• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2548 การเห็นด้วยปัญญา 481225C รอบสาย

การเห็นด้วยปัญญา 481225C รอบสาย


 

การเห็นด้วยปัญญา

วันอาทิตย์ที่  ๒๕  ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ (๐๙.๐๐ - ๑๑.๐๐ น.)

งานบุญวันอาทิตย์ ณ สภาธรรมกายสากล


ปรับกาย


เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไปตั้งใจให้แน่แน่ว มุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานกันทุกๆ คนนะลูกนะ

 

ให้นั่งขัดสมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ

 

หลับตาของเราเบาๆ พอสบายๆ คล้าย กับตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าไปบีบเปลือกตา อย่ากดลูกนัยน์ตา

 

ปรับใจ

 

แล้วก็ทำใจของเรา ให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น ให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ให้ปลด ให้ปล่อย ให้วาง ทำใจของเราให้ว่างๆ

 

แล้วก็มาสมมติว่า ภายในร่างกายของเรานั้น ปราศจากอวัยวะ สมมติว่า ไม่มีปอด ตับ ม้าม ไต หัวใจ เป็นต้น ให้เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพรง เป็นที่โล่งๆ ว่างๆ กลวงภายใน คล้ายลูกโป่งที่เราอัดลมเข้าไป หรือเป็นท่อแก้ว ท่อเพชรใสๆ

 

วางใจ


คราวนี้เราก็รวมใจของเรา ที่คิดแวบไปแวบมาในเรื่องราวต่างๆ นั้น มารวมหยุดนิ่ง อยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือนะจ๊ะ

 

โดยสมมติว่า เราหยิบเส้นด้ายขึ้นมา ๒ เส้น นำมาขึงให้ตึง จากสะดือทะลุไปด้านหลังเส้นหนึ่ง จากด้านขวาทะลุไปด้านซ้ายอีกเส้นหนึ่ง ให้เส้นด้ายทั้ง ๒ ตัดกันเป็นกากบาท จุดตัดจะเล็กเท่ากับปลายเข็ม ตรงนี้เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ ยกถอยหลังขึ้นมา ๒ นิ้วมือ นั่นแหละ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งจะเป็นที่หยุดใจของเราอย่างถาวร

 

เส้นทางพระอริยเจ้า

 

ฐานที่ ๗ นอกจากเป็นที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่นแล้ว ยังเป็นจุดเริ่มต้นที่จะเดินทางไปสู่อายตนนิพพาน เป็นทางเดินของพระอริยเจ้า ที่เรียกว่า อริยมรรค เป็นเส้นทางแห่งความบริสุทธิ์หมดจด จากสรรพกิเลสทั้งหลาย ที่เรียกว่า วิสุทธิมรรค และก็เป็นทางหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ที่เรียกว่าโลภะ เรียกว่า วิมุตติมรรค พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ก็เริ่มต้นตรงนี้

 

เราต้องศึกษากันเอาไว้ให้ดี สำหรับนักเรียนใหม่ เอาใจมาหยุดอยู่ที่ตรงนี้ แต่ว่าอย่ากังวลเกินไปว่า จะตรงฐานที่ ๗ เป๊ะเลยหรือเปล่า เอาแค่ว่าประมาณตรงนี้ อยู่แถวๆ กลางท้อง อยู่ตรงนี้ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ เอาใจมาหยุดมานิ่งอยู่ที่ตรงนี้

 

พอใจหยุดตรงนี้ ถูกส่วนเข้า เดี๋ยวจะตกศูนย์เข้าไปสู่ภายใน จะมีดวงธรรมลอยเกิดขึ้นมา เป็นดวงกลมใสรอบตัว อย่างเล็กก็ขนาดดวงดาวในอากาศ อย่างกลางก็ขนาดพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ อย่างใหญ่ก็ขนาดพระอาทิตย์ยามเที่ยงวัน ถ้าใหญ่กว่านั้น แล้วแต่บารมีแต่ละคนไม่เท่ากัน หรือขนาดโตเท่ากับฟองไข่แดงของไก่ จะใสบริสุทธิ์อยู่ที่ตรงฐานที่ ๗ ตรงนี้ นี่คือ ความบริสุทธิ์เบื้องต้น

 

พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ท่านเรียกว่า ดวงปฐมมรรค หรือ ดวงธัมมานุปัสนาสติปัฏฐาน เป็นดวงธรรมเบื้องต้น ความบริสุทธิ์เบื้องต้น หรือจุดเริ่มต้นของเส้นทางของพระอริยเจ้า

 

ตามเห็นกายในกาย

 

และเมื่อใจหยุดนิ่งในกลางดวงธรรม ก็จะเห็นภาพไปตามลำดับปรากฏขึ้นมา พร้อมกับความบริสุทธิ์ของใจ ความสุขที่ยิ่งใหญ่ และความรู้ที่แท้จริง จะทำให้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ความทุกข์ทรมาน จะมาพร้อมๆ กัน เห็นไปตามลำดับ เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม

 

เมื่อใจหยุดแล้ว เห็นกายมนุษย์ละเอียดซ้อนอยู่ในกลางกายมนุษย์หยาบ

กายทิพย์ซ้อนอยู่ในกลางกายมนุษย์ละเอียด

กายรูปพรหมซ้อนอยู่ในกลางกายทิพย์

กายอรูปพรหมซ้อนอยู่ในกลางกายรูปพรหม

กายธรรมโคตรภูซ้อนอยู่ในกลางกายอรูปพรหม

กายธรรมพระโสดาบัน หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา ซ้อนอยู่ในกลางกายธรรมโคตรภู

กายธรรมพระสกิทาคามี หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา ซ้อนอยู่ในกลางกายธรรมพระโสดาบัน

กายธรรมพระอนาคามี หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา ซ้อนอยู่ในกลางกายธรรมพระสกิทาคามี

กายธรรมพระอรหัต หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา ซ้อนอยู่ในกลางกายธรรมพระอนาคามี

 

จะซ้อนๆ กันไปอย่างนี้ เรียกว่า กายในกาย คือ กายภายในในกายภายนอก กับกายภายในในกายภายใน ตามเห็นตามดูไปเรื่อยๆ อย่างนี้แหละ เขาเรียกว่า กายากาเยนุปัสนาสติปัฏฐาน ตามเห็นกายในกายเข้าไปอย่างนี้

 

แบ่งกายเป็น ๒ ภาค กายที่อยู่ในภพสาม กับกายนอกภพสาม

 

กายที่อยู่ในภพสาม ก็ตกอยู่ในไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่กายที่แท้จริง ยังไม่มั่นคง ยังไม่เป็นอิสระจากกิเลสอาสวะ

 

กายนอกภพ ตั้งแต่ ธรรมกายโคตรภู กายธรรมพระโสดาบัน กายธรรมพระสกิทาคามี กายธรรมพระอนาคามี และกายธรรมพระอรหัต เป็นกายที่พ้นจากไตรลักษณ์

 

เราจำหลักทฤษฎีเอาไว้ กายจะแบ่งเป็น ๒ ซีก แต่ละกายก็จะมีหยาบละเอียดซ้อนๆ กัน แล้วก็เชื่อมด้วยดวงธรรม เป็นชุดๆ ชุดละ ๖ ดวง ตั้งแต่ ปฐมมรรค ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ จะซ้อนๆ กันอยู่อย่างนี้

 

วิปัสสนาเริ่มต้นที่กายธรรม

 

การเห็นอย่างวิเศษ ที่เราใช้คำว่า วิปัสสนา  วิ แปลว่า วิเศษ แจ้ง ต่าง  ปัสสนา แปลว่า การเห็น  วิปัสสนา แปลว่า เห็นได้อย่างแจ่มแจ้ง วิเศษ แตกต่างจากการเห็นทั่วไป เริ่มต้นตั้งแต่กายธรรมตรงนั้น

 

กายที่ต่ำลงมา ตั้งแต่ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม กายทิพย์ กายมนุษย์หยาบละเอียด ยังไม่วิเศษ ไม่แจ่มแจ้ง ไม่แตกต่าง เพราะเห็นได้ไม่ครบถ้วน ไม่แทงตลอด เนื่องจากไม่มีธรรมจักขุ ไม่มีญาณทัสสนะ มีแต่รู้ด้วยวิญญาณ รู้แจ้งด้วยวิญญาณ

 

วิญญาณ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่า ภูต ผี ปีศาจ แต่แปลว่า ความรู้แจ้ง รู้ด้วย เป็นธาตุรู้วิญญาณธาตุ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะฉะนั้น จึงยังไม่เห็นวิเศษแจ่มแจ้ง ยังไม่เห็นไปตามความจริง ไม่ทะลุ

 

วิปัสสนา เริ่มจากกายธรรมไป เพราะมีธรรมจักขุ เห็นได้ทุกทิศทุกทางในเวลาเดียวกัน ซ้าย ขวา หน้า หลัง ล่าง บน แล้วก็มีญาณทัสนะ ประกอบไปด้วยมรรคมีองค์ ๘ ประชุมรวมกันอยู่พร้อมไปหมด ทั้งหมดนี้เริ่มต้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ด้วยวิธีการหยุดการนิ่งอย่างเดียว จับหลักอย่างนี้ให้ได้

 

บริกรรมนิมิต

 

ทีนี้ก็จะมาถึงวิธีการ ที่ทำให้ใจหยุดนิ่ง จะต้องประกอบไปด้วยบริกรรม ๒ อย่าง คือ บริกรรมนิมิต กับบริกรรมภาวนา

 

บริกรรมนิมิต ก็คือ การสร้างภาพทางใจ ให้เป็นเครื่องหมายที่ยึด ที่เกาะของใจ เพื่อจะได้ไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์ ด้วยความคิดต่างๆ ภายนอก

 

พระเดชพระคุณหลวงปู่ของเรา ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ได้ให้กำหนดเครื่องหมายที่ใส สะอาด บริสุทธิ์ ประดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ไม่มีตำหนิเลย ไม่มีขีดข่วนคล้ายขนแมว โตเท่ากับแก้วตาของเรา ถ้าไม่เคยสังเกตแก้วตา ก็เอาขนาดไหนก็ได้ เป็นเครื่องหมายที่ใส สะอาด บริสุทธิ์ ประดุจเพชร

 

พูดง่ายๆ นึกถึงเพชรสักเม็ดหนึ่ง ขนาดก็แล้วแต่ใจเราชอบ แต่เป็นเพชรที่กลมรอบตัว ไม่ได้เจียรเหลี่ยมเหมือนเพชรทั่วไป ต้องการความใส เป็นภาพดวงใสๆ เพชรใสๆ ใจเราจะได้ผูกพันไว้กับเครื่องหมาย หรือบริกรรมนิมิตนี้

 

เวลาเราเห็นเพชร ใจเราจะพึงพอใจ แล้วก็จะอยู่ได้นาน ชอบที่จะมองดูความสดใสของเพชร ยิ่งในยามต้องแสงเป็นประกายวูบวาบ นั่นแหละท่านกำหนดให้มา นึกให้ต่อเนื่องอย่างสบาย ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ในกลางท้องของตัวเราเอง โดยไม่ต้องใช้ลูกนัยน์ตากดไปดู เหมือนเรากลืนเข้าไปไว้ในท้องอย่างนั้น

 

บริกรรมภาวนา

 

ให้นึกอย่างสบาย ผ่อนคลาย พร้อมกับประคองใจ ให้หยุดนิ่ง ด้วยบริกรรมภาวนา สัมมาอะระหังๆๆ ภาวนาอย่างมีความสุขใจ ให้เสียงคำภาวนาดังออกมาจากในกลางท้องของเราอย่างต่อเนื่อง เหมือนบทสวดมนต์ที่คล่องปากขึ้นใจ โดยไม่ได้ใช้กำลังในการท่องภาวนาไปอย่างสบาย พร้อมกับนึกภาพบริกรรมนิมิต เพชรใสๆ สักเม็ดหนึ่ง กลมรอบตัวเหมือนดวงแก้วกายสิทธิ์ ในกลางท้องของเราอย่างนี้

 

ทำเพียงแค่นี้เท่านั้นแหละ ก็จะถึงจุดๆ หนึ่งที่เราหมดความจำเป็นที่จะใช้บริกรรมภาวนา สัมมาอะระหัง เพราะใจอยากหยุดนิ่งอยู่เฉยๆ ไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ ใจจะหยุดนิ่ง จากภาพเพชรเม็ดนั้น ที่กลมเหมือนดวงแก้ว อยู่ในกลางท้องของเรา ให้ทำอย่างนั้นเรื่อยไป

 

ไม่ต้องย้อนกลับมาภาวนาใหม่ เมื่อใจไม่อยากภาวนา รักษาใจให้นิ่งอยู่ที่ตรงนั้น เรื่อยไปเลย

 

มีอะไรให้ดูก็ดูไป

 

แล้วภายหลังจากนี้ มีอะไรให้ดู เราก็ดูไปเรื่อยๆ อย่างสบายๆ โดยไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น ไม่ต้องไปวิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ ประสบการณ์ภายใน อย่าให้คำถามเกิดขึ้นมาในใจ และไม่ต้องไปแสวงหาคำตอบ เพราะเรากำลังฝึกให้หยุดให้นิ่ง ที่เป็นสิ่งที่เรายังไม่คุ้นเคย ให้นิ่งในกลาง เบาๆ สบาย ผ่อนคลาย นี่คือวัตถุประสงค์ของการฝึกใจให้หยุดให้นิ่ง

 

สำหรับผู้ที่หมดความจำเป็นที่จะใช้บริกรรมทั้งสองแล้ว อยากจะหยุดนิ่งเฉยๆ เพราะว่า ฝึกกันมาทุกวัน ใจก็เริ่มคุ้นเคยกับศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อยากหยุดนิ่งๆ ก็ลัดขั้นตอนมาเลย มานิ่ง นุ่ม เบา สบาย อยู่ภายในกลางกาย นิ่งอย่างนั้นไปเรื่อยๆ

 

สภาวธรรมภายใน

 

แม้ยังไม่มีภาพอะไรให้ดู เป็นความมืดก็ช่าง ให้นิ่งแบบผ่อนคลาย โดยไม่คาดหวังว่าจะเห็นอะไร นิ่งๆ นุ่มๆ ไปเรื่อยๆ เดี๋ยวใจจะถูกส่วนเอง พอถูกส่วน ตัวจะโล่ง ไม่ทึบ โปร่ง เบา ไม่หนัก แล้วก็สบาย ไม่อึดอัด จะเกิดความพึงพอใจกับความรู้สึกชนิดนี้ ก็ให้หยุดกับนิ่งอย่างเดียวไปเรื่อยๆ เดี๋ยวตัวจะขยาย พองโต แล้วก็กลืนไปกับบรรยากาศ เหลือใจหยุดนิ่งอย่างเดียว เหมือนอยู่ในอวกาศโล่งๆ

 

พอถึงตอนนี้ก็อย่าไปกังวลว่า เราจะกำหนดใจไว้ที่ไหน สบายตรงไหนก็เอาตรงนั้นไปก่อน เดี๋ยวมันจะรวมลงไปที่ฐานที่ ๗ เอง แล้วก็นิ่งอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ใช้การหยุดนิ่งอย่างเดียว ตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งเป็นพระอรหันต์ หยุดอย่างเดียวนี่แหละถึ งจะหลุดพ้น

 

พอใจหยุดใจนิ่ง จะดิ่งจะเคลื่อนเข้าไปสู่ภายใน เคลื่อนไปข้างใน บางทีอาการวูบวาบ คล้ายจะวูบลงไป ก็อย่าไปตกใจ หรือมีภาพอะไรปรากฏให้เห็น ก็อย่าไปตื่นเต้น แต่ถ้าอดตื่นเต้นไม่ได้ ก็ปล่อยมันให้ตื่นเต้นสักพักหนึ่ง ต่อไปก็จะคุ้นเคยและชิน แล้วในที่สุดเราก็สามารถวางใจเป็นกลางๆ เป็นอุเบกขาได้ ใจก็จะเป็นหนึ่ง มีอารมณ์เดียว คือ นิ่ง หยุด นิ่ง

 

ปญฺญาย ปสฺสติ เห็นด้วยปัญญา

เมื่อมีภาพให้ดู เราก็ดูเฉยๆ ดูสบายๆ ดูไปเรื่อยๆ ไม่ต้องไปพิจารณาอะไร พิจารณา มีอยู่ ๒ ระดับ ระดับที่ใช้ความคิดในการพินิจพิจารณา กับในระดับการเห็น ที่เราต้องการพินิจพิจารณาในระดับความคิด เพื่อเราต้องการความรู้ แต่จะพิจารณาระดับที่ลึกกว่านั้น เห็นถึงไหน ก็จะรู้ถึงนั่น ขึ้นมาพร้อมๆ กัน ที่เรียกว่า เห็นด้วยปัญญา

 

ปัญญาซึ่งมันเป็นแสงสว่าง สว่างเกิดขึ้นแล้วเห็นภาพ รู้แจ้งไปพร้อมๆ กันว่าอะไร เหมือนเราลืมตาเห็นวัตถุอะไร เช่น เห็นนาฬิกาก็เรียกว่านาฬิกา เห็นต้นไม้ก็เรียกว่าต้นไม้ เห็นดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ก็เรียก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว มีความรู้เกิดขึ้นเลย ไม่ต้องไปคิดว่า เอ๊ะ นี่มันดวงอะไร ทั้งๆ ที่เราเคยเห็นทุกวัน ก็รู้ว่านี่เป็นดวงอาทิตย์ นี่เป็นดวงจันทร์ นี่เป็นดวงดาว

 

การเห็นด้วยปัญญา หรือ ปญฺญาย ปสฺสติ นี้ ชาวโลกไม่ค่อยจะคุ้นเคย ไม่ค่อยเข้าใจ พิจารณาด้วยปัญญานี้ก็จะเข้าใจในระดับหนึ่ง เป็นระดับจินตมยปัญญา แต่ในระดับภาวนามยปัญญา ไม่เข้าใจ เพราะหลับตาทีไร มืดทุกที แต่ถ้าเมื่อไรหลับตาแล้วไม่มืด มันสว่าง ก็จะเข้าใจคำว่า ปญฺญาย ปสฺสติ เห็นด้วยปัญญา มันเป็นอย่างไร

 

ปัญญาเป็นเครื่องเห็น กับรู้ด้วยปัญญา มันต่างกัน เห็นด้วยปัญญามันจะกว้างขวางลึกซึ้ง รู้รอบ รู้ลึก รู้กว้าง รู้ไกล รู้เห็นไปตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นหยุดกับนิ่งนี่แหละ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะต้องฝึกให้ได้

 

เช้านี้อากาศกำลังสดชื่น เย็นสบาย เหมาะสมที่ลูกผู้มีบุญทุกคน จะทำความเพียร ฝึกใจให้หยุดนิ่ง ก็ให้ลูกทุกคนได้ฝึกไปตามหลักวิชชาที่ได้แนะนำมาตั้งแต่เบื้องต้น ขอให้สมหวังดังใจในการเข้าถึงพระธรรมกาย ถึงพระรัตนตรัยในตัว ทุกๆ คน ต่างคนต่างนั่งกันไปเงียบๆ นะจ๊ะ

Add Comment
2548
วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ►  เดือน สิงหาคม (233)
    • ▼  เดือน กรกฎาคม (123)
      • ความเพลินส่วนเกินของชีวิต 481030C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว 481023C รอบสาย
      • โลกุตรธรรม ๙ 481016C รอบสาย
      • พิจารณามี ๒ อย่าง 481009D รอบบ่าย
      • เส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน 481009C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวเรา 480828C รอบสาย
      • ที่มาของพระพุทธรูป 480717C รอบสาย
      • วัตถุประสงค์ของชีวิต 480710C รอบสาย
      • เมื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว 480605D รอบบ่าย
      • เหตุการณ์วันตรัสรู้ 480522C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จในสมัยพุทธกาล 480515D รอบบ่าย
      • อิสรภาพที่แท้จริง 480417D รอบบ่าย
      • กรณียกิจ 480313C รอบสาย
      • สมาธิเหมือนเส้นผมบังภูเขา 480130C รอบสาย
      • ชีวิตในสังสารวัฏมีภัยมาก 480123C รอบสาย
      • HOW TO เข้าถึงธรรม 480116C รอบสาย
      • พุทธภาวะภายในตัว 470711C รอบสาย
      • สมถวิปัสสนา 470516C รอบสาย
      • สติปัฏฐาน ๔ 470620C รอบสาย
      • ป่วยอย่างสง่างาม 470502D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งคืองานที่แท้จริง 490122D รอบบ่าย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน 481211D รอบสาย
      • การเห็นด้วยปัญญา 481225C รอบสาย
      • อานิสงส์การฝึกใจให้หยุดนิ่ง 481211D รอบบ่าย
      • การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 460316C รอบสาย
      • ภาพที่สำคัญของชีวิต 460309C รอบสาย
      • มโณปริธานอันยิ่งใหญ่ 460119D รอบบ่าย
      • จริงต้องได้ 460504D รอบบ่าย
      • ลูกมีบุญที่จะเข้าถึงธรรมได้ 450515F รอบค่ำ
      • ฝึกใจหยุดนิ่งอย่างสบาย 450516F รอบค่ำ
      • งานที่แท้จริง 450306F รอบค่ำ
      • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
      • นึกถึงสิ่งที่คุ้นเคย 450525F รอบค่ำ
      • หยุดนิ่งสำคัญที่สุด 450529F รอบค่ำ
      • ชีวิตเป็นของน้อย 450428C รอบสาย
      • หยุดแค่พริบตาเดียวได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ 450305F รอบค่ำ
      • หลับตื่นในอู่ทะเลบุญ 450510F รอบค่ำ
      • ทางเดินของใจ 7 ฐาน 450613F รอบค่ำ
      • อานุภาพหยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • กิเลสประจำกายและวิธีแก้ 450912F รอบค่ำ
      • ปรับที่ใจใช่ที่ภาพ/แก้กดลูกนัยน์ตา 450615F รอบค่ำ
      • เทคนิควิธีการปฏิบัติธรรม 450528F รอบค่ำ
      • นึกบริกรรมนิมิตด้วยสิ่งที่คุ้นเคย 450524F รอบค่ำ
      • หนีกรรมไม่พ้น 450302F รอบค่ำ
      • แผนผังชีวิต 450514F รอบค่ำ
      • หาตัวกลัวให้เจอ 450629F รอบค่ำ
      • ลูกไก่เจาะกระเปาะไข่ 450518F รอบค่ำ
      • วิธีแก้ กดลูกนัยน์ตา 450607F รอบค่ำ
      • อานิสงส์การเข้าถึงพระรัตนตรัย 451022F รอบค่ำ
      • การตอบประสบการณ์ภายใน 560212D รอบบ่าย
      • ฝึกเป็นผู้ให้ 571205D รอบบ่าย
      • นอกรอบให้หมั่นประคองใจ 571211
      • สิ่งที่แสวงหาอยู่ที่ใจหยุดนิ่ง 451028F รอบค่ำ
      • อโห พุทโธ 451113F รอบค่ำ
      • เจริญมรณานุสติ 451118F รอบค่ำ
      • หวงห่วงแบบอริยะ 451209F รอบค่ำ
      • นึกได้ก็เห็นได้ 460309C รอบสาย
      • ต้องฝึกบ่อยๆ ให้ชำนาญ 460202D รอบบ่าย
      • ชีวิตเป็นของน้อย 460126C รอบสาย
      • นิ่งแล้วต้องขยาย 460101D รอบบ่าย
      • สมบัติที่แท้จริง 451231C รอบสาย
      • วันพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม 451227F รอบค่ำ
      • ฐานที่7ที่เกิดดับหลับตื่น 451222D รอบบ่าย
      • กายสบาย ใจสบาย บุญเก่าก็ได้ช่อง 481221
      • หมั่นทบทวนบุญ 451123F รอบค่ำ
      • บุญคือที่พึ่ง 451119F รอบค่ำ
      • ทำไมเด็กจึงเห็นธรรมะง่าย 521025D รอบบ่าย
      • ในท้องมีพระธรรมกาย 520904C รอบสาย
      • มหัศจรรย์สมาธิ 530314C รอบสาย
      • ภาวิตา พหุลีกตา 550806D รอบบ่าย
      • อวิชชา 550722D รอบบ่าย
      • Set Zero 590304D รอบบ่าย
      • คนเราเกิดมาทำไม/ในตัวเรามีองค์พระ 511207C รอบสาย
      • นิมิตเลื่อนลอยหลุมพรางของพญามาร 451013D รอบบ่าย
      • ธรรมกายเอฟเฟค 430423C รอบสาย
      • นิวรณ์ 5 451010F รอบค่ำ
      • นั่งอย่างมีชีวิตชีวา 450924F รอบค่ำ
      • อย่ากินบุญเก่า 450926F รอบค่ำ
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • หลับในอู่ทะเลบุญ 451004F รอบค่ำ
      • เริ่มต้นจากจุดสบายแล้วจะง่าย 451008
      • ตำแหน่งแห่งความสมปรารถนา 521206D รอบบ่าย
      • คำภาวนา สัมมาอะระหัง 510622C รอบสาย
      • บุญพลังแห่งความสุขและความสำเร็จ 511109D รอบบ่าย
      • อริยมรรคมีองค์๘ 510706C รอบสาย
      • หลักสูตรชีวิต 510203D รอบบ่าย
      • เห็นสิ่งใดฝึกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้น 51...
      • เริ่มต้นจากจุดที่ง่าย 510629D รอบบ่าย
      • จุดเล็กใสที่คล้ายเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร 511005C รอบสาย
      • หยุดนิ่งได้แล้วฝึกขยายย่อ 510615D รอบบ่าย
      • พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมใด 511010C รอบสาย
      • พระคุณของ หลวงปู่ฯพระผู้ปราบมาร 511005D รอบบ่าย
      • นั่งมาตั้งนาน ทำไมยังไม่ได้ผล 481127D รอบบ่าย
      • ต้องสบายทุกขั้นตอน 480821D รอบบ่าย
      • หลักวิชชาใจหยุดนิ่งและอาการตกศูนย์ 481218D รอบบ่าย
      • อุปสรรคและหลักวิชชาในการปฏิบัติธรรม 490604C รอบสาย
      • การปฏิบัติธรรมคือการแสวงหาความพอดี 480626C รอบสาย
      • อย่าท้อ_เฉยในทุกประสบการณ์ 471205D รอบบ่าย
      • วิธีปฏิบัติธรรม 480206D รอบบ่าย
      • ง่ายแต่ลึก 480130D รอบบ่าย
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger