• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2545 ชีวิตเป็นของน้อย 450428C รอบสาย

ชีวิตเป็นของน้อย 450428C รอบสาย

 



        ชีวิตเป็นของน้อย

    วันอาทิตย์ที่  ๒๘  เมษายน  พ.ศ. ๒๕๔๕  (๙.๓๐ – ๑๑.๐๐ น.)

       สภาธรรมกายสากล  

            

ปรับกาย

 

บัดนี้ถึงเวลาธรรมกาย คือ เวลาปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย ซึ่งมีอยู่ในตัวของพวกเราทุกๆ คน เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดของพวกเราทั้งหลาย สิ่งอื่นที่จะเป็นที่พึ่งที่ระลึกยิ่งกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว ดังนั้น ต่อจากนี้ไปขอเรียนเชิญทุกท่านตั้งใจ สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยโดยพร้อมเพรียงกันนะจ๊ะ

 

เมื่อเราบูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไปให้ทุกคนตั้งใจให้แน่แน่ว มุ่งตรงต่อหนทางของพระนิพพานกันทุกคนนะจ๊ะ สำหรับท่านที่เข้าใจการปฏิบัติธรรมกันอย่างดีแล้วก็ให้ลงมือปฏิบัติธรรมได้เลย ส่วนท่านที่มาใหม่ยังไม่เข้าใจการปฏิบัติธรรม ก็ให้นึกน้อมใจตามเสียงของหลวงพ่อไปทุกๆ คน

 

ให้นั่งขัดสมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย ให้มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ

 

หลับตาของเราเบาๆ หลับตาค่อนลูกเบาๆ พอสบายๆ คล้ายๆ กับตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าไปบีบเปลือกตา อย่ากดลูกนัยน์ตา หลับพอสบายๆ

 

ปรับใจ

 

แล้วก็ทำใจของเราให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น ให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคน สัตว์ สิ่งของ เรื่องธุรกิจการงาน เรื่องการศึกษาเล่าเรียน เรื่องครอบครัว หรือเรื่องอะไรที่นอกเหนือจากนี้ ให้ปลด ให้ปล่อย ให้วาง ทำใจให้ว่างๆ ในขณะที่เรากำลังจะเจริญสมาธิภาวนากัน

 

นึกถึงบุญ


แล้วก็ให้สมมติว่า ภายในร่างกายของเราปราศจากอวัยวะ ไม่มีตับ ไต ไส้พุง เป็นต้น ให้สมมติว่า เป็นที่โล่งๆ ว่างๆ ให้เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพรง กลวงเหมือนท่อแก้วใสๆ ให้เป็นทางไหลผ่านของกระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ แห่งความดีงาม บุญบารมี ๓๐ ทัศ ที่เราได้สั่งสมอบรมมาตั้งแต่ปฐมชาติที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ สร้างบารมีเรื่อยมานับภพนับชาติไม่ถ้วน ไม่เคยขาดเลยแม้แต่ชาติเดียว มากบ้าง น้อยบ้าง มาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ทั้งทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี 

 

รวมทั้งอานุภาพอันไม่มีประมาณของพระรัตนตรัย คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ และคุณของบิดามารดา ครูบาอาจารย์ ทั้งหมดรวมเป็นกระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์ มีเดช มีอานุภาพมาก ไหลผ่านกลางท่อแก้วใสๆ ภายในกายของเรา ให้ใสบริสุทธิ์

 

ขจัดสิ่งที่เป็นมลทินของใจเรา ตั้งแต่กิเลสอาสวะ ซึ่งมีความโลภ ความโกรธ ความหลง นิวรณ์ทั้ง ๕ วิบัติ บาปศักดิ์สิทธิ์ วิบากกรรม วิบากมาร อุปสรรคต่างๆ นานาในชีวิต ทุกข์ โศก โรค ภัย สิ่งที่ไม่ดีต่างๆ ให้ละลายหายสูญไปให้หมด ให้เหลือแต่ความบริสุทธิ์ที่ผุดเกิดขึ้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เป็นดวงใสๆ กลมรอบตัวเหมือนดวงแก้วกายสิทธิ์ ใสประดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ไม่มีตำหนิ ไม่มีขีดข่วนคล้ายขนแมว อย่างเล็กขนาดดวงดาวในอากาศ อย่างกลางขนาดพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ อย่างใหญ่ขนาดพระอาทิตย์ยามเที่ยงวัน เป็นความบริสุทธิ์เบื้องต้น ที่ปรากฏเกิดขึ้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗

 

ตำแหน่งศูนย์กลางกายฐานที่ ๗

 

สำหรับท่านที่มาใหม่ที่ไม่รู้จักฐานที่ ๗ ให้สมมติว่า หยิบเส้นด้ายขึ้นมา ๒ เส้น นำมาขึงให้ตึงจากสะดือทะลุไปด้านหลังเส้นหนึ่ง จากด้านขวาทะลุไปด้านซ้ายอีกเส้นหนึ่ง ให้เส้นด้ายทั้งสองตัดกันเป็นกากบาท จุดตัดจะเล็กเท่ากับปลายเข็ม เหนือจุดตัดขึ้นมา ๒ นิ้วมือ เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗

 

ซึ่งจะเห็นได้ต่อเมื่อ ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ หยุดเป็นจุดเดียวกันจึงจะเห็นฐานที่ ๗ ได้ชัดเจน เพราะฉะนั้นท่านที่มาใหม่ให้จำเอาไว้ว่า อยู่ที่ตรงนี้ หรือจำง่ายๆ ว่า อยู่ที่กลางท้องในตำแหน่งที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ จำง่ายๆ แค่นี้ แล้วก็ไม่ต้องไปมัวควานหาฐานที่ ๗ จำง่ายๆ ว่า อยู่กลางท้อง ในตำแหน่งที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ

 

นึกอย่างสบาย ๆ


ความบริสุทธิ์เบื้องต้นดังกล่าว ที่มีขนาดเล็กเท่ากับดวงดาวในอากาศ อย่างกลางขนาดพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ อย่างใหญ่ขนาดพระอาทิตย์ยามเที่ยงวัน บังเกิดขึ้นที่ตรงนี้ เป็นดวงใสๆ ประดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ไม่มีตำหนิเลย กลมรอบตัวเหมือนดวงแก้ว ให้เอาใจของเราที่แวบไปแวบมาคิดไปในเรื่องราวต่างๆ มาหยุดนิ่งอยู่ที่กลางดวงใสๆ ให้ตรึกนึกถึงดวงใสเอาใจหยุดไปที่จุดกึ่งกลางของดวงใส

 

ตรึก คือ การนึกคิดอย่างเบาๆ สบายๆ คล้ายๆ กับเรานึกถึงสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราคุ้นเคย เห็นจนเจนตา ให้นึกง่ายๆ อย่างนั้น แต่ไม่ได้หมายถึง เพ่งลูกแก้ว เพราะว่าถ้าเพ่งแล้วจะปวดศีรษะ ปวดลูกนัยน์ตา ตึงหน้าผาก เกร็งไปทั้งตัว เพราะฉะนั้นเราไม่ใช้คำว่า เพ่งลูกแก้ว ไม่ใช่อย่างนั้นนะ

 

ให้ตรึกนึกถึงดวงใส คือ นึกอย่างเบาๆ สบายๆ แล้วก็เอาใจมาหยุดอยู่ที่กลางดวงใส อย่างนิ่งๆ นุ่มๆ ละมุนละไม อย่างละเอียดอ่อน อย่างนุ่มนวล สบายๆ ทำใจให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น แต่อย่าไปเพ่งลูกแก้วนะจ๊ะ

 

อย่าไปเค้นภาพโดยคาดหวังว่า มันจะทะลักออกมาจากกลางท้อง รวมทั้งอย่าไปควานหาดวงแก้วในที่มืด ให้ค่อยๆ ตรึกไป นึกอย่างสบายๆ ค่อยๆ นึก

 

ใหม่ๆ มันก็เห็นรัวๆ ลางๆ คือ นึกได้รัวๆ ลางๆ บางท่านก็ชัดเจนถึง ๒๐% ๓๐ % บางท่าน ๔๐,๕๐,๖๐ % บางท่าน ๗๐,๘๐ % นานๆ จะเห็นสักคนหนึ่งนึกได้ ๙๐ กว่า % คือนึกได้ชัดเจนเหมือนกับ Xerox เหมือน copy ภาพนี้ จากข้างนอกไปไว้ข้างในเข้าไปเลย นานๆ จะเจอสักคนหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะค่อยๆ นึกได้อย่างรัวๆ ลางๆ แล้วก็ค่อยๆ ชัดเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ

 

เราจะนึกได้ชัดเจนขนาดไหนก็ตาม ต้องค่อยๆ นึกอย่างสบายๆ ทำใจเย็นๆ ค่อยๆ ประคองภาพบริกรรมนิมิตดวงใสๆ อย่างสบายๆ ให้ต่อเนื่องกันไป อย่าให้เผลอไปคิดเรื่องอื่นนะ แต่ถ้าเผลอก็ดึงใจกลับมาเริ่มต้นใหม่อย่างง่ายๆ

 

อย่าไปรำคาญ หรืออย่าไปฮึดฮัดในกรณีที่เราอยากได้ความสงบ แต่ใจก็อดจะฟุ้งไปคิดถึงสิ่งที่เราคุ้นเคยไม่ได้ ให้ช่างมันนะจ๊ะ อย่าไปกังวล นึกได้เราก็ย้อนกลับมาใหม่  ดึงใจกลับมาใหม่ เริ่มต้นใหม่อย่างง่ายๆ สบายๆ ทำใจให้หลวมๆ เหมือนสวมเสื้อผ้าที่ไม่คับ ถ้าตั้งใจมากเกินไปมันจะตึง มันจะเครียด

 

เพราะฉะนั้น อย่าไปลุ้น อย่าไปเร่ง อย่าไปเพ่ง อย่าไปจ้องดวงแก้ว ให้นึกอย่างสบายๆ ถ้านึกไม่ออกก็ไม่เป็นไร วางใจหยุดนิ่งเฉยๆ อยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ จำง่ายๆ คือ อยู่ในกลางท้องของเรา ซึ่งเป็นที่สุดของลมหายใจเข้าออก ไปสุดอยู่ตรงนั้น  

 

บริกรรมภาวนา

 

ถ้าทำอย่างนี้แล้ว ใจยังอดแวบไปคิดเรื่องอื่นไม่ได้ ก็ให้ประกอบบริกรรมภาวนาขึ้นมาในใจอย่างสบายๆ ภาวนาว่า สัมมาอะระหังๆๆ อย่าไปใช้กำลังในการท่องคำภาวนา ให้นึกเหมือนเป็นเสียงที่ละเอียดอ่อน ดังออกมาจากจุดกึ่งกลางของดวงใส ที่ตั้งอยู่ในกลางท้องของเรา ในตำแหน่งที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ ภาวนา สัมมาอะระหัง ไป ใจก็ตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางดวงใสๆ

 

ภาวนาไปเรื่อยๆ จะกี่ครั้งก็ได้ กี่สิบ กี่ร้อย กี่พัน กี่หมื่น กี่แสนครั้งก็ได้  แต่ทุกครั้งที่ภาวนาจะต้องตรึกนึกถึงดวงใส เอาใจหยุดอยู่ที่กลางดวงใสๆ ภาวนาอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าใจจะหยุดจะนิ่ง

 

พอใจหยุดนิ่งมันก็จะทิ้งคำภาวนาไปเอง จะมีอาการคล้ายๆ กับเราลืมคำภาวนาไป แต่ใจไม่ฟุ้ง หรือมีอาการอยากอยู่เฉยๆ ไม่อยากจะภาวนา สัมมาอะระหัง ต่อไป ถ้าเกิดความรู้สึกอย่างนี้ หรือมีอาการอย่างนี้ เราก็ไม่ต้องย้อนกลับมาภาวนาใหม่ เอาใจหยุดนิ่งๆ นุ่มๆ ละมุนละไม อยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗

 

ถ้าเรายังนึกถึงดวงใสๆ ไม่ได้ ก็นิ่งเฉยๆ อย่างสบายๆ ให้ต่อเนื่องกันไป หรือตรึกนึกเห็นดวงใสๆ รัวๆ ลางๆ  เราก็หยุดนิ่งๆ ไปเรื่อยๆ ไม่ต้องทำอะไรที่นอกเหนือจากนี้ หรือดวงใสชัดขึ้น สว่างขึ้น เราก็หยุดนิ่งเฉย ทำอย่างเดิม คือ หยุดนิ่งเฉยๆ ละมุนละไม อย่างละเอียดอ่อน อย่างสบายๆ โดยไม่ต้องทำอะไรที่นอกเหนือจากนี้

 

แล้วใจจะค่อยๆ ละเอียดอ่อนลุ่มลึกไปตามลำดับ จนไปสู่ภาวะที่หยุดนิ่งอย่างสมบูรณ์ คือ ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ ๔ อย่าง ไปหยุดเป็นจุดเดียวกัน พอถึงตรงนี้เราจะมีความรู้สึกว่า สบ๊าย สบาย ใจเบิกบาน ความรู้สึกที่ร่างกายก็หมดไป คล้ายๆ กับตัวเราหายไป ไม่มีตัวตน ใจเคลื่อนไปสู่อีกมิติหนึ่ง ซึ่งเป็นมิติที่ละเอียด

 

ถึงตอนนี้เราจะเห็นดวงใส ความสว่างกระจายไปรอบตัว โดยมีดวงใสๆ เป็นแหล่งกำเนิดของแสงแห่งความบริสุทธิ์ภายใน ที่เป็นแสงใสๆ เหมือนแสงแก้วใสๆ ให้ทำอย่างนี้แค่นี้เท่านั้น หยุดนิ่งเฉยอย่างสบายๆ อย่างมีความสุขใจ อย่าทำอะไรที่นอกเหนือจากนี้ ให้ทำอย่างนี้ แค่นี้ เท่านั้น

 

ชีวิตเป็นของน้อย

 

วันเวลาของชีวิตผ่านไปทุกๆ วัน ไม่ได้ผ่านไปเปล่า ได้พาเอาสังขารร่างกายของเราให้เสื่อมตามไปด้วย เอาความแข็งแรง ความกระปรี้กระเปร่าไปจากตัวของเรา แล้วเอาความแก่ความชรามาให้ สุดท้ายก็นำเราไปสู่จุดสลาย คือ ความตาย

 

กาลเวลาได้กลืนกินชีวิตสรรพสัตว์ทั้งหลายอย่างเงียบๆ โดยรุกเอาอายุของสรรพสัตว์ให้หมดสิ้นเปลืองไปทุกๆ ชีวิต ถูกความชราต้อนเข้าไป  ไม่มีใครต้านทานได้ ถูกมรณภัยคุกคาม ใครก็ไม่อาจจะป้องกันตัวเองได้ เพราะฉะนั้นชีวิตของเราเหลือน้อยลงไปทุกขณะ เรามีเวลาเหลืออยู่ในโลกนี้เพียงนิดเดียว

 

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบความที่ชีวิตนี้เป็นของน้อย จึงได้ตรัสเตือนพวกเราทั้งหลายว่า

 

“ชีวิตนี้น้อยนัก ทุกชีวิตล้วนบ่ายหน้าไปหามฤตยู เหมือนผลไม้ที่สุกแล้ว ย่อมมีวันต้องร่วงหล่นลงอย่างแน่นอน เหมือนภาชนะดินที่มีความแตกทำลายเป็นที่สุดฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น ผู้ไม่รู้ก็ย่อมเศร้าโศกเมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก เพราะความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเรา จึงประสบทุกข์สิ้นกาลนาน แต่วิญญูชนทั้งหลาย ละความยินดีในสิ่งที่ตนถือว่า เป็นของเรา ละความยึดมั่นถือมั่น ไม่มีความยินดียินร้าย จึงละความโศก ความอาลัย ความร่ำพิไรรำพัน เพราะเหตุนั้น มุนีผู้รู้ทั้งหลาย ผู้เห็นนิพพานเป็นแดนเกษม ย่อมละอารมณ์ที่เคยหวงแหน ไม่ติดในสังขารทั้งหลายทั้งปวง เหมือนหยาดน้ำย่อมไม่ติดบนใบบัว มุนีเหล่านั้นย่อมไม่ติดในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ได้รับรู้ ย่อมบรรลุอมตะนิพพาน เสวยเอกันตบรมสุขอย่างเดียว”

 

เพราะฉะนั้น เราเป็นนักสร้างบารมี เป็นผู้มีปัญญา ต้องรู้จักปลด รู้จักปล่อยวาง ละคลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง เราจะได้ปลอดโปร่ง เบา สบายใจ จะได้แล่นเข้าไปสู่ธรรมภายใน

 

สละชีวิตแบบผู้มีปัญญา

 

เหมือนอย่างพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ มหาปูชนียาจารย์ของพวกเรา ก่อนที่ท่านจะได้บรรลุธรรม ท่านปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทั่งชีวิตของท่าน สละชีวิตเพื่อขอให้ได้พบธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านได้บรรลุ ถ้าได้บรรลุแล้วก็จะอุทิศตนเป็นทนายแก้ต่างให้กับพระพุทธศาสนา โดยไม่กลัวต่ออุปสรรคใดๆ ทั้งสิ้น หลังจากที่ท่านได้บรรลุแล้ว ได้เผยแผ่วิชชาธรรมกายเรื่อยมา จนกระทั่งสืบทอดมาถึงพวกเรา

 

ในฐานะศิษยานุศิษย์ ต้องทำเหมือนอย่างที่หลวงปู่ของเราท่านได้ทำมาแล้ว ท่านใช้วิธีการแบบเดียวกันกับที่พระบรมโพธิสัตว์ท่านได้ใช้ในวันตรัสรู้ธรรมใต้ควงไม้พระศรีมหาโพธิ์ คือ ถ้าไม่ได้บรรลุธรรม หรือพบวีธีการที่จะพ้นจากความทุกข์ทรมาน จากกิเลสอาสวะที่บังคับบัญชาอยู่ในจิตใจแล้ว จะไม่ยอมลุกจากที่เด็ดขาด ยอมตาย เนื้อเลือดจะแห้งเหือดหายไป เหลือแต่กระดูกหนังก็ช่างมัน ไม่ได้ตายเถอะ นิ่ง ตายเป็นตายกันอย่างนี้ เพราะทุกชีวิตต้องตายอยู่แล้ว ต่างแต่ว่าช้าหรือเร็วกว่ากัน  แต่หลวงปู่ท่านเลือกตายแบบผู้ที่มีปัญญา คือ แลกความตายกับการได้เข้าถึงธรรม ถ้าหากว่าไม่ได้บรรลุธรรมก็ยอมตาย

 

ดังนั้น ในวันนั้นท่านจึงปล่อยวางทุกสิ่ง แม้กระทั่งชีวิต ไม่อาลัยอาวรณ์กับอะไรทั้งสิ้น ใจหยุดนิ่งอย่างเดียว หยุดนิ่งเฉยๆ อย่างสบายๆ จนกระทั่งใจท่านหยุดนิ่งสนิท หยุดได้สมบูรณ์ พอถูกส่วนก็ตกศูนย์วูบลงไป ได้เข้าถึงสิ่งที่อยู่ในตัวของท่าน คือ ดวงธรรมภายใน กายภายใน แล้วก็เข้าถึงพระธรรมกาย ท่านไปถึงของจริงที่มีอยู่ภายในตัวของท่าน ไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสิ่งนั้น

 

การสละชีวิตยอมตายแบบผู้ที่มีปัญญาอย่างนี้ คุ้มเกินคุ้มจริงๆ ถ้าไม่ได้พบกับสิ่งที่ประเสริฐที่สุด คือ พระธรรมกาย พบที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง ยิ่งท่านมองอย่างสบายๆ ยิ่งมองก็ยิ่งชัด ยิ่งใส ยิ่งสว่าง ใจยิ่งเบิกบาน เหมือนเข้าไปสู่อาณาจักรแห่งความสุขที่ไม่มีประมาณ สุขที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด รู้สึกอบอุ่นใจ  ปลอดภัย ไม่กลัวต่อมรณภัย หรือภัยใดๆ ทั้งสิ้น

 

พระธรรมกายซึ่งเป็นของจริง ที่มีอยู่ภายในตัวของพวกเราทุกๆ คน เป็นที่พึ่งได้อย่างแท้จริง พึ่งท่านได้ตลอดเวลา พึ่งได้ทันทีที่เราได้เข้าถึงท่าน พึ่งได้ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันชาตินี้ จนกระทั่งละโลกไปสู่ปรโลกแล้ว ก็ยังพึ่งได้อีก เป็นที่พึ่งของเราไปทุกภพทุกชาติ จนกระทั่งไปถึงที่สุดแห่งธรรม

 

เพราะฉะนั้น เวลาของชีวิตในโลกมนุษย์นี้มีอยู่จำกัด เรามีเวลาไม่มากนะลูกนะ ที่จะอยู่ในโลกนี้ ให้ใช้วันเวลาที่เหลืออยู่น้อยนิดนี้ สร้างบารมีกันให้เต็มที่ ให้ชีวิตมีคุณค่าด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรม ฝึกฝนอบรมใจของเราให้หยุด ให้นิ่ง ให้เข้าถึงพระธรรมกายในตัว ให้ได้กันทุกคนนะจ๊ะ

 

ต่อจากนี้ไป ตั้งใจหยุดกันนิ่งๆ ให้ดี ให้ใจหยุดนิ่ง หยุดในหยุดๆ นิ่ง พอถูกส่วนเข้า ใจจะใส บริสุทธิ์ สว่าง อยู่ในกลางกายของเรา หยุดนิ่งๆ อย่างสบายๆ ทุกๆ คนนะลูกนะ ต่างคนต่างทำกันไปเงียบๆ นะจ๊ะ

Add Comment
2545
วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ►  เดือน สิงหาคม (233)
    • ▼  เดือน กรกฎาคม (123)
      • ความเพลินส่วนเกินของชีวิต 481030C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว 481023C รอบสาย
      • โลกุตรธรรม ๙ 481016C รอบสาย
      • พิจารณามี ๒ อย่าง 481009D รอบบ่าย
      • เส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน 481009C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวเรา 480828C รอบสาย
      • ที่มาของพระพุทธรูป 480717C รอบสาย
      • วัตถุประสงค์ของชีวิต 480710C รอบสาย
      • เมื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว 480605D รอบบ่าย
      • เหตุการณ์วันตรัสรู้ 480522C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จในสมัยพุทธกาล 480515D รอบบ่าย
      • อิสรภาพที่แท้จริง 480417D รอบบ่าย
      • กรณียกิจ 480313C รอบสาย
      • สมาธิเหมือนเส้นผมบังภูเขา 480130C รอบสาย
      • ชีวิตในสังสารวัฏมีภัยมาก 480123C รอบสาย
      • HOW TO เข้าถึงธรรม 480116C รอบสาย
      • พุทธภาวะภายในตัว 470711C รอบสาย
      • สมถวิปัสสนา 470516C รอบสาย
      • สติปัฏฐาน ๔ 470620C รอบสาย
      • ป่วยอย่างสง่างาม 470502D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งคืองานที่แท้จริง 490122D รอบบ่าย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน 481211D รอบสาย
      • การเห็นด้วยปัญญา 481225C รอบสาย
      • อานิสงส์การฝึกใจให้หยุดนิ่ง 481211D รอบบ่าย
      • การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 460316C รอบสาย
      • ภาพที่สำคัญของชีวิต 460309C รอบสาย
      • มโณปริธานอันยิ่งใหญ่ 460119D รอบบ่าย
      • จริงต้องได้ 460504D รอบบ่าย
      • ลูกมีบุญที่จะเข้าถึงธรรมได้ 450515F รอบค่ำ
      • ฝึกใจหยุดนิ่งอย่างสบาย 450516F รอบค่ำ
      • งานที่แท้จริง 450306F รอบค่ำ
      • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
      • นึกถึงสิ่งที่คุ้นเคย 450525F รอบค่ำ
      • หยุดนิ่งสำคัญที่สุด 450529F รอบค่ำ
      • ชีวิตเป็นของน้อย 450428C รอบสาย
      • หยุดแค่พริบตาเดียวได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ 450305F รอบค่ำ
      • หลับตื่นในอู่ทะเลบุญ 450510F รอบค่ำ
      • ทางเดินของใจ 7 ฐาน 450613F รอบค่ำ
      • อานุภาพหยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • กิเลสประจำกายและวิธีแก้ 450912F รอบค่ำ
      • ปรับที่ใจใช่ที่ภาพ/แก้กดลูกนัยน์ตา 450615F รอบค่ำ
      • เทคนิควิธีการปฏิบัติธรรม 450528F รอบค่ำ
      • นึกบริกรรมนิมิตด้วยสิ่งที่คุ้นเคย 450524F รอบค่ำ
      • หนีกรรมไม่พ้น 450302F รอบค่ำ
      • แผนผังชีวิต 450514F รอบค่ำ
      • หาตัวกลัวให้เจอ 450629F รอบค่ำ
      • ลูกไก่เจาะกระเปาะไข่ 450518F รอบค่ำ
      • วิธีแก้ กดลูกนัยน์ตา 450607F รอบค่ำ
      • อานิสงส์การเข้าถึงพระรัตนตรัย 451022F รอบค่ำ
      • การตอบประสบการณ์ภายใน 560212D รอบบ่าย
      • ฝึกเป็นผู้ให้ 571205D รอบบ่าย
      • นอกรอบให้หมั่นประคองใจ 571211
      • สิ่งที่แสวงหาอยู่ที่ใจหยุดนิ่ง 451028F รอบค่ำ
      • อโห พุทโธ 451113F รอบค่ำ
      • เจริญมรณานุสติ 451118F รอบค่ำ
      • หวงห่วงแบบอริยะ 451209F รอบค่ำ
      • นึกได้ก็เห็นได้ 460309C รอบสาย
      • ต้องฝึกบ่อยๆ ให้ชำนาญ 460202D รอบบ่าย
      • ชีวิตเป็นของน้อย 460126C รอบสาย
      • นิ่งแล้วต้องขยาย 460101D รอบบ่าย
      • สมบัติที่แท้จริง 451231C รอบสาย
      • วันพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม 451227F รอบค่ำ
      • ฐานที่7ที่เกิดดับหลับตื่น 451222D รอบบ่าย
      • กายสบาย ใจสบาย บุญเก่าก็ได้ช่อง 481221
      • หมั่นทบทวนบุญ 451123F รอบค่ำ
      • บุญคือที่พึ่ง 451119F รอบค่ำ
      • ทำไมเด็กจึงเห็นธรรมะง่าย 521025D รอบบ่าย
      • ในท้องมีพระธรรมกาย 520904C รอบสาย
      • มหัศจรรย์สมาธิ 530314C รอบสาย
      • ภาวิตา พหุลีกตา 550806D รอบบ่าย
      • อวิชชา 550722D รอบบ่าย
      • Set Zero 590304D รอบบ่าย
      • คนเราเกิดมาทำไม/ในตัวเรามีองค์พระ 511207C รอบสาย
      • นิมิตเลื่อนลอยหลุมพรางของพญามาร 451013D รอบบ่าย
      • ธรรมกายเอฟเฟค 430423C รอบสาย
      • นิวรณ์ 5 451010F รอบค่ำ
      • นั่งอย่างมีชีวิตชีวา 450924F รอบค่ำ
      • อย่ากินบุญเก่า 450926F รอบค่ำ
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • หลับในอู่ทะเลบุญ 451004F รอบค่ำ
      • เริ่มต้นจากจุดสบายแล้วจะง่าย 451008
      • ตำแหน่งแห่งความสมปรารถนา 521206D รอบบ่าย
      • คำภาวนา สัมมาอะระหัง 510622C รอบสาย
      • บุญพลังแห่งความสุขและความสำเร็จ 511109D รอบบ่าย
      • อริยมรรคมีองค์๘ 510706C รอบสาย
      • หลักสูตรชีวิต 510203D รอบบ่าย
      • เห็นสิ่งใดฝึกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้น 51...
      • เริ่มต้นจากจุดที่ง่าย 510629D รอบบ่าย
      • จุดเล็กใสที่คล้ายเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร 511005C รอบสาย
      • หยุดนิ่งได้แล้วฝึกขยายย่อ 510615D รอบบ่าย
      • พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมใด 511010C รอบสาย
      • พระคุณของ หลวงปู่ฯพระผู้ปราบมาร 511005D รอบบ่าย
      • นั่งมาตั้งนาน ทำไมยังไม่ได้ผล 481127D รอบบ่าย
      • ต้องสบายทุกขั้นตอน 480821D รอบบ่าย
      • หลักวิชชาใจหยุดนิ่งและอาการตกศูนย์ 481218D รอบบ่าย
      • อุปสรรคและหลักวิชชาในการปฏิบัติธรรม 490604C รอบสาย
      • การปฏิบัติธรรมคือการแสวงหาความพอดี 480626C รอบสาย
      • อย่าท้อ_เฉยในทุกประสบการณ์ 471205D รอบบ่าย
      • วิธีปฏิบัติธรรม 480206D รอบบ่าย
      • ง่ายแต่ลึก 480130D รอบบ่าย
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger