• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2548 HOW TO เข้าถึงธรรม 480116C รอบสาย

HOW TO เข้าถึงธรรม 480116C รอบสาย



  HOW TO เข้าถึงธรรม

วันอาทิตย์ที่  ๑๖  มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ (๐๙.๓๐ - ๑๑.๐๐ น.)

สภาธรรมกายสากล  วัดพระธรรมกาย

 

ปรับกาย

 

เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไปตั้งใจให้แน่แน่ว มุ่งตรงต่อหนทางของพระนิพพานกันทุกๆ คน

 

ให้นั่งขัดสมาธิโดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวา จรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ

 

หลับตาของเราเบาๆ หลับตาค่อนลูกพอสบายๆ คล้ายๆ กับตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าไปบีบเปลือกตา อย่ากดลูกนัยน์ตา

 

ปรับใจ

 

ทำใจของเราให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น ให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ให้ปลด ให้ปล่อย ให้วาง ทำใจของเราให้ว่างๆ ว่างเปล่าจากความคิดทั้งหลาย

 

สมมติว่า ภายในร่างกายของเราปราศจากอวัยวะภายใน ไม่มีปอด ตับ ม้าม ไต หัวใจ เป็นต้น ให้กลวงๆ โล่งๆ เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพรงภายใน คล้ายๆ ท่อแก้ว ท่อเพชรใสๆ หรือเหมือนกับลูกโป่งที่เราอัดลมเข้าไป

 

วางใจ

 

นำใจมาหยุดนิ่งๆ ไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ จำง่ายๆ ว่าอยู่ในกลางท้องของเรา สูงจากสะดือขึ้นมาสองนิ้วมือ

 

โดยสมมติว่า เราหยิบเส้นด้ายขึ้นมา ๒ เส้น นำมาขึงให้ตึง จากสะดือทะลุไปด้านหลังเส้นหนึ่ง จากด้านขวาทะลุไปด้านซ้ายอีกเส้นหนึ่ง ให้เส้นด้ายทั้งสองตัดกันเป็นกากบาท จุดตัดจะเล็กเท่ากับปลายเข็ม เหนือจุดตัดนี้ขึ้นมาสองนิ้วมือ ตรงนี้เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งเราจะเห็นชัดต่อเมื่อใจหยุดนิ่งได้สนิท

 

เพราะฉะนั้น ในแง่ของการปฏิบัติจริงๆ เราก็เอาใจไว้ในกลางท้องเท่านั้น ประมาณนั้น ซึ่งบางทีมันอาจจะไม่ตรงกับฐานที่ ๗ อาจจะคลาดเคลื่อนบ้าง แต่ก็อย่าไปกังวลใจกันนะ


งานที่แท้จริงคือทำพระนิพพานให้แจ้ง


ไม่ต้องกังวลกับฐานที่ ๗ แต่เราก็ต้องรู้จักว่า ฐานที่ ๗ อยู่ตรงไหน เพราะฐานที่ ๗ นี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่จะเดินทางไปสู่อายตนนิพพาน เพราะวัตถุประสงค์ของการมาเกิดเป็นมนุษย์ในแต่ละภพแต่ละชาติ เรามีวัตถุประสงค์หลักๆ ก็คือทำพระนิพพานให้แจ้ง เพื่อจะสลัดตนให้พ้นจากกองทุกข์ ให้พ้นจากทุกข์ คือ ทำพระนิพพานให้แจ้ง  อันนี้เป็นหลัก อย่างน้อยก็แสวงบุญสร้างบารมี เพื่อให้บารมีของเราเต็มเปี่ยม นี่คือวัตถุประสงค์ของชีวิต เราต้องจับหลักตรงนี้ให้ได้

 

เราต้องทำความเข้าใจว่า พระนิพพานนั้นอยู่ภายในตัวของเรา ไม่ได้อยู่นอกตัว เพราะฉะนั้นต้องเอาใจของเรากลับเข้ามาไว้ในตัว โดยมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้ เราจะต้องเอาใจมาหยุดมานิ่งอยู่ที่ตรงนี้ให้ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าเราจะมีภารกิจอะไรก็ตามเพราะนี่คือวิชชาชีวิต คือ กรณียกิจ กิจที่ต้องทำ หรือเป็นงานที่แท้จริงของเรา นอกนั้นเป็นแค่งานที่มีความสำคัญระดับรองลงมา คือ งานที่เราจะต้องไปทำมาหากิน ทำมาค้าขาย  เพื่อหาปัจจัย ๔ มาหล่อเลี้ยงชีวิต


จะทำพระนิพพานให้แจ้งได้ต้องเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว

 

เรามีชีวิตอยู่ก็เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง แต่เราจะไปนิพพานได้นั้น จะต้องไปด้วยพระรัตนตรัยในตัว เราจะต้องเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวให้ได้  ถึงพุทธรัตนะ ถึงธรรมรัตนะ ถึงสังฆรัตนะ สามอย่างนี้ ภายในตัวของเรา นอกเหนือจากรัตนะภายนอก ภายในนั่นแหละสำคัญ แต่ว่าเกื้อกูลกันระหว่างภายนอกกับภายใน  เราจะต้องเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวให้ได้

 

พุทธรัตนะ คือ พระแก้วใสๆ

 

รัตนะ แปลว่า แก้ว หรือเป็นหินที่มีค่า ใครได้มาครอบครองก็จะปลื้มใจ เหมือนเพชรนิลจินดา อะไรต่างๆ เหล่านั้น เป็นต้น

 

จะต้องเข้าถึง พุทธรัตนะ คือ ท่านผู้รู้แจ้ง เห็นแจ้ง แทงตลอดในสรรพสัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลาย กายท่านจะใสเป็นแก้ว เป็นเพชร หรือยิ่งกว่านั้น ประกอบไปด้วยลักษณะมหาบุรุษ ครบถ้วนทุกประการ เกตุดอกบัวตูมตั้งอยู่บนจอมกระหม่อมบนพระเศียร  ซึ่งตั้งอยู่ในกายมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ อยู่ในอิริยาบถเจริญสมาธิภาวนา อิริยาบถเดียว เพราะว่าไม่ต้องทำกิจเหมือนมนุษย์ ไม่มีปวด ไม่มีเมื่อย ไม่ต้องขับถ่าย ไม่ต้องพักผ่อนนอนหลับ เป็นต้น มีแต่กิจของผู้รู้

 

ท่านจะเป็นคลังแห่งความรู้ทั้งหมด ซึ่งเป็นเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต แล้วก็เป็นแหล่งแห่งความสุข แหล่งแห่งความบริสุทธิ์ แหล่งแห่งอานุภาพที่ไม่มีประมาณ ท่านจะประกอบไปด้วย จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา แล้วก็แสงสว่าง ประชุมรวมกัน ก่อเกิดด้วยธรรมทั้งก้อน ถึงเรียกว่า กายธรรม หรือธรรมกาย  เราก็ต้องเข้าถึงพุทธรัตนะตรงนี้

 

ธรรมรัตนะ จะเป็นดวงธรรมใสๆ ใสเป็นแก้วเป็นเพชรเหมือนกัน กลมรอบตัวอยู่ภายใน และความรู้จะบรรจุอยู่ตรงนั้น

 

สังฆรัตนะ คือ ธรรมกายละเอียด หรือกายละเอียดของพระธรรมกาย จะรักษาธรรมรัตนะเอาไว้

 

สามอย่างนี้อยู่ในตัวของเรา เราเข้าถึงตรงนี้ได้จึงจะไปสู่อายตนนิพพานได้ จะเข้าถึงรัตนะทั้ง ๓ ได้นั้น ต้องเริ่มต้นนำใจมาหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกาย ฐานที่ ๗ ให้ใจหยุดนิ่งๆ


บริกรรมนิมิต

 

ใจจะหยุดนิ่งได้ ก็ต้องมีหลักยึดของใจ คือ บริกรรมนิมิต เป็นภาพทางใจที่เราจะต้องสร้างมันขึ้นมา กำหนดขึ้นมา จะเป็นดวงใสๆ หรือพระแก้วใสๆ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

 

พระเดชพระคุณหลวงปู่ ท่านจะแนะนำให้กำหนดเป็นดวงใสๆ ท่านใช้คำว่าเครื่องหมายที่ใสสะอาดประดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ไม่มีขีดข่วนคล้ายขนแมว โตเท่ากับ แก้วตา ทีนี้บางคนไม่เคยสังเกตแก้วตาของตัวเรา หรือของคนอื่นเขา  ก็จำง่ายๆ เราก็นึกเอาเพชรสักเม็ดหนึ่ง โคตรเพชรใหญ่ๆ แต่ไม่ใช่เจียระไนเป็นเหลี่ยม จะกลมรอบตัวใสๆ

 

นึกถึงความใสของเพชรที่ต้องแสง  แต่ว่ากลมรอบตัว เป็นบริกรรมนิมิต คือที่ยึดที่เกาะของใจเรา แทนการนึกถึง คน สัตว์ สิ่งของ ธุรกิจการงาน เป็นต้น แล้วก็ต้องมานึกอยู่ที่  ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ด้วย

 

จะนึกเป็นพระแก้วใสก็ได้ องค์พระพุทธรูปที่เรากราบไหว้บูชา ที่ทำด้วยวัสดุต่างๆ จะเริ่มต้นจากตรงนั้นก่อนก็ได้ แต่องค์พระที่กำหนดนี้ ยังมีลักษณะมหาบุรุษไม่ครบ หรือบางทีก็ไม่มี ก็แล้วแต่ช่างเขาจะจินตนาการปั้นกันไปอย่างไร หล่อกันไปอย่างไร แต่ก็ใช้เป็นบริกรรมนิมิตได้

 

ต้องนึกให้เป็น


การนึกถึงบริกรรมนิมิต ดวงใสๆ หรือพระแก้วใสๆ เราต้องนึกให้เป็น คือ อย่าไปเค้นภาพ หลับตาแล้วเราจะไปเค้นภาพให้มันเห็นชัดได้ดังใจเหมือนเราลืมตาเห็นมันคงไม่ได้ ถ้าขืนทำอย่างนั้นมันจะปวดศีรษะ มันเกร็ง มันตึง มันเครียด แล้วมันก็ทำให้เราเบื่อท้อใจ พอเลิกนั่งสมาธิก็เหนื่อย

 

การเห็นภาพทางใจนั้น มันจะแตกต่างจากการเห็นภาพด้วยมังสจักขุ หรือตาเนื้อ มันไม่ใช่ปุ๊บปั๊บเห็นเลย มันคือมโนภาพที่เรานึกถึง เหมือนอย่างเรานึกถึงขันล้างหน้า แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ดอกบัว ดอกกุหลาบ ของที่เรารัก อะไรอย่างนั้น สิ่งไหนเราคุ้นเคยมาก เราก็นึกได้ชัด สิ่งไหนมันไม่คุ้น มันก็ไม่ค่อยชัด เพราะมันเป็นมโนภาพทางใจ ที่เรียกว่า บริกรรมนิมิต

 

การนึกถึงดวงใสๆ หรือพระแก้วใสๆ ก็ใช้ทำนองนั้น คือ นึกธรรมดา อย่างนึกถึงมหาธรรมกายเจดีย์ เห็นไหมจ๊ะเราก็นึกธรรมดา ซึ่งมันก็เป็นภาพทางใจ แต่มันก็ไม่ชัดเจนหรอก บางคนชัดเจนมาก บางคนชัดเจนน้อย ถ้าหากเราทำความเข้าใจได้ และก็ทำเป็น เดี๋ยวใจมันก็จะหยุดนิ่งขึ้นมา เพราะมีอารมณ์เดียว

 

ดังนั้น การนึกถึงดวงใส หรือพระแก้วใสๆ ก็ในทำนองเดียวกัน คือ เราต้องใจเย็นค่อยๆ นึก นึกเท่าที่เรานึกได้ นึกแล้วเรายังรู้สึกสบาย ผ่อนคลาย ระบบประสาทกล้ามเนื้อมันผ่อนคลาย ไม่เกร็ง ไม่ตึง อย่างนั้นถูกวิธี

 

ต้องทำใจเย็นๆ อย่าไปรำคาญที่เรานึกไม่ชัด เห็นไม่ชัด อย่าไปรำคาญ อย่าไปฮึดฮัดว่า ทำไมเรานึกอะไรก็นึกได้ชัด ทำไมมานึกอย่างนี้มันไม่ชัด นึกเท่าที่นึกได้ นึกได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้น

 

สมมติเรานึกถึงดวงกลมๆ บางทีมันจะบูดบ้าง เบี้ยวบ้าง ช่างมัน ให้มีภาพอยู่ในท้องก็แล้วกัน องค์พระก็เหมือนกัน บางทีก็เห็นตั้งแต่เศียรบ้าง แขน ขา มือ อะไรก็ดูไป เพื่อต้องการให้ใจอยู่กับตัว

 

บริกรรมภาวนา

 

แล้วก็ประคองใจด้วยบริกรรมภาวนา ภาวนาในใจอย่างสบายๆ ว่า สัมมาอรหังๆๆ จะภาวนากี่ครั้งก็ได้ จนกว่าใจเราไม่อยากภาวนา อยากอยู่เฉยๆ นิ่งๆ ถ้าเกิดความรู้สึกอย่างนี้ เราก็ไม่ต้องหวนกลับมาภาวนาใหม่

 

เพราะฉะนั้น เราต้องจับหลักให้ได้ว่า วัตถุประสงค์ของการทำอย่างนี้ เพื่อต้องการให้ใจมาอยู่กับตัว อยู่ในกลางท้อง อยู่ตรงบริเวณฐานที่ ๗ เพื่อให้หยุดให้นิ่ง มาอยู่นานๆ จนกระทั่งมันหยุดมันนิ่งๆ นี่คือวัตถุประสงค์ของเรา จับหลักตรงนี้ให้ได้

 

เราฝึกใจให้หยุดให้นิ่ง เพราะหยุดเป็นตัวสำเร็จ ที่จะทำให้เราได้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายในตัว และไปสู่อายตนนิพพาน หยุดใจเป็นตัวสำเร็จ หรือพูดสั้นๆ ว่า หยุดเป็นตัวสำเร็จ หมายเอาหยุดใจ  

 

อย่ากดลูกนัยน์ตา

 

ดังนั้นเราก็ค่อยๆ ประคองใจหยุดนิ่ง อย่ากดลูกนัยน์ตาลงไปดู  เพราะตาเนื้อมันเห็นไม่ได้ ถ้าเรากดลงไปแล้วมันตึงก็รีบลืมตา แล้วก็ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ผ่อนคลายร่างกายจิตใจ พอรู้สึกสบายก็เริ่มต้นกันใหม่

 

หยุดใจนิ่งๆ หรือเราจะวางใจนิ่งเฉยๆ โดยไม่นึกภาพดวงแก้วหรือองค์พระก็ยังได้ ถ้าเรามั่นใจว่าทำอย่างนี้แล้วใจไม่ฟุ้ง รู้สึกสงบดี ก็ให้ทำอย่างนี้ หยุด นิ่ง เฉยๆ ทำความรู้สึกว่าใจอยู่ในกลางท้อง แล้วก็ภาวนา สัมมาอะระหัง เรื่อยไป อย่างสบายๆ

 

สติสบายต้องไปคู่กันตลอดเส้นทาง

 

อย่าทิ้งคำนี้นะลูกนะ ให้มีสติกับสบายควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ สติ สบาย นิ่งๆ ค่อยๆ ฝึกไปเรื่อยๆ

 

มีความมืดให้ดู ก็จงอยู่กับความมืดนั้น ด้วยใจที่เบิกบาน แช่มชื่น ไม่ทุกข์ใจ มีแสงสว่างให้ดูก็อย่าไปตื่นเต้น ก็ดูไปเรื่อยๆ มีอะไรให้ดูเราก็ดูไป ตรงนี้ต้องจำนะลูกนะ ดูไปเรื่อยๆ อย่างสบายๆ โดยไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น

 

ไม่ต้องคิดว่า เอ๊ะ มันทำไมเป็นอย่างนั้น ทำไมเป็นอย่างนี้  มันถูกหรือว่ามันผิด เราคิดไปเอง หรือมันเกิดขึ้นจริง อะไรต่างๆ เหล่านี้ เป็นต้น ให้นั่งแบบเด็กๆ ที่อินโนเซ้น คือไม่มีความคิดอะไรมากมาย ทำเฉยๆ นิ่งๆ เพราะวัตถุประสงค์ของเรา ต้องการให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ หรือกลางท้องของเรา เหนือสะดือขึ้นมาสองนิ้วมือ อย่างสบาย นี่คือวัตถุประสงค์

 

เฉยในทุกประสบการณ์

 

พอเราภาวนาไป ฝึกใจไปเรื่อยๆ มันอาจจะมีปรากฏการณ์อะไรต่างๆ เกิดขึ้นกับร่างกายของเรา คือ ตัวมันจะพองบ้าง ตัวขยายบ้าง ตัวยืดสูงขึ้นไปบ้าง ขยายออกไปทางกว้างบ้าง หรือตัวยุบลงไปบ้าง ตัวโยกบ้าง ตัวโคลงบ้าง ตัวเบาบ้าง ตัวลอยบ้าง หรือหล่นลงไป เหมือนตกจากที่สูงลงไปบ้าง หรืออะไรที่นอกเหนือจากนี้ ให้ทำเฉยๆ ในทุกประสบการณ์

 

ทำใจหลวมๆ เหมือนสวมเสื้อผ้าหลวมๆ ให้ผ่อนคลาย แล้วก็ทำใจให้สบายๆ นิ่งๆ เฉยๆ อย่างนี้เรื่อยไปเลย มีอะไรเกิดขึ้นเราก็ดูไป

 

ถ้าเราทำถูกวิธี ตัวมันจะไม่ทึบ ไม่แคบ ไม่อึดอัด มันจะโล่ง จะโปร่ง จะเบา จะสบาย สบายอย่างที่เราไม่เคยเป็นมาก่อน บางทีรู้สึกตัวหาย หรือหายเป็นบางส่วน มือหาย เท้าหาย ก็ให้เฉยๆ นะลูกนะ เฉยๆ อย่าลืมตา อย่าขยับตัว แล้วก็ไม่ต้องกลัวอะไร ทำเฉยๆ ในทุกประสบการณ์ นิ่งๆ

 

แล้วถ้ามันวูบลงไป บางคนอาจจะหวาดเสียว  แต่บางคนก็ไม่หวาดเสียว ถ้าลงอย่างนุ่มนวล เคลื่อนไปอย่างนุ่มนวล แต่ถ้าพรวดพราดก็อาจจะสะดุ้งบ้างก็ช่างมัน  มันหวาดเสียวก็อย่าหวาดเสียวนาน แต่ขอยืนยันว่าไม่มีอันตรายอะไร  จะมีแต่สิ่งดีๆ เกิดขึ้นกับเรา

 

จำเอาไว้ว่า หยุดเป็นตัวสำเร็จ เราต้องวางเฉยเป็นอุเบกขาในทุกๆ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว หรือนอกเหนือจากนั้น

 

หยุดกับนิ่งอย่างเดียว เฉยๆ มีความมืดให้ดู เราก็ดูไป ดูไปเรื่อยๆ อย่างสบายๆ โดยไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น มีแสงสว่างให้ดูเราก็ดูไป มีดวงธรรมให้ดูเป็นดวงกลมๆ ใสๆ เราก็ดูไป  มีกายให้ดูก็ดูไป มีองค์พระให้ดูเราก็ดูไป ดูไปโดยปราศจากความคิด แล้วก็ทำจิตให้สงบนิ่งๆ เฉยๆ อย่างนี้ แค่นี้เท่านั้น ทำอย่างนี้นะลูกนะ เดี๋ยวเราจะอัศจรรย์ใจกับสิ่งที่เราทำอย่างนี้

 

เช้านี้อากาศกำลังสดชื่น เป็นใจให้ลูกผู้มีบุญทุกคน ที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว ก็ขอให้ประคองใจให้หยุดให้นิ่งตามที่ได้แนะนำดังกล่าวอย่างสบายๆ เดี๋ยวจะสมหวังดังใจ อย่างที่เรานึกไม่ถึง ต่างคนต่างนั่งกันไปเงียบๆ นะ

Add Comment
2548
วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ►  เดือน สิงหาคม (233)
    • ▼  เดือน กรกฎาคม (123)
      • ความเพลินส่วนเกินของชีวิต 481030C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว 481023C รอบสาย
      • โลกุตรธรรม ๙ 481016C รอบสาย
      • พิจารณามี ๒ อย่าง 481009D รอบบ่าย
      • เส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน 481009C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวเรา 480828C รอบสาย
      • ที่มาของพระพุทธรูป 480717C รอบสาย
      • วัตถุประสงค์ของชีวิต 480710C รอบสาย
      • เมื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว 480605D รอบบ่าย
      • เหตุการณ์วันตรัสรู้ 480522C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จในสมัยพุทธกาล 480515D รอบบ่าย
      • อิสรภาพที่แท้จริง 480417D รอบบ่าย
      • กรณียกิจ 480313C รอบสาย
      • สมาธิเหมือนเส้นผมบังภูเขา 480130C รอบสาย
      • ชีวิตในสังสารวัฏมีภัยมาก 480123C รอบสาย
      • HOW TO เข้าถึงธรรม 480116C รอบสาย
      • พุทธภาวะภายในตัว 470711C รอบสาย
      • สมถวิปัสสนา 470516C รอบสาย
      • สติปัฏฐาน ๔ 470620C รอบสาย
      • ป่วยอย่างสง่างาม 470502D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งคืองานที่แท้จริง 490122D รอบบ่าย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน 481211D รอบสาย
      • การเห็นด้วยปัญญา 481225C รอบสาย
      • อานิสงส์การฝึกใจให้หยุดนิ่ง 481211D รอบบ่าย
      • การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 460316C รอบสาย
      • ภาพที่สำคัญของชีวิต 460309C รอบสาย
      • มโณปริธานอันยิ่งใหญ่ 460119D รอบบ่าย
      • จริงต้องได้ 460504D รอบบ่าย
      • ลูกมีบุญที่จะเข้าถึงธรรมได้ 450515F รอบค่ำ
      • ฝึกใจหยุดนิ่งอย่างสบาย 450516F รอบค่ำ
      • งานที่แท้จริง 450306F รอบค่ำ
      • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
      • นึกถึงสิ่งที่คุ้นเคย 450525F รอบค่ำ
      • หยุดนิ่งสำคัญที่สุด 450529F รอบค่ำ
      • ชีวิตเป็นของน้อย 450428C รอบสาย
      • หยุดแค่พริบตาเดียวได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ 450305F รอบค่ำ
      • หลับตื่นในอู่ทะเลบุญ 450510F รอบค่ำ
      • ทางเดินของใจ 7 ฐาน 450613F รอบค่ำ
      • อานุภาพหยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • กิเลสประจำกายและวิธีแก้ 450912F รอบค่ำ
      • ปรับที่ใจใช่ที่ภาพ/แก้กดลูกนัยน์ตา 450615F รอบค่ำ
      • เทคนิควิธีการปฏิบัติธรรม 450528F รอบค่ำ
      • นึกบริกรรมนิมิตด้วยสิ่งที่คุ้นเคย 450524F รอบค่ำ
      • หนีกรรมไม่พ้น 450302F รอบค่ำ
      • แผนผังชีวิต 450514F รอบค่ำ
      • หาตัวกลัวให้เจอ 450629F รอบค่ำ
      • ลูกไก่เจาะกระเปาะไข่ 450518F รอบค่ำ
      • วิธีแก้ กดลูกนัยน์ตา 450607F รอบค่ำ
      • อานิสงส์การเข้าถึงพระรัตนตรัย 451022F รอบค่ำ
      • การตอบประสบการณ์ภายใน 560212D รอบบ่าย
      • ฝึกเป็นผู้ให้ 571205D รอบบ่าย
      • นอกรอบให้หมั่นประคองใจ 571211
      • สิ่งที่แสวงหาอยู่ที่ใจหยุดนิ่ง 451028F รอบค่ำ
      • อโห พุทโธ 451113F รอบค่ำ
      • เจริญมรณานุสติ 451118F รอบค่ำ
      • หวงห่วงแบบอริยะ 451209F รอบค่ำ
      • นึกได้ก็เห็นได้ 460309C รอบสาย
      • ต้องฝึกบ่อยๆ ให้ชำนาญ 460202D รอบบ่าย
      • ชีวิตเป็นของน้อย 460126C รอบสาย
      • นิ่งแล้วต้องขยาย 460101D รอบบ่าย
      • สมบัติที่แท้จริง 451231C รอบสาย
      • วันพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม 451227F รอบค่ำ
      • ฐานที่7ที่เกิดดับหลับตื่น 451222D รอบบ่าย
      • กายสบาย ใจสบาย บุญเก่าก็ได้ช่อง 481221
      • หมั่นทบทวนบุญ 451123F รอบค่ำ
      • บุญคือที่พึ่ง 451119F รอบค่ำ
      • ทำไมเด็กจึงเห็นธรรมะง่าย 521025D รอบบ่าย
      • ในท้องมีพระธรรมกาย 520904C รอบสาย
      • มหัศจรรย์สมาธิ 530314C รอบสาย
      • ภาวิตา พหุลีกตา 550806D รอบบ่าย
      • อวิชชา 550722D รอบบ่าย
      • Set Zero 590304D รอบบ่าย
      • คนเราเกิดมาทำไม/ในตัวเรามีองค์พระ 511207C รอบสาย
      • นิมิตเลื่อนลอยหลุมพรางของพญามาร 451013D รอบบ่าย
      • ธรรมกายเอฟเฟค 430423C รอบสาย
      • นิวรณ์ 5 451010F รอบค่ำ
      • นั่งอย่างมีชีวิตชีวา 450924F รอบค่ำ
      • อย่ากินบุญเก่า 450926F รอบค่ำ
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • หลับในอู่ทะเลบุญ 451004F รอบค่ำ
      • เริ่มต้นจากจุดสบายแล้วจะง่าย 451008
      • ตำแหน่งแห่งความสมปรารถนา 521206D รอบบ่าย
      • คำภาวนา สัมมาอะระหัง 510622C รอบสาย
      • บุญพลังแห่งความสุขและความสำเร็จ 511109D รอบบ่าย
      • อริยมรรคมีองค์๘ 510706C รอบสาย
      • หลักสูตรชีวิต 510203D รอบบ่าย
      • เห็นสิ่งใดฝึกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้น 51...
      • เริ่มต้นจากจุดที่ง่าย 510629D รอบบ่าย
      • จุดเล็กใสที่คล้ายเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร 511005C รอบสาย
      • หยุดนิ่งได้แล้วฝึกขยายย่อ 510615D รอบบ่าย
      • พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมใด 511010C รอบสาย
      • พระคุณของ หลวงปู่ฯพระผู้ปราบมาร 511005D รอบบ่าย
      • นั่งมาตั้งนาน ทำไมยังไม่ได้ผล 481127D รอบบ่าย
      • ต้องสบายทุกขั้นตอน 480821D รอบบ่าย
      • หลักวิชชาใจหยุดนิ่งและอาการตกศูนย์ 481218D รอบบ่าย
      • อุปสรรคและหลักวิชชาในการปฏิบัติธรรม 490604C รอบสาย
      • การปฏิบัติธรรมคือการแสวงหาความพอดี 480626C รอบสาย
      • อย่าท้อ_เฉยในทุกประสบการณ์ 471205D รอบบ่าย
      • วิธีปฏิบัติธรรม 480206D รอบบ่าย
      • ง่ายแต่ลึก 480130D รอบบ่าย
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger