• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2546 ง่ายแต่ลึก2 ชีวิตเป็นของน้อย 460126C รอบสาย

ชีวิตเป็นของน้อย 460126C รอบสาย

 

เมื่อแสงสูรย์เคลื่อนคล้อย   ลาไกล

ดาวเดือนระยิบไหว                         ส่องหล้า

ทุกอย่างเปลี่ยนแปรไป                    ปกติ

กายเสื่อมทุกวันจ้า                          อย่าได้มัวเพลิน

ตะวันธรรม


 

ชีวิตเป็นของน้อย

วันอาทิตย์ที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๖


Link ไฟล์เสียงนำนั่งสมาธิใน youtube

ง่ายแต่ลึก​ 2 |EP.2| : ชีวิตเป็นของน้อย 


(เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้วต่อจากนี้ไปตั้งใจเจริญสมาธิภาวนากันนะ.........)

 

คราวนี้เรามานึกทบทวนคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ว่า

 

“ชีวิตเป็นของน้อย”

 

หมายถึง เรามีเวลาที่จะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ด้วยกายมนุษย์หยาบจำกัด ไม่มากเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคนี้ เป็นยุคที่อายุมนุษย์ไขลง เราอยู่ในช่วงอายุเฉลี่ยของมนุษย์ ๗๕ ปี จะเกินไปกว่านี้ก็มีไม่กี่ท่าน ที่จะมีอายุยืนยาวไปถึง ๘๐, ๙๐ กระทั่ง ๑๐๐ ปี หรือร้อยกว่าปี มีจำนวนไม่มาก แต่โดยเฉลี่ยแล้ว ๗๕ ปีและยิ่งมีโรคภัยไข้เจ็บ มีมลภาวะเป็นพิษเกิดขึ้นจากคนเสื่อมศีลธรรม หรือความเจริญของเทคโนโลยี ชีวิตมนุษย์ก็ยิ่งสั้นลงบางท่านก็อยู่ไม่ถึง ๗๕ ปี ด้วยซ้ำไป

 

ถ้าสมมติว่า ๗๕ ปี มาเทียบกับที่เรามีชีวิตอยู่เดี๋ยวนี้ ก็เหลือเวลาอีกเพียงไม่นานเท่าไร ถ้าเราอยู่ไปถึง ๗๕ ปี บางคนก็เหลือแค่ ๑ ปี บางคนก็หลายปี บางคนเป็น ๑๐ ปี บางคน ๒๐ ปี หรือมากกว่านั้น นี่หมายถึงในกรณีเหตุการณ์ปกติที่ไม่มีอุบัติเหตุ หรือโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน

 

สรุปง่ายๆว่า ชีวิตเป็นของน้อย เราจะอยู่ถึงอายุขัยเฉลี่ยมนุษย์หรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นอย่าได้ประมาทในการดำรงชีวิต

 

เราจะต้องมาดูว่า เป้าหมายชีวิตที่เกิดมานั้น เกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง เมื่อทำพระนิพพานแจ้งแล้วก็จะได้พ้นทุกข์ เพราะพื้นฐานชีวิตมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายก็คือความทุกข์ ทั้งทุกข์ประจำ และทุกข์จร

 

ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็นทุกข์ทุกข์จากการพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก ประสบในสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก หรือปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ มีความโศกเศร้าเสียใจ คับแค้นใจ ร่ำพิไรรำพัน ถ้าสมัยใหม่ก็ เซ็ง เครียด เบื่อกลุ้ม เป็นต้น

 

ทุกชีวิตไม่ว่าจะเป็นเศรษฐี ชนชั้นกลาง หรือชั้นล่างล้วนแต่มีทุกข์ประจำและทุกข์จรทั้งสิ้น เศรษฐีแม้มีทรัพย์มากมีพวกพ้องบริวารมากๆ มีลาภยศสรรเสริญมากก็ตาม ก็ยังมีทุกข์ประจำสังขารอยู่ คือ ความแก่ ความชรา ความเจ็บไข้ได้ป่วย แม้กระทั่งความตาย หรือทุกข์จร คือ ความโศกเศร้า พิไรรำพัน ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก จะเป็นคนรัก ของรัก หรืออารมณ์ที่เป็นที่รักก็ตาม ก็ต้องเจอ ต้องพลัดพราก หรือปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น มีทรัพย์มากอยากจะให้ลูกมารับสมบัติ แต่ลูกไม่รักดีเกะกะเกเรก็เป็นทุกข์อีกเพราะฉะนั้นทุกชีวิตมีทุกข์ทั้งนั้น ตั้งแต่เศรษฐีถึงยาจกวณิพกถึงพระราชา โดยเฉพาะตัวของเรานี่แหละจะเห็นได้ชัดเจน

 

ดังนั้นเป้าหมายชีวิตจึงเกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้งเมื่อทำพระนิพพานให้แจ้งแล้ว ทุกข์ก็ดับไป ทุกข์ดับไปหมดเมื่อกิเลสมันสิ้น พอกิเลสดับไป ความเดือดเนื้อร้อนใจหมดไป นิพพานก็แจ้ง มันแจ้งตอนดับกิเลสหมดแล้ว นี่คือเป้าหมายทุกชีวิต

 

เราเป็นผู้มีบุญ โชคดีที่เกิดมาในร่มเงาของพระพุทธศาสนาที่อุดมไปด้วยความรู้อันบริสุทธิ์ที่แท้จริง ผู้ที่เป็นพระบรมศาสดาของเราก็เป็นมนุษย์ ไม่ได้เป็นพระผู้เป็นเจ้า เมื่อเป็นมนุษย์ก็จะเข้าใจชีวิตของมนุษย์ได้ดีกว่าคนอื่นที่ไม่ได้เป็นมนุษย์ แล้วก็สรุปเป้าหมายของชีวิตว่า เราเกิดมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้งวิธีการทำพระองค์ก็บอกหมดแล้ว จะไปนิพพานไปอย่างไรก็ทรงบอกเอาไว้ตั้งหลายๆ นัย

 

ในอริยสัจ ๔ ก็มีว่า ชีวิตเป็นทุกข์ เหตุเพราะความทะยานอยาก อยากที่เจือไปด้วยความเพลิน คือเจือไปด้วยความไม่รู้นั่นแหละ มันเพลิดๆ เพลินๆ ไป อยากได้ อยากมีอยากเป็น ความรู้ยังไม่สมบูรณ์ มันก็เพลินๆ กันไป เพราะฉะนั้นต้องหยุดความอยากที่เรียกว่า นิโรธ ความอยากเกิดขึ้นที่ใจก็หยุดที่ใจ หยุดอยากแล้วเดี๋ยวจะเข้าถึงมรรค จะเห็นหนทางที่จะไปสู่อายตนนิพพาน หรือทำพระนิพพานให้แจ้ง

 

มรรคนี้เรียกว่า อริยมรรค จะเป็นดวงใสๆ กลมรอบตัวเหมือนแก้วกายสิทธิ์ เหมือนดวงดาว ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์อย่างนั้นแหละ เห็นทางแล้ว เราก็หยุดไปเรื่อยๆ มองไปในทางนั้น เดี๋ยวก็จะพบกายในกาย และก็จะเข้าถึงพระธรรมกายถึงพระรัตนตรัยในตัว พระรัตนตรัยนั้นจะขจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไป พาเราไปสู่ฝั่งของอมตนิพพาน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ท่านก็สอน หรือจะดูอีกนัยหนึ่ง นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ วิสุทธิ สันตินิพพาน

 

นิพพิทา แปลว่า ต้องเบื่อหน่าย คือ เห็นทุกข์เห็นโทษของชีวิตที่อยู่ในวัฏสงสาร ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไรก็แล้วแต่มันไม่เข้าท่าทั้งนั้น เพราะมันยังอยู่ในกฎเกณฑ์ของไตรลักษณ์ มีการเปลี่ยนแปลง เดี๋ยวขึ้น-เดี๋ยวลง มีลาภ-เสื่อมลาภ มียศ-เสื่อมยศ มีคนสรรเสริญ-มีคนนินทามีสุข-มีทุกข์ ทุกข์เกิดขึ้นทั้งทุกข์ประจำสังขาร และทุกข์ที่จรมาอีก ของประจำก็แย่อยู่แล้ว ยังมีของจรมาเจอกันอีก เลยยุ่งไปกันใหญ่

 

ท่านสอนให้มองให้เห็น แล้วให้เบื่อหน่ายชีวิตที่มันเป็นทุกข์ แต่ไม่ได้ให้คิดแบบโง่ๆ ด้วยการฆ่าตัวตาย แต่ให้หาทางออกด้วยสติ ด้วยปัญญา ด้วยกำลังใจอันสูงส่ง คือต้องให้เบื่อหน่ายเสียก่อน ถ้ายังไม่เบื่อแล้วก็ยากที่จะไปพระนิพพานได้ ต้องเกิดความเบื่ออย่างแรงกล้าเสียก่อน

 

มองไปดูเถอะ ถ้ารู้สึกเบื่อชีวิตของเราที่ผ่านมาว่า มันไม่ได้สมหวังดังใจอะไรสักอย่าง สมมติว่าเป็นชาวประมงไปทอดแห อยากได้ปลาดันไปเจองูบ้าง ก้อนอิฐบ้าง ก้อนหินบ้างติดร่างแหกันมา อยากเจออย่างหนึ่งแต่ได้อีกอย่างหนึ่งอย่างนี้ อยากเจอคู่ในอุดมคติ ก็เจอขี้เมามาอยู่ข้างๆ บ้าง อยากได้พ่อบ้านเป็นคนดี กลับได้ผีการพนันมาอยู่ข้างๆ ตัวอีก มันเยอะแยะไปหมด เพราะฉะนั้นดูแล้วชีวิตนี้น่าเบื่อ

 

พอเบื่อมันก็คลาย (วิราคะ) เราเบื่ออะไร เราก็จะคลายคลายความรัก คลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้นพอคลายมันก็หลุด มันต้องเบื่อก่อน เบื่อแล้วก็คลายพอคลายมันก็ปล่อย เรียกว่า วิมุตติ พอปล่อยได้ จิตมันก็บริสุทธิ์ในระดับหนึ่ง วิสุทธิ คือมันนิ่งๆ เฉยๆ สันติ หยุดสนิทเลยพอหยุดได้สนิทเดี๋ยวเห็นมรรคเกิดขึ้น สันติ หยุดในหยุดไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็ นิพพาน ดับทุกข์ร้อนได้

 

นิพพาน แปลว่า ดับทุกข์ ดับกิเลส ดับความร้อน ไม่ใช่ดับไปหมดทุกอย่าง ดับกิเลสสิ่งไม่ดี เหลือแต่สิ่งดีๆ เหมือนทองคำถ้ามันมีแร่ธาตุอื่นเจือปน เขาก็แยกเอาแร่อื่นออกด้วยการทำรีไฟน์ (refine) ให้เหลือแต่ทองคำบริสุทธิ์ล้วนๆ จึงจะเอามาใช้ทำอะไรได้ มันเกิดประโยชน์ มีคุณค่า หรือพลังงานปรมาณูที่เขาใช้แร่ยูเรเนี่ยม แต่เดิมมันก็เป็นธาตุผสมยังไม่บริสุทธิ์ ก็ทำการแยกให้เหลือแต่ธาตุบริสุทธิ์ล้วนๆ จึงจะนำไปทำให้เกิดพลังงานได้ ใจของเราเช่นเดียวกัน มันมีธาตุที่ไม่บริสุทธิ์เจือปนผสมกันอยู่ คือ โลภะ โทสะ โมหะ (กิเลสอาสวะ) พอเราแยกออกไปด้วยหยุดกับนิ่ง ก็จะเหลือแต่วิราคธาตุวิราคธรรม คือธาตุธรรมที่สะอาดบริสุทธิ์ เป็นฝ่ายบุญล้วนๆบริสุทธิ์ล้วนๆ สว่างไสว

 

เมื่อใจบริสุทธิ์ล้วนๆ สะอาดล้วนๆ สว่างไสว ก็มีพลังงานเต็มที่ที่จะขยายความสุขมาสู่จิตใจเรา ระบบประสาทกล้ามเนื้อเรา ขยายไปสู่สิ่งแวดล้อมได้ ให้ทั้งความสุข ให้ทั้งความรอบรู้ให้ทั้งความหลุดพ้น เป็นอิสระที่เป็นนิรันดร

 

ชีวิตที่มีน้อยเขามีเอาไว้ให้แสวงหาหนทางพระนิพพาน บางคนไปรังเกียจพระนิพพานว่าไปแล้วมันไม่สนุก นั่นเพราะเขายังไม่รู้จักพระนิพพาน และยังไม่เห็นทุกข์โทษของชีวิตอย่างแท้จริง เพราะว่าไม่ได้มาพิจารณา อยู่กับทุกข์จนชาชิน เหมือนคนที่จมอยู่ในโคลนตมมานานมันชิน มันชา แต่ผู้มีปัญญาเขาไม่คิดอย่างนั้นคิดว่าต้องปล่อย ต้องหลุด ต้องพ้น ต้องแสวงหาทางหลุดพ้นให้ได้

 

มีอีกวิธีหนึ่งที่เห็นหนทางพระนิพพานแล้ว แต่ยังยินดีในวัฏฏะ ก็มีวิธี คือเราเข้าถึงพระธรรมกาย เราก็ศึกษาวิชชาธรรมกายไปสิ แล้วมุ่งไปสู่ที่สุดแห่งธรรมนั่นแหละ ได้ถึงพระธรรมกายในตัวแล้ว ไปนรกก็ได้ ไปสวรรค์ก็ได้ ไปพระนิพพานก็ได้ แล้วเราก็มุ่งไปสู่ที่สุดแห่งธรรม ค้นต่อไปอีก ศึกษาต่อไปอีกว่า อะไรเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ทรมานของสรรพสัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลาย อะไรปกครองโอกาสโลก ขันธโลก สัตวโลกอย่างนี้แม้ถึงพระนิพพาน แต่ก็ยังอยู่ในวัฏฏะได้ เพื่อแสวงไปหาที่สุดแห่งธรรม ไปถึงที่สุดแห่งธรรมแล้วก็รื้อวัฏฏะกันไปเลย นี่สำหรับบางคนที่ยังไม่มีใจยินดีจะไปพระนิพพาน มันก็มีทางออก โน่นต้องไปที่สุดแห่งธรรมนั่นแหละ

 

เพราะฉะนั้น เมื่อชีวิตเป็นของน้อย เราจึงควรใช้ชีวิตให้มีคุณค่าและมีประสิทธิภาพที่สุด นอกเหนือจากการทำมาหากินแล้ว การเพลิดเพลินสนุกสนานเพื่อผ่อนคลายความทุกข์ ซึ่งจริงๆ แล้วมันก็ไม่ใช่ความสุขนะ เพื่อผ่อนคลาย เพื่อพักผ่อนใจที่ตึงๆ เหมือนคนชักเย่อกันจะได้พักผ่อนแล้วก็หย่อนใจใจมันก็คลายจากความตึงเครียด พักผ่อนหย่อนใจอย่างนั้นนะ

 

นอกเหนือจากทำมาหากินแล้ว พักผ่อนหย่อนใจด้วยความเพลิดเพลินแล้ว เราก็ควรจะมาแสวงหาสิ่งที่เป็นสาระแก่นสารของชีวิต นั่นก็คือการทำใจหยุดใจนิ่ง ไม่คิด ไม่พูดไม่ทำ เพราะคิดพูดทำมาทั้งวันแล้ว มาตั้งหลายวัน หลายอาทิตย์หลายเดือน หลายปี

 

ตลอดชีวิตที่ผ่านมานั้น เราคิด เราพูดเราทำมาตั้งเยอะ มาลองไม่คิด ไม่พูด ไม่ทำมาลองทำหยุดทำนิ่งดู แล้วเราก็จะพบอารมณ์อันประณีตชนิดหนึ่งซึ่งแตกต่างจากที่เราเคยเจอเมื่อเราอยู่ในจุดที่ปลอดความคิด คำพูดและการกระทำ ใจจะหยุดนิ่ง จะขยาย ไม่คับแคบจะเบ่งบาน เบิกบาน มีความสุข กายเบา ใจเบาเป็นอิสระ ไม่ยึดติดอะไรเลย แล้วก็มีความสว่างเกิดขึ้น

 

ในกลางความสว่าง เราจะได้เห็นสิ่งที่เป็นไปตามความจริง ซึ่งมีอยู่ดั้งเดิมแต่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ทั้งๆ ที่มีอยู่จะได้เห็นสิ่งที่มีอยู่นั้นเมื่อแสงสว่างแห่งความบริสุทธิ์ของจิต ที่เกิดจากการไม่คิด ไม่พูด ไม่ทำ คือหยุดกับนิ่งนั่นแหละ จะเห็นดวงใสๆ กายใสๆ จะเห็นกายในกาย เห็นชีวิตที่มีหลายๆ ระดับที่ประณีตขึ้นไปเรื่อยๆ

 

จนกระทั่งเข้าถึงพระธรรมกาย เข้าถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะสังฆรัตนะ จะมีความสุข สดชื่น กว้างขวางอย่างไม่มีขอบเขตคือตัดเส้นรอบวงของความสุขนั้นออกไปสู่ทะเลแห่งความสุขที่แท้จริง ที่ไม่มีขอบเขต และทะเลแห่งความรู้อันบริสุทธิ์ ที่ไม่มีขอบเขต รู้เห็นไปตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นความจริงของชีวิตของเราของสรรพสิ่งสรรพสัตว์ทั้งหลาย เราจะเข้าไปถึงความรู้ชนิดนี้

 

ถ้าเข้าถึงความรู้อย่างนี้ได้ เกิดมาชาตินี้สมหวัง มีชีวิตเพียงน้อยด้วยกายมนุษย์นี้ก็สมหวังดังใจ ได้ศึกษาเรียนรู้ความรู้ภายในที่ยิ่งใหญ่ที่ไม่มีอะไรมาเสมอเหมือน ทั้งความรู้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อุปมาให้ภิกษุทั้งหลายได้ฟัง โดยหยิบใบไม้ในป่าประดู่ลายมาไว้ในกำมือ และพระองค์ก็เปรียบเทียบให้ดู โดยตั้งคำถามถามภิกษุว่า

 

“ใบไม้ในกำมือ กับใบไม้ในป่าประดู่ลายที่ตรงไหนมีมากกว่ากัน”

ภิกษุทั้งหลายก็ตอบว่า

“ใบไม้ในป่านั้นมีมากกว่าพระเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า

 

“สิ่งที่เราได้นำมาสอนนั้น แค่ใบไม้ในกำมือเท่านั้น ใบไม้ในป่าอีกเยอะแยะ เราได้ไปศึกษาเรียนรู้มาแล้วด้วยสัพพัญญุตญาณของเราที่ไม่มีขอบเขตนี้ แต่เรานำมาสอนเธอแค่กำมือสอนแค่ว่าให้เธอหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะเท่านั้น”

 

เมื่อใจเราหยุดสนิทเข้าถึงพระธรรมกายแล้วเราจะมีโอกาสได้ศึกษาความรู้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุปมาเอาไว้ทั้งในกำมือและในป่าใหญ่ ยิ่งรู้ก็ยิ่งบริสุทธิ์ ยิ่งรู้ก็ยิ่งมีความสุข ยิ่งรู้จิตใจยิ่งขยาย ยิ่งกว้างขวางไม่คับแคบ ไม่เห็นแก่ตัว แต่จะรักตัวเองยิ่งขึ้นและรักเพื่อนมนุษย์สรรพสัตว์ทั้งหลายยิ่งขึ้นความแตกแยกและความแตกต่างจะไม่เกิดขึ้นในจิตใจของผู้ที่เข้าถึง


Add Comment
2546, ง่ายแต่ลึก2
วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ►  เดือน สิงหาคม (233)
    • ▼  เดือน กรกฎาคม (123)
      • ความเพลินส่วนเกินของชีวิต 481030C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว 481023C รอบสาย
      • โลกุตรธรรม ๙ 481016C รอบสาย
      • พิจารณามี ๒ อย่าง 481009D รอบบ่าย
      • เส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน 481009C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวเรา 480828C รอบสาย
      • ที่มาของพระพุทธรูป 480717C รอบสาย
      • วัตถุประสงค์ของชีวิต 480710C รอบสาย
      • เมื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว 480605D รอบบ่าย
      • เหตุการณ์วันตรัสรู้ 480522C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จในสมัยพุทธกาล 480515D รอบบ่าย
      • อิสรภาพที่แท้จริง 480417D รอบบ่าย
      • กรณียกิจ 480313C รอบสาย
      • สมาธิเหมือนเส้นผมบังภูเขา 480130C รอบสาย
      • ชีวิตในสังสารวัฏมีภัยมาก 480123C รอบสาย
      • HOW TO เข้าถึงธรรม 480116C รอบสาย
      • พุทธภาวะภายในตัว 470711C รอบสาย
      • สมถวิปัสสนา 470516C รอบสาย
      • สติปัฏฐาน ๔ 470620C รอบสาย
      • ป่วยอย่างสง่างาม 470502D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งคืองานที่แท้จริง 490122D รอบบ่าย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน 481211D รอบสาย
      • การเห็นด้วยปัญญา 481225C รอบสาย
      • อานิสงส์การฝึกใจให้หยุดนิ่ง 481211D รอบบ่าย
      • การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 460316C รอบสาย
      • ภาพที่สำคัญของชีวิต 460309C รอบสาย
      • มโณปริธานอันยิ่งใหญ่ 460119D รอบบ่าย
      • จริงต้องได้ 460504D รอบบ่าย
      • ลูกมีบุญที่จะเข้าถึงธรรมได้ 450515F รอบค่ำ
      • ฝึกใจหยุดนิ่งอย่างสบาย 450516F รอบค่ำ
      • งานที่แท้จริง 450306F รอบค่ำ
      • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
      • นึกถึงสิ่งที่คุ้นเคย 450525F รอบค่ำ
      • หยุดนิ่งสำคัญที่สุด 450529F รอบค่ำ
      • ชีวิตเป็นของน้อย 450428C รอบสาย
      • หยุดแค่พริบตาเดียวได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ 450305F รอบค่ำ
      • หลับตื่นในอู่ทะเลบุญ 450510F รอบค่ำ
      • ทางเดินของใจ 7 ฐาน 450613F รอบค่ำ
      • อานุภาพหยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • กิเลสประจำกายและวิธีแก้ 450912F รอบค่ำ
      • ปรับที่ใจใช่ที่ภาพ/แก้กดลูกนัยน์ตา 450615F รอบค่ำ
      • เทคนิควิธีการปฏิบัติธรรม 450528F รอบค่ำ
      • นึกบริกรรมนิมิตด้วยสิ่งที่คุ้นเคย 450524F รอบค่ำ
      • หนีกรรมไม่พ้น 450302F รอบค่ำ
      • แผนผังชีวิต 450514F รอบค่ำ
      • หาตัวกลัวให้เจอ 450629F รอบค่ำ
      • ลูกไก่เจาะกระเปาะไข่ 450518F รอบค่ำ
      • วิธีแก้ กดลูกนัยน์ตา 450607F รอบค่ำ
      • อานิสงส์การเข้าถึงพระรัตนตรัย 451022F รอบค่ำ
      • การตอบประสบการณ์ภายใน 560212D รอบบ่าย
      • ฝึกเป็นผู้ให้ 571205D รอบบ่าย
      • นอกรอบให้หมั่นประคองใจ 571211
      • สิ่งที่แสวงหาอยู่ที่ใจหยุดนิ่ง 451028F รอบค่ำ
      • อโห พุทโธ 451113F รอบค่ำ
      • เจริญมรณานุสติ 451118F รอบค่ำ
      • หวงห่วงแบบอริยะ 451209F รอบค่ำ
      • นึกได้ก็เห็นได้ 460309C รอบสาย
      • ต้องฝึกบ่อยๆ ให้ชำนาญ 460202D รอบบ่าย
      • ชีวิตเป็นของน้อย 460126C รอบสาย
      • นิ่งแล้วต้องขยาย 460101D รอบบ่าย
      • สมบัติที่แท้จริง 451231C รอบสาย
      • วันพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม 451227F รอบค่ำ
      • ฐานที่7ที่เกิดดับหลับตื่น 451222D รอบบ่าย
      • กายสบาย ใจสบาย บุญเก่าก็ได้ช่อง 481221
      • หมั่นทบทวนบุญ 451123F รอบค่ำ
      • บุญคือที่พึ่ง 451119F รอบค่ำ
      • ทำไมเด็กจึงเห็นธรรมะง่าย 521025D รอบบ่าย
      • ในท้องมีพระธรรมกาย 520904C รอบสาย
      • มหัศจรรย์สมาธิ 530314C รอบสาย
      • ภาวิตา พหุลีกตา 550806D รอบบ่าย
      • อวิชชา 550722D รอบบ่าย
      • Set Zero 590304D รอบบ่าย
      • คนเราเกิดมาทำไม/ในตัวเรามีองค์พระ 511207C รอบสาย
      • นิมิตเลื่อนลอยหลุมพรางของพญามาร 451013D รอบบ่าย
      • ธรรมกายเอฟเฟค 430423C รอบสาย
      • นิวรณ์ 5 451010F รอบค่ำ
      • นั่งอย่างมีชีวิตชีวา 450924F รอบค่ำ
      • อย่ากินบุญเก่า 450926F รอบค่ำ
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • หลับในอู่ทะเลบุญ 451004F รอบค่ำ
      • เริ่มต้นจากจุดสบายแล้วจะง่าย 451008
      • ตำแหน่งแห่งความสมปรารถนา 521206D รอบบ่าย
      • คำภาวนา สัมมาอะระหัง 510622C รอบสาย
      • บุญพลังแห่งความสุขและความสำเร็จ 511109D รอบบ่าย
      • อริยมรรคมีองค์๘ 510706C รอบสาย
      • หลักสูตรชีวิต 510203D รอบบ่าย
      • เห็นสิ่งใดฝึกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้น 51...
      • เริ่มต้นจากจุดที่ง่าย 510629D รอบบ่าย
      • จุดเล็กใสที่คล้ายเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร 511005C รอบสาย
      • หยุดนิ่งได้แล้วฝึกขยายย่อ 510615D รอบบ่าย
      • พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมใด 511010C รอบสาย
      • พระคุณของ หลวงปู่ฯพระผู้ปราบมาร 511005D รอบบ่าย
      • นั่งมาตั้งนาน ทำไมยังไม่ได้ผล 481127D รอบบ่าย
      • ต้องสบายทุกขั้นตอน 480821D รอบบ่าย
      • หลักวิชชาใจหยุดนิ่งและอาการตกศูนย์ 481218D รอบบ่าย
      • อุปสรรคและหลักวิชชาในการปฏิบัติธรรม 490604C รอบสาย
      • การปฏิบัติธรรมคือการแสวงหาความพอดี 480626C รอบสาย
      • อย่าท้อ_เฉยในทุกประสบการณ์ 471205D รอบบ่าย
      • วิธีปฏิบัติธรรม 480206D รอบบ่าย
      • ง่ายแต่ลึก 480130D รอบบ่าย
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger