• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2546 ภาพที่สำคัญของชีวิต 460309C รอบสาย

ภาพที่สำคัญของชีวิต 460309C รอบสาย

 


     ภาพที่สำคัญของชีวิต

  วันอาทิตย์ที่  ๙  มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๔๖ (๐๙.๐๐ - ๑๑.๐๐  น.)

วัดพระธรรมกาย  สภาธรรมกายสากล


ปรับกาย


เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไป ตั้งใจให้แน่แน่ว มุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานกัน ทุกๆ คนนะลูกนะ

 

ให้นั่งขัดสมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวา จรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตัก พอสบายๆ 

 

หลับตาของเรา เบาๆ ค่อนลูก พอสบายๆ คล้ายๆ กับตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าไปบีบเปลือกตา  อย่ากดลูกนัยน์ตานะจ๊ะ  

 

ปรับใจ

 

แล้วก็ทำใจของเราให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น ให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม  ให้ปลด ให้ปล่อย ให้วาง ทำใจให้ว่างๆ

 

แล้วก็มาสมมติว่า ภายในร่างกายของเรานั้น ปราศจากอวัยวะ สมมติว่าไม่มีปอด ตับ ม้าม ไต หัวใจ เป็นต้น ให้เป็นที่โล่งๆ ว่างๆ เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพรง กลวงภายใน คล้ายๆ ท่อแก้ว ท่อเพชรใสๆ 

 

ทางเดินของใจมี ๗ ฐาน

 

คราวนี้ เราก็มาทบทวนคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จฺนฺทสโร)  ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ที่ท่านอบรมสั่งสอน เกี่ยวกับเรื่องทางเดินของใจ ซึ่งเป็นทางไปเกิดมาเกิด ของสัตว์โลกทั้งหลาย รวมทั้งตัวของเราด้วย อาทิตย์หนึ่งเรามาประชุมพร้อมกัน ต้องมาทบทวนตรงนี้เอาไว้นะจ๊ะ

 

แต่ว่าเมื่อเรากลับไปที่บ้าน ในวันธรรมดา เราก็เอาใจไปไว้ที่ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เลย แต่ทุกอาทิตย์ต้องมาทบทวนหลักวิชชาเอาไว้  ทางเดินของใจมีทั้งหมด ๗ ฐาน

 

ฐานที่  ๑  อยู่ที่ปากช่องจมูก  ท่านหญิงอยู่ข้างซ้าย  ท่านชายอยู่ข้างขวา

ฐานที่  ๒  อยู่ที่เพลาตาหรือตรงที่น้ำตาไหล ตรงหัวตานั้นนะจ๊ะ ท่านหญิงอยู่ข้างซ้าย ท่านชายก็อยู่ข้างขวา

ฐานที่  ๓  อยู่ที่กลางกั๊กศีรษะในระดับเดียวกับหัวตาของเรา

ฐานที่  ๔  อยู่ที่เพดานปาก  ช่องปากที่อาหารสำลัก

ฐานที่  ๕  อยู่ที่ปากช่องคอเหนือลูกกระเดือก

ฐานที่  ๖  อยู่ในกลางท้องของเราในระดับเดียวกับสะดือ

 

โดยสมมติว่า เราหยิบเส้นด้ายขึ้นมา ๒ เส้น นำมาขึงให้ตึง เส้นหนึ่งขึงจากสะดือทะลุไปด้านหลัง  อีกเส้นหนึ่งขึงจากด้านขวาทะลุไปด้ายซ้าย ให้เส้นด้ายทั้งสองตัดกันเป็นกากบาท จุดตัดจะเล็กเท่ากับปลายเข็ม  ตรงนี้เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ ถูกกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบใสบริสุทธิ์  โตเท่ากับฟองไข่แดงของไก่ 

 

ธรรมดวงนี้สำคัญมาก ถ้าไม่มีธรรมดวงนี้เรามาเกิดเป็นมนุษย์ไม่ได้ ธรรมดวงนี้จึงทรงรักษากายมนุษย์เอาไว้  ถ้าผ่องใสไม่เศร้าหมอง ชีวิตก็รุ่งเรือง ถ้าเศร้าหมองไม่ผ่องใส ชีวิตร่วงโรย ถ้าธรรมดวงนี้ดับ ชีวิตก็ดับไปด้วย ธรรมดวงนี้จึงเป็นเครื่องยืนยันว่า ถ้าใครฝึกใจให้หยุดนิ่งแล้ว จะต้องเข้าถึงกันอย่างแน่นอน ที่เข้าไม่ถึงธรรมนั้นเป็นไม่มี

 

ถ้าได้ทำก็ทำได้ ทำไม่ได้มีเพียงประการเดียว คือ ไม่ได้ทำ หรือ ทำไม่ถูกหลักวิชชา เพราะฉะนั้น ก็เป็นเครื่องยืนยันให้เราอุ่นใจว่า ทำความเพียรไปเถิด ให้ถูกหลักวิชชา ทุกวันทุกคืน ให้สม่ำเสมอ เราจะต้องเข้าถึงธรรมกันอย่างแน่นอน ไม่ถึงเป็นไม่มี เพราะฉะนั้นเราจะได้เลิกวิตกกังวล เลิกท้อแท้ท้อถอยกัน เมื่อเรายังทำไม่ได้ผล เพราะธรรมดวงนี้เป็นเครื่องยืนยันว่า ต้องได้แน่ๆ

 

ฐานที่ ๗ นั้น อยู่เหนือจากฐานที่ ๖ นี้ ขึ้นมา ๒ นิ้วมือ โดยสมมติว่า เราเอานิ้วชี้กับนิ้วกลางมาวางซ้อนกัน  แล้วนำไปทาบตรงจุดตัดของเส้นด้ายทั้งสองสูงขึ้นมา ๒ นิ้วมือ ตรงนี้เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗


ฐานที่ ๗ สำคัญที่สุด

 

ทั้งหมด ๗ ฐาน  เป็นทางเดินของใจ ไปเกิดมาเกิดต้องอาศัยทางนี้ สำคัญทุกฐาน แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ ฐานที่ ๗  เพราะว่า เป็นที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่น  และเป็นทางไปสู่อายตนนิพพาน ทางหลุด ทางพ้น จากกิเลสอาสวะทั้งหลายได้ เป็นทางเข้าถึงความสุขที่แท้จริง ความสมหวังในชีวิต และเป็นทางที่จะทำให้เราเข้าถึงความรู้ที่แท้จริง ที่เกี่ยวกับความเป็นจริงของชีวิต ทำให้ชีวิตรอดปลอดภัย และมีชัยชนะ  และเป็นทางที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวด้วย 

 

ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นี้จึงสำคัญ  เกิด ดับ หลับ ตื่น อยู่ที่ตรงนี้ เกิด เรามาเกิดแล้ว  แต่ดับ  คือตาย ก็ต้องตายตรงนี้ ที่ย้ำกันทุกอาทิตย์ว่า ตายตรงนี้ และตรงนี้สำคัญ เป็นทางไปสู่ปรโลก ถ้าใสไม่เศร้าหมอง สุคติก็เป็นที่ไป ถ้าหมองไม่ผ่องใส ทุคติก็เป็นที่ไป หลักวิชชามันอยู่ตรงนี้  เราฟังกันทุกอาทิตย์ เพื่อตอกย้ำความทรงจำของเรา ให้มันแน่นเข้าไปเรื่อยๆ จะได้ไม่ชะล่าใจ ไม่ประมาท

 

ซ้อมตาย

 

ในเมื่อเราจะหลีกเลี่ยงความตายและไปสู่ปรโลกไม่ได้ ต้องฝึกซ้อมตรงนี้เอาไว้ให้ดี ซ้อมกันทุกวัน วันละหลายๆ ครั้ง ทำให้เป็นให้ได้ ให้มันใสให้ได้ ฝึกซ้อมหลายวัน แพ้ชนะกันก็วันเดียวในวันสุดท้าย สงครามศึกชิงภพสุคติและทุคติ เราจะเอามาใช้ตรงนี้  ถ้าใจใสมันจะมีแต่ภาพดีๆ บังเกิดขึ้น 

 

เราจะหนีภาพไม่ได้นะจ๊ะ กรรมนิมิต กรรมมารมณ์ กรรมนิมิต หนีภาพของการกระทำไม่พ้นเลย ซึ่งกรรมนิมิตจะทำให้เราเข้าถึงคตินิมิต มันจะมี ภาพคตินิมิต คือ ภาพที่จะไปสู่ทุคติหรือสุคติ เพราะฉะนั้นภาพสุดท้ายต้องสดใส ต้องสวยงาม เป็นภาพสรุปงบดุลของชีวิต  และภาพอะไรไม่ดีเกินไปกว่า ภาพดวงธรรม หรือ องค์พระ ที่ฉายขึ้นให้ดูบนจอ พอเป็นแนวทางให้เรารู้ว่า ภาพสุดท้ายต้องอย่างนี้ อย่างน้อยต้องอย่างนี้

 

จะเริ่มต้นด้วยภาพอะไรก็แล้วแต่ เวลาใจใสแล้วต้องได้ภาพอย่างนี้ ดวงใส หรือ องค์พระใสๆ ที่จะนำเราไปสู่สุคติภพ  เพื่อทำให้ชีวิตหลังจากตายแล้วนั้น มีแต่ความสุขสมหวังอันยาวนานกว่าตอนที่มีกายมนุษย์นี้อยู่  มันนานเสียจนกระทั่งเรานึกไม่ถึง หรือไม่ค่อยจะเชื่อเสียด้วย ว่ามันจะนานอะไรจะขนาดนั้น ทั้งสุคติแล้วก็ทุคติ ทุคติเป็นสิ่งที่ไม่ควรไป แต่สุคติเป็นสิ่งที่ควรไป 

 

หยุดนิ่ง คือกรณียกิจ

 

การที่เรามาฝึกฝนอบรม ฝึกใจให้มันหยุด มันนิ่ง ก็เพื่อต้องการให้ใจใสๆ เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว ให้เราได้มีความสุขในปัจจุบันทันทีที่เข้าถึง เป็นความสุขที่ยิ่งใหญ่ ที่เราไม่เคยนึกเลยว่า มีความสุขชนิดนี้มาก่อน จะทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องราวความจริงของชีวิต เพิ่มเติมขึ้นจากที่เราได้รู้ได้เห็นด้วยตามนุษย์ มันจะมีความรู้ที่เพิ่มเติมขึ้น เป็นความรู้ที่ยิ่งใหญ่ ที่จะทำให้ชีวิตปลอดภัยและมีชัยชนะ มีความสมหวัง ในเมื่อใจหยุดนิ่งแล้ว มันจะเป็นอย่างนี้ แล้วก็เป็นทางมาแห่งบุญด้วย

 

เพราะฉะนั้น ต้องซ้อม ต้องฝึกเอาไว้ นี่คือกรณียกิจ คือ กิจที่แท้จริงหรืองานที่แท้จริงของมวลมนุษยชาติ ของตัวเรา ส่วนกิจอย่างอื่นเป็น อกรณียกิจ ที่จะไปเที่ยวเตร่สนุกสนานเพลิดเพลิน มันไม่มีประโยชน์อะไร


โลกใบนี้ที่เรามาเกิด ไม่ใช่โลกแห่งความสนุกสนานเพลิดเพลิน  แต่เป็นโลกแห่งการสร้างบารมี เติมบุญเติมบารมีของเราให้มันกลั่นกล้าเพิ่มเติมขึ้น  มีทำมาหากินกับทำมาสร้างบารมีเท่านั้นที่เป็นเรื่องหลัก  เมื่อกายหยาบต้องกิน ต้องใช้ เราก็ต้องทำมาหากินกันไป ประกอบสัมมาอาชีวะกันไป แต่กิจที่แท้จริง คือ การหยุดนิ่ง 

 

หยุด นิ่ง เป็นกรณียกิจ เป็นงานที่แท้จริงของตัวเรา และมวลมนุษยชาติทั้งหลาย  เพื่อให้ใจมันใส  พอตอนสุดท้ายของชีวิตที่เราหลีกเลี่ยงภาพไม่ได้ เราก็จะต้องให้ได้ภาพที่ดี นี่พูดถึงการตายอย่างปกติ ที่ไม่ใช่โดยอุบัติเหตุนะ  เราหนีภาพไม่พ้น เพราะฉะนั้นต้องให้ใสเอาไว้

 

อาทิตย์หนึ่งเรามาปฏิบัติธรรม เราก็มาฝึกตรงนี้ ทำให้มันได้ ทำให้มันมี ทำให้มันเป็น ฝึกกันไปทุกๆ วัน จะต้องสมหวังกันอย่างแน่นอน  อย่าไปท้อแท้ อย่าไปท้อถอย อย่าไปเกียจคร้านขี้เกียจปฏิบัติธรรม  แต่ขยันทำอย่างอื่น  อย่าไปใช้ชีวิตอย่างนั้นกันนะลูกนะ 

 

เรามีเวลาอยู่ในโลกนี้จำกัดจริงๆ  ที่ผ่านมาก็ทิ้งเปล่าไปเสียตั้งเยอะ เพิ่งสร้างบารมีกันไปได้นิดๆ หน่อยๆ และเวลาที่เหลือ เหลืออยู่เท่าไรก็ไม่รู้ นิดเดียวจริงๆ เพราะฉะนั้นจะต้องเอาเวลาที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิดนี้ เอามาใช้ให้มีคุณค่า ให้เป็นประโยชน์อันสูงสุดด้วยการสั่งสมบุญบารมี ทั้งทาน ทั้งศีล ทั้งภาวนา เป็นต้น

 

โดยเฉพาะตอนนี้ เรากำลังจะทำกิจสำคัญ คือ ภาวนา ซึ่ง ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้ เหนือสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ หรือเหนือฐานที่ ๖ ขึ้นมา ๒ นิ้วมือ จำให้ดีนะลูกนะ


บริกรรมนิมิต

 

คราวนี้ เราก็น้อมเอาภาพที่เราดูบนจอนั้น องค์พระในกลางดวงแก้ว ที่ท่านนั่งหลับตาเจริญภาวนา หันหน้าออกไปทางเดียวกับตัวของเรา ภาพที่เอามาฉายให้ดูเป็นภาพท็อปวิว คือ มองจากด้านบนลงไปด้านล่าง  ตั้งแต่ปลายเกตุดอกบัวตูม ที่ตั้งอยู่บนจอมกระหม่อม บนพระเศียรที่เรียงรายไปด้วยเส้นพระศก ที่ขดเป็นทักษิณาวัตร หมุนขวาตามเข็มนาฬิกา เรียงรายกันอย่างเป็นระเบียบ เป็นถ่องแถวอย่างนั้น

 

เรามองเห็นพระเศียรตั้งอยู่บนบ่า คอนั้นเราไม่เห็นหรอก บนบ่าทั้งสอง บนไหล่ แขนทั้งสอง ฝ่ามือที่หงายขึ้น นิ้วชี้มือขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย เหมือนกายหยาบอย่างนี้ วางบนหน้าตักที่ขาขวาทับขาซ้าย

 

ภาพบนจอมันยังไม่ใสเท่าไร แต่ภาพความจริงมันใส  ตั้งแต่ใสเหมือนน้ำ ใสเหมือนกระจก ใสเหมือนเพชรที่ต้องแสง มีประกายเจิดจ้า นั่งอยู่บนแผ่นฌานในกลางดวงแก้วที่ครอบเอาไว้ จำภาพนี้ให้ดีนะลูกนะ

 

นึกได้ก็เห็นได้

 

นึกบ่อยๆ ที่นอกเหนือจากเวลานั่ง ให้นึกเอาไว้ นึกบ่อยๆ เดี๋ยวเราก็นึกได้ นึกได้มันก็เห็นได้ มันจะเป็นขั้นเป็นตอน ที่เรายังเห็นไม่ได้ เพราะเรายังนึกไม่ได้ ที่นึกไม่ได้ เพราะมันไม่ค่อยจะนึกกัน มันไปนึกเรื่องอื่น เรื่องคน สัตว์ สิ่งของ ทำมาหากิน ครอบครัว เรื่องอะไรที่ไม่ค่อยจะเข้าท่าเท่าไร ไม่เป็นสาระ ไม่เป็นแก่นสาร และก็เอาไปใช้ในตอนช่วงสุดท้ายของชีวิตไม่ได้ มักจะไปนึกกันเรื่องอย่างนั้น

 

เปิดทีวีดู เปิดวีดีโอดู  ดูหนัง  ดูละคร  อะไรกันไป  ซึ่งขืนเอาภาพเหล่านั้นให้ติดกลางใจ เวลาตายจะไปไหนก็นึกเอาก็แล้วกัน  แต่ภาพที่สำคัญ ไม่ค่อยจะได้นึก ซึ่งเป็นภาพที่สำคัญ ต้องเอามาใช้ ถ้าเรานึกบ่อยๆ ก็นึกได้นะลูกนะ

 

นึกได้ก็เห็นได้ มันเป็นขั้นเป็นตอนไป  พอเห็นได้ เราก็ศึกษาได้ ศึกษาความรู้ภายใน ความรู้อันยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ เราก็จะได้ความรู้เพิ่มเติม จากที่เราได้เคยศึกษาว่า ชีวิตมนุษย์มีแต่เรื่องกิน เรื่องกาม เรื่องเกียรติ เรื่องกลัว วนเวียนกันอยู่อย่างนี้ หรือได้อ่านหนังสือหนังหา ได้เรียนรู้เรื่องกฎแห่งกรรมบ้าง เรื่องอบายภูมิ อะไรต่างๆ เหล่านั้น  แต่ว่ามันยังเป็นความรู้ในระดับพื้นผิว ทราบแต่มันยังไม่ซึ้ง ยังตื้นๆ อยู่ 

 

ความรู้ภายใน

 

ทีนี้ พอเรามาทำอย่างนี้ได้  เราก็ได้เรียนรู้เพิ่มเติมว่า  เออ ภายในกายของเรานี้เมื่อใจหยุดแล้ว มันมีแสงสว่างในตัว ที่นอกเหนือจากแสงสว่างภายนอกที่เราเคยเห็นแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว แสงไฟฟ้าที่มนุษย์ประดิษฐ์ แสงไฟ  แสงเทียนอะไรอย่างนั้นเป็นต้นว่า เออ มันมีแสงในตัวด้วยนะ  แต่ว่าเนียนละมุนละไมตา  แตกต่างจากแสงภายนอก

 

เห็นไหมจ๊ะ ความรู้เราเพิ่มเติมแล้ว  เออ มันมีความสุขที่แปลก แตกต่าง ลึก กว้าง  ไม่มีถ้อยคำที่จะเอามาใช้กับความสุขภายในที่เราได้ไปสัมผัส แต่เรารู้ด้วยใจ  ยากที่จะรู้ด้วยถ้อยคำ  เห็นไหมเรามีความรู้เพิ่มแล้วว่า เออ มันมีความสุขชนิดนี้อยู่นะ เราไม่เคยรู้มาก่อนเลย และก็เพิ่มเติมไปอีกว่า ข้างนอกที่เราเคยเจอ ไม่น่าจะเรียกว่า ความสุข มันน่าจะเรียกว่า ความเพลิน มากกว่า  สนุกสนานเพลินๆ ให้มันผ่านไปวันๆ อย่างนั้น เห็นไหมจ๊ะ ความรู้เพิ่มเข้าไปแล้ว

 

พอหยุดไปได้อีกระดับหนึ่ง เออ มันมีดวงธรรมภายในนะ ไอ้ดวงกลมๆ ภายใน มันก็กลมเหมือนดวงแก้วภายนอก แต่ทำไมความรู้สึกมันแตกต่าง จากการที่เราเห็นดวงแก้วภายนอก กับเห็นดวงธรรมภายใน เห็นดวงแก้วภายนอก เห็นแล้วมันก็เฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ มันธรรมดาๆ  แต่เห็นข้างในมันปลื้ม มันรื่นเริง เหมือนเรากำลังดูเพลินๆ เปลี่ยนไปอีกมิติหนึ่ง เหมือนเราหล่นไปในสถานที่รื่นเริง ที่มีความบันเทิงใจ แตกต่างจากสถานที่รื่นเริงที่เราเคยเจอ มันมีชีวิตชีวาไปทุกระบบประสาทและกล้ามเนื้อ และดูเหมือนมันจะขยายไปไม่มีที่สิ้นสุด นี่เป็นความรู้เพิ่มเติม เห็นไหมจ๊ะ  

 

เดี๋ยวก็เห็นกายในกาย เออ ภายในนี้มีกายมนุษย์ละเอียด มีกายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม  กระทั่งมีกายธรรม เห็นพระรัตนตรัยในตัว เห็นไหมจ๊ะ ความรู้เพิ่มเติมไปเรื่อยไม่มีที่สิ้นสุดเลย เหมือนเราเอาเถาปิ่นโตมาเปิดชั้นแรกว่า อร่อยแล้ว ชั้นถัดไปอร่อยเพิ่มขึ้น ถ้าเป็นเถาปิ่นโตที่ไม่มีชั้นที่สิ้นสุด  เป็นชั้น เป็นชุด เป็นขั้น เป็นตอน เป็นภาค เป็นพรืดไปเลย เยอะแยะ สนุกสนาน บุญบันเทิง

 

นี่คือเรื่องราวความรู้ภายในที่เพิ่มขึ้น จนกระทั่งออกไปในมหาสมุทรแห่งความรู้แจ้ง เห็นจริง ความรู้อันยิ่งใหญ่ที่ไม่มีขอบเขต Unlimited  knowledge  ความรู้ที่ไม่มีขอบเขต โอ้โฮ สนุกสนาน เบิกบาน ไปเรื่อยๆ นะจ๊ะ เราจะได้เรียนรู้เพิ่มเติมกันไป  เพราะฉะนั้น อย่าไปขี้เกียจนั่ง ให้ขยัน และก็เป็นทางมาแห่งบุญของเราด้วย บุญจะเกิดขึ้นทุกวันทุกคืน

 

ร่างกายมันเสื่อมไปทุกวัน โรคภัยไข้เจ็บก็ปรากฏเกิดขึ้น ความชรา  ความเหี่ยวย่นที่เราไม่ต้องการมันปรากฏ  และเราก็หลีกเลี่ยงไม่ได้  เรี่ยวแรงก็ลดน้อยถอยลงไป  เพราะฉะนั้นใช้กายมนุษย์หยาบนี้ให้เป็นประโยชน์นะลูกนะ ศึกษา ฝึกฝน กันไปเรื่อยๆ เดี๋ยวใจของเราก็จะหยุดจะนิ่งได้ พอหยุดนิ่งได้ ก็เข้าถึงความเป็นจริงของชีวิต

 

เพราะฉะนั้น ตอนนี้เราจำภาพนี้เอาไว้ ภาพองค์พระกลางดวงแก้ว จำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ค่อยๆ นึกไป จำไม่ได้เราก็ลืมตามาดูบนจอ แล้วเวลาเราไปนั่งที่บ้าน หรือในอิริยาบถอื่น เราก็เอามาตั้งไว้ตรงนี้เลย ไม่ต้องไปเริ่ม ฐานที่ ๑ มาถึง ฐานที่ ๗ นะจ๊ะ มาหยุดมานิ่งตรงนี้ ใจหยุด ใจนิ่ง ให้ใจใส

 

นึกบ่อยๆ ก็นึกได้ นึกได้บ่อยๆ ก็เห็นได้ เห็นได้บ่อยๆ ก็เข้าถึงได้  เข้าถึงบ่อยๆ ก็ศึกษาได้ มันจะเป็นขั้นเป็นตอนกันไปอย่างนี้ เขาทำกันได้เยอะแยะ เราเป็นคนเช่นเดียวกับเขา ถ้ามีความเพียรไม่น้อยหน้าเขา เราก็ต้องทำได้นะลูกนะ

 

เพราะฉะนั้น ต่อจากนี้ไป ให้ตรึกถึงองค์พระใสๆ นั่งอยู่ในกลางดวงแก้ว หันหน้าออกไปทางเดียวกับตัวของเรา มองไปอย่างสบายๆ ทำใจให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น เมื่อยก็ขยับ คันก็เกา ฟุ้งก็ลืมตามาดูบนจอ  หายฟุ้งเราก็หลับตาลงไปใหม่  ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการกันไปเรื่อยๆ ไม่ช้าก็จะสมหวังดังใจ

 

ต่อจากนี้ไปตั้งใจปฏิบัติธรรมกันให้ดีนะจ๊ะ จะภาวนา สัมมาอะระหัง ประกอบไปด้วยก็ได้ หรือจะไม่ภาวนาก็ไม่เป็นอะไร ฝึกใจหยุดนิ่ง ให้ใจใสๆ ฝึกไป ประคองใจไปให้ลูกทุกคนสมหวังดังใจในการเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวกันทุกๆ คนนะลูกนะ ต่างคนต่างทำกันไปเงียบๆ นะจ๊ะ

 

Add Comment
2546
วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ►  เดือน สิงหาคม (233)
    • ▼  เดือน กรกฎาคม (123)
      • ความเพลินส่วนเกินของชีวิต 481030C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว 481023C รอบสาย
      • โลกุตรธรรม ๙ 481016C รอบสาย
      • พิจารณามี ๒ อย่าง 481009D รอบบ่าย
      • เส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน 481009C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวเรา 480828C รอบสาย
      • ที่มาของพระพุทธรูป 480717C รอบสาย
      • วัตถุประสงค์ของชีวิต 480710C รอบสาย
      • เมื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว 480605D รอบบ่าย
      • เหตุการณ์วันตรัสรู้ 480522C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จในสมัยพุทธกาล 480515D รอบบ่าย
      • อิสรภาพที่แท้จริง 480417D รอบบ่าย
      • กรณียกิจ 480313C รอบสาย
      • สมาธิเหมือนเส้นผมบังภูเขา 480130C รอบสาย
      • ชีวิตในสังสารวัฏมีภัยมาก 480123C รอบสาย
      • HOW TO เข้าถึงธรรม 480116C รอบสาย
      • พุทธภาวะภายในตัว 470711C รอบสาย
      • สมถวิปัสสนา 470516C รอบสาย
      • สติปัฏฐาน ๔ 470620C รอบสาย
      • ป่วยอย่างสง่างาม 470502D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งคืองานที่แท้จริง 490122D รอบบ่าย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน 481211D รอบสาย
      • การเห็นด้วยปัญญา 481225C รอบสาย
      • อานิสงส์การฝึกใจให้หยุดนิ่ง 481211D รอบบ่าย
      • การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 460316C รอบสาย
      • ภาพที่สำคัญของชีวิต 460309C รอบสาย
      • มโณปริธานอันยิ่งใหญ่ 460119D รอบบ่าย
      • จริงต้องได้ 460504D รอบบ่าย
      • ลูกมีบุญที่จะเข้าถึงธรรมได้ 450515F รอบค่ำ
      • ฝึกใจหยุดนิ่งอย่างสบาย 450516F รอบค่ำ
      • งานที่แท้จริง 450306F รอบค่ำ
      • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
      • นึกถึงสิ่งที่คุ้นเคย 450525F รอบค่ำ
      • หยุดนิ่งสำคัญที่สุด 450529F รอบค่ำ
      • ชีวิตเป็นของน้อย 450428C รอบสาย
      • หยุดแค่พริบตาเดียวได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ 450305F รอบค่ำ
      • หลับตื่นในอู่ทะเลบุญ 450510F รอบค่ำ
      • ทางเดินของใจ 7 ฐาน 450613F รอบค่ำ
      • อานุภาพหยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • กิเลสประจำกายและวิธีแก้ 450912F รอบค่ำ
      • ปรับที่ใจใช่ที่ภาพ/แก้กดลูกนัยน์ตา 450615F รอบค่ำ
      • เทคนิควิธีการปฏิบัติธรรม 450528F รอบค่ำ
      • นึกบริกรรมนิมิตด้วยสิ่งที่คุ้นเคย 450524F รอบค่ำ
      • หนีกรรมไม่พ้น 450302F รอบค่ำ
      • แผนผังชีวิต 450514F รอบค่ำ
      • หาตัวกลัวให้เจอ 450629F รอบค่ำ
      • ลูกไก่เจาะกระเปาะไข่ 450518F รอบค่ำ
      • วิธีแก้ กดลูกนัยน์ตา 450607F รอบค่ำ
      • อานิสงส์การเข้าถึงพระรัตนตรัย 451022F รอบค่ำ
      • การตอบประสบการณ์ภายใน 560212D รอบบ่าย
      • ฝึกเป็นผู้ให้ 571205D รอบบ่าย
      • นอกรอบให้หมั่นประคองใจ 571211
      • สิ่งที่แสวงหาอยู่ที่ใจหยุดนิ่ง 451028F รอบค่ำ
      • อโห พุทโธ 451113F รอบค่ำ
      • เจริญมรณานุสติ 451118F รอบค่ำ
      • หวงห่วงแบบอริยะ 451209F รอบค่ำ
      • นึกได้ก็เห็นได้ 460309C รอบสาย
      • ต้องฝึกบ่อยๆ ให้ชำนาญ 460202D รอบบ่าย
      • ชีวิตเป็นของน้อย 460126C รอบสาย
      • นิ่งแล้วต้องขยาย 460101D รอบบ่าย
      • สมบัติที่แท้จริง 451231C รอบสาย
      • วันพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม 451227F รอบค่ำ
      • ฐานที่7ที่เกิดดับหลับตื่น 451222D รอบบ่าย
      • กายสบาย ใจสบาย บุญเก่าก็ได้ช่อง 481221
      • หมั่นทบทวนบุญ 451123F รอบค่ำ
      • บุญคือที่พึ่ง 451119F รอบค่ำ
      • ทำไมเด็กจึงเห็นธรรมะง่าย 521025D รอบบ่าย
      • ในท้องมีพระธรรมกาย 520904C รอบสาย
      • มหัศจรรย์สมาธิ 530314C รอบสาย
      • ภาวิตา พหุลีกตา 550806D รอบบ่าย
      • อวิชชา 550722D รอบบ่าย
      • Set Zero 590304D รอบบ่าย
      • คนเราเกิดมาทำไม/ในตัวเรามีองค์พระ 511207C รอบสาย
      • นิมิตเลื่อนลอยหลุมพรางของพญามาร 451013D รอบบ่าย
      • ธรรมกายเอฟเฟค 430423C รอบสาย
      • นิวรณ์ 5 451010F รอบค่ำ
      • นั่งอย่างมีชีวิตชีวา 450924F รอบค่ำ
      • อย่ากินบุญเก่า 450926F รอบค่ำ
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • หลับในอู่ทะเลบุญ 451004F รอบค่ำ
      • เริ่มต้นจากจุดสบายแล้วจะง่าย 451008
      • ตำแหน่งแห่งความสมปรารถนา 521206D รอบบ่าย
      • คำภาวนา สัมมาอะระหัง 510622C รอบสาย
      • บุญพลังแห่งความสุขและความสำเร็จ 511109D รอบบ่าย
      • อริยมรรคมีองค์๘ 510706C รอบสาย
      • หลักสูตรชีวิต 510203D รอบบ่าย
      • เห็นสิ่งใดฝึกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้น 51...
      • เริ่มต้นจากจุดที่ง่าย 510629D รอบบ่าย
      • จุดเล็กใสที่คล้ายเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร 511005C รอบสาย
      • หยุดนิ่งได้แล้วฝึกขยายย่อ 510615D รอบบ่าย
      • พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมใด 511010C รอบสาย
      • พระคุณของ หลวงปู่ฯพระผู้ปราบมาร 511005D รอบบ่าย
      • นั่งมาตั้งนาน ทำไมยังไม่ได้ผล 481127D รอบบ่าย
      • ต้องสบายทุกขั้นตอน 480821D รอบบ่าย
      • หลักวิชชาใจหยุดนิ่งและอาการตกศูนย์ 481218D รอบบ่าย
      • อุปสรรคและหลักวิชชาในการปฏิบัติธรรม 490604C รอบสาย
      • การปฏิบัติธรรมคือการแสวงหาความพอดี 480626C รอบสาย
      • อย่าท้อ_เฉยในทุกประสบการณ์ 471205D รอบบ่าย
      • วิธีปฏิบัติธรรม 480206D รอบบ่าย
      • ง่ายแต่ลึก 480130D รอบบ่าย
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger