• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2548 ที่มาของพระพุทธรูป 480717C รอบสาย

ที่มาของพระพุทธรูป 480717C รอบสาย


 ที่มาของพระพุทธรูป

วันอาทิตย์ที่  ๑๗  กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ (๐๙.๐๐ - ๑๑.๐๐ น.)

สภาธรรมกายสากล  วัดพระธรรมกาย


ปรับกาย


เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไป ให้ตั้งใจให้แน่แน่ว มุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานกันทุกๆ คนนะลูกนะ

 

ให้นั่งขัดสมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ

 

หลับตาของเราเบาๆ หลับตาค่อนลูกพอสบายๆ คล้ายๆ กับตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าไปบีบเปลือกตา อย่ากดลูกนัยน์ตา

 

ปรับใจ

 

แล้วก็ทำใจของเรา ให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น ให้สะอาด บริสุทธิ์ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ให้ปลด ให้ปล่อย ให้วาง ทำใจให้ว่างๆ

 

วางใจ

 

แล้วก็น้อมนำใจ ที่คิดแวบไปแวบมา ในเรื่องราวอะไรต่างๆ เหล่านั้น มาหยุด นิ่งๆ อยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ

 

โดยสมมติว่า หยิบเส้นด้ายขึ้นมา ๒ เส้น เส้นหนึ่งขึงจากสะดือทะลุไปด้านหลัง อีกเส้นหนึ่ง ขึงจากด้านขวาทะลุไปด้านซ้าย ให้เส้นด้ายทั้งสองตัดกันเป็นกากบาท จุดตัดจะเล็กเท่ากับปลายเข็ม เหนือจุดตัดนี้ขึ้นมา ๒ นิ้วมือ โดยสมมติเอานิ้วชี้กับนิ้วกลางมาวางซ้อนกัน แล้วนำไปทาบตรงจุดตัดของเส้นด้ายทั้งสอง สูงขึ้นมา ๒ นิ้วมือ ตรงนี้เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗


เส้นทางพระนิพพาน

 

ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ท่านเสด็จไปสู่อายตนนิพพาน โดยมีจุดเริ่มต้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้ คือท่านจะเอาใจของท่านมาหยุดนิ่งๆ อยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ โดยทิ้งเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ สิ่งของ ท่านปลด ปล่อย วางหมด ไม่ผูกพัน ไม่ยึดมั่น ถือมั่นกับสิ่งใดๆ เลย ในโลกนี้หรือโลกไหน ใจท่านก็จะมาหยุดนิ่งๆ อยู่ที่ตรงนี้

 

พอถูกส่วนเข้า ใจก็จะตกศูนย์เข้าไปข้างใน แล้วก็จะมีดวงธรรมลอยขึ้นมาอยู่ที่ฐานที่ ๗  อย่างเล็กก็ขนาดดวงดาวในอากาศ  อย่างกลางก็ขนาดพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ  อย่างใหญ่ก็ขนาดพระอาทิตย์ยามเที่ยงวันหรือใหญ่กว่านั้น ตามกำลังบารมีของแต่ละคน หรือบางทีเท่ากับฟองไข่แดงของไก่

 

จะขนาดไหนก็ตาม พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านเรียก ธรรมดวงนี้ว่า ดวงธัมมานุปัสนาสติปัฏฐาน หรือดวงปฐมมรรค พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเริ่มต้นตรงนี้ ตรงดวงปฐมมรรค เริ่มต้นหยุดนิ่งเรื่อยไปเลย ในกลางดวงธรรมที่ชัดใสแจ่ม ใจหยุดอย่างเดียว ไม่ได้ทำอะไรที่นอกเหนือจากนี้เลย เพราะว่าใจท่านไม่ผูกพันกับอะไรแล้ว นิ่งอย่างเดียว หยุดกับนิ่งอย่างเดียว

 

พอถูกส่วนดวงธัมมานุปัสนาสติปัฏฐานก็ขยาย พอขยายก็จะมีธรรมดวงใหม่เกิดขึ้นในกลางนั้น กลมรอบตัวเหมือนกัน แต่ว่าใสกว่า สว่างกว่า เขาเรียกว่า ดวงศีล

ท่านก็หยุดอยู่ในกลางดวงศีล ดวงศีลก็ขยายส่วนออก ก็เข้าถึง ดวงสมาธิ กลมรอบตัวเหมือนกัน แต่ว่าใสกว่า สว่างกว่า

ท่านก็หยุดอยู่ในกลางดวงสมาธิ พอถูกส่วนมันก็จะขยายออกไป แล้วก็เข้าถึงดวงปัญญา เป็นดวงกลมใสๆ เกิดขึ้นแบบเดียวกัน แต่ใสกว่า สว่างกว่า

พอหยุดเข้าไปในกลางดวงปัญญา ถูกส่วนดวงปัญญาขยายออก ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ กลมรอบตัวเหมือนกัน แต่ใสกว่า บริสุทธิ์กว่า สว่างกว่า

ท่านก็หยุดอยู่ในกลางดวงวิมุตติ พอถูกส่วนดวงวิมุตติก็ขยายกว้างออกไป แล้วก็เข้าถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ กลมรอบตัวเหมือนกัน แต่ใสบริสุทธิ์ สว่างกว่า

 

ธรรม ๖ ดวงนี้เป็นหนึ่งชุด เป็นเครื่องกลั่นใจให้ใส ให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น และก็เชื่อมต่อระหว่างกายหนึ่งมาถึงอีกกายหนึ่ง ขึ้นในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอหยุดถูกส่วนก็เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด หน้าตาลักษณะเหมือนตัวเรา ท่านหญิงเหมือนท่านหญิง ท่านชายเหมือนท่านชาย อยู่ในท่านั่งสมาธิ หันหน้าออกไปทางเดียวกับตัวของเรา

 

ท่านก็หยุดนิ่งเรื่อยไป ในกลางกายมนุษย์ละเอียด ก็จะเห็นดวงธรรมอีกชุดหนึ่ง ผุดเกิดขึ้นมาในทำนองเดียวกัน แล้วก็จะเข้าถึง กายทิพย์หยาบ ที่มันหยาบกว่ากายทิพย์ละเอียด ถึงเรียกว่า กายทิพย์หยาบ ลักษณะกายสวยงามกว่ากายมนุษย์ละเอียด มีเครื่องประดับติดตัว เป็นกายของสุคติภูมิ เวลาจะไปสู่สุคติโลกสวรรค์ต้องมีกายนี้ เขาใช้กายนี้ มีหยาบ มีละเอียด แต่ลักษณะกายเหมือนกัน ต่างแต่บริสุทธิ์กว่า ใสกว่า แล้วก็เชื่อมกันด้วยดวงธรรมหนึ่งชุด ดังกล่าวนั้น

 

ในกลางกายทิพย์ละเอียด ก็มีธรรม ๑ ชุด อีกชุดหนึ่ง ซึ่งเชื่อมถึง กายอรูปพรหมหยาบ ที่มีลักษณะแตกต่างจากกายทิพย์ ก็มีเครื่องประดับที่ประณีตขึ้น สงบขึ้น อยู่ในท่าทำสมาธิเหมือนกัน ทุกกายจะหันหน้าออกไปทางเดียวกับตัวของเรา

 

ในกลางกายรูปพรหมหยาบ พอหยุดนิ่งถูกส่วน ก็เข้าถึงดวงธรรมอีกชุดหนึ่ง และก็เข้าถึง กายรูปพรหมละเอียด เข้าไปทำนองอย่างนี้ไปเรื่อยๆ โดยหยุดนิ่งอย่างเดียว

แล้วก็จะเข้าไปถึง กายอรูปพรหมหยาบ-ละเอียด

เข้าถึง กายธรรมโคตรภูหยาบ-ละเอียด

เข้าถึง กายธรรมโสดาบันหยาบ-ละเอียด

เข้าถึง กายธรรมพระสกิทาคามีหยาบ-ละเอียด

เข้าถึง กายธรรมพระอนาคามีหยาบ ละเอียด

แล้วก็เข้าถึง กายธรรมพระอรหัตหยาบ-ละเอียด

 

กายที่เป็นเป้าหมายก็คือ กายธรรมพระอรหัตผล หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา ซึ่งเป็นกายสุดท้าย ที่พ้นจากการบังคับบัญชาของกิเลสอาสวะ เป็นกายที่หลุดพ้น กายนี้จะสวยงามมาก เหมือนกันตั้งแต่กายธรรมโคตรภู กายธรรมพระโสดาบัน กายธรรมพระสกิทาคามี กายธรรมพระอนาคามี กายธรรมพระอรหัต

 

ลักษณะเหมือนกัน ต่างแต่ขนาดหน้าตัก ความใส ความบริสุทธิ์ต่างกัน คือ กายท่านจะประกอบไปด้วยลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ มีเกตุดอกบัวตูมเหมือนดอกบัวสัตตบงกฎตั้งอยู่บนจอมกระหม่อมที่เป็นลักษณะพิเศษของกายมหาบุรุษ มีเส้นพระศก หรือเส้นผมขดเวียนเป็นทักษิณาวรรต หมุนขวาตามเข็มนาฬิกา เรียงรายอย่างเป็นระเบียบ สวยงามมากทีเดียว อยู่ในท่าทำสมาธิ กายท่านจะบริสุทธิ์ใสเป็นแก้ว ที่เราจำลองออกมาเป็นพุทธปฏิมากร

 

พระพุทธรูปถอดแบบจากพระธรรมกายภายใน


เราจะเห็นว่า พระพุทธรูป พยายามถอดแบบกายนี้ออกมา เพื่อจะบอกให้มนุษย์ทั้งหลายรู้ว่า กายนี้คือ กายตรัสรู้ธรรม คือตัวจริงของความหมายของคำว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเข้าถึงกายนี้ มีลักษณะอย่างนี้ คือ เกตุดอกบัวตูม เหมือนพระพุทธรูปบางยุค ที่มีเกตุดอกบัวตูม อย่างเช่นยุคเชียงแสน นั่นคือการถอดแบบของพระธรรมกายในตัว ซึ่งเป็นตัวพุทธรัตนะ ออกมาให้มนุษย์ผู้มีปัญญาได้รู้จักว่า นี้คือกายตรัสรู้ธรรมที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน

 

แล้วเราเรียกกายนี้ว่า กายพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือที่เรารู้จักในนามว่าพระพุทธรูป คือ รูปลักษณะของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ผู้พ้นแล้ว เป็นเกตุดอกบัวตูม แต่ว่าช่างเขาไม่ได้ไปเห็น ก็จินตนาการเอาตามที่ได้ศึกษาจากตำรับตำรา ดังนั้นพระพุทธรูปจึงมีลักษณะคล้ายๆ อย่างนี้ แต่ก็ยังไม่ได้ลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ แต่ให้รู้ว่า จำลองมาเป็นอย่างนี้

 

ต่อมาผู้ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องพระพุทธรูปถอดแบบออกมาจากภายในกายมนุษย์ กลับปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพระเกตุเป็นเปลวเพลิง เป็นอะไรต่ออะไร แล้วก็แปลเป็นปริศนาธรรมว่า หมายถึง สัญญลักษณ์แห่งปัญญาอะไรต่างๆ ก็จินตนาการกันไปตามความเข้าใจ แล้วต่อมาก็มีปางนั้น ปางนี้ เพื่อเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจอะไรต่างๆ เหล่านั้นกันไป แต่ความเป็นจริงแล้วต้องเกตุดอกบัวตูม

 

กายเนื้อของเจ้าชายสิทธัตถะ หรือพระสมณโคดม ท่านไม่มีเกตุดอกบัวตูม แต่มีจอมกระหม่อม ลักษณะมหาบุรุษ เพราะฉะนั้นพระพุทธรูปที่มีเกตุดอกบัวตูมตั้งอยู่บนจอมกระหม่อม หมายเอาพระในตัวนี่แหละ พระธรรมกาย หรือตัวพุทธรัตนะ กายตรัสรู้ธรรม ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว

 

พระพุทธเจ้าก็หยุดนิ่งอย่างเดียว

 

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเดินตามรอยนี้ คือ หยุดกับนิ่งอย่างเดียว ไม่ได้ทำอะไรที่นอกเหนือจากนี้ แล้วก็เห็นไปตามลำดับ เห็นชัดยิ่งกว่าลืมตาเห็น เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม เห็นไปตามลำดับจนกระทั่งถึงกายธรรมอรหัตตสัมมาสัมพุทธเจ้า คือพระธรรมกายที่มีปรากฏอยู่ในตัวพระองค์

 

กายธรรมนี้มีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคนในโลก ทุกเชื้อชาติ ศาสนา และเผ่าพันธุ์ แต่ว่าไม่มีใครรู้ และไม่เฉลียวใจว่า มีอยู่ในตัว ที่ไหนมีมนุษย์ ที่นั่นก็มีกายธรรม

เข้าถึงกายธรรมได้เมื่อไร เราก็จะเปลี่ยนแปลงจากผู้ไม่รู้ มาเป็นผู้รู้ ผู้ที่ยังหลับอยู่กับกิเลสก็เป็นผู้ตื่นขึ้นมา ผู้ที่มีความทุกข์ระทมโศกเศร้าเสียใจ ร่ำพิไรรำพันอะไรต่างๆ ก็จะเบิกบาน ใจจะขยาย จะมีความสุขมากทีเดียว เมื่อเข้าถึงกายนี้

 

โชคดีที่เป็นชาวพุทธ

 

วันนี้เรามาวัดทุกๆ วันอาทิตย์ ในฐานะเราเป็นชาวพุทธ คือ ผู้รู้ คืออยู่ในเชื้อสาย มีสายบุญของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ที่เรียกว่า ชาวพุทธ เราจึงได้มาใช้วันเวลาในการปฏิบัติธรรมเป็นพุทธบูชา คือ มีความเคารพเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเป็นนักเรียนที่ดี ที่จะทำตามคำสอนของท่าน ที่เรียกว่า ปฏิบัติบูชา เพื่อที่จะได้เข้าถึงสิ่งที่มีอยู่ในตัวของเรา เป็นพยานในการตรัสรู้ธรรม แล้วก็จะทำให้เราเป็นผู้ที่มีหลักของชีวิต มีที่พึ่งที่ระลึกภายใน เพราะการเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว

 

ทันทีที่เข้าถึง ทุกข์ทั้งหลายก็ดับไป ความสุขที่ไม่มีประมาณก็จะบังเกิดขึ้นกับเรา อย่างที่หาไม่ได้จากวัตถุ หรือจากที่ไหนๆ ในโลก นอกจากในพระธรรมกายของเรา

 

ความสุขอันไม่มีประมาณ ที่เกิดจากใจหยุดใจนิ่ง ในกลางพุทธรัตนะนั้นยิ่งใหญ่ไพศาลนัก แล้วเราก็จะเปลี่ยนจากผู้ไม่รู้ มาเป็นผู้รู้ รู้เรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต ด้วยธรรมจักขุและญาณทัสสนะของพระธรรมกาย ธรรมจักขุที่มีดวงตา ทำให้เห็นได้รอบตัวในเวลาเดียวกัน และก็มีญาณทัสสนะ เห็นถึงไหนก็รู้ถึงนั่น จะน้อมไปในอดีตก็รู้เรื่องอดีต น้อมเอามาปัจจุบันก็รู้เรื่องปัจจุบัน น้อมไปในอนาคต ก็รู้เรื่องของอนาคต กายธรรมนี่แหละเป็นหลักของชีวิตเพราะฉะนั้น ทุกวันอาทิตย์เราก็มาปฏิบัติธรรมอย่างนี้ ถูกหลักวิชชา ก็ให้ตั้งใจปฏิบัติธรรมกันไป

 

เรามีบุญมากพอที่จะเข้าถึงธรรม ถึงพระรัตนตรัยในตัว เหลือแต่ความขยัน ความเพียร แล้วก็ทำให้ถูกหลักวิชชาเท่านั้น เราก็จะเข้าถึงได้

 

เมื่อเราเข้าถึงได้แล้ว เราสว่างแล้ว เดี๋ยวโลกก็จะสว่างตามไปด้วย ด้วยการทำหน้าที่ เป็นกัลยาณมิตรของตัวเรานี่แหละ โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์ภายในจากใจถึงใจของผู้มีบุญที่เข้ามาใกล้ชิดของเรา


บริกรรมนิมิต

 

เพราะฉะนั้น อยู่ที่ความขยัน ความเพียร และทำให้ถูกหลักวิชชา หลักวิชชาก็ไม่ได้มีอะไรยาก ก็คือฝึกใจให้หยุดให้นิ่ง ด้วยการตรึกนึกถึงดวงใส หรือเพชรสักเม็ดหนึ่งใสๆ เอาไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ บริเวณกลางท้อง เหนือสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ เราตรึกนึกถึงเพชรเม็ดนั้น ใสๆ หรือองค์พระใสๆ เพื่อให้ใจอยู่ในศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ให้นึกคิดอย่างนี้ ต่อเนื่องกันไป อย่าให้เผลอไปนึกเรื่องอื่น


บริกรรมภาวนา

 

แล้วก็ประคองใจให้หยุดนิ่ง ด้วยบริกรรมภาวนา ภาวนาในใจ สัมมาอะระหังๆๆ ภาวนาสัมมาอะระหังไป ใจจะต้องไม่ลืมตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางดวงใส หรือตรึกนึกถึงพระแก้วใสๆ หยุดอยู่ในกลางพระแก้วใสๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทำอย่างนี้แค่นี้เท่านั้น

 

เมื่อใจหยุดนิ่งถูกส่วน มันก็จะทิ้งคำภาวนาไป ใจเราไม่อยากจะภาวนาต่อไป อยากจะหยุด จะนิ่งอย่างเดียว เมื่อเกิดความรู้สึกอย่างนี้ เราก็ไม่ต้องย้อนกลับมาภาวนาใหม่ ให้รักษาใจหยุดนิ่งอย่างนี้ อย่างเดียวเรื่อยไป

 

เช้านี้อากาศกำลังสดชื่น เหมาะสมในการที่ลูกผู้มีบุญทุกคน จะเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวกันแล้ว ต่อจากนี้ไปก็ให้ประกอบความเพียรกันไป ต่างคนต่างนั่งกันไปเงียบๆ นะ

Add Comment
2548
วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ►  เดือน สิงหาคม (233)
    • ▼  เดือน กรกฎาคม (123)
      • ความเพลินส่วนเกินของชีวิต 481030C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว 481023C รอบสาย
      • โลกุตรธรรม ๙ 481016C รอบสาย
      • พิจารณามี ๒ อย่าง 481009D รอบบ่าย
      • เส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน 481009C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวเรา 480828C รอบสาย
      • ที่มาของพระพุทธรูป 480717C รอบสาย
      • วัตถุประสงค์ของชีวิต 480710C รอบสาย
      • เมื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว 480605D รอบบ่าย
      • เหตุการณ์วันตรัสรู้ 480522C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จในสมัยพุทธกาล 480515D รอบบ่าย
      • อิสรภาพที่แท้จริง 480417D รอบบ่าย
      • กรณียกิจ 480313C รอบสาย
      • สมาธิเหมือนเส้นผมบังภูเขา 480130C รอบสาย
      • ชีวิตในสังสารวัฏมีภัยมาก 480123C รอบสาย
      • HOW TO เข้าถึงธรรม 480116C รอบสาย
      • พุทธภาวะภายในตัว 470711C รอบสาย
      • สมถวิปัสสนา 470516C รอบสาย
      • สติปัฏฐาน ๔ 470620C รอบสาย
      • ป่วยอย่างสง่างาม 470502D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งคืองานที่แท้จริง 490122D รอบบ่าย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน 481211D รอบสาย
      • การเห็นด้วยปัญญา 481225C รอบสาย
      • อานิสงส์การฝึกใจให้หยุดนิ่ง 481211D รอบบ่าย
      • การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 460316C รอบสาย
      • ภาพที่สำคัญของชีวิต 460309C รอบสาย
      • มโณปริธานอันยิ่งใหญ่ 460119D รอบบ่าย
      • จริงต้องได้ 460504D รอบบ่าย
      • ลูกมีบุญที่จะเข้าถึงธรรมได้ 450515F รอบค่ำ
      • ฝึกใจหยุดนิ่งอย่างสบาย 450516F รอบค่ำ
      • งานที่แท้จริง 450306F รอบค่ำ
      • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
      • นึกถึงสิ่งที่คุ้นเคย 450525F รอบค่ำ
      • หยุดนิ่งสำคัญที่สุด 450529F รอบค่ำ
      • ชีวิตเป็นของน้อย 450428C รอบสาย
      • หยุดแค่พริบตาเดียวได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ 450305F รอบค่ำ
      • หลับตื่นในอู่ทะเลบุญ 450510F รอบค่ำ
      • ทางเดินของใจ 7 ฐาน 450613F รอบค่ำ
      • อานุภาพหยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • กิเลสประจำกายและวิธีแก้ 450912F รอบค่ำ
      • ปรับที่ใจใช่ที่ภาพ/แก้กดลูกนัยน์ตา 450615F รอบค่ำ
      • เทคนิควิธีการปฏิบัติธรรม 450528F รอบค่ำ
      • นึกบริกรรมนิมิตด้วยสิ่งที่คุ้นเคย 450524F รอบค่ำ
      • หนีกรรมไม่พ้น 450302F รอบค่ำ
      • แผนผังชีวิต 450514F รอบค่ำ
      • หาตัวกลัวให้เจอ 450629F รอบค่ำ
      • ลูกไก่เจาะกระเปาะไข่ 450518F รอบค่ำ
      • วิธีแก้ กดลูกนัยน์ตา 450607F รอบค่ำ
      • อานิสงส์การเข้าถึงพระรัตนตรัย 451022F รอบค่ำ
      • การตอบประสบการณ์ภายใน 560212D รอบบ่าย
      • ฝึกเป็นผู้ให้ 571205D รอบบ่าย
      • นอกรอบให้หมั่นประคองใจ 571211
      • สิ่งที่แสวงหาอยู่ที่ใจหยุดนิ่ง 451028F รอบค่ำ
      • อโห พุทโธ 451113F รอบค่ำ
      • เจริญมรณานุสติ 451118F รอบค่ำ
      • หวงห่วงแบบอริยะ 451209F รอบค่ำ
      • นึกได้ก็เห็นได้ 460309C รอบสาย
      • ต้องฝึกบ่อยๆ ให้ชำนาญ 460202D รอบบ่าย
      • ชีวิตเป็นของน้อย 460126C รอบสาย
      • นิ่งแล้วต้องขยาย 460101D รอบบ่าย
      • สมบัติที่แท้จริง 451231C รอบสาย
      • วันพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม 451227F รอบค่ำ
      • ฐานที่7ที่เกิดดับหลับตื่น 451222D รอบบ่าย
      • กายสบาย ใจสบาย บุญเก่าก็ได้ช่อง 481221
      • หมั่นทบทวนบุญ 451123F รอบค่ำ
      • บุญคือที่พึ่ง 451119F รอบค่ำ
      • ทำไมเด็กจึงเห็นธรรมะง่าย 521025D รอบบ่าย
      • ในท้องมีพระธรรมกาย 520904C รอบสาย
      • มหัศจรรย์สมาธิ 530314C รอบสาย
      • ภาวิตา พหุลีกตา 550806D รอบบ่าย
      • อวิชชา 550722D รอบบ่าย
      • Set Zero 590304D รอบบ่าย
      • คนเราเกิดมาทำไม/ในตัวเรามีองค์พระ 511207C รอบสาย
      • นิมิตเลื่อนลอยหลุมพรางของพญามาร 451013D รอบบ่าย
      • ธรรมกายเอฟเฟค 430423C รอบสาย
      • นิวรณ์ 5 451010F รอบค่ำ
      • นั่งอย่างมีชีวิตชีวา 450924F รอบค่ำ
      • อย่ากินบุญเก่า 450926F รอบค่ำ
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • หลับในอู่ทะเลบุญ 451004F รอบค่ำ
      • เริ่มต้นจากจุดสบายแล้วจะง่าย 451008
      • ตำแหน่งแห่งความสมปรารถนา 521206D รอบบ่าย
      • คำภาวนา สัมมาอะระหัง 510622C รอบสาย
      • บุญพลังแห่งความสุขและความสำเร็จ 511109D รอบบ่าย
      • อริยมรรคมีองค์๘ 510706C รอบสาย
      • หลักสูตรชีวิต 510203D รอบบ่าย
      • เห็นสิ่งใดฝึกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้น 51...
      • เริ่มต้นจากจุดที่ง่าย 510629D รอบบ่าย
      • จุดเล็กใสที่คล้ายเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร 511005C รอบสาย
      • หยุดนิ่งได้แล้วฝึกขยายย่อ 510615D รอบบ่าย
      • พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมใด 511010C รอบสาย
      • พระคุณของ หลวงปู่ฯพระผู้ปราบมาร 511005D รอบบ่าย
      • นั่งมาตั้งนาน ทำไมยังไม่ได้ผล 481127D รอบบ่าย
      • ต้องสบายทุกขั้นตอน 480821D รอบบ่าย
      • หลักวิชชาใจหยุดนิ่งและอาการตกศูนย์ 481218D รอบบ่าย
      • อุปสรรคและหลักวิชชาในการปฏิบัติธรรม 490604C รอบสาย
      • การปฏิบัติธรรมคือการแสวงหาความพอดี 480626C รอบสาย
      • อย่าท้อ_เฉยในทุกประสบการณ์ 471205D รอบบ่าย
      • วิธีปฏิบัติธรรม 480206D รอบบ่าย
      • ง่ายแต่ลึก 480130D รอบบ่าย
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger