• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2548 เส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน 481009C รอบสาย

เส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน 481009C รอบสาย


เส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน

 วันอาทิตย์ที่  ๙  ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ (๐๙.๐๐ - ๑๑.๐๐ น.)

สภาธรรมกายสากล  วัดพระธรรมกาย


ปรับกาย

 

เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไป ให้ตั้งใจให้แน่แน่ว มุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานกัน ทุกๆ คนนะลูกนะ

 

ให้นั่งขัดสมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ

 

หลับตาของเราเบาๆ พอสบายๆ หลับตาค่อนลูกพอสบายๆ คล้ายๆ กับตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าไปบีบหัวตา อย่ากดลูกนัยน์ตานะจ๊ะ

 

ปรับใจ

 

แล้วก็ทำใจของเรา ให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น ให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ให้ปลด ให้ปล่อย ให้วาง ทำใจให้ว่างๆ

 

วางใจ

 

แล้วก็น้อมใจของเรามารวมหยุดนิ่งๆ อยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือนะจ๊ะ

 

โดยสมมติว่า เราหยิบเส้นด้ายขึ้นมา ๒ เส้น นำมาขึงให้ตึง จากสะดือทะลุไปด้านหลังเส้นหนึ่ง จากด้านขวาทะลุไปด้านซ้ายอีกเส้นหนึ่ง ให้เส้นด้ายทั้งสองตัดกันเป็นกากบาท จุดตัดจะเล็กเท่ากับปลายเข็ม เหนือจุดตัดนี้ขึ้นมา ๒ นิ้วมือ เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งเป็นที่หยุดใจของเรา เราจะต้องเอาความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน หรือจำง่ายๆ ว่า มาทำความรู้สึกนึกคิดอยู่ที่ตรงนี้ มาหยุดนิ่งๆ อยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่จะไปสู่อายตนนิพพาน มรรคผลนิพพานมีอยู่แล้วในตัวของกายมนุษย์ทุกๆ คน ไม่ต้องไปแสวงหาที่อื่น อยู่ที่ตรงนี้แหละ

 

ชีวิตในวัฏสงสาร

 

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เริ่มต้นหยุดใจที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ที่ตรงนี้ พระองค์ปลด ปล่อย วาง คลายความผูกพัน ไม่ยึดมั่นถือมั่นในคน สัตว์ สิ่งของ ในภพ ในภูมิ ในเรื่องราวอะไรทั้งหมด เพราะว่าสิ่งเหล่านั้น ไม่มีสาระ ไม่มีแก่นสารอะไร

 

ชีวิตต่างๆ ทุกระดับ พระองค์ก็เป็นมาหมดแล้ว เป็นมาเกือบทุกชนิด ก็เห็นว่า เป็นชีวิตที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน ไม่ว่าจะเกิดเป็นคนชั้นล่าง ชั้นกลาง หรือชั้นสูง

คนชั้นล่าง ก็ทุกข์แบบคนชั้นล่าง

คนชั้นกลาง ก็ทุกข์แบบคนชั้นกลาง

คนชั้นสูง ก็ทุกข์แบบคนชั้นสูง

ทั้งทุกข์ประจำ คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย

และทุกข์จร เช่น จากการพลัดพรากจากของที่รัก หรือประสบในสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก หรือปรารถนาสิ่งใดก็ไม่ได้สิ่งนั้น เป็นต้น นำมาซึ่งความโศกเศร้าเสียใจ คับแค้นใจ ร่ำพิไรรำพัน เป็นอย่างนี้ซ้ำๆ ซากๆ ในวัฏฏสงสาร ไม่มีอะไรใหม่

ภพใดชาติใด ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต สั่งสมบุญบารมี ชีวิตก็สูงส่ง

ภพใดชาติใด ประมาทในการดำเนินชีวิต ไม่สั่งสมบุญกุศล ชีวิตก็ตกต่ำ

บางชาติพลัดในอบายภูมิ เพราะชีวิตในสังสารวัฏ ล้วนแต่ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม กฎแห่งการกระทำทางกาย วาจา และใจ ไม่ว่าดีหรือชั่ว ล้วนมีผลทั้งสิ้น พระองค์ผ่านชีวิตเหล่านี้มานับไม่ถ้วนชาติ จนกระทั่งเบื่อหน่าย คลายความผูกพัน ความยึดมั่นถือมั่น

 

สภาวธรรมภายใน

 

ใจก็นิ่งมาหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ พอถูกส่วนก็ได้เข้าถึงธรรมดวงแรก มีดวงธรรมลอยขึ้นมาเกิด จากตรงจุดตัดของเส้นด้ายทั้งสอง ลอยขึ้นมาที่ฐานที่ ๗ เป็นดวงธรรมใสๆ เหมือนกับเพชรใสๆ กลมรอบตัวเหมือนดวงแก้ว สว่างเหมือนดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวัน ใสเย็นเหมือนแสงจันทร์ในคืนวันเพ็ญ

 

หยุดใจนิ่งๆ เฉยๆ เพราะใจก็ไม่ได้ผูกพันกับอะไรทั้งสิ้น แม้ดวงธรรมที่บังเกิดขึ้นที่ฐานที่ ๗ เมื่อใจนิ่ง เฉยๆ ในกลางดวงธรรม ธรรมดวงนี้ก็ขยายไป แล้วก็เห็นธรรมในธรรมผุดเกิดขึ้นมาเป็นชั้นๆ กันเข้าไป ตามดูไปเรื่อยๆ ดูโดยปราศจากความยินดี ยินร้าย เฉยๆ นิ่งๆ

 

แล้วก็เห็นกายในกายไปตามลำดับ เห็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม กายธรรมโคตรภู กายโสดาบัน กายสกิทาคามี กายอนาคามี กายอรหัต ทั้งหยาบและละเอียด รวมทั้งหมด ๑๘ กาย ทั้งกายมนุษย์หยาบ ซ้อนกันอยู่ภายใน เป็นชั้นๆ เข้าไป

 

โดยกายที่ใหญ่กว่าจะซ้อนอยู่ในกายที่เล็กกว่า ที่ซ้อนกันได้เพราะว่า กายใหญ่กว่า ละเอียดกว่า บริสุทธิ์กว่า จะซ้อนอยู่ในกลางกายที่หยาบกว่า บริสุทธิ์น้อยกว่า บริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ เพราะกิเลสอาสวะเข้าไปบังคับเอาไว้ ไปหุ้ม ไปเคลือบ ไปเอิบอาบซึมซาบปนเป็น สวมซ้อนร้อยไส้บังคับ เป็นชั้นๆ กันไป แต่เจือจางไปตามลำดับ

 

แล้วก็มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามความเจือจางของกิเลสอาสวะ ตั้งแต่อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นชั้นๆ ราคะ โทสะ โมหะ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย สังโยชน์เบื้องต่ำ เบื้องสูง เป็นต้น ตามลำดับของกิเลสที่เจือจางไป

 

กายสุดท้าย คือ กายธรรมอรหัตตผล หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เป็นกายพระเกตุดอกบัวตูม ประกอบไปด้วยลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ เป็นกายที่หลุดล่อนจากกิเลสอาสวะ หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา กายธรรมอรหัตตผล นั่นคือเป้าหมายของชีวิตที่เกิดมาก็เพื่อการนี้แหละ

 

เมื่อถึงกายธรรมอรหัตตผลแล้ว ก็หลุดล่อนจากกิเลสอาสวะทั้งปวง ผังต่างๆ ที่เขาบังคับให้ติดอยู่ในภพ ๓ ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ ให้ตกอยู่ในไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง ไม่ทุกข์ เป็นอนัตตา ให้ตกอยู่ในกฎแห่งกรรม กฎแห่งการกระทำ ทางกาย วาจา ใจ แล้วมีวิบาก ทำให้เวียนว่ายตายเกิด ในภพทั้งสาม แล้วก็หลุดล่อนไป ก็เข้าถึงอายตนนิพพาน ถ้ายังมีชีวิตอยู่ก็เข้า สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานที่ยังมีกายมนุษย์อยู่  เมื่อกายมนุษย์หมดอายุขัย ก็ถอดกายเป็นชั้นๆ ดับขันธปรินิพพาน ดับขันธ์ที่ยังเหลืออยู่ คือ กายมนุษย์หยาบเข้าสู่ อายตนนิพพาน ด้วยธรรมกายอรหัตตผล ถ้าเป็นพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้าก็เข้าด้วย กายธรรมอรหัตตสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้าตักโตใหญ่ขึ้นไปตามกำลังบารมีของท่าน

 

ให้ลูกทุกคน หยุดใจไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ หยุดเป็นตัวสำเร็จ จะทำให้เราล่อนจากกิเลสอาสวะ แล้วก็เคลื่อนเข้าไปสู่ภายใน ถอดกายออกเป็นชั้นๆ เข้าไปเหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นชั้นๆ เข้าไป กระทั่งเข้าถึงกายธรรมโคตรภู โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหัต ถึงกายธรรมไหนก็มีชื่อกันไปอย่างนั้น

 

อารมณ์เดียว

 

เบื้องต้น เราก็จะต้องฝึกใจให้หยุดนิ่งให้ได้ เราจะมาปฏิบัติธรรมกัน เป็นทางไปสู่มรรคผลนิพพานโดยแท้ ซึ่งมีอยู่ในตัวของเรา เดินตามรอยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีจุดเริ่มต้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗

 

อารมณ์เดียว คือ อารมณ์ที่มีแต่พระเดชพระคุณหลวงปู่ของเรา จำภาพท่านไว้ในกลางท้อง ในตำแหน่งที่เรามั่นใจว่า ฐานที่ ๗ นั่นแหละ แล้วก็เอาใจหยุดนิ่ง

 

หยุดนิ่ง คือ นึกแค่เรื่องเดียว แต่ต้องนึกอย่างสบาย เบิกบาน ไม่ใช่ไปเพ่งจนเคร่งเครียด เกิดอาการตึงที่ระบบประสาทและกล้ามเนื้อของร่างกาย ตั้งแต่กระบอกตา เป็นต้น เรานึกถึงภาพท่านอย่างสบาย ชัดเจนแค่ไหนก็เอาแค่นั้นไปก่อน คือ วัตถุประสงค์เราต้องการให้ใจเรามาหยุดนิ่งอยู่ที่ตรงนี้ เพราะเป็นเส้นทางที่จะเข้าถึงมรรคผลนิพพานภายใน

 

แต่ว่าเราเริ่มต้นที่ภาพท่าน เพื่อที่จะได้เป็นหลักของใจ ให้ใจยึดเกาะ จะได้ไม่ไปคิดเรื่องอื่น เพราะเรื่องอื่นก็คิดมามากแล้ว แล้วก็ทำให้เราไม่พบความสุขที่แท้จริงเลย ไม่รู้เรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต

 

บริกรรมนิมิต

 

การประกอบบริกรรม ๒ อย่าง คือ บริกรรมนิมิตกับบริกรรมภาวนา

 

บริกรรมนิมิต ก็ให้ตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางดวงใสๆ คือ การสร้างภาพขึ้นมาในใจว่า ที่กลางท้องของเรา เหนือสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ มีดวงธรรมใสๆ มีดวงแก้วใสๆ หรือมีองค์พระใสๆ สัญลักษณ์ของพระรัตนตรัย เอาไว้เป็นที่ยึดที่เกาะของใจเรา

 

หรือจะนึกถึงหลวงปู่เป็นอารมณ์ จะนึกองค์ที่หล่อเป็นทองคำที่ห้องปัญญาก็ได้ หรือองค์ที่เราได้รับเป็นของขวัญไปบูชาอยู่บนโต๊ะหมู่บูชาของเรา จำภาพให้ติดตาติดใจทีเดียวนะจ๊ะ อย่างสบาย คล้ายกับเรานึกถึงสิ่งที่เราคุ้นเคย เหมือนนึกถึงดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวในอากาศอย่างนั้นแหละ ให้ต่อเนื่องกันไป

 

วันพรุ่งนี้จะหล่อรูปเหมือนพระเดชพระคุณหลวงปู่ของเรา พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายด้วยทองคำ ขนาดเท่าองค์จริงของท่าน เราจะนึกเอาภาพท่าน ที่เราคุ้นเคยเจนตามากกว่าภาพอื่น เอามาตั้งไว้กลางกายก็ได้ ในกลางท้อง ขนาดเล็กใหญ่ก็แล้วแต่ใจของเราชอบ นึกท่านให้ต่อเนื่องเป็นอารมณ์

 

บริกรรมภาวนา

 

พร้อมกับประคองใจด้วยบริกรรมภาวนา สัมมาอะระหังๆ ๆ ภาวนาไปเรื่อยๆ โดยไม่ใช้กำลัง เหมือนท่องบทสวดมนต์อะไรต่างๆ ให้เหมือนกับบทสวดมนต์หรือบทเพลงที่เราคุ้นเคย ให้เป็นเสียงที่ละเอียดอ่อน ภาวนาในใจเบาๆ สม่ำเสมอ อย่าให้ช้าหรือเร็วนัก ประคองไปเรื่อยๆ แต่ทุกครั้งที่ภาวนา สัมมาอะระหัง ใจก็จะต้องจับภาพหลวงปู่ไว้ อย่างสบาย ต่อเนื่อง บางครั้งเผลอไปคิดเรื่องอื่น แวบไปบ้างก็ไม่เป็นไร ช่างมัน แล้วก็พอนึกได้ก็กลับมานึกกันใหม่

 

ภาวนาอย่างนี้เรื่อยไป จนกว่าใจไม่อยากจะภาวนาต่อ อยากจะหยุดนิ่งเฉยๆ ดูภาพพระเดชพระคุณหลวงปู่เรื่อยไป ถ้าเกิดความรู้สึกอย่างนี้นะจ๊ะ เราก็ไม่ต้องย้อนกลับมาภาวนาใหม่ ให้รักษาใจหยุดนิ่ง อยู่ที่หลวงปู่ นิ่งเฉยอย่างสบาย ประคองใจอย่างนี้ไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องไปปรุงแต่งอะไร

 

ตอนนี้เราก็มาหยุดใจกัน ให้นิ่งอยู่ภายใน โดยบริกรรมนิมิต และบริกรรมภาวนาดังกล่าว

 

ดูด้วยใจที่สบาย

 

ดูเฉยๆ แล้วภาพท่านจะเปลี่ยนแปลงไป โตใหญ่ขึ้นบ้าง เล็กบ้าง เปลี่ยนสีบ้าง เปลี่ยนวัสดุบ้าง เปลี่ยนไปเป็นภาพ ดวงแก้วบ้าง องค์พระบ้าง จะเปลี่ยนเป็นภาพอะไรก็ตาม ก็ให้ดูภาพล่าสุดเรื่อยไป ดูไปเรื่อย โดยไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น ดูภาพล่าสุดที่เกิดขึ้น ภาพอะไรที่เกิดขึ้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ในกลางท้องของเรา ล้วนแต่น่าดูน่าน่าชมทั้งสิ้น ให้ดูไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องคิดไปเปลี่ยนแปลงอะไร แม้เราจะเริ่มต้นจากพระเดชพระคุณหลวงปู่ แต่พอดูไปกลายเป็นดวงแก้ว กลายเป็นองค์พระ ก็ให้ดูภาพล่าสุดที่เกิดขึ้น

 

แม้ภาพล่าสุดเกิดขึ้นเป็นองค์พระ จะเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น เราก็ดูไปเรื่อยๆ ก็ให้ดู ยังยึดหลักวิชชาว่า ให้ดูภาพล่าสุดต่อไป โดยไม่ต้องคิดอะไร เหมือนเราดูภาพยนตร์ที่เราไม่รู้เรื่องข้างหน้ามาก่อนเลยว่า มันจะไปสิ้นสุดหรือจบลงตรงไหน

 

หน้าที่ของเรา คือ ดูต่อไปด้วยใจที่สบายเบิกบาน และไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น ไม่ต้องมีคำถามอะไรเกิดขึ้นมา ไม่ต้องไปวิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ แสวงหาคำตอบอะไร จากประสบการณ์หรือภาพนั้น นิ่งอย่างเดียว ยึดหลักวิชชาว่า หยุดเป็นตัวสำเร็จ ตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งเป็นพระอรหันต์

 

เวลาแห่งการหยุดนิ่ง


ตลอดเส้นทางที่ไปสู่มรรคผลนิพพานนั้น ทำได้เพียงประการเดียว คือ หยุดอย่างเดียว จึงจะเป็นตัวสำเร็จ หยุดนิ่งเข้าไปเรื่อยๆ จนกว่าเมื่อไรเราจะเข้าถึงกายธรรมที่ละเอียดๆ เข้าไปเรื่อยๆ ถึงตอนนั้นเราจะมีคำถามอะไรก็ค่อยไปว่ากันตอนนั้น  เหมือนจุดเริ่มต้น เราเป็นนักเรียนอนุบาล ครูบาอาจารย์ท่านสอนอะไร อ่านหนังสือ ก.ไก่ ข.ไข่ เราก็อ่านไป ไม่ต้องไปซักถามว่าทำไมต้อง ก. ไก่ เป็นกอไผ่ได้ไหม  หรือทำไมต้อง ข.ไข่ เป็นขออย่างอื่นได้ไหม อะไรต่างๆ เหล่านั้น

 

มันยังไม่ถึงเวลา ที่เราจะมีคำถามขึ้นมาในใจ เวลานี้เป็นเวลาแห่งการหยุดนิ่ง  ที่เราจะฝึกฝนใจให้อยู่กับตัว  เพราะเราห่างเหินจากการหยุดนิ่งมายาวนาน ตั้งแต่เกิดมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ เรามีแต่ความไม่หยุด ที่เกิดจากความทะยานอยาก อยากได้ อยากมี อยากเป็นอะไรต่างๆ เหล่านั้น เป็นต้น จึงไม่พบความสุขที่แท้จริง ไม่สมหวังในชีวิต ชีวิตก็แสวงหา แล้วก็ดิ้นรนกันต่อไป จนหมดเวลาของชีวิต แล้วก็ละจากโลกนี้ไป

 

ในชั่วโมงนี้ เวลาที่เหลืออยู่ในโลกนี้ คือ การฝึกใจให้หยุดนิ่ง ด้วยหลักวิชชาดังกล่าวที่ได้กล่าวมาตั้งแต่เบื้องต้นนั้น

 

วันนี้เป็นวันที่เราจะต้องเตรียมตัว เตรียมใจที่จะรองรับบุญใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ ที่เป็นมหากุศลอย่างยิ่ง เพราะว่าเราจะได้หล่อรูปเหมือนพระเดชพระคุณหลวงปู่ด้วยทองคำเท่าองค์จริงของท่าน เป็นองค์ที่ ๓ ของโลก ให้มนุษย์และเทวดาได้สักการบูชากราบไหว้ผู้มีคุณธรรม คุณวิเศษ และมีพระคุณต่อมวลมนุษยชาติ ซึ่งก็จะเป็นทางมาแห่งบุญของเรา ไม่ว่าท่านจะมีชีวิตอยู่หรือละโลกไปแล้วก็ตาม เมื่อมีจิตเลื่อมใสในองค์ท่าน บุญก็เกิดขึ้นเป็นอสงไขยอัปปมาณัง เพราะว่าท่านอยู่ในตำแหน่งแห่งอู่ แห่งทะเลบุญ

 

เช้านี้อากาศกำลังสดชื่น กำลังสบาย ไม่ร้อน ไม่หนาวเกินไป เหมาะสมที่ลูกทุกคนจะได้ปฏิบัติธรรม ได้เข้าถึงธรรมในตัว ก็ขอให้ตั้งอกตั้งใจทำตามหลักวิชชาที่หยุดเป็นตัวสำเร็จให้ดีนะจ๊ะ ให้ลูกทุกคนสมหวังดังใจในการเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว ทุกๆ คนนะลูกนะ ต่างคนต่างนั่งกันไปเงียบๆ นะจ๊ะ

Add Comment
2548
วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ►  เดือน สิงหาคม (233)
    • ▼  เดือน กรกฎาคม (123)
      • ความเพลินส่วนเกินของชีวิต 481030C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว 481023C รอบสาย
      • โลกุตรธรรม ๙ 481016C รอบสาย
      • พิจารณามี ๒ อย่าง 481009D รอบบ่าย
      • เส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน 481009C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวเรา 480828C รอบสาย
      • ที่มาของพระพุทธรูป 480717C รอบสาย
      • วัตถุประสงค์ของชีวิต 480710C รอบสาย
      • เมื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว 480605D รอบบ่าย
      • เหตุการณ์วันตรัสรู้ 480522C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จในสมัยพุทธกาล 480515D รอบบ่าย
      • อิสรภาพที่แท้จริง 480417D รอบบ่าย
      • กรณียกิจ 480313C รอบสาย
      • สมาธิเหมือนเส้นผมบังภูเขา 480130C รอบสาย
      • ชีวิตในสังสารวัฏมีภัยมาก 480123C รอบสาย
      • HOW TO เข้าถึงธรรม 480116C รอบสาย
      • พุทธภาวะภายในตัว 470711C รอบสาย
      • สมถวิปัสสนา 470516C รอบสาย
      • สติปัฏฐาน ๔ 470620C รอบสาย
      • ป่วยอย่างสง่างาม 470502D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งคืองานที่แท้จริง 490122D รอบบ่าย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน 481211D รอบสาย
      • การเห็นด้วยปัญญา 481225C รอบสาย
      • อานิสงส์การฝึกใจให้หยุดนิ่ง 481211D รอบบ่าย
      • การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 460316C รอบสาย
      • ภาพที่สำคัญของชีวิต 460309C รอบสาย
      • มโณปริธานอันยิ่งใหญ่ 460119D รอบบ่าย
      • จริงต้องได้ 460504D รอบบ่าย
      • ลูกมีบุญที่จะเข้าถึงธรรมได้ 450515F รอบค่ำ
      • ฝึกใจหยุดนิ่งอย่างสบาย 450516F รอบค่ำ
      • งานที่แท้จริง 450306F รอบค่ำ
      • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
      • นึกถึงสิ่งที่คุ้นเคย 450525F รอบค่ำ
      • หยุดนิ่งสำคัญที่สุด 450529F รอบค่ำ
      • ชีวิตเป็นของน้อย 450428C รอบสาย
      • หยุดแค่พริบตาเดียวได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ 450305F รอบค่ำ
      • หลับตื่นในอู่ทะเลบุญ 450510F รอบค่ำ
      • ทางเดินของใจ 7 ฐาน 450613F รอบค่ำ
      • อานุภาพหยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • กิเลสประจำกายและวิธีแก้ 450912F รอบค่ำ
      • ปรับที่ใจใช่ที่ภาพ/แก้กดลูกนัยน์ตา 450615F รอบค่ำ
      • เทคนิควิธีการปฏิบัติธรรม 450528F รอบค่ำ
      • นึกบริกรรมนิมิตด้วยสิ่งที่คุ้นเคย 450524F รอบค่ำ
      • หนีกรรมไม่พ้น 450302F รอบค่ำ
      • แผนผังชีวิต 450514F รอบค่ำ
      • หาตัวกลัวให้เจอ 450629F รอบค่ำ
      • ลูกไก่เจาะกระเปาะไข่ 450518F รอบค่ำ
      • วิธีแก้ กดลูกนัยน์ตา 450607F รอบค่ำ
      • อานิสงส์การเข้าถึงพระรัตนตรัย 451022F รอบค่ำ
      • การตอบประสบการณ์ภายใน 560212D รอบบ่าย
      • ฝึกเป็นผู้ให้ 571205D รอบบ่าย
      • นอกรอบให้หมั่นประคองใจ 571211
      • สิ่งที่แสวงหาอยู่ที่ใจหยุดนิ่ง 451028F รอบค่ำ
      • อโห พุทโธ 451113F รอบค่ำ
      • เจริญมรณานุสติ 451118F รอบค่ำ
      • หวงห่วงแบบอริยะ 451209F รอบค่ำ
      • นึกได้ก็เห็นได้ 460309C รอบสาย
      • ต้องฝึกบ่อยๆ ให้ชำนาญ 460202D รอบบ่าย
      • ชีวิตเป็นของน้อย 460126C รอบสาย
      • นิ่งแล้วต้องขยาย 460101D รอบบ่าย
      • สมบัติที่แท้จริง 451231C รอบสาย
      • วันพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม 451227F รอบค่ำ
      • ฐานที่7ที่เกิดดับหลับตื่น 451222D รอบบ่าย
      • กายสบาย ใจสบาย บุญเก่าก็ได้ช่อง 481221
      • หมั่นทบทวนบุญ 451123F รอบค่ำ
      • บุญคือที่พึ่ง 451119F รอบค่ำ
      • ทำไมเด็กจึงเห็นธรรมะง่าย 521025D รอบบ่าย
      • ในท้องมีพระธรรมกาย 520904C รอบสาย
      • มหัศจรรย์สมาธิ 530314C รอบสาย
      • ภาวิตา พหุลีกตา 550806D รอบบ่าย
      • อวิชชา 550722D รอบบ่าย
      • Set Zero 590304D รอบบ่าย
      • คนเราเกิดมาทำไม/ในตัวเรามีองค์พระ 511207C รอบสาย
      • นิมิตเลื่อนลอยหลุมพรางของพญามาร 451013D รอบบ่าย
      • ธรรมกายเอฟเฟค 430423C รอบสาย
      • นิวรณ์ 5 451010F รอบค่ำ
      • นั่งอย่างมีชีวิตชีวา 450924F รอบค่ำ
      • อย่ากินบุญเก่า 450926F รอบค่ำ
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • หลับในอู่ทะเลบุญ 451004F รอบค่ำ
      • เริ่มต้นจากจุดสบายแล้วจะง่าย 451008
      • ตำแหน่งแห่งความสมปรารถนา 521206D รอบบ่าย
      • คำภาวนา สัมมาอะระหัง 510622C รอบสาย
      • บุญพลังแห่งความสุขและความสำเร็จ 511109D รอบบ่าย
      • อริยมรรคมีองค์๘ 510706C รอบสาย
      • หลักสูตรชีวิต 510203D รอบบ่าย
      • เห็นสิ่งใดฝึกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้น 51...
      • เริ่มต้นจากจุดที่ง่าย 510629D รอบบ่าย
      • จุดเล็กใสที่คล้ายเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร 511005C รอบสาย
      • หยุดนิ่งได้แล้วฝึกขยายย่อ 510615D รอบบ่าย
      • พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมใด 511010C รอบสาย
      • พระคุณของ หลวงปู่ฯพระผู้ปราบมาร 511005D รอบบ่าย
      • นั่งมาตั้งนาน ทำไมยังไม่ได้ผล 481127D รอบบ่าย
      • ต้องสบายทุกขั้นตอน 480821D รอบบ่าย
      • หลักวิชชาใจหยุดนิ่งและอาการตกศูนย์ 481218D รอบบ่าย
      • อุปสรรคและหลักวิชชาในการปฏิบัติธรรม 490604C รอบสาย
      • การปฏิบัติธรรมคือการแสวงหาความพอดี 480626C รอบสาย
      • อย่าท้อ_เฉยในทุกประสบการณ์ 471205D รอบบ่าย
      • วิธีปฏิบัติธรรม 480206D รอบบ่าย
      • ง่ายแต่ลึก 480130D รอบบ่าย
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger