• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2548 มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน 481211D รอบสาย

มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน 481211D รอบสาย


 มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน

วันอาทิตย์ที่  ๑๑  ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ (๐๙.๐๐ - ๑๑.๐๐ น.)

งานบุญวันอาทิตย์ ณ สภาธรรมกายสากล


ปรับกาย

 

เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไป ตั้งใจให้แน่แน่ว มุ่งตรงไปสู่หนทางพระนิพพานกันทุก ๆ คนนะลูกนะ

 

ให้นั่งขัดสมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบาย ๆ

 

หลับตาของเราเบา ๆ ค่อนลูก พอสบาย ๆ คล้าย ๆ กับตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าไปบีบเปลือกตา อย่ากดลูกนัยน์ตา

 

ปรับใจ

 

แล้วก็ทำใจของเราให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น ให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ให้ปลด ให้ปล่อย ให้วาง ทำใจของเรา ให้ว่าง ๆ นะจ๊ะ

 

แล้วก็มาสมมติว่า ภายในร่างกายของเรานั้น ปราศจากอวัยวะ ไม่มีปอด ตับ ม้าม ไต หัวใจ เป็นต้น ให้เป็นที่โล่ง ๆ ว่าง ๆ เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพรง กลวงภายใน คล้ายลูกโป่งที่เราอัดลมเข้าไปนะ หรือท่อแก้ว ท่อเพชรใส ๆ

 

วางใจ

 

คราวนี้เราก็รวมใจของเรามาหยุดนิ่ง ๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ

 

โดยสมมติว่า เราหยิบเส้นด้ายขึ้นมา ๒ เส้น นำมาขึงให้ตึง จากสะดือทะลุไปด้านหลังเส้นหนึ่ง จากด้านขวาทะลุไปด้านซ้ายอีกเส้นหนึ่ง ให้เส้นด้ายทั้ง ๒ ตัดกันเป็นกากบาท จุดตัดจะเล็กเท่ากับปลายเข็ม เหนือจุดตัดนี้ขึ้นมา ๒ นิ้วมือ ตรงนี้แหละ เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่จะเดินทางไปสู่อายตนนิพพาน ที่จะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน เหมือนพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทั้งหลาย

 

มรรคผลนิพพานมีอยู่ในตัวเรา

 

มรรคผลนิพพานนั้น มีอยู่ในตัวของเราทุกคนในโลก

 

มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ คือ การเป็นพระอริยเจ้า ตั้งแต่พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และก็พระอรหันต์ มีอยู่ในตัวของเรา ลักษณะของท่านสวยงามมาก ประกอบไปด้วยลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ แต่ว่ามีเกตุดอกบัวตูม อยู่ในอิริยาบถนั่งเจริญสมาธิภาวนา สงบ นิ่ง อยู่ภายใน

 

เมื่อเข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน ก็จะเข้าถึงนิพพานในตัว เข้าถึงพระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ก็เช่นเดียวกัน เข้าถึงนิพพานในตัว เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน และเมื่อหมดอายุขัยของกายมนุษย์แล้ว เข้าสู่ อนุปาทิเสสนิพพาน คือ เข้านิพพานด้วยธรรมกาย ถอดขันธ์ ๕ ทั้งหมด เข้านิพพาน ถึงจะเรียกว่า ดับขันธปรินิพพาน เป็นทางหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ

 

เพราะฉะนั้น จุดเริ่มต้นมีอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้ที่เดียว   

 

หนทางหลุดพ้นจากความทุกข์

 

พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทั้งหลาย แต่เดิมก็เป็นปุถุชนเช่นเดียวกับพวกเรา มีกิเลสหนา ปัญญาหยาบ แต่ว่าท่านเบื่อหน่ายในความทุกข์ของชีวิต ในสังสารวัฏ เพราะว่าไม่ว่าจะเกิดเป็นชนชั้นล่าง ชั้นกลาง หรือชั้นสูง ก็ล้วนแต่มีทุกข์ของชีวิตทั้งสิ้น

 

ทั้งทุกข์ประจำ คือ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทุกข์จรที่มาเยือน ทุกข์จากการพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก เป็นคน สัตว์ สิ่งของ พลัดพรากกันก็ทุกข์ หรือประสบในสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ ที่ไม่เป็นที่รัก เจอแล้วมันทุกข์ หรือปรารถนาอะไรมันไม่ได้อย่างที่เราปรารถนาก็เป็นทุกข์ มีโศกเศร้า เสียใจ คับแค้นใจ ร่ำพิไรรำพัน เป็นต้น

 

สรุปง่าย ๆ ว่า ชีวิตนี้เป็นทุกข์ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมสลาย ทุกสิ่งไปสู่จุดสลายทั้งสิ้น ไม่ว่าจะของคน สัตว์ สิ่งของ เล็กใหญ่แค่ไหนล้วนแต่ต้องผุพังทั้งสิ้น จะเป็นต้นหมากรากไม้ ภูเขาเลากา ถึงเวลามันก็ต้องผุพังไป แม้แต่โลกใบนี้ ใบใหญ่ ๆ นี่แหละ พอถึงเวลาก็ถึงกัปวินาศก็จะต้องเสื่อมไป นับประสาอะไรกับร่างกายของเรา เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มอะไรต่าง ๆ ที่อยู่อาศัย รถรา สมาชิกที่อยู่รอบตัวเรา สมาชิกภายในครอบครัว เพื่อนบ้าน ทุกคนล้วนตายหมด ผุพังหมด

 

เพราะฉะนั้น ท่านก็เบื่อหน่ายในชีวิตในความทุกข์ จึงแสวงหาทางที่จะพ้นทุกข์เรื่อย ๆ มา ทำความเพียรกันเรื่อยมา สั่งสมบุญบารมีเรื่อยมา ในที่สุดก็พบหนทางที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์อย่างสิ้นเชิง ก็คือ การทำใจมาหยุดนิ่ง ๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ

 

ตามเห็นสภาวธรรมภายใน

 

พอเบื่อหน่ายสุดขีดแล้ว ใจจะกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว จะอยู่นิ่ง ๆ เฉย ๆ ไม่อยากจะนึก ไม่อยากจะคิดอะไร พอจิตเบื่อหน่าย ก็คลายความผูกพัน กับคน สัตว์ สิ่งของ แม้กระทั่งชีวิตของตัว จิตก็หลุดพ้นจากสิ่งที่เคยยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเรา เป็นของ ๆ เรา พอคลายเข้าหลุดแล้ว มันก็บริสุทธิ์ในระดับที่หยุดนิ่งไม่เขยื้อน ตั้งมั่น ไม่ฟุ้ง ไม่คิดเรื่องอะไรแล้ว ใจตั้งมั่นเข้า จิตก็ตกศูนย์เข้าไปสู่ภายใน

 

เห็นดวงธรรมลอยเกิดขึ้นมาเป็นดวงใส ๆ

อย่างเล็กขนาดดวงดาวในอากาศ

อย่างกลางก็ขนาดพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ

อย่างใหญ่ก็ขนาดพระอาทิตย์ยามเที่ยงวัน หรือใหญ่กว่านั้น

ตามกำลังบารมีของแต่ละคน ที่ไม่เท่ากัน

 

หรือคล้าย ๆ กับฟองไข่แดงของไก่ แต่ว่าใสบริสุทธิ์ ประดุจเพชรที่เจียระไนแล้ว ไม่มีตำหนิเลย สว่างเหมือนดวงจันทร์ในยามเที่ยงวัน เหมือนกับพระอาทิตย์กับพระจันทร์มารวมกัน คือ ใสเย็นเหมือนแสงจันทร์ แต่สว่างเหมือนดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวัน นุ่ม เนียนตา ไม่เคืองตา ไม่เคืองใจ

 

นั่นแหละพระเดชพระคุณหลวงปู่ของเรา พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านเรียกว่า ดวงธัมมานุปัสนาสติปัฏฐาน ดวงธรรมเบื้องต้น ความบริสุทธิ์เบื้องต้น อีกนัยหนึ่งท่านก็เรียกว่า ดวงปฐมมรรค แปลว่า หนทางเบื้องต้น ที่จะเดินทางเข้าไปสู่ในเส้นทางของพระอริยเจ้า

ซึ่งเป็นทางสายกลางภายใน เรียกว่า อริยมรรค ทางของพระอริยเจ้า ที่จะเดินทางเข้าไปเป็นพระอริยเจ้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป บางทีก็เรียกว่า ทางแห่งความบริสุทธิ์ หมดจรดจากสรรพกิเลสทั้งหลาย จากความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่เรียกว่า วิสุทธิมรรค บางทีก็เรียกว่า วิมุตติมรรค ทางหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะนั่นแหละ

 

พอมันหลุดพ้นเข้าไปแล้ว มันก็จะเห็นไปตามลำดับ เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ท่านเรียกว่า สติปัฏฐาน ๔ เป็นการเห็นที่แตกต่างจากสิ่งที่เราเคยเห็น เห็นได้แจ่มแจ้งทั้งหลับตาและลืมตา เป็นการเห็นภายใน

 

เห็นกายในกาย คือ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม กายธรรมโคตรภู โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหัต

 

เห็นกายที่อยู่ในภพและกายที่อยู่นอกภพ

เห็นกายที่เรียกว่า ขันธ์ ๕ เพราะตกอยู่ในไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

เห็นกายที่เรียกว่า ธรรมขันธ์ กายที่ไม่ได้ตกอยู่ในไตรลักษณ์ เป็นกายที่เป็นนิจจัง สุขขัง อัตตา คือ คงที่ มีสุขล้วน ๆ เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ แล้วก็เป็นตัวจริงแท้ เป็นอิสระจากกิเลส จากอาสวะ ไปตามลำดับอย่างนั้น จนกระทั่งเข้าถึงกายธรรมอรหัต เป็นพระอรหันต์นั่นแหละ

 

บริกรรมนิมิต

 

เพราะฉะนั้น วันนี้เราก็มาประชุมกัน ปฏิบัติธรรมกันเป็นปกติ ของทุกวันอาทิตย์ ก็ให้ลูกทุกคนตั้งใจ หยุดใจนิ่งเฉย ๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ โดยกำหนดเครื่องหมายที่ใสสะอาด บริสุทธิ์ ประดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ไม่มีตำหนิเลย โตเท่ากับแก้วตาของเรา แต่กลมรอบตัวเหมือนดวงแก้วใส ๆ

 

ถ้าเราไม่เคยสังเกตว่า แก้วตาโตเท่าไหน ก็แล้วแต่เราชอบขนาดไหน แต่ให้เป็นดวงใส ๆ กลมรอบตัว อยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ แต่ก็อย่ากังวลจนเกินไปว่า เรามาหยุดใจตรงฐานที่ ๗ หรือไม่ เอาเป็นว่า ประมาณอยู่ในกลางท้องนั่นแหละ นึกเบา ๆ สบาย ๆ ให้มันต่อเนื่องกันไป อย่าให้เผลอไปคิดเรื่องอื่น

 

บริกรรมภาวนา

 

ถ้าเผลอก็ประคองใจด้วยบริกรรมภาวนาในใจ เบา ๆ ว่า สัมมาอะระหังๆๆ ภาวนาไปจนกว่าใจไม่อยากจะภาวนา อยากหยุดนิ่งเฉยๆ เมื่อเรามีความรู้สึกอย่างนี้ เราก็ไม่ต้องย้อนกลับมาภาวนาใหม่ ก็หยุดใจไปเรื่อย ๆ นิ่งเฉย ๆ นิ่ง ๆ นุ่ม ๆ สบาย ๆ แต่ถ้าฟุ้งเมื่อไร เราก็กลับมาภาวนาใหม่ ประคับประคองใจกันไปอย่างนี้

 

แต่อย่าตั้งใจเกินไป จนกระทั่งเกิดอาการตึง เกร็ง หรือเครียดของระบบประสาทกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายเรา ถ้าถูกหลักวิชชาแล้ว ต้องผ่อนคลาย จะมีประสบการณ์ภายใน คือ ตัวจะโล่ง โปร่ง เบา สบาย ขยาย แล้วก็หายไป จะมีความรู้สึกพึงพอใจกับความรู้สึกอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ให้ประคองใจ ให้หยุด ให้นิ่ง ไปด้วยวิธีการดังกล่าว


ส่วนบริกรรมนิมิตนั้น ถ้านึกไม่ออก ก็ไม่เป็นไร เพราะวัตถุประสงค์ของเรา ต้องการให้ใจหยุดนิ่ง ๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้ อย่างนี้แค่นั้นแหละ

 

แล้วก็อย่าเผลอเอาลูกนัยน์ตากดไปดู ให้ระดับลูกนัยน์ตาอยู่ที่เดิม ถ้าเรากดไปดูแล้วมันตึง ก็ให้เหลือกตาค้างขึ้นไปก็จะช่วยได้ หรือไม่ก็ลืมตา แล้วก็มาเริ่มต้นใหม่นะ ต้องทำกันไปอย่างนี้

 

ได้ใหม่ๆ อย่าประมาท หมั่นฝึกให้มั่นคง

 

ทีนี้สำหรับบางท่านที่ได้กุศลนิมิตในระดับหนึ่ง เห็นดวงใส ๆ บ้าง เห็นองค์พระใส ๆ บ้าง เพราะใจหยุดไปได้ในระดับหนึ่งแล้ว ก็อย่าประมาท อย่าชะล่าใจว่า เราจะทำเมื่อไรก็ได้ ให้ประคองใจอย่างนี้ให้ได้ทุกอิริยาบถ ทั้งนั่ง นอน ยืน เดิน หรือจะทำภารกิจอะไร ก็ให้นึกเบา ๆ ไปเรื่อย ๆ ตรึกไปเรื่อย ๆ เพราะเราเพิ่งจะเห็นกุศลนิมิตใหม่ ๆ มันอาจจะเลือนหายไปได้ เมื่อเราประมาทหรือชะล่าใจ

 

ซึ่งมักจะเป็นกับบางคนที่มาใหม่ ๆ ใจยังอินโนเซ้นท์ ยังไม่ได้รู้เรื่องรู้ราวอะไร ก็จะทำตามคำแนะนำอย่างง่าย ๆ จนกระทั่งใจมันหยุดนิ่งได้ระดับหนึ่ง เกิดกุศลนิมิตดังกล่าว เป็นดวงธรรมใส ๆ หรือองค์พระใส ๆ ก็มักชะล่าใจว่า มันไม่เห็นจะยากอะไร จะนึกให้เห็นเมื่อไรก็ได้

 

อย่าชะล่าใจ นะลูกนะ เพราะมีตัวอย่างอย่างนี้มากมาย ที่ชะล่าใจแล้ว ต่อมาภายหลังมันหายไป พอหายไปก็เสียดาย มีความรู้สึกว่าอยากจะนั่งให้ได้ดีอย่างเดิมอีก ก็จะใช้ความพยายามมากเกินไป เป็นเหตุให้เกินพอดี ใจมันก็ไม่หยุด ไม่นิ่ง เกิดอาการตึง แล้วภาพนั้นก็ไม่มาอีก กุศลนิมิตมันไม่หวนคืนมาอีกแล้ว ก็จะบ่นพร่ำเพ้อพิไรรำพัน อาลัยอาวรณ์ในประสบการณ์เก่า ๆ ที่เคยดี นั่งครั้งใดก็จะนึกอย่างนี้เรื่อย ๆ เป็นเหตุให้เลื่อนการเห็นออกไปเรื่อย ๆ นั่งไปก็ทุกข์ไป

 

เพราะฉะนั้น อย่าชะล่าใจนะลูกนะ ที่เรากำหนดได้ในระดับหนึ่งแล้ว เป็นเพราะบุญเก่าที่เราเคยทำมาในอดีต จึงทำให้เราได้เข้าถึงกุศลนิมิตนี้อย่างง่าย ๆ

 

สิ่งที่เราจะต้องทำต่อไปก็คือ อย่าประมาท ให้หยุดใจไปเรื่อยๆ ในทุกอิริยาบถ นั่ง นอน ยืน เดิน อะไรก็ทำไป จนกว่ามันจะมั่นคงจริงๆ อยู่ในระดับจะหกคะเมนตีลังกาอย่างไร มันก็ยังอยู่ได้ เหมือนเสื้อที่เราสวมอยู่ หกคะเมนตีลังกาอย่างไร มันก็ยังสวมกับตัวเราได้ อย่างนั้นก็ค่อยว่ากัน

 

แต่ว่าผู้ที่ทำได้ถึงระดับนี้แล้ว ก็มักจะพึงพอใจที่จะหยุดใจไปเรื่อย ๆ เพราะมีสิ่งที่จะศึกษาเรียนรู้อีกมากมาย แต่จะต้องได้เข้าถึงพระธรรมกายกันเสียก่อน

 

เพราะฉะนั้น เช้านี้อากาศกำลังสดชื่นเหมาะสำหรับลูกผู้มีบุญทุกคน จะได้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว ก็ให้ตั้งใจปฏิบัติธรรมกันไป ตามที่ได้แนะนำมาตั้งแต่เบื้องต้น ให้ลูกทุกคนสมหวังดังใจในการเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวทุก ๆ คน ต่างคนต่างนั่งกันไปเงียบ ๆ นะจ๊ะ



Add Comment
2548
วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ►  เดือน สิงหาคม (233)
    • ▼  เดือน กรกฎาคม (123)
      • ความเพลินส่วนเกินของชีวิต 481030C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว 481023C รอบสาย
      • โลกุตรธรรม ๙ 481016C รอบสาย
      • พิจารณามี ๒ อย่าง 481009D รอบบ่าย
      • เส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน 481009C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวเรา 480828C รอบสาย
      • ที่มาของพระพุทธรูป 480717C รอบสาย
      • วัตถุประสงค์ของชีวิต 480710C รอบสาย
      • เมื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว 480605D รอบบ่าย
      • เหตุการณ์วันตรัสรู้ 480522C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จในสมัยพุทธกาล 480515D รอบบ่าย
      • อิสรภาพที่แท้จริง 480417D รอบบ่าย
      • กรณียกิจ 480313C รอบสาย
      • สมาธิเหมือนเส้นผมบังภูเขา 480130C รอบสาย
      • ชีวิตในสังสารวัฏมีภัยมาก 480123C รอบสาย
      • HOW TO เข้าถึงธรรม 480116C รอบสาย
      • พุทธภาวะภายในตัว 470711C รอบสาย
      • สมถวิปัสสนา 470516C รอบสาย
      • สติปัฏฐาน ๔ 470620C รอบสาย
      • ป่วยอย่างสง่างาม 470502D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งคืองานที่แท้จริง 490122D รอบบ่าย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน 481211D รอบสาย
      • การเห็นด้วยปัญญา 481225C รอบสาย
      • อานิสงส์การฝึกใจให้หยุดนิ่ง 481211D รอบบ่าย
      • การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 460316C รอบสาย
      • ภาพที่สำคัญของชีวิต 460309C รอบสาย
      • มโณปริธานอันยิ่งใหญ่ 460119D รอบบ่าย
      • จริงต้องได้ 460504D รอบบ่าย
      • ลูกมีบุญที่จะเข้าถึงธรรมได้ 450515F รอบค่ำ
      • ฝึกใจหยุดนิ่งอย่างสบาย 450516F รอบค่ำ
      • งานที่แท้จริง 450306F รอบค่ำ
      • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
      • นึกถึงสิ่งที่คุ้นเคย 450525F รอบค่ำ
      • หยุดนิ่งสำคัญที่สุด 450529F รอบค่ำ
      • ชีวิตเป็นของน้อย 450428C รอบสาย
      • หยุดแค่พริบตาเดียวได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ 450305F รอบค่ำ
      • หลับตื่นในอู่ทะเลบุญ 450510F รอบค่ำ
      • ทางเดินของใจ 7 ฐาน 450613F รอบค่ำ
      • อานุภาพหยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • กิเลสประจำกายและวิธีแก้ 450912F รอบค่ำ
      • ปรับที่ใจใช่ที่ภาพ/แก้กดลูกนัยน์ตา 450615F รอบค่ำ
      • เทคนิควิธีการปฏิบัติธรรม 450528F รอบค่ำ
      • นึกบริกรรมนิมิตด้วยสิ่งที่คุ้นเคย 450524F รอบค่ำ
      • หนีกรรมไม่พ้น 450302F รอบค่ำ
      • แผนผังชีวิต 450514F รอบค่ำ
      • หาตัวกลัวให้เจอ 450629F รอบค่ำ
      • ลูกไก่เจาะกระเปาะไข่ 450518F รอบค่ำ
      • วิธีแก้ กดลูกนัยน์ตา 450607F รอบค่ำ
      • อานิสงส์การเข้าถึงพระรัตนตรัย 451022F รอบค่ำ
      • การตอบประสบการณ์ภายใน 560212D รอบบ่าย
      • ฝึกเป็นผู้ให้ 571205D รอบบ่าย
      • นอกรอบให้หมั่นประคองใจ 571211
      • สิ่งที่แสวงหาอยู่ที่ใจหยุดนิ่ง 451028F รอบค่ำ
      • อโห พุทโธ 451113F รอบค่ำ
      • เจริญมรณานุสติ 451118F รอบค่ำ
      • หวงห่วงแบบอริยะ 451209F รอบค่ำ
      • นึกได้ก็เห็นได้ 460309C รอบสาย
      • ต้องฝึกบ่อยๆ ให้ชำนาญ 460202D รอบบ่าย
      • ชีวิตเป็นของน้อย 460126C รอบสาย
      • นิ่งแล้วต้องขยาย 460101D รอบบ่าย
      • สมบัติที่แท้จริง 451231C รอบสาย
      • วันพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม 451227F รอบค่ำ
      • ฐานที่7ที่เกิดดับหลับตื่น 451222D รอบบ่าย
      • กายสบาย ใจสบาย บุญเก่าก็ได้ช่อง 481221
      • หมั่นทบทวนบุญ 451123F รอบค่ำ
      • บุญคือที่พึ่ง 451119F รอบค่ำ
      • ทำไมเด็กจึงเห็นธรรมะง่าย 521025D รอบบ่าย
      • ในท้องมีพระธรรมกาย 520904C รอบสาย
      • มหัศจรรย์สมาธิ 530314C รอบสาย
      • ภาวิตา พหุลีกตา 550806D รอบบ่าย
      • อวิชชา 550722D รอบบ่าย
      • Set Zero 590304D รอบบ่าย
      • คนเราเกิดมาทำไม/ในตัวเรามีองค์พระ 511207C รอบสาย
      • นิมิตเลื่อนลอยหลุมพรางของพญามาร 451013D รอบบ่าย
      • ธรรมกายเอฟเฟค 430423C รอบสาย
      • นิวรณ์ 5 451010F รอบค่ำ
      • นั่งอย่างมีชีวิตชีวา 450924F รอบค่ำ
      • อย่ากินบุญเก่า 450926F รอบค่ำ
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • หลับในอู่ทะเลบุญ 451004F รอบค่ำ
      • เริ่มต้นจากจุดสบายแล้วจะง่าย 451008
      • ตำแหน่งแห่งความสมปรารถนา 521206D รอบบ่าย
      • คำภาวนา สัมมาอะระหัง 510622C รอบสาย
      • บุญพลังแห่งความสุขและความสำเร็จ 511109D รอบบ่าย
      • อริยมรรคมีองค์๘ 510706C รอบสาย
      • หลักสูตรชีวิต 510203D รอบบ่าย
      • เห็นสิ่งใดฝึกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้น 51...
      • เริ่มต้นจากจุดที่ง่าย 510629D รอบบ่าย
      • จุดเล็กใสที่คล้ายเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร 511005C รอบสาย
      • หยุดนิ่งได้แล้วฝึกขยายย่อ 510615D รอบบ่าย
      • พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมใด 511010C รอบสาย
      • พระคุณของ หลวงปู่ฯพระผู้ปราบมาร 511005D รอบบ่าย
      • นั่งมาตั้งนาน ทำไมยังไม่ได้ผล 481127D รอบบ่าย
      • ต้องสบายทุกขั้นตอน 480821D รอบบ่าย
      • หลักวิชชาใจหยุดนิ่งและอาการตกศูนย์ 481218D รอบบ่าย
      • อุปสรรคและหลักวิชชาในการปฏิบัติธรรม 490604C รอบสาย
      • การปฏิบัติธรรมคือการแสวงหาความพอดี 480626C รอบสาย
      • อย่าท้อ_เฉยในทุกประสบการณ์ 471205D รอบบ่าย
      • วิธีปฏิบัติธรรม 480206D รอบบ่าย
      • ง่ายแต่ลึก 480130D รอบบ่าย
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger