• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2546 มโณปริธานอันยิ่งใหญ่ 460119D รอบบ่าย

มโณปริธานอันยิ่งใหญ่ 460119D รอบบ่าย

 


มโณปริธานอันยิ่งใหญ่

วันอาทิตย์ที่  ๑๙  มกราคม  พ.ศ. ๒๕๔๖ (๑๓.๓๐ - ๑๖.๐๐ น.)

งานบุญวันอาทิตย์ ณ สภาธรรมกายสากล

 

ปรับกาย ปรับใจ


            ตั้งใจนั่งหลับตาเจริญสมาธิภาวนากันนะ  หลับตาเบาๆ พอสบายๆ  แล้วก็ทำใจของเราให้เบิกบาน  ให้แช่มชื่น  ให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส 

หยุดใจไปที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗  ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ  หยุดใจของเราเบาๆ ไปที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗  อย่างสบายๆ 

จะตรึกนึกถึงดวงใส หรือองค์พระใสๆ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ 

หรือจะวางใจหยุดนิ่งโดยไม่นึกถึงภาพก็ได้ ถนัดอย่างไหนก็เอาอย่างนั้นนะ  หยุดในหยุด  นิ่งในนิ่งลงไปอย่างสบายๆ 


ที่พึ่งยามศึกชิงภพ


หมั่นพยายามทำความคุ้นเคยกับศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เอาไว้ให้ดีนะลูกนะ เพราะว่าสักวันหนึ่ง เราจำเป็นจะต้องใช้ ถ้าหากว่า เราไม่ฝึกฝนให้ชำนาญ ถึงเวลาที่เราจะใช้ มันจะใช้ไม่ได้  แล้วตอนช่วงที่เราจะใช้ ก็เป็นช่วงสำคัญของชีวิต  คือช่วงศึกชิงภพ  จะไปสุคติโลกสวรรค์ หรือว่าจะไปอบายภูมิ ก็ขึ้นอยู่กับตอนช่วงนั้น

ถ้าตอนนั้นใจเราใสบริสุทธิ์ เราก็มีสุคติภูมิเป็นที่ไป ถ้าใจหมองซูบซีดก็มีอบายภูมิเป็นที่ไป หมองกับใสนี่ เราเข้าใจกันอย่างดีแล้ว  เพราะฉะนั้น อย่าประมาทนะลูกนะ 

ตอนช่วงสุดท้ายของชีวิต ช่วงนั้นร่างกายเราจะไม่ค่อยแข็งแรง  ส่วนใหญ่จะเจ็บป่วย  นานๆ จะมีสักรายที่ถึงคราวละโลกแล้วร่วงไปแบบใบไม้ร่วง คือ หมดยางที่จะยึดกับกิ่งแล้วก็ร่วงไป  แต่ส่วนใหญ่มักจะไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บ  เพราะฉะนั้นเมื่อโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้น  ซึ่งเราก็เลือกโรคไม่ได้  บางโรคก็เจ็บปวดทรมานมาก  บางโรคก็พอทนได้

ทีนี้ถ้าหากว่า เราไม่ได้ฝึกฝนซ้อมกันบ่อยๆ ที่จะทำความใสของใจเอาไว้ เราจะไปเรียกร้องความใสในตอนช่วงนั้น มันยาก แม้จะมีกัลยาณมิตรอยู่รอบข้าง คอยชี้แนะ ให้ความสว่างกัน มันก็ยากนะลูกนะ

เราอย่าหวังไปพึ่งใครเลย อย่าหวังไปพึ่งผู้ที่อยู่แวดล้อมเรา  ถ้าหากหวังให้เขาเป็นกัลยาณมิตรให้เรา เอาไว้เป็นผลพลอยได้  เป็นเรื่องรองลงมา  แต่ดีที่สุดเราต้องเป็นกัลยาณมิตรให้กับตัวของเราเอง คือ สอนตัวเองได้  ได้เรียนรู้ ได้ฝึกฝนในตอนที่เรายังแข็งแรงอยู่  แล้วก็ต้องฝึกฝนให้ได้ทุกวัน  อย่าให้ขาดเลยแม้แต่วันเดียว  เพราะนี่เป็นเรื่องส่วนตัวของเรา  ที่เราจะต้องหาที่พึ่งให้กับตัวของเราเอาไว้

ก็ลองคิดดูว่า ขนาดร่างกายเรายังแข็งแรง  เรายังไปเรียกร้องเอาความใสให้เกิดขึ้นกับใจของเรานั้น ยังยาก  เพราะฉะนั้นไม่ควรประมาทนะลูกนะ 


ต้องฝึกใจทุกวัน


ฝึกฝนอบรมใจไปทุกวัน ทำให้สม่ำเสมอ แล้วมันจะติดเป็นนิสัย  เหมือนเราตื่นนอนมาแล้วก็ต้องล้างหน้า  แปรงฟัน ขับถ่าย อาบน้ำ เป็นต้น  ให้มันเป็นกิจวัตรอย่างนั้น

ฝึกบ่อยๆ ความใสก็จะบังเกิดขึ้นกับใจของเรา  เป็นความใสที่จะมาปรากฏเกิดขึ้นจริงๆ ที่เห็นด้วยตาข้างใน และหลังจากนั้นเราจะหลับตาลืมตาเนื้อ มันก็เห็นได้ 

ลืมตาก็ยังเห็นความใส อยู่ในศูนย์กลางกาย ฐานที่ ๗  หลับตาก็เห็นความใส  ทั้งหลับตาและลืมตาก็เห็นใสด้วยกันทั้งคู่  เห็นเป็นดวงใสๆ บ้าง  เป็นองค์พระใสๆ บ้าง  ถ้าเห็นได้อย่างนี้ตลอดเวลา  อย่างนี้จึงจะเอาตัวรอดได้นะ

ประการสำคัญคือ  เราเข้าถึงความใสวันไหน เท่ากับเราสมปรารถนาในชีวิตในวันนั้น  เพราะทุกชีวิตเกิดมาเพื่อแสวงหาความสุข  นี่คือเป้าหมายของมนุษย์ ส่วนใหญ่จะคิดกันอย่างนี้  หรือจะเรียกว่าทุกคนก็ได้


ทุกคนปรารถนาความสุข


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า 

“สุข  กามานิ  ภูตานิ” 

สัตว์โลกทั้งหลาย สิ่งที่เป็นยอดแห่งความปรารถนาคือความสุข”

นี่คือยอดปรารถนา  แต่ใครจะมีความเข้าใจว่า ความสุขมันคืออะไร อยู่ที่ไหน จะหามาได้อย่างไร นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง

บางคนเข้าใจว่า ทรัพย์มีความสุข ก็ไปแสวงหาทรัพย์

บางคนเข้าใจว่า ความสุขอยู่ที่การดื่ม  การลิ้มรสอาหาร  การได้ดมของหอมๆ ได้เห็นภาพสวยๆ ได้ยินเสียงเพราะๆ ก็จะไปหาสิ่งนั้น

ถ้าใครคิดว่า ความสุขอยู่ที่ลาภ ยศ  สรรเสริญ มีอำนาจ วาสนา มีพวกพ้อง บริวาร  ก็วิ่งเข้าไปหากันตรงนั้น

จะเริ่มต้นด้วยอะไรก็แล้วแต่ ด้วยการเห็น  ได้ยิน  ดมกลิ่น  ลิ้มรส  ถูกต้องสัมผัส  แล้วก็ไปลงท้ายที่ความสุข คือความพึงพอใจในระดับที่มนุษย์เข้าใจได้

เพราะฉะนั้น ใครถึงความสุขจึงได้ชื่อว่า สมความปรารถนา  สมหวังในชีวิต

ความสุข คือ สุดยอดที่มนุษย์แสวงหากัน เพราะฉะนั้น เมื่อใดใจเราได้หยุดได้นิ่ง  ได้ไปถึงแหล่งแห่งความสุขที่แท้จริงแล้ว  ก็ได้ชื่อว่า เราสมความปรารถนาในชีวิตนี้


ความสุขมีอยู่ที่เดียว


ความสุข มีอยู่ที่เดียว  อยู่ที่ใจหยุดใจนิ่งเท่านั้น

ถ้านอกเหนือจากนี้แล้วเป็นไม่มี  

การที่เราแสวงหาความใส  ก็เพื่อต้องการที่จะพบความสุข  ความสมหวังในชีวิต  ดังนั้นการปฏิบัติธรรมอย่างน้อยก็เพื่อสิ่งนี้ คือ พบความสุขที่แท้จริง  นี่เป็นอย่างน้อย แล้วก็ได้ไปสู่สุคติภพ  สู่ภพอันวิเศษ 

แต่เป้าหมายหลักจริงๆ ของการฝึกใจให้หยุดนิ่งนั้น  เขาต้องการเข้าไปถึงสิ่งที่มีอยู่ในตัว ซึ่งเป็นแผนผังของชีวิต เข้าไปถึงพระธรรมกาย ไปถึงพระรัตนตรัย เพื่อจะได้อาศัยพระรัตนตรัยเป็นที่ยึด ที่เกาะ นำพาไปสู่อายตนนิพพาน เป้าหมายหลัก เพื่อความดับทุกข์ ดับร้อนที่อยู่ในจิตใจ

เพราะฉะนั้น ฝึกเอาไว้เรื่อยๆ และอีกหน่อยเราก็จะทำได้คล่อง

พอได้ดวงใส หรือองค์พระใสๆ แล้ว เราจะทำมาหากินอะไร เราก็ทำไปเถอะ  เคลื่อนไหวข้างนอก แต่ข้างในหยุดนิ่ง  ถ้าทำได้อย่างนี้ก็สมหวังทั้งโลกภายนอกและโลกภายใน เป็นชีวิตที่สมบูรณ์

โลกภายนอกก็สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์  ภายในก็อีกร้อยเปอร์เซ็นต์  เป็นชีวิตสองร้อยเปอร์เซ็นต์  จะสมหวังกันอย่างนี้นะ

 

ความสำคัญการปฏิบัติธรรมช่วงบ่าย


ตอนภาคบ่าย ของทุกอาทิตย์ เป็นช่วงที่เราจะตามระลึกนึกถึงบุญที่เราได้ทำเอาไว้  เราก็จะได้อธิษฐานจิตของเรา เพื่อเป็นอธิษฐานบารมี ให้เราได้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ได้ตั้งใจไว้ ด้วยปลอดภัยและมีชัยชนะ

กับจะได้อุทิศบุญกุศลนี้ไปให้บรรพบุรุษ  บุพการี หมู่ญาติของเราที่ละโลกไปแล้ว  จะไปอยู่ในภพภูมิใดก็ตาม  ท่านเหล่านั้นก็จะได้มีส่วนแห่งบุญที่เราได้อุทิศไปนี้ ด้วยอานุภาพของธรรมกายของมหาปูชนียาจารย์ คือ พระเดชพระคุณหลวงปู่ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย และคุณยายอาจารย์ของเรา ตลอดจนกระทั่งทีมงานของท่าน ก็จะได้นำบุญนี้ไปให้กับบรรพบุรุษ  บุพการี พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้องของเราที่ละโลกไปแล้ว

เพราะฉะนั้น ในตอนช่วงนี้ เราก็หยุดใจให้นิ่งๆ ถ้าเราทำใจให้ใสได้แล้ว มันก็ง่ายละ  พอหลวงพ่อบอกว่า หยุดใจ ก็ใจมันหยุดอยู่แล้ว มันก็จะใส จะสว่าง  พอใสมันสว่าง เดี๋ยวก็เห็นดวง  เดี๋ยวก็เห็นกาย  เดี๋ยวก็เห็นองค์พระภายใน

ยิ่งใส ยิ่งสว่าง  เราก็ยิ่งเบิกบาน  ยิ่งแช่มชื่นกันไปเรื่อยๆ องค์พระก็จะขยายกว้างออกไป  และก็มีองค์ใหม่ขึ้นมาแทนที่  องค์ที่ใสกว่า สวยกว่า ผุดซ้อนๆๆๆ กันขึ้นมา  ใสบริสุทธิ์สว่าง  ถ้าได้ถึงตรงนี้  พอเราตามระลึกนึกถึงบุญ มันจะเห็นบุญชัดเลย เห็นชัดเหมือนเห็นองค์พระธรรมกายชัดๆ นั่นแหละ  จะเห็นดวงบุญซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งความสุขและความสำเร็จในชีวิตของเราเป็นดวงใส ๆ  คล้ายๆ ดวงธรรมนั่นแหละ  แต่ว่ามีคุณสมบัติแตกต่างกัน

บุญเป็นบ่อเกิดแห่งความสุขและความสำเร็จในชีวิตของเราทุกระดับเลย และก็ทุกหนทุกแห่งในสังสารวัฏ ไม่ว่าจะในมนุษยโลก หรือในเทวโลก  บุญสำคัญมากๆ นะ

ถ้าได้องค์พระแล้ว ก็จะเห็นดวงบุญใส  พอเห็นอย่างนี้เข้า มันก็จะยิ่งปลื้ม ยิ่งมีปีติ ยิ่งมีความสุขกาย  สบายใจหนักยิ่งขึ้นไปเลย

แต่ถ้าหากว่า เรายังทำไม่เป็น มันก็ได้แค่นิ่งๆ โล่งๆ เบาๆ สบายๆ  ได้แค่รู้สึก  รู้สึกด้วยใจแค่นั้นเอง แต่ถ้าหยุดได้มันเห็น จะเห็นเป็นภาพขึ้นมา  ถ้าหยุดยังไม่ได้ก็แค่รู้  ความรู้มันเกิดขึ้น แต่จะให้ดีละก็ มันทั้งเห็นทั้งรู้นั่นแหละ คือการหยุดใจนะ  นี่ให้เข้าใจกันอย่างนี้นะ

ต้องหมั่นขยันฝึกฝนหยุดใจกันไป  อย่าให้วันเวลาผ่านไปเปล่าๆ  อย่าหายใจเข้าออกทิ้งเปล่าไปฟรีๆ  รับประทานอาหารให้ร่างกายแข็งแรงมีชีวิตสืบทอดกันไปเปล่าๆ ต้องเอาความมีชีวิต เอาความแข็งแรงนั้นมาฝึกฝนอบรมใจนะ


คุณยายอาจารย์


วันนี้เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในชีวิตของเรา  ที่เราเกิดมาสร้างบารมี และก็มาพ้องตรงกับวันคล้ายวันเกิดของคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง  ซึ่งเราก็ได้ทราบประวัติชีวิตของท่านมาบ้างพอสังเขปว่า

ท่านถือกำเนิดในตระกูลของชาวนา และมีความนึกคิดที่แตกต่างจากลูกทุ่งทั้งหลาย แตกต่างจากหมู่ญาติ แตกต่างจากหมู่เพื่อน แตกต่างจากเขาหมดเลย  คล้ายๆ กับว่าอาศัยเป็นแดนเกิดด้วยกายมนุษย์เท่านั้น

เมื่อรู้เรื่องราวแล้ว มีจุดที่ชวนให้ท่านต้องแสวงหาแสงสว่างของชีวิต คือต้องการไปพบพ่อที่ตายไปแล้ว จะไปอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่ ท่านตั้งใจมั่นว่า จะต้องไปพบให้ได้  แล้วก็ฝึกตนยอมตนในทุกสิ่งประดุจผ้าขี้ริ้วเช็ดเท้า ใครจะเหยียบจะย่ำ จะเอาสิ่งสกปรกมาเช็ดถูกับผ้าขี้ริ้วนั้นก็ยอม  คือใครจะเหยียบย่ำ จะเยาะเย้ย ถากถาง  หรือทำอะไรท่าน  ท่านก็เฉยๆ ยอม ไม่ได้สนใจในสิ่งเหล่านั้น ถือว่าเป็นเรื่องปลีกย่อย ไม่ได้เอามาเป็นอารมณ์  เมื่อไม่เอามาเป็นอารมณ์ก็เป็นลมเป็นแล้งไป ไม่เป็นเรื่องเป็นราว เพราะท่านมีเป้าหมายของชีวิตว่า จะต้องไปหาพ่อในปรโลกให้ได้

และยอมตนเป็นคนรับใช้อุปัฏฐากวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงปู่ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านอยู่ที่นั่น  ท่านได้บรรลุธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรรลุวิชชาธรรมกาย และก็สอนด้วย  สอนให้ไปหาพ่อหาแม่ในปรโลกได้ ใจท่านมุ่งไปตรงนั้น จึงไปยอมตนเป็นคนรับใช้  ขอให้ได้มาถึงพระเดชพระคุณหลวงปู่ก็เป็นพอ ให้ได้มาถึงวิชชาธรรมกาย

เมื่อท่านตั้งใจจริงๆ ที่จะไปหาพ่อให้ได้ พอรู้ว่าต้องปฏิบัติธรรม ต้องเข้าถึงธรรมกาย  ท่านก็ทุ่มตัวเลย บริหารจัดสรรเวลา  ซึ่งก็มีเท่าๆ กับชาวโลกทั่วๆ ไป คือวันหนึ่งก็ ๒๔ ชั่วโมง  ทำภารกิจที่ได้รับมอบหมายเอาไว้ให้มันเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์ ไม่มีที่ติ  และก็ปลีกเวลาในการประพฤติปฏิบัติธรรม  เหมือนแอบๆ  ซ่อนๆ ลักลอบทำความดี ลักลอบปฏิบัติธรรมกันไป 

จนกระทั่งวันหนึ่งก็สมหวังได้เข้าถึงพระธรรมกาย เป็นรางวัลสำหรับผู้ที่มีความเพียร มีความขยัน มีความตั้งใจจริงที่จะให้เข้าถึงพระธรรมกายให้ได้  แล้วท่านก็เข้าถึงธรรมกายไปช่วยพ่อในปรโลกได้  หลังจากนั้นท่านก็ปลอดกังวล ไม่ห่วงใย อาลัยอาวรณ์อะไรเลย  ในทรัพย์สินเงินทอง  ในหมู่ญาติ  หรือเรื่องอะไรในโลก  คน สัตว์ สิ่งของอะไร ไม่สนใจ ไม่กังวล  แม้แต่อนาคตจะมีกินหรือไม่มีกิน  ใครจะเลี้ยงดูเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยก็ไม่คำนึง มุ่งที่จะศึกษาวิชาธรรมกายอย่างเดียว

เมื่อมาอยู่กับพระเดชพระคุณหลวงปู่แล้ว ท่านก็ตั้งหน้าตั้งตาศึกษาเล่าเรียนวิชชาธรรมกายอย่างเอาจริงเอาจัง  แม้จะมีสิ่งที่ชวนให้หงุดหงิด  งุ่นง่าน  ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ ขัดเคืองใจ ขุ่นมัว ท่านก็ไม่สนใจในสิ่งเหล่านั้น  สอนตัวเองได้ว่า  เราเกิดมาหาความสุข สุขทุกข์มันอยู่ที่ตัวเรา ใครจะกระทบกระแทกจะพูด จะจา แสดงกิริยาอาการอะไรก็แล้วแต่  ไม่ได้รับเอาไว้เลย  ไม่สนใจ ไม่ถือสา และก็ไม่เอามาเป็นอารมณ์  มุ่งที่จะศึกษาวิชชาธรรมกายอย่างเดียวเพราะฉะนั้นใจท่านก็ใส  สว่างไสว  สมหวังในการศึกษาวิชชาธรรมกายได้ 


คำสอนคุณยาย


คุณยายอาจารย์ ท่านเคยสอนหลวงพ่อบ่อยๆ ว่า ให้มองข้ามข้อบกพร่องข้อผิดพลาดของเพื่อนมนุษย์เสียบ้าง  ใจเราจะได้เบาสบาย  แล้วก็ให้เอาความสบายนั้นมาปฏิบัติธรรม  จะได้เข้าถึงธรรมได้อย่างง่ายๆ  จะได้สมหวังในชีวิต

ถ้าไปติดในข้อบกพร่อง ข้อผิดพลาดของเพื่อนมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นคนใกล้ คนไกล หรือใครๆ ก็ตาม เอามาคิดแล้วมันก็กลุ้ม ยิ่งมาปรุงแต่ง มาขยายความคิด มันก็ขยายความทุกข์  เมื่อขยายความทุกข์  ใจก็ไม่เบาสบาย  ใจมันก็จะหนัก  ถ้าใจหนักอย่างนี้ ขุ่นมัวเร่าร้อน มันก็จะห่างไกลจากการเข้าถึงธรรม จากการเข้าถึงวิชชาธรรมกาย ท่านก็พร่ำอบรมสั่งสอนกันมาอย่างนี้เรื่อยๆ  นึกขึ้นได้ทีไร  ท่านก็สอน

ท่านสอนว่า มนุษย์ทุกคนมันไม่สมบูรณ์หรอกนะ ทั้งทางความคิด คำพูด และการกระทำ  ถ้ามันสมบูรณ์แล้ว มันไปนิพพานหมดแล้ว  แต่ว่าเพราะไม่สมบูรณ์ ถึงต้องมาอยู่ในโลกนี้  เมื่อไม่สมบูรณ์ก็ต้องมีข้อผิดพลาดบ้าง ทางความคิด ทางคำพูด ทางการกระทำ ทางการแสดงออก อย่าไปถือสา เอามาเป็นอารมณ์  ถ้าถือสามันก็เป็นเรื่องเป็นราว  ถ้าไม่ถือสามันก็เป็นลมเป็นแล้ง

เพระฉะนั้น สุขทุกข์มันอยู่ที่ตัวเรา เราอยากจะมีสุข เราก็ต้องปล่อยมันไปตามเรื่องตามราวของมัน ถ้าอยากจะมีทุกข์ เราก็ไปถือเอาไว้

ถือสาหาความเขาว่า ไม่น่าพูดอย่างนั้นกับเรา ไม่น่าจะทำอย่างนี้กับเรา และก็เอามาปรุงแต่ง ส่วนคนพูดนั้นเขาหลับเป็นสุขไปแล้ว  แต่เรายังมานั่งคิดอยู่ เป็นทุกข์ อย่างนี้มันทำให้ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ หนักอกหนักใจ มันจะห่างจากเป้าหมายที่เราต้องการไปถึง  คือการเข้าถึงวิชชาธรรมกาย  การไปสู่ที่สุดแห่งธรรม 

ท่านพร่ำสอนหลวงพ่อ พร่ำสอนตัวเองอยู่ตลอด เพราะฉะนั้นวิชชาธรรมกายของท่านจึงโดดเด่น เพราะว่าไม่ได้สนใจเรื่องอะไรเลย จนกระทั่งได้รับการรับรองยืนยันจากพระเดชพระคุณหลวงปู่ พระผู้ปราบมารว่า เป็น “หนึ่งไม่มีสอง” ก็เพราะการฝึกตัวของท่าน สอนตัวเองของท่าน เป็นกัลยาณมิตรให้แก่ตัวท่านเองนั่นแหละ จึงทำให้ได้รับการยกย่อง ชื่นชม

ปกติคำยกย่องอย่างนี้ มันเกิดขึ้นได้ยาก  ถ้าหากความดีไม่มากพอ แต่ว่าเมื่อมีความดีมากพอแล้ว  สิ่งนี้จึงมาปรากฏเกิดขึ้นว่า “หนึ่งไม่มีสอง”  และแม้ได้รับการยกย่องชื่นชมจากมหาปูชนียาจารย์แล้ว ท่านก็ยังไม่หลงตัวเอง ยังไม่ลืมว่า เป้าหมายชีวิตของท่านมาสร้างบารมี จะไปตามหาพ่อ จะศึกษาวิชชาธรรมกาย  จะไปสู่ที่สุดแห่งธรรม  แล้วก็จะขยายวิชชาธรรมกายไปทั่วโลก  เพราะฉะนั้นไม่ลืมตัวเอง และก็ไม่หลงหนทางที่จะไป ยังมั่นคงและแน่วแน่เป้าหมายชีวิตก็ยังชัดเจน  ยังแจ่มใสตลอด  เพราะฉะนั้นท่านจึงเอาตัวรอดได้


การสร้างบารมี ๓ ประเภท


ถ้าเรานึกถึงปฏิปทาการสร้างบารมีของนักสร้างบารมีทั้งหลายในกาลก่อนที่ผ่านๆ มา และมีบันทึกเอาไว้ในพระไตรปิฎกเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ท่านได้ใช้ญาณทัศนะอันบริสุทธิ์  เกินกว่ามนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหม ทั้งหลายจะมีได้

สอดญาณไปดูว่า ผู้รู้ทั้งหลายบัณฑิตในกาลก่อน เขาสร้างบารมีกันอย่างไร แล้วก็สรุปได้ว่า การสร้างบารมีมีอยู่ ๓ ประเภท แต่ละประเภทก็มีการกำหนดเวลาว่าเป็นอสงไขย แล้วก็เป็นกัป  คือ

ประเภทที่ ๑ ปัญญาธิกพุทธเจ้า  สร้างบารมีตั้งแต่ คิดในใจ เปล่งวาจา ได้รับพุทธพยากรณ์ รวมกันแล้วได้ ๒๐ อสงไขย แสนมหากัป 

ประเภทที่ ๒ ศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีมากไปอีกเท่าหนึ่ง คิดในใจ  เปล่งวาจา ได้รับพุทธพยากรณ์  รวมกันแล้วได้ ๔๐ อสงไขยแสนมหากัป  

ประเภทที่ ๓ วิริยะธิกพุทธเจ้า สร้างบารมี คิดในใจ เปล่งวาจา ได้รับพุทธพยากรณ์ไปอีกหนึ่งเท่า คือ ๘๐ อสงไขยแสนมหากัป

ที่ผ่านมาทั้งหมดก็มีอยู่ ๓ ประเภท และก็เป็นกันอย่างนี้ ล้วนแต่มีกำหนดเวลาในการสร้างบารมี  เมื่อบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็โปรดสัตว์โลกให้ไปสู่ฝั่งของอายตนนิพพาน คือพ้นจากวัฏสงสาร พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในภพ ๓  ในกามภพ  ในรูปภพ  ในอรูปภพ  ไปสู่ฝั่งของอายตนนิพพาน  นี่ล้วนแต่มีกำหนดเวลา


การสร้างบารมีของมหาปูชนียาจารย์


เรามาดูปฏิปทาการสร้างบารมีของมหาปูชนียาจารย์ทั้งสองท่าน คือ พระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) พระผู้ปราบมาร และคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ท่านสร้างบารมีไม่ได้มีกำหนดเวลาเลย คือระยะเวลาจะยาวนานแค่ไหนไม่สำคัญ สำคัญว่าจะต้องไปที่สุดแห่งธรรมให้ได้ และไม่ได้สร้างบารมีเพื่อให้พ้นวัฏสงสาร แต่รื้อวัฏสงสารกันทีเดียว จะรื้อวัฏสงสารออกหมดเลย จะรื้อสัตว์ขนสัตว์ทั้งหลายไปสู่ฝั่งนิพพานให้หมด ไปสู่ที่สุดแห่งธรรมให้หมด  ไม่กำหนดเวลาว่าจะยาวนานกี่อสงไขย  จะมีเศษเป็นมหากัปเท่าไรไม่ได้คำนึงถึง มุ่งกันไปอย่างนี้

เพราะฉะนั้น มีคำที่ติดอยู่ในใจท่าน และมักจะพูดให้หลวงพ่อฟังบ่อยๆ แต่ก็ไม่เป็นที่แพร่หลายทั่วไป เพราะท่านเกรงว่าคนที่ไม่เข้าใจจะหาว่าท่านเพี้ยน แต่ท่านจะรำพึงให้หลวงพ่อฟังบ่อยๆ หรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ที่สนิท ที่ท่านไว้วางใจก็จะรำพึงให้ฟังว่า “ใครจะไปนิพพานก็ไปเถอะ ยายยังไม่ไปหรอก ยายจะไปปราบพญามารโน่น ให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ แล้วจะไปสู่ที่สุดแห่งธรรมนั่นแหละ  ใครจะเข้านิพพานก็ไปก่อน ยายก็อนุโมทนาด้วย  แต่ยายยังไม่ไปหรอก จะไปโน่น จะไปปราบพญามาร  จะไปรื้อสัตว์ขนสัตว์ให้หมดเลย  ไม่ให้หลงเหลือเลย”

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ผ่านมาในอดีตมีมากกว่าเมล็ดทรายในท้องพระมหาสมุทรทั้งสี่  บังเกิดขึ้นครั้งหนึ่งก็รื้อสัตว์ขนสัตว์ไปได้ส่วนหนึ่ง  เป็นอย่างนี้ทุกๆ พระองค์ แต่ท่านไม่ได้มีความปรารถนาอย่างนั้น

เพราะฉะนั้น กาลเวลาข้างหน้าจะยาวนานอีกแค่ไหนก็ตาม ไม่ได้คำนึงถึง มันจะทุกข์ยากลำบากแค่ไหนก็ตาม ก็ไม่ได้คำนึงถึง

ถ้าอุปมาเหมือนว่า ในจักรวาลนี้เป็นที่โล่งๆ ว่างๆ และมีกองเพลิงใหญ่ไฟบรรลัยกัลป์เกิดขึ้นไปทั่วทุกจักรวาล ซึ่งมันร้อนแรงมาก ถ้าให้ลุยข้ามจากฝั่งนี้ไปอีกฝั่งหนึ่ง มันจะลำบากจะร้อนแรงขนาดไหนก็จะไป  นั่นคือใจของพระบรมโพธิสัตว์ที่เราได้เคารพนับถือท่านว่าเป็นมหาปูชนียจารย์  ตั้งแต่พระเดชพระคุณหลวงปู่ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย  คุณยายอาจารย์และก็ทีมงานของท่าน

เพราะฉะนั้น ถ้าเรามาดูปฏิปทาอย่างนี้ เราจะเห็นว่าคุณยายท่านไม่ได้ธรรมดาเลย ได้สร้างบารมีกันต่อเนื่องยาวนานมานับภพนับชาติไม่ถ้วน ไม่ว่าเกิดมามีชีวิตเป็นคนชั้นสูง ชั้นกลาง ชั้นล่างก็ตาม ท่านก็ยังมุ่งแน่วแน่ในการสร้างบารมีกันอย่างเต็มกำลัง

เกิดมาเป็นชาวนา ในตระกูลกสิกร  มีอาชีพในการปลูกข้าว ต้องถือว่าเป็นชนชั้นระดับล่าง แต่ใจท่านสูงส่งมุ่งไปสู่เป้าหมายโน่น ไปที่สุดแห่งธรรมโดยไม่จำกัดกาลเวลา ไม่คำนึงถึงกาลเวลาว่ามันจะยาวนานแค่ไหน  พูดง่ายๆ ว่า กาลเวลาไม่มีความหมายสำหรับบรมโพธิสัตว์อย่างนี้

เพราะฉะนั้น ใครที่ได้มาสร้างบารมีกับท่านนั้น ก็ต้องถือว่าไม่ธรรมดาเหมือนกัน บุญที่ทำ ที่เราดูว่า เออ เราทำนิดเดียว ทำไมมันได้เยอะ มันก็ขึ้นอยู่ว่า ทำกับใคร และใครคนนั้นมีมโนปณิธานอย่างไร และมโนปณิธานนั้นแน่วแน่กันมากี่ภพกี่ชาติแล้ว  สืบต่อกันมายาวนานแค่ไหน

เพราะฉะนั้น การที่เราบูชาพระเดชพระคุณหลวงปู่ด้วยประทีปก็ดี  ด้วยระเบียบดอกไม้ของหอมก็ดี  ด้วยทิพย์ประติมากรรมก็ดีกับหลวงปู่คุณยาย  เรามีความรู้สึก เอ๊ะ เราก็ทำนิดเดียว แต่ทำไมอานิสงส์จึงมหาศาล ก็เพราะท่านมีมโนปณิธานอย่างนี้ ที่ได้สร้างบารมีกันมานับภพนับชาติไม่ถ้วน โดยไม่คำนึงถึงว่ามันจะไปสิ้นสุดเมื่อไร และก็ไม่ใช่เพื่อข้ามพ้นวัฏฏสงสาร แต่ว่ารื้อวัฏฏสงสารให้หมดสิ้นเลย  กิเลสอาสวะที่ผลิตอยู่ที่ไหนจะไปรื้อออกให้หมด นี่คือมโนปณิธานของท่าน ที่ท่านทำมาตลอดชีวิตของท่านในทุกภพทุกชาติ

แม้ละสังขารไปแล้ว ไปเป็นสมณะเทวบุตร มีกายอันเป็นทิพย์ แต่กายภายในเป็นธรรมกาย ภายนอกเป็นสมณะเทวบุตร ท่านก็ยังไปทำหน้าที่ของท่านต่อ  คล้ายๆ เปลี่ยนสถานที่ทำงานจากในมนุษยโลกไปเทวโลก ก็ทำความละเอียดต่อเนื่องกันไปอีก กายหยาบพญามารถอดได้ ถอดไป กายละเอียดยังมีอยู่ก็ทำต่อกันไป ทั้งมนุษย์และในเทวโลก  นี่คือปฏิปทาของพระเดชพระคุณหลวงปู่ก็ดี ของคุณยายอาจารย์ก็ดี กับทีมงานของพระเดชพระคุณหลวงปู่ของท่านกำลังทำอยู่

เพระฉะนั้น ให้มีความปลื้มปีติยินดีและภาคภูมิใจเถิดว่า เราเกิดมาถูกยุคถูกสมัย และมีบุญลาภได้มาสร้างบุญกับบรมโพธิสัตว์ที่มีมโนปณิธานอันยิ่งใหญ่ ซึ่งยากจะหาใครมีอย่างนี้ได้

Add Comment
2546
วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ►  เดือน สิงหาคม (233)
    • ▼  เดือน กรกฎาคม (123)
      • ความเพลินส่วนเกินของชีวิต 481030C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว 481023C รอบสาย
      • โลกุตรธรรม ๙ 481016C รอบสาย
      • พิจารณามี ๒ อย่าง 481009D รอบบ่าย
      • เส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน 481009C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวเรา 480828C รอบสาย
      • ที่มาของพระพุทธรูป 480717C รอบสาย
      • วัตถุประสงค์ของชีวิต 480710C รอบสาย
      • เมื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว 480605D รอบบ่าย
      • เหตุการณ์วันตรัสรู้ 480522C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จในสมัยพุทธกาล 480515D รอบบ่าย
      • อิสรภาพที่แท้จริง 480417D รอบบ่าย
      • กรณียกิจ 480313C รอบสาย
      • สมาธิเหมือนเส้นผมบังภูเขา 480130C รอบสาย
      • ชีวิตในสังสารวัฏมีภัยมาก 480123C รอบสาย
      • HOW TO เข้าถึงธรรม 480116C รอบสาย
      • พุทธภาวะภายในตัว 470711C รอบสาย
      • สมถวิปัสสนา 470516C รอบสาย
      • สติปัฏฐาน ๔ 470620C รอบสาย
      • ป่วยอย่างสง่างาม 470502D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งคืองานที่แท้จริง 490122D รอบบ่าย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน 481211D รอบสาย
      • การเห็นด้วยปัญญา 481225C รอบสาย
      • อานิสงส์การฝึกใจให้หยุดนิ่ง 481211D รอบบ่าย
      • การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 460316C รอบสาย
      • ภาพที่สำคัญของชีวิต 460309C รอบสาย
      • มโณปริธานอันยิ่งใหญ่ 460119D รอบบ่าย
      • จริงต้องได้ 460504D รอบบ่าย
      • ลูกมีบุญที่จะเข้าถึงธรรมได้ 450515F รอบค่ำ
      • ฝึกใจหยุดนิ่งอย่างสบาย 450516F รอบค่ำ
      • งานที่แท้จริง 450306F รอบค่ำ
      • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
      • นึกถึงสิ่งที่คุ้นเคย 450525F รอบค่ำ
      • หยุดนิ่งสำคัญที่สุด 450529F รอบค่ำ
      • ชีวิตเป็นของน้อย 450428C รอบสาย
      • หยุดแค่พริบตาเดียวได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ 450305F รอบค่ำ
      • หลับตื่นในอู่ทะเลบุญ 450510F รอบค่ำ
      • ทางเดินของใจ 7 ฐาน 450613F รอบค่ำ
      • อานุภาพหยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • กิเลสประจำกายและวิธีแก้ 450912F รอบค่ำ
      • ปรับที่ใจใช่ที่ภาพ/แก้กดลูกนัยน์ตา 450615F รอบค่ำ
      • เทคนิควิธีการปฏิบัติธรรม 450528F รอบค่ำ
      • นึกบริกรรมนิมิตด้วยสิ่งที่คุ้นเคย 450524F รอบค่ำ
      • หนีกรรมไม่พ้น 450302F รอบค่ำ
      • แผนผังชีวิต 450514F รอบค่ำ
      • หาตัวกลัวให้เจอ 450629F รอบค่ำ
      • ลูกไก่เจาะกระเปาะไข่ 450518F รอบค่ำ
      • วิธีแก้ กดลูกนัยน์ตา 450607F รอบค่ำ
      • อานิสงส์การเข้าถึงพระรัตนตรัย 451022F รอบค่ำ
      • การตอบประสบการณ์ภายใน 560212D รอบบ่าย
      • ฝึกเป็นผู้ให้ 571205D รอบบ่าย
      • นอกรอบให้หมั่นประคองใจ 571211
      • สิ่งที่แสวงหาอยู่ที่ใจหยุดนิ่ง 451028F รอบค่ำ
      • อโห พุทโธ 451113F รอบค่ำ
      • เจริญมรณานุสติ 451118F รอบค่ำ
      • หวงห่วงแบบอริยะ 451209F รอบค่ำ
      • นึกได้ก็เห็นได้ 460309C รอบสาย
      • ต้องฝึกบ่อยๆ ให้ชำนาญ 460202D รอบบ่าย
      • ชีวิตเป็นของน้อย 460126C รอบสาย
      • นิ่งแล้วต้องขยาย 460101D รอบบ่าย
      • สมบัติที่แท้จริง 451231C รอบสาย
      • วันพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม 451227F รอบค่ำ
      • ฐานที่7ที่เกิดดับหลับตื่น 451222D รอบบ่าย
      • กายสบาย ใจสบาย บุญเก่าก็ได้ช่อง 481221
      • หมั่นทบทวนบุญ 451123F รอบค่ำ
      • บุญคือที่พึ่ง 451119F รอบค่ำ
      • ทำไมเด็กจึงเห็นธรรมะง่าย 521025D รอบบ่าย
      • ในท้องมีพระธรรมกาย 520904C รอบสาย
      • มหัศจรรย์สมาธิ 530314C รอบสาย
      • ภาวิตา พหุลีกตา 550806D รอบบ่าย
      • อวิชชา 550722D รอบบ่าย
      • Set Zero 590304D รอบบ่าย
      • คนเราเกิดมาทำไม/ในตัวเรามีองค์พระ 511207C รอบสาย
      • นิมิตเลื่อนลอยหลุมพรางของพญามาร 451013D รอบบ่าย
      • ธรรมกายเอฟเฟค 430423C รอบสาย
      • นิวรณ์ 5 451010F รอบค่ำ
      • นั่งอย่างมีชีวิตชีวา 450924F รอบค่ำ
      • อย่ากินบุญเก่า 450926F รอบค่ำ
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • หลับในอู่ทะเลบุญ 451004F รอบค่ำ
      • เริ่มต้นจากจุดสบายแล้วจะง่าย 451008
      • ตำแหน่งแห่งความสมปรารถนา 521206D รอบบ่าย
      • คำภาวนา สัมมาอะระหัง 510622C รอบสาย
      • บุญพลังแห่งความสุขและความสำเร็จ 511109D รอบบ่าย
      • อริยมรรคมีองค์๘ 510706C รอบสาย
      • หลักสูตรชีวิต 510203D รอบบ่าย
      • เห็นสิ่งใดฝึกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้น 51...
      • เริ่มต้นจากจุดที่ง่าย 510629D รอบบ่าย
      • จุดเล็กใสที่คล้ายเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร 511005C รอบสาย
      • หยุดนิ่งได้แล้วฝึกขยายย่อ 510615D รอบบ่าย
      • พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมใด 511010C รอบสาย
      • พระคุณของ หลวงปู่ฯพระผู้ปราบมาร 511005D รอบบ่าย
      • นั่งมาตั้งนาน ทำไมยังไม่ได้ผล 481127D รอบบ่าย
      • ต้องสบายทุกขั้นตอน 480821D รอบบ่าย
      • หลักวิชชาใจหยุดนิ่งและอาการตกศูนย์ 481218D รอบบ่าย
      • อุปสรรคและหลักวิชชาในการปฏิบัติธรรม 490604C รอบสาย
      • การปฏิบัติธรรมคือการแสวงหาความพอดี 480626C รอบสาย
      • อย่าท้อ_เฉยในทุกประสบการณ์ 471205D รอบบ่าย
      • วิธีปฏิบัติธรรม 480206D รอบบ่าย
      • ง่ายแต่ลึก 480130D รอบบ่าย
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger