประสบการณ์ภายใน 560212D รอบบ่าย
      • ฝึกเป็นผู้ให้ 571205D รอบบ่าย
      • นอกรอบให้หมั่นประคองใจ 571211
      • สิ่งที่แสวงหาอยู่ที่ใจหยุดนิ่ง 451028F รอบค่ำ
      • อโห พุทโธ 451113F รอบค่ำ
      • เจริญมรณานุสติ 451118F รอบค่ำ
      • หวงห่วงแบบอริยะ 451209F รอบค่ำ
      • นึกได้ก็เห็นได้ 460309C รอบสาย
      • ต้องฝึกบ่อยๆ ให้ชำนาญ 460202D รอบบ่าย
      • ชีวิตเป็นของน้อย 460126C รอบสาย
      • นิ่งแล้วต้องขยาย 460101D รอบบ่าย
      • สมบัติที่แท้จริง 451231C รอบสาย
      • วันพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม 451227F รอบค่ำ
      • ฐานที่7ที่เกิดดับหลับตื่น 451222D รอบบ่าย
      • กายสบาย ใจสบาย บุญเก่าก็ได้ช่อง 481221
      • หมั่นทบทวนบุญ 451123F รอบค่ำ
      • บุญคือที่พึ่ง 451119F รอบค่ำ
      • ทำไมเด็กจึงเห็นธรรมะง่าย 521025D รอบบ่าย
      • ในท้องมีพระธรรมกาย 520904C รอบสาย
      • มหัศจรรย์สมาธิ 530314C รอบสาย
      • ภาวิตา พหุลีกตา 550806D รอบบ่าย
      • อวิชชา 550722D รอบบ่าย
      • Set Zero 590304D รอบบ่าย
      • คนเราเกิดมาทำไม/ในตัวเรามีองค์พระ 511207C รอบสาย
      • นิมิตเลื่อนลอยหลุมพรางของพญามาร 451013D รอบบ่าย
      • ธรรมกายเอฟเฟค 430423C รอบสาย
      • นิวรณ์ 5 451010F รอบค่ำ
      • นั่งอย่างมีชีวิตชีวา 450924F รอบค่ำ
      • อย่ากินบุญเก่า 450926F รอบค่ำ
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • หลับในอู่ทะเลบุญ 451004F รอบค่ำ
      • เริ่มต้นจากจุดสบายแล้วจะง่าย 451008
      • ตำแหน่งแห่งความสมปรารถนา 521206D รอบบ่าย
      • คำภาวนา สัมมาอะระหัง 510622C รอบสาย
      • บุญพลังแห่งความสุขและความสำเร็จ 511109D รอบบ่าย
      • อริยมรรคมีองค์๘ 510706C รอบสาย
      • หลักสูตรชีวิต 510203D รอบบ่าย
      • เห็นสิ่งใดฝึกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้น 51...
      • เริ่มต้นจากจุดที่ง่าย 510629D รอบบ่าย
      • จุดเล็กใสที่คล้ายเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร 511005C รอบสาย
      • หยุดนิ่งได้แล้วฝึกขยายย่อ 510615D รอบบ่าย
      • พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมใด 511010C รอบสาย
      • พระคุณของ หลวงปู่ฯพระผู้ปราบมาร 511005D รอบบ่าย
      • นั่งมาตั้งนาน ทำไมยังไม่ได้ผล 481127D รอบบ่าย
      • ต้องสบายทุกขั้นตอน 480821D รอบบ่าย
      • หลักวิชชาใจหยุดนิ่งและอาการตกศูนย์ 481218D รอบบ่าย
      • อุปสรรคและหลักวิชชาในการปฏิบัติธรรม 490604C รอบสาย
      • การปฏิบัติธรรมคือการแสวงหาความพอดี 480626C รอบสาย
      • อย่าท้อ_เฉยในทุกประสบการณ์ 471205D รอบบ่าย
      • วิธีปฏิบัติธรรม 480206D รอบบ่าย
      • ง่ายแต่ลึก 480130D รอบบ่าย
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger