• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2548 ง่ายแต่ลึก4 การปฏิบัติธรรมคือการแสวงหาความพอดี 480626C รอบสาย

การปฏิบัติธรรมคือการแสวงหาความพอดี 480626C รอบสาย

 

อยากเห็นหยุดอยากไซร้ อย่ามี

หยุดนิ่งสนิทให้ดี จึ่งได้

หากอยากสักล้านปี นั่งเมื่อย เทียวนา

หยุดอย่างเดียวนิ่งไว้ ไม่ช้าธรรมใส

ตะวันธรรม


การปฏิบัติธรรมคือการแสวงหาความพอดี


Link ไฟล์เสียงนำนั่งสมาธิใน youtube

ง่ายแต่ลึก​ 4 |EP.14| : การปฏิบัติธรรม คือ การแสวงหาความพอดี


เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ ไปให้ตั้งใจให้แน่แน่วมุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานกันทุก ๆ คนนะลูกนะ ให้นั่งขัดสมาธิโดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบาย ๆ หลับตาของเราเบา ๆ หลับตาค่อนลูก พอสบาย ๆ คล้าย ๆ กับตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าไปบีบเปลือกตา อย่ากดลูกนัยน์ตา แล้วก็ทำใจของเราให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น ให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ให้ปลด ให้ปล่อย ให้วาง ทำใจให้ว่าง ๆ

 

แล้วก็มาสมมุติว่า ภายในร่างกายของเรานี้ปราศจากอวัยวะ สมมุติว่าไม่มีปอด ตับ ม้าม ไต หัวใจ เป็นต้น ให้เป็นที่โล่ง ๆ ว่าง ๆ เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพรง เป็นที่โล่งว่าง เหมือนลูกโป่งที่เราอัดลมเข้าไปกลวงภายใน เป็นปล่อง เป็นช่องเป็นโพรง เป็นที่โล่งว่าง กลวงภายใน คล้ายท่อแก้ว ท่อเพชรใส ๆ


ไม่ต้องควานหา ฐานที่ ๗

 

น้อมใจเรามาหยุดนิ่งๆ ที่ศูนย์กลางกาย ฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือโดยสมมติว่า เราหยิบเส้นด้ายมา ๒ เส้น นำมาขึงให้ตึง จากสะดือทะลุไปด้านหลังเส้นหนึ่ง จากด้านขวาทะลุไปด้านซ้ายอีกเส้นหนึ่ง ให้เส้นด้ายทั้งสองตัดกันเป็นกากบาท จุดตัดจะเล็กเท่ากับปลายเข็ม เหนือจุดตัดนี้ขึ้นมา ๒ นิ้วมือ เรียกว่า ศูนย์กลางกาย ฐานที่ ๗ ซึ่งเราต้องทำความรู้จักเอาไว้ให้ดี เพราะว่าจะเป็นที่หยุดใจของเราอย่างถาวร ใจของเราจะต้องมาตั้งมั่นไว้ตรงนี้ แล้วเราจะได้พบกับความสุขที่แท้จริง เราจะเข้าถึงพระรัตนตรัยซึ่งมีอยู่ในตัวของเรา เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดของเรา สิ่งอื่นไม่ใช่

 

ตำแหน่งศูนย์กลางกาย ฐานที่ ๗ ตรงนี้ ต้องทำความรู้จักเอาไว้ แต่ในแง่ของการปฏิบัติจริงๆ เราไม่ต้องไปมัวควานหาศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นะ เราแค่ทำความรู้สึกว่า ใจของเรามาอยู่ในบริเวณกลางท้องอย่างนี้ไปก่อน

 

นึกว่าใจอยู่ในกลางท้อง พร้อมกับกำหนดบริกรรมนิมิตคือ นึกในใจเบาๆ อย่างสบายๆ ถึงดวงแก้วใสๆ หรือเพชรสักเม็ดหนึ่งที่ใสๆ กลมรอบตัว เหมือนดวงแก้วกายสิทธิ์ที่เจียระไนแล้ว หรือจะนึกเป็นพระแก้วใสๆ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ขนาดเล็กใหญ่ก็แล้วแต่ใจเราชอบ เพื่อให้เป็นที่ยึดที่เกาะของใจเราใจของเราจะได้ไม่แวบไปคิดเรื่องอื่น พร้อมกับประคองใจด้วยบริกรรมภาวนาว่า สัมมาอะระหัง โดยให้เสียงของคำภาวนา เป็นเสียงที่ละเอียดอ่อน ดังออกมาจากในกลางท้องของเรา

 

ทุกครั้งที่ภาวนา สัมมาอะระหัง อย่าลืมตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางดวงใส หรือตรึกนึกถึงพระแก้วใสๆ หยุดอยู่ในกลางพระแก้วใสๆ ประคองใจของเราให้อยู่กับบริกรรมนิมิตในกลางท้อง แถวๆ บริเวณฐานที่ ๗ ตรงนั้น ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ แต่อย่าตั้งใจมากเกินไปนะ

 

ทำเล่นๆ เหมือนนั่งพักผ่อน


อย่าตั้งใจมาก โดยพยายามจะบังคับให้ใจมันหยุด มันนิ่งมันสงบ หรือพยายามเค้นภาพให้มาปรากฏชัดเจนเหมือนเราลืมตาเห็นวัตถุภายนอก ถ้าทำอย่างนี้จะมีปฏิกิริยาที่ร่างกายจะบอกเราว่า ตอนนี้เรากำลังปฏิบัติไม่ถูก เพราะเกิดอาการเกร็ง ตึง นั่งไม่มีความสุข มันเบื่อหน่าย ถ้าหากรู้สึกอย่างนี้แล้วแสดงว่าผิดวิธี อย่าฝืนทำโดยวิธีการผิดๆ อย่างนั้นนะ ต้องเริ่มผ่อนคลาย โดยลืมตาขึ้นมาสักนิดหนึ่ง เผยอเปลือกตาสักหน่อยแล้วค่อยๆ ปรับระบบประสาทกล้ามเนื้อใหม่ ให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย แล้วก็เริ่มต้นใหม่อย่างง่ายๆ

 

วัตถุประสงค์เราแค่ต้องการให้ใจหยุดนิ่งๆ อยู่ในฐานที่ตั้งดั้งเดิมของใจ เพราะ “หยุดเป็นตัวสำเร็จ” หรือทำให้เรา ประสบความสำเร็จในการเข้าถึงดวงธรรมภายใน ถึงกายในกาย และพระธรรมกายในตัว ถ้าผิดจากนี้ไปแล้ว ไม่ใช่ ใจต้องหยุดนิ่งอย่างเดียว จึงจะเข้าถึงได้ ต้องจับหลักตรงนี้ให้ได้นะ เรารู้หลักการแล้ว ก็เหลือแต่วิธีการ วิธีการเราก็ต้องฝึกฝนเอา

 

วิธีการที่ถูกต้อง

 

วิธีการที่ถูกต้องคือ ต้องพอดี ไม่ตึงและไม่หย่อนเกินไป

ตึงเกินไป เพราะตั้งใจมาก มันจะตึง เกร็ง ไม่สนุก นั่งแล้ว มันไม่อร่อย มันเบื่อ

หย่อนเกินไป คือ จะเคลิ้มบ้าง ง่วงบ้าง หลับบ้าง ฟุ้งบ้างไปเรื่อยเปื่อยเลย

ถ้าพอดี จะเกิดความพึงพอใจ กับการวางอารมณ์อย่างนี้ ปฏิกิริยาที่ร่างกายจะรู้สึกตัวเริ่มโล่ง ไม่ทึบ เริ่มโปร่ง เบา สบาย ตัวพองๆ ขยาย จนกระทั่งกลืนไปกับบรรยากาศ ตัวหายไปเลย มีความรู้สึกว่า เวลาหมดเร็ว เราไม่อยากออกจากอารมณ์นี้เลย อยากอยู่ตรงนี้ไปนานๆ แม้ยังไม่มีปรากฏการณ์ใดๆ เช่น ไม่มีภาพให้เห็น เราก็ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ อยากอยู่นิ่งๆ นานๆ แม้ไม่เห็นอะไรก็ตาม อย่างนี้ถูกหลักวิชชานะ

 

หยุดแรกได้ หยุดต่อไปก็ง่าย

 

เรามาปรับปรุงในเบื้องต้นให้ได้กันเสียก่อน จะทำเป็นหรือไม่เป็นอยู่ที่ตรงนี้ ถ้าหยุดแรกได้ หยุดสอง หยุดสาม หยุดสี่ หยุดถัดๆ กันไป มันก็ง่าย

 

เราคุ้นเคยกับชีวิตประจำวันของโลกภายนอกว่า กว่าเราจะได้อะไรมา มันต้องต่อสู้ ต้องใช้กลยุทธ์ทุกวิถีทาง ต้องใช้ระบบการคิด นึก อะไรต่างๆ เหล่านั้น เรามีความคุ้นเคยอย่างนั้น แต่ถ้าระบบความรู้ภายในมันตรงกันข้ามกัน เราต้องจับหลักตรงนี้ให้ได้เสียก่อน

 

วิธีภายนอกก็เหมาะกับโลกภายนอก วิธีแสวงหาพระภายในก็ต้องใช้วิธีภายใน ซึ่งตรงข้ามกัน อย่าไปเอาวิธีการข้างนอกมาใช้กับการแสวงหาพระรัตนตรัย ทำอย่างนั้นนั่งเป็นล้านปีก็ไม่ได้ผล เพราะฉะนั้นต้องทำให้ถูกหลักวิชชา จับหลักตรงนี้ให้ได้เสียก่อน

 

ตอนนี้เราเข้าใจดีแล้วว่า ภายในตัวเรามีดวงธรรม มีกายในกาย มีพระรัตนตรัยในตัว เราเข้าใจแล้วว่า จะต้องเริ่มต้นที่ศูนย์กลางกาย ฐานที่ ๗ ต้องประกอบบริกรรมนิมิต กับบริกรรมภาวนาควบคู่กันไป หลักการตอนนี้เราเข้าใจแล้ว ก็เหลือแต่วิธีการ ก็ปรับเอา ฝึกเอา ค่อยๆ ปรับปรุงไป ใจเย็นๆ

 

เราไม่ได้นั่งแข่งกับใคร แม้กระทั่งกับตัวเราเอง เราก็ไม่ได้แข่ง แต่ว่าเรากำลังจะฝึกในปัจจุบันนี้ เดี๋ยวนี้ว่า จะให้ใจหยุดใจนิ่งอย่างสบายๆ เท่านั้น

 

การฝึกใจให้หยุดนิ่งเพื่อให้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวหรือ การปฏิบัติธรรมก็คือการแสวงหาความพอดีนั่นเอง ถ้าเราวางใจได้พอดี เราก็จะมีประสบการณ์ภายใน ใจก็จะไปหยุดนิ่งที่ฐานที่ ๗ แล้วมันจะสปาร์คเป็นแสงสว่างเกิดขึ้นมาเลย

 

เมื่อเราเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวแล้ว เราจะดำรงชีวิตอยู่ด้วยความพอดี เราจะรู้จักคำว่า “กินอยู่แต่พอดี” เป็นอย่างไร มีชีวิตระดับไหนที่มันพอดี และทำให้เกิดความพึงพอใจ จนไม่อยากได้อะไรที่นอกเหนือจากนี้ แล้วอยากจะดำเนินชีวิตของเราให้เป็นประโยชน์ต่อโลก

 

เพราะฉะนั้น สำคัญที่หยุดแรกนะลูกนะ ประคองใจเอาไว้ให้ดี ค่อยๆ ทำ สิ่งที่ใครเคยทำได้ สิ่งนั้นเราก็ต้องทำได้

 

เด็กๆ เขาฝึกใจหยุดนิ่งง่าย เพราะเขาไม่ได้คิดอะไร บอกให้วางใจ แล้วเขาทำใจอินโนเซ้นต์ ง่ายๆ แล้วก็ปรุงใจให้สบาย ให้หยุดนิ่งลงไปในกลางท้อง เดี๋ยวก็มีประสบการณ์มาให้ดู มีแสงสว่างเกิดขึ้นบ้าง มีดวงใสๆ เกิดขึ้นบ้าง เห็นตัวเองบ้าง มีองค์พระใสๆ เกิดขึ้นบ้าง

 

เพราะฉะนั้น ให้สังเกตดูนะ ถ้าเรานั่งแล้วเกิดความพึงพอใจ มีอาการโล่ง โปร่ง เบา สบาย นั่นถูกต้องแล้ว จากนั้นก็ทำอย่างนั้นเรื่อยไป ปล่อยให้มันเป็นไปอย่างนั้น อย่างที่มันอยากจะเป็น คือปล่อยไปนิ่งอย่างเดียว มีแสงสว่างให้ดูเราก็ดูมีความมืดให้ดูเราก็นิ่งอย่างเดียว แสงสว่างมาก็นิ่ง มีภาพอะไร มาเราก็นิ่ง หยุดกับนิ่งอย่างเดียว ทำอย่างนี้ แค่นี้ เท่านั้น

 

และถ้าหากเราทำไม่ถูกวิธี เราจะต้องพร้อมเสมอสำหรับ การเริ่มต้นใหม่อย่างถูกต้องแบบนักเรียนอนุบาล ต้องพร้อมอย่างนี้นะ

 

อย่าท้อใจ อย่าน้อยใจ อย่าไปนั่งแข่งกับใคร แม้กับตัวเราเอง อย่าไปคาดหวังว่า วันนี้เราจะต้องนั่งให้ดีกว่าเมื่อวาน อย่าไปบังคับใจให้มันนิ่ง หรือเค้นภาพให้ทะลักมาในท้อง อะไรต่างๆ ตั้งแต่เบื้องต้นที่ได้กล่าวมาแล้ว

 

เพราะฉะนั้น ต่อจากนี้ไปให้ลูกทุกคนประคับประคองใจให้หยุดนิ่ง หยุดนิ่งคือความยิ่งใหญ่ที่ไม่มีสิ่งใดจะมาเสมอเหมือนได้ ต้องหยุดนิ่งให้ได้อย่างสบายๆ ให้ลูกทุกคนสมหวังดังใจ ในการเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวทุกๆ คน ต่างคน ต่างนั่งกันไปเงียบๆ นะ

 

สาธุชน : สภาธรรมกายสากล : ๐๙.๐๐ - ๑๑.๐๐ น.

Add Comment
2548, ง่ายแต่ลึก4
วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ►  เดือน สิงหาคม (233)
    • ▼  เดือน กรกฎาคม (123)
      • ความเพลินส่วนเกินของชีวิต 481030C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว 481023C รอบสาย
      • โลกุตรธรรม ๙ 481016C รอบสาย
      • พิจารณามี ๒ อย่าง 481009D รอบบ่าย
      • เส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน 481009C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวเรา 480828C รอบสาย
      • ที่มาของพระพุทธรูป 480717C รอบสาย
      • วัตถุประสงค์ของชีวิต 480710C รอบสาย
      • เมื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว 480605D รอบบ่าย
      • เหตุการณ์วันตรัสรู้ 480522C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จในสมัยพุทธกาล 480515D รอบบ่าย
      • อิสรภาพที่แท้จริง 480417D รอบบ่าย
      • กรณียกิจ 480313C รอบสาย
      • สมาธิเหมือนเส้นผมบังภูเขา 480130C รอบสาย
      • ชีวิตในสังสารวัฏมีภัยมาก 480123C รอบสาย
      • HOW TO เข้าถึงธรรม 480116C รอบสาย
      • พุทธภาวะภายในตัว 470711C รอบสาย
      • สมถวิปัสสนา 470516C รอบสาย
      • สติปัฏฐาน ๔ 470620C รอบสาย
      • ป่วยอย่างสง่างาม 470502D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งคืองานที่แท้จริง 490122D รอบบ่าย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน 481211D รอบสาย
      • การเห็นด้วยปัญญา 481225C รอบสาย
      • อานิสงส์การฝึกใจให้หยุดนิ่ง 481211D รอบบ่าย
      • การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 460316C รอบสาย
      • ภาพที่สำคัญของชีวิต 460309C รอบสาย
      • มโณปริธานอันยิ่งใหญ่ 460119D รอบบ่าย
      • จริงต้องได้ 460504D รอบบ่าย
      • ลูกมีบุญที่จะเข้าถึงธรรมได้ 450515F รอบค่ำ
      • ฝึกใจหยุดนิ่งอย่างสบาย 450516F รอบค่ำ
      • งานที่แท้จริง 450306F รอบค่ำ
      • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
      • นึกถึงสิ่งที่คุ้นเคย 450525F รอบค่ำ
      • หยุดนิ่งสำคัญที่สุด 450529F รอบค่ำ
      • ชีวิตเป็นของน้อย 450428C รอบสาย
      • หยุดแค่พริบตาเดียวได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ 450305F รอบค่ำ
      • หลับตื่นในอู่ทะเลบุญ 450510F รอบค่ำ
      • ทางเดินของใจ 7 ฐาน 450613F รอบค่ำ
      • อานุภาพหยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • กิเลสประจำกายและวิธีแก้ 450912F รอบค่ำ
      • ปรับที่ใจใช่ที่ภาพ/แก้กดลูกนัยน์ตา 450615F รอบค่ำ
      • เทคนิควิธีการปฏิบัติธรรม 450528F รอบค่ำ
      • นึกบริกรรมนิมิตด้วยสิ่งที่คุ้นเคย 450524F รอบค่ำ
      • หนีกรรมไม่พ้น 450302F รอบค่ำ
      • แผนผังชีวิต 450514F รอบค่ำ
      • หาตัวกลัวให้เจอ 450629F รอบค่ำ
      • ลูกไก่เจาะกระเปาะไข่ 450518F รอบค่ำ
      • วิธีแก้ กดลูกนัยน์ตา 450607F รอบค่ำ
      • อานิสงส์การเข้าถึงพระรัตนตรัย 451022F รอบค่ำ
      • การตอบประสบการณ์ภายใน 560212D รอบบ่าย
      • ฝึกเป็นผู้ให้ 571205D รอบบ่าย
      • นอกรอบให้หมั่นประคองใจ 571211
      • สิ่งที่แสวงหาอยู่ที่ใจหยุดนิ่ง 451028F รอบค่ำ
      • อโห พุทโธ 451113F รอบค่ำ
      • เจริญมรณานุสติ 451118F รอบค่ำ
      • หวงห่วงแบบอริยะ 451209F รอบค่ำ
      • นึกได้ก็เห็นได้ 460309C รอบสาย
      • ต้องฝึกบ่อยๆ ให้ชำนาญ 460202D รอบบ่าย
      • ชีวิตเป็นของน้อย 460126C รอบสาย
      • นิ่งแล้วต้องขยาย 460101D รอบบ่าย
      • สมบัติที่แท้จริง 451231C รอบสาย
      • วันพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม 451227F รอบค่ำ
      • ฐานที่7ที่เกิดดับหลับตื่น 451222D รอบบ่าย
      • กายสบาย ใจสบาย บุญเก่าก็ได้ช่อง 481221
      • หมั่นทบทวนบุญ 451123F รอบค่ำ
      • บุญคือที่พึ่ง 451119F รอบค่ำ
      • ทำไมเด็กจึงเห็นธรรมะง่าย 521025D รอบบ่าย
      • ในท้องมีพระธรรมกาย 520904C รอบสาย
      • มหัศจรรย์สมาธิ 530314C รอบสาย
      • ภาวิตา พหุลีกตา 550806D รอบบ่าย
      • อวิชชา 550722D รอบบ่าย
      • Set Zero 590304D รอบบ่าย
      • คนเราเกิดมาทำไม/ในตัวเรามีองค์พระ 511207C รอบสาย
      • นิมิตเลื่อนลอยหลุมพรางของพญามาร 451013D รอบบ่าย
      • ธรรมกายเอฟเฟค 430423C รอบสาย
      • นิวรณ์ 5 451010F รอบค่ำ
      • นั่งอย่างมีชีวิตชีวา 450924F รอบค่ำ
      • อย่ากินบุญเก่า 450926F รอบค่ำ
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • หลับในอู่ทะเลบุญ 451004F รอบค่ำ
      • เริ่มต้นจากจุดสบายแล้วจะง่าย 451008
      • ตำแหน่งแห่งความสมปรารถนา 521206D รอบบ่าย
      • คำภาวนา สัมมาอะระหัง 510622C รอบสาย
      • บุญพลังแห่งความสุขและความสำเร็จ 511109D รอบบ่าย
      • อริยมรรคมีองค์๘ 510706C รอบสาย
      • หลักสูตรชีวิต 510203D รอบบ่าย
      • เห็นสิ่งใดฝึกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้น 51...
      • เริ่มต้นจากจุดที่ง่าย 510629D รอบบ่าย
      • จุดเล็กใสที่คล้ายเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร 511005C รอบสาย
      • หยุดนิ่งได้แล้วฝึกขยายย่อ 510615D รอบบ่าย
      • พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมใด 511010C รอบสาย
      • พระคุณของ หลวงปู่ฯพระผู้ปราบมาร 511005D รอบบ่าย
      • นั่งมาตั้งนาน ทำไมยังไม่ได้ผล 481127D รอบบ่าย
      • ต้องสบายทุกขั้นตอน 480821D รอบบ่าย
      • หลักวิชชาใจหยุดนิ่งและอาการตกศูนย์ 481218D รอบบ่าย
      • อุปสรรคและหลักวิชชาในการปฏิบัติธรรม 490604C รอบสาย
      • การปฏิบัติธรรมคือการแสวงหาความพอดี 480626C รอบสาย
      • อย่าท้อ_เฉยในทุกประสบการณ์ 471205D รอบบ่าย
      • วิธีปฏิบัติธรรม 480206D รอบบ่าย
      • ง่ายแต่ลึก 480130D รอบบ่าย
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger