• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2545 หยุดนิ่งสำคัญที่สุด 450529F รอบค่ำ

หยุดนิ่งสำคัญที่สุด 450529F รอบค่ำ

 


หยุดนิ่งสำคัญที่สุด

วันศุกร์ที่ ๑๔  มิถุนายน  พ.ศ. ๒๕๔๕ (๑๙.๐๐ - ๒๐.๓๐ น.)

บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภาธรรมกายสากล  

     

ปรับกาย-ปรับใจ

 

เมื่อเราบูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไปตั้งใจให้แน่แน่ว มุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานกันทุกๆ คนนะจ๊ะ

 

ให้นั่งขัดสมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ 


หลับตาของเราเบาๆ ค่อนลูก พอสบายๆ คล้ายกับตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าไปบีบเปลือกตา อย่ากดลูกนัยน์ตานะจ๊ะ

 

แล้วก็ทำใจของเราให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น ให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ให้ปลด ให้ปล่อย ให้วาง ทำใจให้ว่างๆ

 

ทางเดินของใจทั้ง ๗ ฐาน

 

แล้วก็สมมติว่า ภายในร่างกายของเรา ปราศจากอวัยวะ ไม่มีมันสมอง ไม่มีปอด ตับ ม้าม ไต หัวใจ เป็นต้น ให้สมมติว่า เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพรง โล่งๆ ว่างๆ กลวงภายใน คล้ายท่อแก้วใสๆ คล้ายท่อเพชรใสๆ ถ้าสมมติว่า เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพรง กลวงภายใน คล้ายท่อแก้ว ท่อเพชรใสๆ  

 

คราวนี้เราก็มานึกถึงหลักวิชชาที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านได้เมตตาอบรมสั่งสอนให้รู้จักทางเดินของใจ ซึ่งมีทั้งหมด ๗ ฐาน ๗ ฐานนี้เริ่มต้น

 

ฐานที่ ๑ อยู่ที่ปากช่องจมูก ท่านหญิงข้างซ้าย ท่านชายข้างขวา

ฐานที่ ๒ อยู่ที่เพลาตา หรือหัวตาตรงที่ตำแหน่งน้ำตาไหล ท่านหญิงอยู่ข้างซ้าย ท่านชายอยู่ข้างขวา

ฐานที่ ๓ อยู่ที่กลางกั๊กศีรษะ ในระดับเดียวกับหัวตาของเรา  

ฐานที่ ๔ อยู่ที่เพดานปาก ช่องปากที่อาหารสำลัก

ฐานที่ ๕ อยู่ที่ปากช่องคอ เหนือลูกกระเดือก

ฐานที่ ๖ อยู่ในกลางท้อง ระดับเดียวกับสะดือของเรา  

 

สมมติว่า เรามีเส้นด้าย ๒ เส้น นำมาขึงให้ตึง จากสะดือทะลุไปด้านหลังเส้นหนึ่ง  จากด้านขวาทะลุไปด้านซ้ายเส้นหนึ่ง ให้เส้นด้ายทั้งสองตัดกันเป็นกากบาท จุดตัดจะเล็กเท่ากับปลายเข็ม ตรงนี้แหละเรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๖

 

แล้วก็ให้สมมติ เอานิ้วชี้กับนิ้วกลางมาวางซ้อนกัน แล้วก็นำไปทาบตรงจุดตัดของเส้นด้ายทั้งสอง สูงขึ้นมา ๒ นิ้วมือ ตรงนี้แหละเรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ 

 

๗ ฐานนี้เป็นทางเดินของใจเรา เวลาไปเกิด มาเกิด ก็จะต้องอาศัย ๗ ฐานนี้แหละ พอมาเกิดก็เริ่มต้นจากฐานที่ ๑ แล้วก็มาอยู่ฐานที่ ๗ ถ้าไปเกิด คือ ตาย ก็เริ่มจากฐานที่ ๗ แล้วก็ไปที่ฐานที่ ๖, ๕, ๔, ๓, ๒, ๑ สวนทางกันไป 

 

ฐานที่สำคัญ คือ ฐานที่ ๗ ฐานที่ ๗ ซึ่งเป็นที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่น

 

แต่ฐานที่ ๗ นี้ หรือทุกฐาน จะเห็นได้ชัดเจน ต่อเมื่อใจของเรานั้นหยุดนิ่งได้สนิทสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว ถ้าหยุดยังไม่สนิท ก็ยังเห็นไม่ชัด

 

ฐานที่ ๗ ดังกล่าวนี้ ให้เราเป็นแต่เพียงให้รู้จักเอาไว้เท่านั้น แต่ไม่ใช่ให้ไปควานหา หรือกังวลจนเกินไปว่า ฐานที่ ๗ อยู่ที่ตรงไหน  

 

ให้จำง่ายๆ ว่า อยู่ตรงกลางท้อง ในตำแหน่งที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ หรือจำให้ง่ายๆ กว่านี้อีก ก็คือ อยู่ที่กลางท้องนั้นเอง นี่จำง่ายๆ นะจ๊ะ เราจะเห็นฐานที่ ๗ ได้ต่อเมื่อใจหยุดนิ่งได้สนิท สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์แล้วเท่านั้น

 

เมื่อเรามาเริ่มต้นใหม่ เป็นนักศึกษาวิชชาธรรมกาย ใจมันยังไม่หยุดไม่นิ่งหรอก เพราะฉะนั้น จะเห็นไม่ชัด เห็นฐานที่ ๗ ไม่ชัด ดังนั้นจำง่ายๆ นะลูกนะว่า อยู่กลางท้อง จำแค่นี้พอ อยู่กลางท้อง 

 

บริกรรมภาวนา


แล้วพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ท่านก็สอนให้กำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงใสๆ  ประดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ไม่มีตำหนิเลย กลมรอบตัวเหมือนดวงแก้วกายสิทธิ์ และท่านให้กำหนดอย่างนี้ ขนาดใหญ่เล็ก ก็แล้วแต่ชอบ

 

แล้วท่านก็ให้เอาใจตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ที่ตรงกลางดวงใส  พร้อมกับบริกรรมภาวนา  สัมมาอะระหังๆ เรื่อยไปเลย กี่ครั้งก็ได้  กี่สิบ กี่ร้อย กี่พัน กี่หมื่น กี่แสน กี่ล้านครั้ง ก็ภาวนาไปเรื่อยๆ   และทุกครั้งที่จะภาวนาก็ต้องตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ที่ตรงกลางดวงใส จนกว่าใจจะหยุดนิ่ง

 

เวลาใจหยุดนิ่ง มันจะมีอาการคล้ายๆ กับว่า เราลืมคำภาวนาไป  แต่ใจไม่ฟุ้ง หรือเกิดความรู้สึกว่า ไม่อยากจะภาวนาต่อไป อยากวางใจนิ่งๆ เฉยๆ ที่กลางดวงใสๆ ถ้าหากเกิดอาการหรือความรู้สึกอย่างนี้  ก็ไม่ต้องย้อนกลับมาภาวนา สัมมาอะระหัง ใหม่ นี่คือสิ่งที่ท่านได้แนะนำเอาไว้

 

บางครั้งท่านก็แนะนำให้นึกถึงสิ่งที่คุ้นเคย  คือ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นดวงใสๆ  อะไรก็ได้  ที่เราคุ้นเคย ให้เป็นที่ยึดที่เกาะของใจเรา จะเป็นผลหมากรากไม้ จะเป็นเพชรนิลจินดา หรืออะไรก็ได้ทั้งนั้น จะนึกเป็นทุเรียน เป็นเงาะ เป็นมังคุด  ฟัก แฟง แตงโม เป็นซาลาเปา เป็นอะไรที่นอกเหนือจากนี้ ได้ทั้งนั้น

 

หลวงปู่สอนนาคนึกปอยผม

 

และท่านก็ได้เริ่มแนะนาคที่อยู่ในโบสถ์  ให้นึกถึงปอยผม เห็นไหมจ๊ะ แทนที่จะให้นึกถึงดวงใส ให้นึกถึงปอยผมที่ปลงเมื่อเช้า เห็นว่า มันเพิ่งหมาดๆ ใหม่ๆ ให้จำปอยผมนั้นมาไว้กลางท้อง

 

ท่านสอนนาคในโบสถ์ ที่จะไปขอการอุปสมบทจากท่าน นาคก็นั่งคุกเข่าพนมมืออยู่ต่อหน้าท่าน ท่านก็แนะว่า ให้นาคจำปอยผม หลับตาแล้วก็น้อมไปตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ หรือกลางท้อง แล้วก็แนะนำให้นาคจำไว้ให้ดี แล้วทำใจหยุดนิ่งๆ อยู่ที่กลางปอยผมนั้น ทำอย่างนี้อย่างเดียวเท่านั้น ไม่ต้องทำอะไรที่นอกเหนือจากนี้ 

 

นาคก็นึกถึงปอยผมเรื่อยไปเลย ใหม่ๆ มันก็เป็นมโนภาพคุ่มๆ ค่ำๆ กันไป แต่ว่าก็ค่อยๆ นึกให้มันต่อเนื่อง ไม่ให้เผลอ โดยที่ไม่ได้ภาวนา สัมมาอะระหัง เลย ต่อมาภาพปอยผมก็ชัดขึ้นมา จากมโนภาพก็เปลี่ยนมาเป็นการเห็นจริงๆ  เห็นเหมือนซีร็อกซ์ หรือก๊อปปี้ภาพปอยผมนั้น เอาไว้ในกลางท้อง เห็นชัดกระทั่งว่า โคนชี้ไปทางไหน ปลายชี้ไปทางไหน ก็กราบเรียนให้ท่านทราบ

 

ท่านก็แนะนำต่อไปว่า หยุดนิ่งเฉยๆ ต่อไป ไม่ต้องทำอะไรที่นอกเหนือจากนี้ นาคก็หยุดนิ่งกลางปอยผมนั้นเรื่อยไป ในที่สุดปอยผมนั้นก็เปลี่ยนเป็นใส ใสเป็นแก้วทีเดียว ใสเหมือนน้ำแข็ง เหมือนเพชร แต่ก็ยังคงทรงรูปร่างเดิมอยู่ โคนชี้ไปทางไหน ปลายชี้ไปทางไหนก็ยังเหมือนเดิม ต่างแต่สี จากสีดำมาเป็นสีใส แล้วใจที่สบายเพิ่มขึ้น ก็หยุดนิ่งต่อไป ตามคำแนะนำของท่าน

 

พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น ตกศูนย์วูบไป ภาพปอยผมนั้นก็หาย ใจก็หล่นวูบลงไปฐานที่ ๖ ก็เห็นดวง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใส บริสุทธิ์ โตเท่ากับฟองไข่แดงของไก่ ลอยปรากฏเกิดขึ้นมาที่ฐานที่ ๗  เห็นฐานที่ ๗ ชัดด้วย เห็นดวงใสๆ ที่มาปรากฏที่ฐานที่ ๗ ก็ชัด เห็นดวงเริ่มมาจากฐานที่ ๖ ก็เห็นฐานที่ ๖ ชัด  เมื่อใจหยุดนิ่งแล้ว มันจะเห็นชัดใสแจ่มทีเดียว กายก็เบา ใจก็เบา ปีติก็บังเกิดท่วมท้น

 

เมื่อเห็นอย่างนั้นแล้ว พระเดชพระคุณหลวงปู่ ท่านก็บอกว่า ให้รักษาเอาไว้ให้ดี  ต่อไปจะได้บวชเป็นพระ

 

วัตถุประสงค์การบวชเป็นพระนั้น ก็เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง มีเพียงประการเดียวเท่านั้น ไม่ว่าจะบวชสั้นบวชยาว ก็มีวัตถุประสงค์อย่างนี้ ดวงใสๆ ที่เกิดขึ้นที่ฐานที่ ๗ นั้นอย่าให้หาย เป็นต้นทางที่จะไปสู่อายตนนิพพาน ที่จะทำพระนิพพานให้แจ้ง

 

แล้วท่านก็สอน ให้เอาใจหยุดลงไปกลางดวงนั้นแหละ ไม่ช้าจะเห็นกายในกาย แล้วก็จะเห็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ แล้วก็สังฆรัตนะ เห็นพระรัตนตรัยในตัว ซึ่งเป็นที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง  แล้วก็หยุดต่อไปเรื่อยๆ ปลายทางเป็นอายตนนิพพาน

 

สอนแล้วท่านก็มอบผ้ากาสาวพัสตร์ให้นาคไปครอง นาคนั้นก็สมหวัง เมื่อบวชเป็นพระแล้ว ก็ปฏิบัติธรรมต่อ ได้บรรลุธรรม เข้าถึงธรรมกายตามที่ท่านได้พยากรณ์เอาไว้ แนะนำเอาไว้ สมหวังดังใจในชีวิตของนักบวช ได้ถึงที่พึ่งภายใน บวช ๒ ชั้นทีเดียว

 

อุบาสกอุบาสิกาก็เป็นพระภายในได้

 

และท่านได้กล่าวเอาไว้อีกว่า แม้เราไม่ได้เป็นพระ เป็นเพียงอุบาสก อุบาสิกา ก็สามารถเข้าถึงได้ ได้เป็นพระภายใน เป็นพระภายในเหมือนอุบาสก อุบาสิกา สมัยพุทธกาล  เช่นเดียวกับธรรมิกอุบาสก มีพระภายใน นางวิสาขาก็มีพระภายใน อย่างนี้เกิดมาสมปรารถนา ปิดประตูอบายภูมิ ไม่ต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นเปรต อสูรกาย หรือสัตว์นรก มีสุคติโลกสวรรค์เป็นที่ไป ไปเป็นชาวสวรรค์แล้ว กายข้างนอกก็เป็นกายทิพย์ ข้างในก็เป็นองค์พระ เป็นธรรมกาย มีปรากฏมากมายในสวรรค์ชั้นต่างๆ นี่ท่านก็แนะนำสั่งสอนกันไป 

 

วิธีแก้อุปสรรคในการปฏิบัติธรรม

 

พวกเรามาภายหลัง ก็จะต้องทำตามคำสั่งสอนอย่างนี้แหละ ทำไปอย่างสบายๆ นะลูกนะ

 

ถ้าง่วง คือ สังขารมันไม่ไหว ทำงานมาเหนื่อยๆ มันไม่ไหว แต่ใจเราสู้ ใจสู้แต่สังขารไม่ไหว ท่านบอกให้ปล่อยให้หลับไป อย่าไปฝืน เดี๋ยวจะเป็นโรคประสาท แต่ให้หลับอยู่ในกลางกาย ตรงไหนที่เรามั่นใจว่า เป็นกลางกาย ก็เอาตรงนั้นแหละ ถ้าง่วงก็หลับ

 

ถ้าเมื่อยก็ขยับ  ขยับเบาๆ อย่าให้ไปสะเทือนคนข้างเคียงเขา

ถ้าฟุ้งก็ภาวนา สัมมาอะระหัง ภาวนาไม่อยู่ ก็ลืมตา มาดูคุณยาย ดูภาพพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ดูดวงแก้ว หรือองค์พระที่ตั้งอยู่บนโต๊ะหมู่บูชาของเรา ถ้าไม่มีอะไรให้ดู ก็ดูต้นหมากรากไม้ ถ้ากลางคืนก็ดูความมืด ดูไป พอมันหายฟุ้งก็ค่อยๆ หรี่ตาลงมา อย่าเพิ่งหลับตานะ หรี่ตา แล้วก็ทำใจนิ่งๆ แล้วก็ค่อยๆ หลับลงไปทีละน้อย ให้ได้สักค่อนลูก แล้วก็นิ่งเฉย เดี๋ยวจะสมหวังดังใจ

 

เพราะฉะนั้น ง่วงก็หลับ เมื่อยก็ขยับ ฟุ้งก็ลืมตา แล้วค่อยว่ากันใหม่ เริ่มต้นใหม่อย่างง่ายๆ อย่างสบายๆ

 

เราได้ท่องคาถาสำเร็จเอาไว้แล้วว่า แม้มืดตื้อมืดมิด ก็มีสิทธิ์เข้าถึงธรรม ถึงแน่นอน ถ้าทำถูกวิธี คือ ต้องสบาย 

 

ใครถนัดแบบไหนทำแบบนั้น

 

ทีนี้ การปฏิบัตินี้ มีอยู่ ๒ สาย คือ

บางคนนึกถึงภาพแล้วสบายใจ ใจรวมง่าย

บางคนนึกถึงภาพแล้วมันตึง มันมึน เกร็งไปหมดทั้งเนื้อทั้งตัว เพราะฉะนั้นใครถนัดแบบไหนก็เอาอย่างนั้น

 

ถนัดในการนึกภาพแล้วสบาย เราก็นึกภาพไป ถ้าหากว่า เราถนัดในการวางเฉยๆ แล้วสบาย เราก็วางใจเฉยๆ จะภาวนา สัมมาอะระหัง เป็นเพื่อนด้วยก็ได้ ภาวนาไป ให้ใจใสๆ ทำอย่างนี้ แค่นี้เท่านั้น เดี๋ยวก็จะสมหวังดังใจ  

 

หยุดนิ่งสำคัญที่สุด


อย่าลืมว่า ศูนย์กลางกายมีเอาไว้เพียงให้รู้จัก ไม่ต้องไปมัวควานหา และวิธีแก้ก็ง่ายคือ ถ้าใครชอบที่จะนึกถึงศูนย์กลางกายอยู่ในตัวแล้วสบาย เราก็นึกถึงศูนย์กลางกายในตัวอย่างง่ายๆ ณ ตำแหน่งที่เรารู้สึกสบาย แล้วหลังจากนั้นก็ไม่ต้องคิดอะไรเลย ทำหยุดทำนิ่งอย่างเดียว

 

หรือบางคน ถ้าเรานึกศูนย์กลางกายในตัวแล้วตึง อดเอาลูกนัยน์ตากดลงไปดูไม่ได้ ก็นึกว่า เราอยู่ในศูนย์กลางกาย คำว่า เรา คือ กายเนื้อ สมมติว่ามันใสเป็นเพชรเป็นองค์พระ เป็นเพชรใสๆ นั่งนิ่งๆ อยู่ในศูนย์กลางกายที่ขยายโตเท่ากับห้อง โตเท่ากับสภา โตไปจนสุดขอบฟ้า อย่างนี้ก็ได้ นั่งไปอย่างสบายๆ

 

ไม่ต้องไปคำนึงถึงความมืดหรือสว่าง ไม่ต้องไปคำนึงถึงว่า เราจะต้องเห็นภาพ ให้คำนึงเรื่องหยุดกับนิ่งเท่านั้นเป็นพอ ถ้าแม้เราไม่เห็นอะไร แต่ใจหยุดนิ่งแล้วสบาย อย่างนี้ดีกว่านึกเห็น แล้วมันกระด้าง ไม่สบาย สู้นั่งนิ่งๆ เงียบๆ อยู่ในความมืดแล้วสบายไม่ได้ ถ้านั่งเงียบ นิ่งๆ อยู่ในความมืดแล้วสบายกว่า นึกภาพ ก็ให้นั่งนิ่งๆ อยู่ในความมืด

 

แต่ถ้าหากว่า อยู่ในกลางภาพ แล้วมันสบาย เราก็นิ่งอยู่กลางภาพ นั่งไปเรื่อยๆ ถูกทั้งสองวิธี ทำไปอย่างสบายๆ ใจเย็นๆ นะลูกนะ เดี๋ยวจะต้องสมหวังดังใจกันทุกคน

 

ค่อยๆ ทำไป อย่าไปคำนึงถึงวันเวลาที่เหลืออยู่ว่า มีปริมาณน้อย เหลืออีกไม่มาก เราจะต้องเร่งรัดทำอย่างเอาจริงเอาจัง ไม่ต้องอย่างนี้นะจ๊ะ นั่งไปเรื่อยๆ มุ่งเรื่องการหยุดกับนิ่งเท่านั้น

 

อย่าไปคำนึงถึงมืดและสว่าง หรือเห็น หรือว่าไม่เห็นก็ตาม เพราะว่า หยุดเป็นตัวสำเร็จ  ถ้าถูกส่วนแล้วเดี๋ยวเห็นเอง  ถ้าถูกส่วนแล้วสิ่งที่เห็นนั่น นุ่มนวล ไม่กระด้าง มันจะนุ่มนวล ละมุนละไม พาใจให้เบิกบาน แล้วก็อยากนั่งกันต่อๆ ไปเรื่อยๆ นั่นแหละเป็นรางวัลสำหรับผู้ที่ทำถูกวิธี แล้วก็มีความเพียร  

 

เพราะฉะนั้น วันนี้จำเอาไว้ว่า หยุดกับนิ่งสำคัญ มืดกับสว่างไม่สำคัญเท่าไร หยุดกับนิ่งเรื่อยไป อย่างสบายๆ เดี๋ยวมืดมันก็สว่าง เดี๋ยวสว่างมันก็สว่างยิ่งขึ้น แต่ใจก็ยังคงต้องรักษาหยุดกับนิ่งไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเห็นภาพ หรือไม่เห็นภาพก็ตาม หยุดกับนิ่งสำคัญ จำไว้นะลูกนะ สำคัญกว่าอื่นใดทั้งหมด ฝึกหยุด ฝึกนิ่ง

 

แล้วมันก็แปลก ยิ่งเราไม่สนใจเรื่องภาพ ภาพมันจะมาหาเรา ยิ่งเราไม่สนใจความสว่าง ความสว่างมันจะมาหาเรา แล้วมาอย่างนุ่มนวลเสียด้วย ชวนให้เราอยากนั่งต่อไปอีก

 

จำนะลูกนะ จำนะ อย่าฟังผ่าน หยุดกับนิ่งสำคัญ แม้ว่ามืดหรือสว่างก็ตาม  ถ้าเราหยุดนิ่งได้ถูกต้อง ถูกส่วน เดี๋ยวจากมืด มันก็จะมาสว่างเอง สว่างแล้วก็จะสว่างเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ภาพที่ไม่เคยเห็นก็จะเห็น เห็นแล้วก็จะไม่ตื่นเต้น จะเฉยๆ กับสิ่งที่เห็น และการเฉยๆ กับสิ่งที่เห็นแล้วไม่ตื่นเต้นนี่แหละ มันจะทำให้เรามีประสบการณ์ใหม่ๆ ได้เห็นสิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ

 

เพราะฉะนั้น หยุดกับนิ่งสำคัญ จำไว้นะลูกนะ ความมืดและสว่างกว่าใดๆ ทั้งหมด แม้เห็นภาพแล้วก็ยังต้องหยุดกับนิ่งอีกนะ แม้เห็นองค์พระแล้วก็ยังหยุดกับนิ่ง เห็นดวงก็หยุดนิ่ง เห็นกายก็หยุดนิ่ง เห็นองค์พระเราก็ยังคงหยุดนิ่ง เห็นองค์พระในองค์พระผุดเกิดขึ้นมา เราก็ยังคงต้องหยุดนิ่งต่อไปอีก

 

ยิ่งหยุดยิ่งนิ่ง ก็จะยิ่งดิ่งไม่หยุด ดิ่งเข้าไปสู่ภายในเรื่อยๆ เดี๋ยวก็ผุดเกิดขึ้นมา องค์พระผุดผ่านขึ้นมา เราก็ต้องหยุดนิ่งเฉยๆ หยุดเรื่อยไปเลย ตั้งแต่ต้นจนปริโยสาน จนถึงจุดหมายปลายทางแหละ หยุดนิ่งอย่างเดียวเป็นตัวสำเร็จ ต่างคนต่างทำกันไปเงียบๆ นะลูกนะ 

 

Add Comment
2545
วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ►  เดือน สิงหาคม (233)
    • ▼  เดือน กรกฎาคม (123)
      • ความเพลินส่วนเกินของชีวิต 481030C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว 481023C รอบสาย
      • โลกุตรธรรม ๙ 481016C รอบสาย
      • พิจารณามี ๒ อย่าง 481009D รอบบ่าย
      • เส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน 481009C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวเรา 480828C รอบสาย
      • ที่มาของพระพุทธรูป 480717C รอบสาย
      • วัตถุประสงค์ของชีวิต 480710C รอบสาย
      • เมื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว 480605D รอบบ่าย
      • เหตุการณ์วันตรัสรู้ 480522C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จในสมัยพุทธกาล 480515D รอบบ่าย
      • อิสรภาพที่แท้จริง 480417D รอบบ่าย
      • กรณียกิจ 480313C รอบสาย
      • สมาธิเหมือนเส้นผมบังภูเขา 480130C รอบสาย
      • ชีวิตในสังสารวัฏมีภัยมาก 480123C รอบสาย
      • HOW TO เข้าถึงธรรม 480116C รอบสาย
      • พุทธภาวะภายในตัว 470711C รอบสาย
      • สมถวิปัสสนา 470516C รอบสาย
      • สติปัฏฐาน ๔ 470620C รอบสาย
      • ป่วยอย่างสง่างาม 470502D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งคืองานที่แท้จริง 490122D รอบบ่าย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน 481211D รอบสาย
      • การเห็นด้วยปัญญา 481225C รอบสาย
      • อานิสงส์การฝึกใจให้หยุดนิ่ง 481211D รอบบ่าย
      • การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 460316C รอบสาย
      • ภาพที่สำคัญของชีวิต 460309C รอบสาย
      • มโณปริธานอันยิ่งใหญ่ 460119D รอบบ่าย
      • จริงต้องได้ 460504D รอบบ่าย
      • ลูกมีบุญที่จะเข้าถึงธรรมได้ 450515F รอบค่ำ
      • ฝึกใจหยุดนิ่งอย่างสบาย 450516F รอบค่ำ
      • งานที่แท้จริง 450306F รอบค่ำ
      • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
      • นึกถึงสิ่งที่คุ้นเคย 450525F รอบค่ำ
      • หยุดนิ่งสำคัญที่สุด 450529F รอบค่ำ
      • ชีวิตเป็นของน้อย 450428C รอบสาย
      • หยุดแค่พริบตาเดียวได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ 450305F รอบค่ำ
      • หลับตื่นในอู่ทะเลบุญ 450510F รอบค่ำ
      • ทางเดินของใจ 7 ฐาน 450613F รอบค่ำ
      • อานุภาพหยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • กิเลสประจำกายและวิธีแก้ 450912F รอบค่ำ
      • ปรับที่ใจใช่ที่ภาพ/แก้กดลูกนัยน์ตา 450615F รอบค่ำ
      • เทคนิควิธีการปฏิบัติธรรม 450528F รอบค่ำ
      • นึกบริกรรมนิมิตด้วยสิ่งที่คุ้นเคย 450524F รอบค่ำ
      • หนีกรรมไม่พ้น 450302F รอบค่ำ
      • แผนผังชีวิต 450514F รอบค่ำ
      • หาตัวกลัวให้เจอ 450629F รอบค่ำ
      • ลูกไก่เจาะกระเปาะไข่ 450518F รอบค่ำ
      • วิธีแก้ กดลูกนัยน์ตา 450607F รอบค่ำ
      • อานิสงส์การเข้าถึงพระรัตนตรัย 451022F รอบค่ำ
      • การตอบประสบการณ์ภายใน 560212D รอบบ่าย
      • ฝึกเป็นผู้ให้ 571205D รอบบ่าย
      • นอกรอบให้หมั่นประคองใจ 571211
      • สิ่งที่แสวงหาอยู่ที่ใจหยุดนิ่ง 451028F รอบค่ำ
      • อโห พุทโธ 451113F รอบค่ำ
      • เจริญมรณานุสติ 451118F รอบค่ำ
      • หวงห่วงแบบอริยะ 451209F รอบค่ำ
      • นึกได้ก็เห็นได้ 460309C รอบสาย
      • ต้องฝึกบ่อยๆ ให้ชำนาญ 460202D รอบบ่าย
      • ชีวิตเป็นของน้อย 460126C รอบสาย
      • นิ่งแล้วต้องขยาย 460101D รอบบ่าย
      • สมบัติที่แท้จริง 451231C รอบสาย
      • วันพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม 451227F รอบค่ำ
      • ฐานที่7ที่เกิดดับหลับตื่น 451222D รอบบ่าย
      • กายสบาย ใจสบาย บุญเก่าก็ได้ช่อง 481221
      • หมั่นทบทวนบุญ 451123F รอบค่ำ
      • บุญคือที่พึ่ง 451119F รอบค่ำ
      • ทำไมเด็กจึงเห็นธรรมะง่าย 521025D รอบบ่าย
      • ในท้องมีพระธรรมกาย 520904C รอบสาย
      • มหัศจรรย์สมาธิ 530314C รอบสาย
      • ภาวิตา พหุลีกตา 550806D รอบบ่าย
      • อวิชชา 550722D รอบบ่าย
      • Set Zero 590304D รอบบ่าย
      • คนเราเกิดมาทำไม/ในตัวเรามีองค์พระ 511207C รอบสาย
      • นิมิตเลื่อนลอยหลุมพรางของพญามาร 451013D รอบบ่าย
      • ธรรมกายเอฟเฟค 430423C รอบสาย
      • นิวรณ์ 5 451010F รอบค่ำ
      • นั่งอย่างมีชีวิตชีวา 450924F รอบค่ำ
      • อย่ากินบุญเก่า 450926F รอบค่ำ
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • หลับในอู่ทะเลบุญ 451004F รอบค่ำ
      • เริ่มต้นจากจุดสบายแล้วจะง่าย 451008
      • ตำแหน่งแห่งความสมปรารถนา 521206D รอบบ่าย
      • คำภาวนา สัมมาอะระหัง 510622C รอบสาย
      • บุญพลังแห่งความสุขและความสำเร็จ 511109D รอบบ่าย
      • อริยมรรคมีองค์๘ 510706C รอบสาย
      • หลักสูตรชีวิต 510203D รอบบ่าย
      • เห็นสิ่งใดฝึกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้น 51...
      • เริ่มต้นจากจุดที่ง่าย 510629D รอบบ่าย
      • จุดเล็กใสที่คล้ายเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร 511005C รอบสาย
      • หยุดนิ่งได้แล้วฝึกขยายย่อ 510615D รอบบ่าย
      • พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมใด 511010C รอบสาย
      • พระคุณของ หลวงปู่ฯพระผู้ปราบมาร 511005D รอบบ่าย
      • นั่งมาตั้งนาน ทำไมยังไม่ได้ผล 481127D รอบบ่าย
      • ต้องสบายทุกขั้นตอน 480821D รอบบ่าย
      • หลักวิชชาใจหยุดนิ่งและอาการตกศูนย์ 481218D รอบบ่าย
      • อุปสรรคและหลักวิชชาในการปฏิบัติธรรม 490604C รอบสาย
      • การปฏิบัติธรรมคือการแสวงหาความพอดี 480626C รอบสาย
      • อย่าท้อ_เฉยในทุกประสบการณ์ 471205D รอบบ่าย
      • วิธีปฏิบัติธรรม 480206D รอบบ่าย
      • ง่ายแต่ลึก 480130D รอบบ่าย
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger