• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2548 ความเพลินส่วนเกินของชีวิต 481030C รอบสาย

ความเพลินส่วนเกินของชีวิต 481030C รอบสาย


 ความเพลินส่วนเกินของชีวิต

วันอาทิตย์ที่  ๓๐  ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ (๐๙.๐๐ - ๑๑.๐๐ น.)

สภาธรรมกายสากล  วัดพระธรรมกาย 


ปรับกาย

 

เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไป ให้ลูกทุกคนตั้งใจให้แน่แน่ว มุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานกันทุกๆ คนนะลูกนะ

 

ให้นั่งขัดสมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ

 

หลับตาของเราเบาๆ ค่อนลูกพอสบายๆ คล้ายๆ กับตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าไปบีบเปลือกตา อย่ากดลูกนัยน์ตานะจ๊ะ

 

ปรับใจ

 

แล้วก็ทำใจของเรา ให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น ให้สะอาด บริสุทธิ์ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ให้ปลด ให้ปล่อย ให้วาง ทำใจของเราให้ว่างๆ

 

แล้วก็มาสมมติว่า ภายในร่างกายของเรานั้น ปราศจากอวัยวะ ไม่มีปอด ตับ ม้าม ไต หัวใจ เป็นต้น ให้เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพรง เป็นที่โล่งๆ ว่างๆ กลวงภายใน คล้ายๆ ลูกโป่งที่เราอัดลมเข้าไป หรือคล้ายๆ ท่อแก้วท่อเพชร ใสๆ

 

วางใจ

 

แล้วเราก็น้อมใจของเรา ที่คิดแวบไปแวบมาในเรื่องราวต่างๆ เอามารวมหยุดนิ่งๆ ไปที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือ ขึ้นมา ๒ นิ้วมือ

 

โดยสมมติว่า เราหยิบเส้นด้ายขึ้นมา ๒ เส้น เรานำมาขึงให้ตึง จากสะดือทะลุไปด้านหลังเส้นหนึ่ง จากด้านขวาทะลุไปด้านซ้ายอีกเส้นหนึ่ง ให้เส้นด้ายทั้งสองตัดกันเป็นกากบาท จุดตัดจะเล็กเท่ากับปลายเข็ม เหนือจุดตัดนี้ขึ้นมา ๒ นิ้วมือ เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เป็นที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ และที่ตื่น เป็นทางไปสู่มรรคผลนิพพาน

 

เราก็จะต้องเอาใจมาหยุดนิ่งๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้ อย่างเบาๆ สบายๆ เหนือระดับสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ จำง่ายๆ ว่า อยู่ในกลางท้อง อาจจะไม่ตรงกับฐานที่ ๗ เป๊ะเลย แต่ก็อย่ากังวลกันเกินไป 

 

สภาวธรรมภายใน

 

ฐานที่ ๗ เป็นตำแหน่งที่สำคัญ เป็นที่ตั้งของใจอย่างถาวร เป็นที่ตั้งดั้งเดิมของใจ อยู่ที่ตรงนี้แหละ เป็นจุดเริ่มต้นที่จะเดินทางไปสู่อายตนนิพพานภายใน ซึ่งพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านเริ่มต้นตรงนี้ในกลางกายของท่าน แล้วท่านก็ได้พบหนทางไปสู่อายตนนิพพาน ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑

 

อย่างน้อยก็เป็นโคตรภูบุคคล คือ เข้าถึงพระธรรมกายภายใน ถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ  เข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน หน้าตักหย่อนกว่า ๕ วานิดหน่อย ลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูป แต่สวยงามกว่านั้นมากกว่ามาก ประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ ครบถ้วนทุกประการ เกตุดอกบัวตูม ใสบริสุทธิ์

 

เข้าถึงกายธรรมพระโสดาบัน หยาบ-ละเอียด พระโสดาปัตติมรรค พระโสดาปัตติผล หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูมเหมือนกัน แต่โตขึ้น ใสบริสุทธิ์

เข้าถึงกายธรรมพระสกิทาคามี หยาบ-ละเอียด พระสกิทาคามิมรรค พระสกิทาคามิผล หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม

เข้าถึงกายธรรมพระอนาคามี หยาบ-ละเอียด พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา

เข้าถึงกายธรรมอรหัต หยาบ-ละเอียด อรหัตมรรค อรหัตผล หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา

 

ทั้งหมด คือ กายในกายที่ซ้อนกันอยู่ภายใน คือ มรรคผล มรรค ๔ ผล ๔ เมื่อถูกส่วนก็เข้าถึงนิพพาน นิพพานก็จะมีไปตามลำดับตั้งแต่ กายธรรมโคตรภู พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี อรหัต เป็นนิพพานเป็นของพระธรรมกายทุกๆ องค์ที่อยู่ภายในนั้น เรียกว่า สอุปทิเสสนิพพาน นี่เป็นภาคทฤษฎี ที่เราจะต้องศึกษาเอาไว้ให้ดี

 

ในแง่ของการปฏิบัติเมื่อเราทราบว่า จุดเริ่มต้นจะไปสู่เส้นทางมรรคผลนิพพานนั้น เริ่มต้นอยู่ที่ฐานที่ ๗ เราก็จะต้องเอาใจมาหยุดนิ่งๆ อยู่ที่ตรงนี้ให้ได้ตลอดเวลา ทุกอิริยาบถ ทั้งนั่ง นอน ยืน เดิน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด หยุด นิ่ง ลิ้มรส เหยียดแขน คู้แขน หรือทำกิจกรรมอะไรก็ตาม ใจจะต้องมาอยู่ที่ตรงนี้ ให้ประคองอยู่ จนกระทั่งมันหยุดได้อย่างแท้จริงสมบูรณ์

 

ถ้าเวลาใจหยุดนิ่งได้ จะมีดวงใสๆ ลอยขึ้นมา กลมรอบตัวเหมือนดวงแก้วกายสิทธิ์ที่เจียระไนแล้ว ไม่มีตำหนิเลย ใสเหมือนน้ำใสๆ บ้าง เหมือนกระจกคันฉ่องที่เราส่องเงาหน้าบ้าง เหมือนเพชรบ้าง หรือใสกว่านั้นบ้าง

 

ขนาดอย่างน้อยก็เหมือนดวงดาวในอากาศ

อย่างกลางก็ขนาดพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ

อย่างใหญ่ก็ขนาดพระอาทิตย์ยามเที่ยงวัน หรือว่าใหญ่กว่านั้น ตามกำลังบารมีของแต่ละคน หรือโตเท่ากับฟองไข่แดงของไก่ จะใส บริสุทธิ์ เกิดขึ้นที่กลางกายของเรา

 

ถ้าเราปฏิบัติแล้วได้ถึงระดับนี้ แปลว่า เรามาถูกทางแล้ว ถึงจุดเริ่มต้นของการเดินทางเข้าไปสู่เส้นทางสายกลางภายในของพระอริยเจ้า ที่เรียกว่า อริยมรรค

บางครั้งเรียกว่า วิสุทธิมรรค ทางแห่งความบริสุทธิ์ หมดจดจากสรรพกิเลสทั้งหลาย

บางครั้งเรียกว่า วิมุตติมรรค ทางแห่งความหลุดพ้น จากกิเลสจากอาสวะ

 

สาเหตุแห่งความทุกข์

 

กิเลสอาสวะ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ จะกระตุ้นเราให้เกิดความทะยานอยาก อยากได้ อยากมี อยากเป็น อะไรต่างๆ เหล่านั้น เป็นต้น เป็นความอยากที่ประกอบไปด้วยความเร่าร้อน  ความเพลินที่ไม่เกิดประโยชน์อะไรอย่างแท้จริง  แถมทำให้เกิดทุกข์โทษภัยในสังสารวัฏด้วย

 

กิเลสอาสวะ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานของชีวิต  ถ้าขจัดให้หมดสิ้นไปได้ ก็จะหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ก็จะเข้าถึง เอกันตบรมสุข คือ เข้าถึงความสุขอย่างยิ่ง อย่างเดียว ไม่มีทุกข์เจือปนเลย


กรณียกิจแห่งชีวิต

กิจที่เราจะต้องทำ คือ ทำใจหยุดนิ่ง เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ เพื่อการสลัดตนให้พ้นจากทุกข์ทั้งหลาย นี้เป็นวัตถุประสงค์หลักของการเกิดมาเป็นมนุษย์ในแต่ละภพชาติ นอกนั้นเป็นเรื่องรองลงมา คือ เรื่องทำมาหากิน เนื่องจากชีวิตจะเป็นอยู่ได้ต้องประกอบไปด้วยปัจจัย ๔ มีอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย เป็นต้น มีความจำเป็นจะต้องดำรงอยู่ เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง เพื่อสลัดตนให้พ้นจากทุกข์ นี่คือ วัตถุประสงค์

 

ถ้าเราจับหลักได้แล้วว่า อะไรคือหลักของชีวิต อะไรคือเรื่องรองลงมา และอะไรคือส่วนเกิน การดำเนินชีวิตในโลกนี้ก็ปลอดภัยว่า

 

หลักที่สำคัญ คือ หยุดกับนิ่งนี่แหละ ที่จะทำให้เราเข้าถึงพระรัตนตรัยภายในตัว แล้วหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

รองลงมา ก็เรื่องทำมาหากิน ทำมาค้าขาย ทำมาสร้างบารมี

ส่วนเกิน คือ การสนุกสนานเพลิดเพลิน เที่ยวเตร่เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด เพราะเราไม่รู้ว่าจะพักผ่อนหย่อนใจอย่างไรจึงจะถูกหลักวิชชา เราก็จะหาทางพักผ่อนหย่อนใจไปตามรสนิยม ตามความเข้าใจของตัว ตามดวงปัญญาที่เราคิดได้ ได้เห็น ได้เรียนรู้ ได้ถูกหล่อหลอมจากโลกใบนี้ เพราะชีวิตเป็นไปด้วยความเพลิน ความทะยานอยาก นนฺทิราคสหคตา ประกอบไปด้วยความเพลินๆ คือ เพลินให้หมดไปวันๆ ไม่ว่าจะทำอะไรก็แล้วแต่ เพื่อความเพลินๆ ซึ่งเป็นส่วนเกินของชีวิต


ความเพลินภายใน

 

ความเพลินภายนอกเป็นส่วนเกินของชีวิต

แต่ความเพลินภายใน เป็นเรื่องหลักของชีวิต

 

เมื่อจิตของเราหยุดนิ่ง บริสุทธิ์ผ่องใสแล้ว จะเกิดความเพลินที่ยิ่งใหญ่ เป็นความเพลินที่ประกอบไปด้วยดวงปัญญา เพราะว่าเราจะได้รู้เห็น เข้าใจเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต เข้าถึงพระรัตนตรัย ซึ่งเป็นที่พึ่งที่ระลึก เข้าถึงเมื่อไรก็อบอุ่นใจ ปลอดภัย มีความสุข จะแปรเปลี่ยนเรา จากผู้ไม่รู้ มาเป็นผู้รู้ ผู้หลับมาเป็นผู้ตื่น ผู้มีความทุกข์ทรมานก็มาเป็นผู้เบิกบาน หัวใจเราจะขยายไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

 

บริกรรมนิมิต-บริกรรมภาวนา

 

วันนี้เป็นวันหนึ่งที่สำคัญ ในการที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์ มาพบพระพุทธศาสนา มารู้หลักวิชชาในการดำเนินชีวิต

 

ให้ตั้งใจฝึกจิตของเราให้หยุดให้นิ่ง เอาใจของเรามาหยุดที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อย่างสบายๆ พร้อมกับกำหนดบริกรรมนิมิตขึ้นมาในใจของเรา เป็นภาพทางใจ เพื่อเอาไว้สำหรับยึดเกาะ จะได้ไม่ไปคิดเรื่องอื่น นึกเป็นดวงใสๆ เป็นพระแก้วใสๆ หรือเป็นพระเดชพระคุณหลวงปู่ก็ได้ ทั้ง ๓ อย่างเป็นสัญลักษณ์ของพระรัตนตรัย เอาอย่างเดียว

 

นึกด้วยใจที่บริสุทธิ์หยุดนิ่งไปเรื่อยๆ นึกอย่างเบาๆ สบายๆ คล้ายๆ กับเรานึกถึงเรื่องที่เราคุ้นเคย สิ่งที่เรารักนั่นแหละ พร้อมกับประคองใจด้วยบริกรรมภาวนาในใจไปเบาๆ ว่า สัมมาอะระหังๆๆ

 

ทุกครั้งที่ภาวนา สัมมาอะระหัง เราจะต้องไม่ลืมตรึกนึกถึงบริกรรมนิมิต เป็นพระแก้วใสๆ ดวงแก้วใสๆ หรือพระเดชพระคุณหลวงปู่ก็ได้ อย่างใดอย่างหนึ่ง เอาอย่างเดียว แต่นึกอย่าง เห็นอีกอย่าง ก็ไม่เป็นไร

 

เราจะภาวนา สัมมาอะระหัง ไปจนกว่าใจจะหยุดนิ่ง เกิดความรู้สึกว่า ไม่อยากจะภาวนาต่อไป อยากรักษาใจให้หยุดให้นิ่ง ถ้าเกิดความรู้สึกอย่างนี้ เราก็ไม่ต้องย้อนกลับมาภาวนาใหม่ ให้รักษาใจหยุดนิ่งเรื่อยไป


ดูไปด้วยใจสบาย

 

มีอะไรให้ดูเราก็ดูไป ดูไปเรื่อยๆ อย่างสบายๆ โดยไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น  อะไรก็แล้วแต่เกิดขึ้นที่ศูนย์กลางกาย เป็นสิ่งที่ควรดูทั้งสิ้น ให้ดูไปเรื่อยๆ อย่างสบายๆ โดยไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น แล้วใจก็จะหยุดของมันไปเอง จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นไปเรื่อยๆ เราก็จะมีหน้าที่ดูไป

 

 ยากตรงหยุดแรก

 

มันจะยากตรงหยุดแรกนิดหน่อยเท่านั้นแหละ เพราะเรายังไม่คุ้นเคยกับการหยุดใจที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ แต่ให้ประคองใจไปเรื่อยๆ ทำภาวนาไป ไม่ช้าใจมันก็จะค่อยๆ หยุด ใหม่ๆ อาจจะฟุ้งมาก หยุดสักวินาทีหนึ่งก็ถือว่าดีแล้ว เป็นรางวัลสำหรับการทำความเพียร

 

ต่อไปฟุ้งมากก็มาฟุ้งน้อย เราก็หยุดไปเพิ่มขึ้น จนกระทั่งไม่ฟุ้ง เมื่อไม่ฟุ้งแล้วตัวก็จะโล่ง โปร่ง เบา สบาย จะขยายแล้วก็หายไป เหมือนเราไม่มีตัวตน จากกลางท้องเรา ก็จะเป็นกลางท้องฟ้ากว้างๆ และใจก็จะหยุดนิ่งสงบ เคลื่อนเข้าไปสู่ภายใน มีปีติ มีสุขเกิดขึ้น แล้วก็ใจเป็นหนึ่ง สงัดจากกามและอกุศลธรรมเป็นหนึ่งเดียว เป็นเอกัคคตา เป็นกลางๆ บริสุทธิ์ มีความสุขไปพร้อมๆ กัน หลังจากนั้นก็จะเห็นไปตามลำดับในสิ่งที่มีในตัวเรา คือ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต แล้วก็ธรรมในธรรม

 

เช้านี้ให้ลูกทุกคน ตั้งใจฝึกใจให้หยุดนิ่ง ในขณะที่สิ่งแวดล้อมกำลังอำนวยต่อการเข้าถึงธรรมภายใน ก็ขอให้ประคับประคองใจไป ให้ลูกทุกคนได้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว อย่างสะดวกสบาย อย่างง่ายดาย ทุกๆ คนนะลูกนะ ต่างคนต่างนั่งกันไปเงียบๆ นะจ๊ะ

Add Comment
2548
วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ►  เดือน สิงหาคม (233)
    • ▼  เดือน กรกฎาคม (123)
      • ความเพลินส่วนเกินของชีวิต 481030C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว 481023C รอบสาย
      • โลกุตรธรรม ๙ 481016C รอบสาย
      • พิจารณามี ๒ อย่าง 481009D รอบบ่าย
      • เส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน 481009C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวเรา 480828C รอบสาย
      • ที่มาของพระพุทธรูป 480717C รอบสาย
      • วัตถุประสงค์ของชีวิต 480710C รอบสาย
      • เมื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว 480605D รอบบ่าย
      • เหตุการณ์วันตรัสรู้ 480522C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จในสมัยพุทธกาล 480515D รอบบ่าย
      • อิสรภาพที่แท้จริง 480417D รอบบ่าย
      • กรณียกิจ 480313C รอบสาย
      • สมาธิเหมือนเส้นผมบังภูเขา 480130C รอบสาย
      • ชีวิตในสังสารวัฏมีภัยมาก 480123C รอบสาย
      • HOW TO เข้าถึงธรรม 480116C รอบสาย
      • พุทธภาวะภายในตัว 470711C รอบสาย
      • สมถวิปัสสนา 470516C รอบสาย
      • สติปัฏฐาน ๔ 470620C รอบสาย
      • ป่วยอย่างสง่างาม 470502D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งคืองานที่แท้จริง 490122D รอบบ่าย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน 481211D รอบสาย
      • การเห็นด้วยปัญญา 481225C รอบสาย
      • อานิสงส์การฝึกใจให้หยุดนิ่ง 481211D รอบบ่าย
      • การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 460316C รอบสาย
      • ภาพที่สำคัญของชีวิต 460309C รอบสาย
      • มโณปริธานอันยิ่งใหญ่ 460119D รอบบ่าย
      • จริงต้องได้ 460504D รอบบ่าย
      • ลูกมีบุญที่จะเข้าถึงธรรมได้ 450515F รอบค่ำ
      • ฝึกใจหยุดนิ่งอย่างสบาย 450516F รอบค่ำ
      • งานที่แท้จริง 450306F รอบค่ำ
      • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
      • นึกถึงสิ่งที่คุ้นเคย 450525F รอบค่ำ
      • หยุดนิ่งสำคัญที่สุด 450529F รอบค่ำ
      • ชีวิตเป็นของน้อย 450428C รอบสาย
      • หยุดแค่พริบตาเดียวได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ 450305F รอบค่ำ
      • หลับตื่นในอู่ทะเลบุญ 450510F รอบค่ำ
      • ทางเดินของใจ 7 ฐาน 450613F รอบค่ำ
      • อานุภาพหยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • กิเลสประจำกายและวิธีแก้ 450912F รอบค่ำ
      • ปรับที่ใจใช่ที่ภาพ/แก้กดลูกนัยน์ตา 450615F รอบค่ำ
      • เทคนิควิธีการปฏิบัติธรรม 450528F รอบค่ำ
      • นึกบริกรรมนิมิตด้วยสิ่งที่คุ้นเคย 450524F รอบค่ำ
      • หนีกรรมไม่พ้น 450302F รอบค่ำ
      • แผนผังชีวิต 450514F รอบค่ำ
      • หาตัวกลัวให้เจอ 450629F รอบค่ำ
      • ลูกไก่เจาะกระเปาะไข่ 450518F รอบค่ำ
      • วิธีแก้ กดลูกนัยน์ตา 450607F รอบค่ำ
      • อานิสงส์การเข้าถึงพระรัตนตรัย 451022F รอบค่ำ
      • การตอบประสบการณ์ภายใน 560212D รอบบ่าย
      • ฝึกเป็นผู้ให้ 571205D รอบบ่าย
      • นอกรอบให้หมั่นประคองใจ 571211
      • สิ่งที่แสวงหาอยู่ที่ใจหยุดนิ่ง 451028F รอบค่ำ
      • อโห พุทโธ 451113F รอบค่ำ
      • เจริญมรณานุสติ 451118F รอบค่ำ
      • หวงห่วงแบบอริยะ 451209F รอบค่ำ
      • นึกได้ก็เห็นได้ 460309C รอบสาย
      • ต้องฝึกบ่อยๆ ให้ชำนาญ 460202D รอบบ่าย
      • ชีวิตเป็นของน้อย 460126C รอบสาย
      • นิ่งแล้วต้องขยาย 460101D รอบบ่าย
      • สมบัติที่แท้จริง 451231C รอบสาย
      • วันพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม 451227F รอบค่ำ
      • ฐานที่7ที่เกิดดับหลับตื่น 451222D รอบบ่าย
      • กายสบาย ใจสบาย บุญเก่าก็ได้ช่อง 481221
      • หมั่นทบทวนบุญ 451123F รอบค่ำ
      • บุญคือที่พึ่ง 451119F รอบค่ำ
      • ทำไมเด็กจึงเห็นธรรมะง่าย 521025D รอบบ่าย
      • ในท้องมีพระธรรมกาย 520904C รอบสาย
      • มหัศจรรย์สมาธิ 530314C รอบสาย
      • ภาวิตา พหุลีกตา 550806D รอบบ่าย
      • อวิชชา 550722D รอบบ่าย
      • Set Zero 590304D รอบบ่าย
      • คนเราเกิดมาทำไม/ในตัวเรามีองค์พระ 511207C รอบสาย
      • นิมิตเลื่อนลอยหลุมพรางของพญามาร 451013D รอบบ่าย
      • ธรรมกายเอฟเฟค 430423C รอบสาย
      • นิวรณ์ 5 451010F รอบค่ำ
      • นั่งอย่างมีชีวิตชีวา 450924F รอบค่ำ
      • อย่ากินบุญเก่า 450926F รอบค่ำ
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • หลับในอู่ทะเลบุญ 451004F รอบค่ำ
      • เริ่มต้นจากจุดสบายแล้วจะง่าย 451008
      • ตำแหน่งแห่งความสมปรารถนา 521206D รอบบ่าย
      • คำภาวนา สัมมาอะระหัง 510622C รอบสาย
      • บุญพลังแห่งความสุขและความสำเร็จ 511109D รอบบ่าย
      • อริยมรรคมีองค์๘ 510706C รอบสาย
      • หลักสูตรชีวิต 510203D รอบบ่าย
      • เห็นสิ่งใดฝึกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้น 51...
      • เริ่มต้นจากจุดที่ง่าย 510629D รอบบ่าย
      • จุดเล็กใสที่คล้ายเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร 511005C รอบสาย
      • หยุดนิ่งได้แล้วฝึกขยายย่อ 510615D รอบบ่าย
      • พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมใด 511010C รอบสาย
      • พระคุณของ หลวงปู่ฯพระผู้ปราบมาร 511005D รอบบ่าย
      • นั่งมาตั้งนาน ทำไมยังไม่ได้ผล 481127D รอบบ่าย
      • ต้องสบายทุกขั้นตอน 480821D รอบบ่าย
      • หลักวิชชาใจหยุดนิ่งและอาการตกศูนย์ 481218D รอบบ่าย
      • อุปสรรคและหลักวิชชาในการปฏิบัติธรรม 490604C รอบสาย
      • การปฏิบัติธรรมคือการแสวงหาความพอดี 480626C รอบสาย
      • อย่าท้อ_เฉยในทุกประสบการณ์ 471205D รอบบ่าย
      • วิธีปฏิบัติธรรม 480206D รอบบ่าย
      • ง่ายแต่ลึก 480130D รอบบ่าย
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger