• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2548 มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว 481023C รอบสาย

มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว 481023C รอบสาย


  มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว

 วันอาทิตย์ที่  ๒๓  ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ( ๐๙.๐๐ - ๑๑.๐๐ น.)

สภาธรรมกายสากล  วัดพระธรรมกาย


 ปรับกาย

 

เมื่อเราสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไป ตั้งใจให้แน่แน่ว มุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานกันทุกๆ คนนะลูกนะ

 

ให้นั่งขัดสมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตัก พอสบายๆ

 

หลับตาของเราเบาๆ ค่อนลูกพอสบายๆ คล้ายๆ กับตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าไปบีบเปลือกตา อย่ากดลูกนัยน์ตานะจ๊ะ หลับตาพอสบายๆ สำคัญนะตรงนี้ ถ้าหลับตาเป็น เดี๋ยวก็จะเห็นภาพภายใน  ถ้าหลับตาไม่เป็น  มันจะตึง  จะเครียด  หลับให้สบายๆ คล้ายกับตอนที่เราใกล้จะหลับ

 

ปรับใจ

 

แล้วก็ทำใจของเรา ให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น ให้สะอาด บริสุทธิ์ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ให้ปลด ให้ปล่อย ให้วาง ทำใจให้ว่างๆ ทำประหนึ่งว่า เราอยู่คนเดียวในโลก ไม่เคยมีความเกี่ยวข้องกับใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ อะไรต่างๆ เหล่านี้ ตัดออกให้ขาดจากใจ

 

คลายความผูกพัน

 

ให้คลายความผูกพันไป ในขณะที่เรากำลังจะฝึกใจ ให้หยุด ให้นิ่ง นำกลับเข้ามาอยู่ในตัว เพราะสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต มีวิญญาณครอง หรือไม่มีวิญญาณครอง ล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็เสื่อมสลายไปสู่จุดสลายทั้งสิ้น  ไม่มีประโยชน์อะไรที่เราจะไปยึดมั่นถือมั่น  ผูกพันกันมากนัก  เอาแค่พอเป็นเครื่องอาศัยชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นแหละ พอแล้ว

 

เราจะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ มันไม่นาน รวยก็รวยไม่นาน จนก็จนไม่นาน แข็งแรงก็ไม่นาน อ่อนแอก็ไม่นาน ได้ครอบครองลาภ ยศ สรรเสริญ สมบัติต่างๆ ก็ไม่นาน  เพราะฉะนั้นให้ปลด ให้ปล่อย ให้วาง

 

สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ใช่ของใหม่ เราเคยเจอผ่านมานับครั้งไม่ถ้วนแล้ว เพราะเราเกิดในสังสารวัฏมายาวนาน ก็ซ้ำๆ ซากๆ อย่างนี้แหละ เป็นแต่เพียงว่า เราลืมมันไปหมดแล้ว  พญามารเขาเอาอวิชชาเข้ามาบังคับ  ทำให้เราไม่รู้เรื่องราวของชีวิตที่ผ่านมา  ในปัจจุบันก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ  

 

ตัดใจให้ได้นะ  ใจจะได้ว่างๆ  แล้วจะได้ย้อนกลับเข้ามาสู่ที่ตั้งดังเดิม  ซึ่งอยู่ภายในตัวของเรา เรามาสมมติว่า ภายในร่างกายของเรานั้น ปราศจากอวัยวะ ไม่มีปอด ตับ ม้าม ไต หัวใจ เป็นต้น ให้เป็นที่โล่งๆ ว่างๆ เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพรง กลวงภายใน คล้ายๆ ลูกโป่งที่เราเป่าลมเข้าไป เป็นช่องว่างๆ อย่างนั้นนะจ๊ะ

 

วางใจ

 

แล้วก็น้อมใจของเรา ที่คิดแวบไปแวบมาไปในเรื่องราวต่างๆ นั้น นำกลับมาหยุดนิ่งๆ อยู่ภายในตัว

 

พระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ท่านได้กล่าวเอาไว้ว่า

 

ใจ ประกอบไปด้วย ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ ๔ อย่าง มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน เรียกว่า ใจ

 

เราจะเข้าใจตรงนี้ได้ ต่อเมื่อไปเห็น  เห็นได้เมื่อใจหยุดนิ่ง  ความสว่างเกิดจึงเห็นแสงสว่างภายใน  ทำให้เราเห็นแล้วก็เข้าใจตรงนี้ได้

 

แต่ในตอนนี้ เรานำใจที่คิดแวบไปแวบมา นำมาหยุดนิ่งๆ อยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ หรือจำง่ายๆ ว่า อยู่บริเวณแถวๆ กลางท้อง ประมาณนี้อย่างนี้ไปก่อน  เพราะฐานที่ ๗  เราจะเห็นได้ ต่อเมื่อใจหยุดได้สนิทนิ่งสมบูรณ์นั่นแหละ จึงจะเห็นได้ชัดเจน

 

เพราะฉะนั้น อย่าไปกังวลเกินไปว่า  ใจของเราจะอยู่ตรงฐานที่ ๗ พอดีเป๊ะไหม แต่ก็ต้องทำความรู้จักเอาไว้ว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อยู่ตรงนี้ กลางท้อง เหนือสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ โดยเราเอาใจมาหยุดนิ่งๆ อยู่ที่ตรงนี้นะ

 

ฐานที่ ๗ จุดเริ่มต้นทางสายกลางภายใน

 

ที่ต้องให้อยู่ที่ตรงนี้ เพราะว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่จะเดินทางเข้าไปสู่เส้นทางสายกลางภายใน ไปสู่อายตนนิพพาน หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

 

เส้นทางสายกลางภายใน บางครั้งท่านเรียกว่า อริยมรรค คือ หนทางของพระอริยเจ้า  เหมือนมนุษย์มีทางเดินของมนุษย์  สัตว์ก็มีทางเดินของสัตว์  สัตว์ประเสริฐก็มีทางเดินของสัตว์ประเสริฐ

 

มนุษย์ที่ประเสริฐ คือ พระอริยเจ้า ก็มีทางเดินของท่าน ทางใครทางมัน แต่ทางของพระอริยเจ้าอยู่ภายในตัว เรียกว่า อริยมรรค จะเริ่มต้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้แหละ

 

บางครั้งก็เรียกว่า วิสุทธิมรรค หมายถึง ทางแห่งความบริสุทธิ์ หมดจดจากสรรพกิเลสทั้งหลาย

บางครั้งก็เรียกว่า วิมุตติมรรค ทางแห่งความหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งปวง

 

ความหมายอันเดียวกัน คือ ทางสายกลางภายใน ที่นอกเหนือจากทางสายกลางภายนอก ด้วยวิธีปฏิบัติที่ไม่ตึงไม่หย่อนไป แล้วก็จะพบทางสายกลางภายใน เมื่อใจหยุดนิ่งๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้

 

พระนิพพานอยู่ในตัว

 

เราเกิดมาแสวงหาหนทางพระนิพพาน หรือจะมาทำพระนิพพานให้แจ้ง เพื่อสลัดตนให้พ้นจากทุกข์ เราก็ต้องรู้ว่า ทางนั้นอยู่ตรงไหน มรรคผลนิพพานอยู่ที่ตรงไหน เริ่มต้นอย่างไร เราจะได้ไปได้ถูก

 

มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวของเรา ไม่ได้อยู่ที่ไหนเลย ความเป็นพระอริยเจ้าก็อยู่ภายใน เข้าถึงไตรสรณคมน์ก็อยู่ภายในตัว จะเป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามิ พระอนาคามี พระอรหัต อยู่ในตัวของเรานี่แหละ

 

คำว่า อยู่ในตัว คือ ต้องผ่านกลางกาย โดยมีจุดเริ่มต้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้ จะเป็นกายในกายที่ซ้อนๆ กันอยู่ เข้าไปข้างในเป็นชั้นๆ เข้าไป เขาเรียก กายในกาย  กายในในกายภายนอก  กายในในกายภายใน

 

กายภายนอก คือ กายมนุษย์หยาบ ที่เราอาศัยนั่งปฏิบัติธรรมนี่แหละ

กายมนุษย์ละเอียด คือ กายภายในที่อยู่ในกายภายนอก

 

กายภายในที่อยู่ในกายภายใน คือ กายทิพย์ จะซ้อนอยู่ในกลางกายมนุษย์ละเอียด กายพรหมซ้อนอยู่กลางกายทิพย์ กายอรูปพรหมซ้อนอยู่ในกลางกายรูปพรหม กายธรรมโคตรภูซ้อนอยู่ในกลางกายอรูปพรหม กายธรรมพระโสดาบันก็จะซ้อนอยู่ในกลางกายธรรมโคตรภู กายธรรมพระสกิทาคามีก็จะซ้อนอยู่ในกลางกายธรรมพระโสดาบัน กายธรรมพระอนาคามีก็จะซ้อนอยู่ในกลางกายธรรมพระสกิทาคามี กายธรรมพระอรหัตก็จะซ้อนอยู่ในกลางกายธรรมพระอนาคามี จะซ้อนกันไปเป็นชั้นๆ อย่างนี้

 

ที่ซ้อนกันได้ เพราะว่าละเอียดกว่ากัน บริสุทธิ์กว่ากัน กายภายใน จะใหญ่กว่ากายภายนอก เป็นชั้นๆ กันไป แต่ซ้อนกันอยู่ได้ เพราะละเอียดกว่า ต้องจับหลักทางมรรคผลนิพพานให้ได้อย่างนี้ก่อน ถ้าจับหลักตรงนี้ได้แล้ว เราจะไปนั่งอยู่ตรงไหน เราก็ทำได้

 

หยุดเป็นตัวสำเร็จ

 

ทีนี้เราก็มาถึง วิธีทำอย่างไร เข้าถึงกายในกายที่ซ้อนๆ กันอยู่อย่างนี้ได้ มีอยู่ทางเดียว วิธีเดียวเท่านั้น  ซึ่งมันง่ายต่อการกระทำ  ถ้าเข้าใจ  

 

อย่าไปแสวงหาวิธีอื่นที่นอกเหนือจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสอน  เสียเวลาของเรา  ยกเว้นเราอยากจะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า  หรือพระสัพพัญญูพุทธเจ้า  ก็ไปศึกษาเอาเอง  ค้นคว้ากันเอาเอง  แต่ก็ต้องใช้เวลายาวนานทีเดียว

 

แต่ถ้าเราเบื่อหน่ายในความทุกข์ เบื่อหน่ายการเกิด เวียนว่ายในวัฏฏสงสารก็ทำตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันก็จะง่าย คือ นำใจมาหยุดนิ่งๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ หยุดเป็นตัวสำเร็จ ไม่ต้องทำอะไรที่นอกเหนือจากนี้ แต่หยุดเป็นตัวสำเร็จ มีกลเม็ดเหมือนกัน ต้องหยุดอย่างสบายๆ

 

บริกรรมนิมิต

 

โดยกำหนดบริกรรมขึ้นมา ๒ อย่าง คือ บริกรรมนิมิต กับบริกรรมภาวนา บริกรรมนิมิต ให้นึกถึงเครื่องหมายที่ใสบริสุทธิ์ เป็นดวงกลมๆ ใสๆ เหมือนดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ดวงแก้วใสๆ กลมรอบตัว ขนาดใหญ่เล็กก็แล้วแต่ใจเราชอบ

 

พระเดชพระคุณหลวงปู่ ท่านสอนว่า ให้โตเท่ากับแก้วตาของเรา เราไม่เคยสังเกตว่าแก้วตาเรามาโตแค่ไหน ก็เอาว่าพอจะอนุโลมว่าเท่าไรก็ได้ แล้วแต่ใจเราชอบ แต่นึกอย่างสบายๆ คล้ายกับเรานึกถึงสิ่งที่เราคุ้นเคย นึกธรรมดา เหมือนนึกถึงดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวในอากาศ เพชรสักเม็ด ใสๆ นึกแค่นี้แหละ แต่ให้ต่อเนื่องกันไป ให้มีสติ นึกไปเรื่อยๆ สัมปชัญญะต่อเนื่อง แล้วก็สบาย ถ้านึกอย่างลำบากก็ไม่ใช่แล้ว ต้องสบายๆ ผ่อนคลาย

 

บริกรรมภาวนา

 

แล้วก็ประกอบบริกรรมภาวนา  ประคองใจไม่ให้ไปคิดเรื่องอื่น  ภาวนาในใจเบาๆ สบายๆ สม่ำเสมอ ให้เสียงดังออกมาจากในกลางท้อง เป็นเสียงที่ละเอียดอ่อน คล้ายเสียงสวดมนต์ที่เราคล่องปากขึ้นใจ หรือเสียงบทเพลงที่เราคุ้นหูนั่นแหละ

 

ภาวนาในใจว่า สัมมาอะระหังๆ ๆ ไปอย่างสบายๆ ด้วยใจที่เบิกบาน พร้อมกับนึกถึงบริกรรมนิมิตดังกล่าว  นึกได้แค่ไหน  เอาแค่นั้น  นึกไม่ได้ก็ไม่เป็นไร  เพราะวัตถุประสงค์ต้องการให้ใจหยุดนิ่ง นิ่งๆ เฉยๆ แล้วจะภาวนาไปจนกว่าใจของเราไม่อยากจะภาวนาต่อไป อยากจะอยู่เฉยๆ โดยไม่ต้องทำอะไร อยากหยุด อยากนิ่งเฉยๆ อย่างสบายๆ ถ้าเกิดความรู้สึกอย่างนี้ เราก็ไม่ต้องย้อนกลับมาภาวนาใหม่นะ รักษาใจให้หยุดนิ่งต่อไปเรื่อยๆ แต่ถ้าหากเราฟุ้งไปคิดเรื่องอื่น ก็กลับมาภาวนาใหม่ ทำกันไปอย่างนี้ ประคองใจกันไปอย่างสบายๆ

 

เป็นผู้ดู ไม่ใช่ผู้กำกับ

 

มีภาพอะไรเกิดขึ้นในกลางท้องนั้น ล้วนแต่น่าดูทั้งสิ้น ให้ดูไปเฉยๆ สบายๆ โดยไม่ต้องไปคิดอะไร ไม่ต้องไปเปลี่ยนแปลงอะไร อย่าไปฝืน อย่าไปปรับปรุง อย่าไปเปลี่ยนแปลง อย่าไปกำกับ เป็นผู้ดูที่ดี

 

ส่วนการเปลี่ยนแปลง ก็ให้เปลี่ยนของเขาไปเอง  เปลี่ยนไปเป็นอะไร  เราก็ดูเฉยๆ  โดยไม่มีคำถาม  ไม่มีความคิดในใจ  เหมือนดูทิวทัศน์อย่างนั้นแหละ ต้องจำทุกคำนะลูกนะ พอถึงเวลาปฏิบัติจริงๆ มันจะลืม เพราะฉะนั้น ต้องจำ แล้วก็ต้องทำอย่างที่ว่านี้

 

อย่าแสวงหาวิธีการเอง

 

อย่าไปแสวงหาวิธีการใดเลย มันเสียเวลา ยกเว้นว่าจะมีอายุสักพันปี เราค่อยหาวิธีการของเราเอง ซึ่งก็จะเสียเวลาไปสัก ๙๐๐ กว่าปีมันก็ยังไม่เป็นไร ยังเหลืออีกตั้งหลายสิบปี แต่เรามีเวลาจำกัด จะตายเมื่อไรก็ไม่รู้  วันนี้อยู่ พรุ่งนี้อาจจะตายได้

 

ทำอย่างนี้ อย่างที่แนะนำ เขาค้นมาให้เรียบร้อยแล้ว ข้อมูลเหล่านี้ โนฮาว (know-how) นี่แหละ แค่คว้าเอาไปแค่นั้นเอง

 

หยุดนิ่งอย่างเดียว

 

ฝึกหยุด ฝึกนิ่งๆ ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ มีอะไรให้ดู เราก็ดูไป ประสบการณ์อะไรเกิดขึ้นก็ช่างมัน อย่าไปฝืน

 

สมมติ มีอาการถูกดึงดูดอย่างแรงขึ้นไป อย่าไปฝืนต่อต้าน ไม่ตายหรอก อย่าไปฝืนไม่คุ้น อาจจะหวาดเสียวสักหน่อย เหมือนเราขึ้นเครื่องบิน เปิดประตูโดดลงมาโดยไม่มีร่มกางอย่างนั้น แต่ถ้าหากเราวางใจนิ่งเฉยๆ มันจะเคลื่อนไป อย่างน้ำไหลเย็น นุ่มนวล นุ่มเนียนสบาย ต้องทำอย่างนี้นะลูกนะ ใช้ได้แม้กระทั่งผู้ที่หยุดใจได้ในระดับหนึ่ง

 

จนกระทั่งเกิดอาการตัวโล่ง โปร่งเบา สบาย ตัวขยาย เห็นแสงสว่าง เห็นดวงใสๆ กายภายในหรือองค์พระ ก็นิ่งไว้อย่างเดียว อย่าเพิ่งไปทำอย่างอื่น เพราะเรากำลังฝึกหยุด ฝึกนิ่ง ฝึกกันไปอย่างนี้เรื่อยๆ

 

จะค้นคว้า จะมีคำถาม ต่อเมื่อให้มันชัด ใส สว่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก่อน เดี๋ยวจะมีบทเรียนให้ จากการค่อยๆ ให้การบ้านไป แต่ตอนนี้ทำอย่างนี้ แค่นี้ เท่านั้นแหละ เรื่องนั้นเป็นเรื่องเล็ก ตรงนี้เรื่องสำคัญ หยุดกับนิ่ง ทำให้ได้อย่างสบายๆ ใจเย็นๆ

 

ที่จริงควรจะทำกันเป็นวันนี้ทุกคน เพราะไม่ได้ยากอะไร ยากตรงไม่รู้วิธีการ นี่วิธีการก็บอกมาหมดแล้ว เหลืออย่างเดียว ให้นิ่ง นุ่ม เบาๆ สบายๆ ปล่อยให้เป็นไปเองอย่างนั้น อยากจะเป็นอย่างไร ก็ปล่อยไป ให้เป็นอย่างที่อยากจะเป็น ปล่อยไปอย่างสบายๆ ใจใสๆ นิ่งๆ นุ่มๆ เบาๆ เดี๋ยวก็เข้ากลางไปได้เองแหละ

 

เช้านี้ให้ลูกทุกคนสมหวังดังใจในการเข้าถึงพระรัตนตรัยภายในตัว ทุกๆ คนนะลูกนะ ต่างคนต่างนั่งกันไปเงียบๆ นะจ๊ะ

Add Comment
2548
วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ►  เดือน สิงหาคม (233)
    • ▼  เดือน กรกฎาคม (123)
      • ความเพลินส่วนเกินของชีวิต 481030C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว 481023C รอบสาย
      • โลกุตรธรรม ๙ 481016C รอบสาย
      • พิจารณามี ๒ อย่าง 481009D รอบบ่าย
      • เส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน 481009C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวเรา 480828C รอบสาย
      • ที่มาของพระพุทธรูป 480717C รอบสาย
      • วัตถุประสงค์ของชีวิต 480710C รอบสาย
      • เมื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว 480605D รอบบ่าย
      • เหตุการณ์วันตรัสรู้ 480522C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จในสมัยพุทธกาล 480515D รอบบ่าย
      • อิสรภาพที่แท้จริง 480417D รอบบ่าย
      • กรณียกิจ 480313C รอบสาย
      • สมาธิเหมือนเส้นผมบังภูเขา 480130C รอบสาย
      • ชีวิตในสังสารวัฏมีภัยมาก 480123C รอบสาย
      • HOW TO เข้าถึงธรรม 480116C รอบสาย
      • พุทธภาวะภายในตัว 470711C รอบสาย
      • สมถวิปัสสนา 470516C รอบสาย
      • สติปัฏฐาน ๔ 470620C รอบสาย
      • ป่วยอย่างสง่างาม 470502D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งคืองานที่แท้จริง 490122D รอบบ่าย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน 481211D รอบสาย
      • การเห็นด้วยปัญญา 481225C รอบสาย
      • อานิสงส์การฝึกใจให้หยุดนิ่ง 481211D รอบบ่าย
      • การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 460316C รอบสาย
      • ภาพที่สำคัญของชีวิต 460309C รอบสาย
      • มโณปริธานอันยิ่งใหญ่ 460119D รอบบ่าย
      • จริงต้องได้ 460504D รอบบ่าย
      • ลูกมีบุญที่จะเข้าถึงธรรมได้ 450515F รอบค่ำ
      • ฝึกใจหยุดนิ่งอย่างสบาย 450516F รอบค่ำ
      • งานที่แท้จริง 450306F รอบค่ำ
      • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
      • นึกถึงสิ่งที่คุ้นเคย 450525F รอบค่ำ
      • หยุดนิ่งสำคัญที่สุด 450529F รอบค่ำ
      • ชีวิตเป็นของน้อย 450428C รอบสาย
      • หยุดแค่พริบตาเดียวได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ 450305F รอบค่ำ
      • หลับตื่นในอู่ทะเลบุญ 450510F รอบค่ำ
      • ทางเดินของใจ 7 ฐาน 450613F รอบค่ำ
      • อานุภาพหยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • กิเลสประจำกายและวิธีแก้ 450912F รอบค่ำ
      • ปรับที่ใจใช่ที่ภาพ/แก้กดลูกนัยน์ตา 450615F รอบค่ำ
      • เทคนิควิธีการปฏิบัติธรรม 450528F รอบค่ำ
      • นึกบริกรรมนิมิตด้วยสิ่งที่คุ้นเคย 450524F รอบค่ำ
      • หนีกรรมไม่พ้น 450302F รอบค่ำ
      • แผนผังชีวิต 450514F รอบค่ำ
      • หาตัวกลัวให้เจอ 450629F รอบค่ำ
      • ลูกไก่เจาะกระเปาะไข่ 450518F รอบค่ำ
      • วิธีแก้ กดลูกนัยน์ตา 450607F รอบค่ำ
      • อานิสงส์การเข้าถึงพระรัตนตรัย 451022F รอบค่ำ
      • การตอบประสบการณ์ภายใน 560212D รอบบ่าย
      • ฝึกเป็นผู้ให้ 571205D รอบบ่าย
      • นอกรอบให้หมั่นประคองใจ 571211
      • สิ่งที่แสวงหาอยู่ที่ใจหยุดนิ่ง 451028F รอบค่ำ
      • อโห พุทโธ 451113F รอบค่ำ
      • เจริญมรณานุสติ 451118F รอบค่ำ
      • หวงห่วงแบบอริยะ 451209F รอบค่ำ
      • นึกได้ก็เห็นได้ 460309C รอบสาย
      • ต้องฝึกบ่อยๆ ให้ชำนาญ 460202D รอบบ่าย
      • ชีวิตเป็นของน้อย 460126C รอบสาย
      • นิ่งแล้วต้องขยาย 460101D รอบบ่าย
      • สมบัติที่แท้จริง 451231C รอบสาย
      • วันพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม 451227F รอบค่ำ
      • ฐานที่7ที่เกิดดับหลับตื่น 451222D รอบบ่าย
      • กายสบาย ใจสบาย บุญเก่าก็ได้ช่อง 481221
      • หมั่นทบทวนบุญ 451123F รอบค่ำ
      • บุญคือที่พึ่ง 451119F รอบค่ำ
      • ทำไมเด็กจึงเห็นธรรมะง่าย 521025D รอบบ่าย
      • ในท้องมีพระธรรมกาย 520904C รอบสาย
      • มหัศจรรย์สมาธิ 530314C รอบสาย
      • ภาวิตา พหุลีกตา 550806D รอบบ่าย
      • อวิชชา 550722D รอบบ่าย
      • Set Zero 590304D รอบบ่าย
      • คนเราเกิดมาทำไม/ในตัวเรามีองค์พระ 511207C รอบสาย
      • นิมิตเลื่อนลอยหลุมพรางของพญามาร 451013D รอบบ่าย
      • ธรรมกายเอฟเฟค 430423C รอบสาย
      • นิวรณ์ 5 451010F รอบค่ำ
      • นั่งอย่างมีชีวิตชีวา 450924F รอบค่ำ
      • อย่ากินบุญเก่า 450926F รอบค่ำ
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • หลับในอู่ทะเลบุญ 451004F รอบค่ำ
      • เริ่มต้นจากจุดสบายแล้วจะง่าย 451008
      • ตำแหน่งแห่งความสมปรารถนา 521206D รอบบ่าย
      • คำภาวนา สัมมาอะระหัง 510622C รอบสาย
      • บุญพลังแห่งความสุขและความสำเร็จ 511109D รอบบ่าย
      • อริยมรรคมีองค์๘ 510706C รอบสาย
      • หลักสูตรชีวิต 510203D รอบบ่าย
      • เห็นสิ่งใดฝึกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้น 51...
      • เริ่มต้นจากจุดที่ง่าย 510629D รอบบ่าย
      • จุดเล็กใสที่คล้ายเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร 511005C รอบสาย
      • หยุดนิ่งได้แล้วฝึกขยายย่อ 510615D รอบบ่าย
      • พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมใด 511010C รอบสาย
      • พระคุณของ หลวงปู่ฯพระผู้ปราบมาร 511005D รอบบ่าย
      • นั่งมาตั้งนาน ทำไมยังไม่ได้ผล 481127D รอบบ่าย
      • ต้องสบายทุกขั้นตอน 480821D รอบบ่าย
      • หลักวิชชาใจหยุดนิ่งและอาการตกศูนย์ 481218D รอบบ่าย
      • อุปสรรคและหลักวิชชาในการปฏิบัติธรรม 490604C รอบสาย
      • การปฏิบัติธรรมคือการแสวงหาความพอดี 480626C รอบสาย
      • อย่าท้อ_เฉยในทุกประสบการณ์ 471205D รอบบ่าย
      • วิธีปฏิบัติธรรม 480206D รอบบ่าย
      • ง่ายแต่ลึก 480130D รอบบ่าย
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger