• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2548 เหตุการณ์วันตรัสรู้ 480522C รอบสาย

เหตุการณ์วันตรัสรู้ 480522C รอบสาย



 เหตุการณ์วันตรัสรู้

วันอาทิตย์ที่  ๒๒  พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ( ๐๙.๐๐ - ๑๑.๐๐ น)

สภาธรรมกายสากล  วัดพระธรรมกาย

                                                                     

ปรับกาย

 

เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไปให้ตั้งใจให้แน่แน่ว มุ่งตรงต่อหนทางของพระนิพพานกันทุกๆ คนนะลูกนะ

 

ให้นั่งขัดสมาธิโดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ

 

หลับตาของเราเบาๆ หลับตาค่อนลูก อย่าถึงกับปิดสนิท พอสบายๆ คล้ายๆ กับตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าไปบีบเปลือกตา อย่ากดลูกนัยน์ตา

 

แล้วก็ขยับเนื้อขยับตัวของเราให้ดี ให้มีความรู้สึกว่านั่งสบายๆ จะได้ไม่ปวด ไม่เมื่อย แล้วก็ทำใจของเราให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น ให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคน สัตว์ สิ่งของ หรือเรื่องอะไรก็ตาม

 

ปรับใจ

 

ให้ปลด ให้ปล่อย ให้วาง ทำใจของเราให้ว่างๆ ให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น

 

แล้วก็สมมติว่า ภายในร่างกายของเรานั้นปราศจากอวัยวะ ไม่มีปอด ตับ ม้าม ไต หัวใจ เป็นต้น ไม่มีอวัยวะภายใน เป็นที่โล่งๆ ว่างๆ เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพรง กลวงเหมือนลูกโป่งที่เราอัดลมเข้าไป กลวงภายในคล้ายๆ ท่อแก้ว ท่อเพชรใสๆ


วางใจ

 

แล้วเราก็น้อมใจของเรานั้นมาหยุดนิ่งๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ โดยสมมติว่า เราหยิบเส้นด้ายขึ้นมา ๒ เส้น เรานำมาขึงให้ตึงจากสะดือทะลุไปด้านหลังเส้นหนึ่ง จากด้านขวาทะลุไปด้านซ้ายอีกเส้นหนึ่ง ให้เส้นด้ายทั้งสองตัดกันเป็นกากบาท จุดตัดของเส้นด้ายทั้งสองจะเล็กเท่ากับปลายเข็ม เหนือจุดตัดนี้ขึ้นมา ๒ นิ้วมือ ซึ่งอยู่ประมาณกลางท้องของเรา ตรงนี้เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗

 

ฐานที่ ๗ ที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่น

 

ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งเป็นที่เกิด ที่หลับ และก็ที่ตื่น

 

เวลา มาเกิด กายละเอียดเราจะเข้าปากช่องจมูกของบิดา และไปตามฐานต่างๆ แล้วก็ไปตั้งมั่นอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ของบิดา พอถูกส่วนก็ดึงดูดให้ไปหามารดาเพื่อประกอบธาตุธรรมส่วนหยาบ แล้วก็เคลื่อนจากบิดาจากฐานที่ ๗ ไปออกทางปากช่องจมูก เข้าไปสู่มารดา แล้วก็ไปตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ของมารดา ธาตุหยาบก็ห่อหุ้มแล้วก็หล่อเลี้ยงด้วยธาตุของมารดา เรียกว่า เรามาเกิด

 

เวลา ไปเกิดใหม่ หรือตาย ก็จะต้องเริ่มต้นที่ฐานที่ ๗ ตรงนี้ แล้วก็เคลื่อนย้ายไปฐานต่างๆ ตาม

ฐานที่ ๖ ที่ระดับสะดือ

ฐานที่ ๕ ที่ปากช่องคอเหนือลูกกระเดือก

ฐานที่ ๔ ที่เพดานปากที่อาหารสำลัก

ฐานที่ ๓ ที่กลางกั๊กของศีรษะในระดับเดียวกับหัวตาของเรา

ฐานที่ ๒ ที่หัวตา

ฐานที่ ๑ ก็ออกทางปากช่องจมูก ไปแสวงหาที่เกิดใหม่

ไม่ว่าจะตายแบบไหนก็ตาม ก็จะต้องเป็นอย่างนี้ นี่ก็เป็นที่ดับ

 

เป็นที่หลับ หลับก็ตรงนี้ ใจจะมาอยู่ตรงนี้

ที่ตื่น ก็ตื่นตรงนี้

 

เกิด ดับ หลับ ตื่นอยู่ที่ฐานที่ ๗ นอกจากนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นที่จะไปสู่อายตนนิพพาน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านเริ่มต้นอยู่ที่ตรงนี้ คือ เอาใจมาหยุดนิ่งอยู่ที่ตรงนี้

 

ถ้าจะต้องไปเกิด มาเกิด ก็ต้องเดินออกไปจากฐานที่ ๗, ๖, ๕, ๔, ๓, ๒, ๑ แต่ถ้าจะไม่ไปเกิดแบบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลาย ก็จะต้องเดินในเข้าไป คำว่า เดินในเข้าไป ก็คือ ใจจะต้องมาหยุดนิ่งอยู่ที่ฐานที่ ๗ ใจที่แวบไปแวบมาจะต้องมาหยุดนิ่งๆ อยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ หยุดนิ่งอยู่ตรงนี้

 

ดวงปฐมมรรค

 

พอถูกส่วนก็จะตกศูนย์ไปที่ฐานที่ ๖ แล้วก็จะไปยกดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบลอยขึ้นมาเป็นดวงใสๆ โตเท่ากับฟองไข่แดงของไก่ ใสบริสุทธิ์ ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงปู่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) พระผู้ปราบมาร ท่านเรียกว่า ดวงธัมมานุสปัสนาสติปัฏฐาน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า

 

ดวงปฐมมรรค แปลว่า หนทางเบื้องต้น หรือจุดเริ่มต้นที่จะไปสู่อายตนนิพพาน ไปสู่ความหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย ในเส้นทางของพระอริยเจ้า ที่เรียกว่า อริยมรรค

 

เป็นเส้นทางสายกลางภายใน ที่นอกเหนือจากเส้นทางสายกลางภายนอก จะเป็นดวงใสๆ อย่างนี้ กลมรอบตัวเหมือนดวงแก้วกายสิทธิ์ แต่ว่าใสเกินใส อย่างน้อยก็ใสเหมือนน้ำใสๆ เหมือนกระจกใสๆ บ้าง กระจกคันฉ่องที่ส่องเงาหน้า ใสเหมือนเพชรบ้าง ใสเกินใสใดๆ ทั้งสิ้นที่มีอยู่ในโลกนี้บ้าง แล้วแต่ความละเอียด

 

ขนาดของปฐมมรรคหรือธัมมานุสปัสนาสติปัฏฐาน อย่างเล็กเหมือนดวงดาวในอากาศ อย่างกลางเหมือนพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ อย่างใหญ่เหมือนพระอาทิตย์ยามเที่ยงวัน หรือใหญ่กว่านั้นตามกำลังบารมีจะใสบริสุทธิ์ นั่นคือจุดเริ่มต้นที่จะไปสู่อายตนนิพพาน

 

ถ้าปฏิบัติธรรม คือ เจริญสมาธิภาวนา ยังเข้าถึงดวงปฐมมรรคนี้ไม่ได้ก็ไปนิพพานไม่ถูก แต่ถ้าปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาจะด้วยวิธีการใดก็ตาม เมื่อใจหยุดนิ่งถูกส่วนแล้ว ก็จะต้องเข้าถึงดวงปฐมมรรคดังกล่าวนี้ จึงจะไปสู่อายตนนิพพานนี้ได้ เพราะได้เข้าถึงจุดเริ่มต้น คือ ดวงปฐมมรรค ซึ่งจะเป็นดวงใสๆ อยู่ภายในตรงนี้ จะใสบริสุทธิ์ ที่มาพร้อมกับความสุขที่แท้จริง ความสุขที่ยิ่งใหญ่ ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ มาพร้อมกับความบริสุทธิ์ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งปวง จิตจะตั้งมั่น นิ่ง แน่น มีความสุขมาก

 

เพราะฉะนั้น ใจจะต้องมาตั้งอยู่ตรงนี้เพื่อให้เข้าถึงดวงปฐมมรรค ถ้าเราจะต้องการไม่ให้เกิดอีกต้องทำอย่างนี้ จะไปสวดอ้อนวอนใครก็แล้วแต่เพื่อไม่ให้เกิดนั้นมันเป็นไปไม่ได้ จะไม่เกิดมีเพียงประการเดียว เมื่อเราเบื่อหน่ายความทุกข์ของชีวิต ก็คือต้องช่วยตัวเราเองด้วยการทำใจหยุดนิ่งดังกล่าว ใครก็ทำแทนกันไม่ได้

 

เมื่อได้เข้าถึงดวงปฐมมรรคอย่างนี้แล้วล่ะก็ มั่นใจแน่ว่า เราจะไปสู่อายตนนิพพานได้ เหมือนพระบรมศาสดาที่ได้ตรัสรู้ธรรม ท่านก็เริ่มต้นอย่างนี้ ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ดวงใสๆ ที่ใต้ต้นโพธิ์ ควงไม้พระศรีมหาโพธิ์ ไม่ต้องผ่านขั้นตอนของการเรียนรู้จากครูบาอาจารย์ต่างๆ ที่มีอยู่ในยุคนั้น

 

แม้ว่าจะบำเพ็ญทุกรกิริยาก็ดี หรือประกอบตนให้พัวพันไปด้วยกามสุขก็ดี ก็ผ่านมาทั้งหมด ผ่านมากระทั่งการเจริญสมาธิได้สมาบัติ ๘ แต่ก็เป็นรูปฌานกับอรูปฌานของฤๅษีภายนอก ยังไม่เป็นไปเพื่อการดับทุกข์จึงทิ้งทุกอย่างหมด แล้วก็มาเริ่มหยุดนิ่งอยู่ที่ตรงนี้ โดยระลึกนึกถึงย้อนหลัง เมื่อพระองค์อายุได้ ๗ ชันษา ใต้ต้นหว้าในวันแรกนาขวัญได้ทำใจหยุดนิ่ง แล้วก็เข้าถึงดวงปฐมมรรค

 

ความสุขอันยิ่งใหญ่นั้นพระองค์ไม่มีวันลืมเลือนเลย เพราะฉะนั้นก็นึกย้อนหลังว่า น่าจะเป็นหนทางที่ถูกต้อง เพราะจิตบริสุทธิ์ตั้งมั่น ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนเลย แล้วในที่สุดก็หยุดในหยุดต่อไป หยุดนิ่งไปเรื่อยๆ ไม่ได้ทำอะไรที่นอกเหนือไปจากนี้ แล้วก็ปล่อยชีวิต แล้วด้วย ว่าเนื้อเลือดจะแห้งเหือดหายไปเหลือแต่กระดูกหนังช่างมัน ถ้าไม่พ้นทุกข์ก็จะไม่ลุกจากที่

 

ดวงธรรมภายใน

 

แล้วก็หยุดนิ่งเรื่อยไป หยุดนิ่งตามลำดับ ใจก็เคลื่อนเข้าไปสู่ภายในดวงปฐมมรรค ก็ไปเห็นผังของชีวิตซึ่งมีมาอยู่ดั้งเดิม เป็นของมันอย่างนั้นมาดั้งเดิมแต่ไม่รู้ว่ามี แล้วก็หยุดนิ่งไปเรื่อยๆ ไม่ได้ทำอะไรที่นอกเหนือจากนี้

 

หยุดในกลางดวงปฐมมรรค ก็เข้าถึง ดวงศีล

หยุดในกลางดวงศีล ก็เข้าถึง ดวงสมาธิ

หยุดในกลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึง ดวงปัญญา

หยุดอยู่ในกลางดวงปัญญา ก็เข้าถึง ดวงวิมุตติ

หยุดอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ

 

คือ ดวงธรรมต่างๆ ที่มีลักษณะกลมรอบตัวเหมือนกัน จะผุดผ่านเกิดขึ้นมาตรงกลาง ของดวงเดิม เหมือนจุดศูนย์กลางของดวงขยายออกมาเป็นดวงซ้อนๆ กัน เป็นดวงธรรมต่างๆ ซ้อนกันอยู่ภายใน เป็นเครื่องกลั่นกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ ให้หลุดพ้นจากภาวะหยาบ กิเลสหยาบ ให้ไปถึงกายที่ละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆ

 

กายในกาย

 

ธรรมทั้งหมด ๑ ชุด มี ๖ ดวงนี้ จะเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างกายต่อกาย ซึ่งมีทั้งหมด ๑๘ กาย ซ้อนกันอยู่ภายใน เรียกว่า กายในกาย ให้ตามเห็นกายในกายเข้าไปเรื่อยๆ

 

กายแรกคือ กายมนุษย์หยาบ กายที่ ๒ คือ กายมนุษย์ละเอียด หน้าตาเหมือนตัวเรา ท่านหญิงก็เหมือนกับท่านหญิง ท่านชายก็เหมือนกับท่านชาย บางทีก็เรียกว่า กายฝัน บางทีก็เรียกว่า กายไปเกิดมาเกิด เพราะหน้าเหมือนตัวเรา เป็นแต่เพียงอยู่ในวัยเจริญกว่า สดใส จะนั่งขัดสมาธิ ทำสมาธิอยู่ภายใน

 

ในกลางกายมนุษย์ละเอียดก็จะมี กายทิพย์ ซ้อนอยู่ เป็นกายที่โตขึ้นไปเรื่อยๆ กายทิพย์ ก็จะมีเครื่องประดับ มีทั้งกายทิพย์หยาบ กายทิพย์ละเอียด

 

กายรูปพรหมหยาบ กายรูปพรหมละเอียด ซ้อนอยู่ในกายทิพย์ก็มีเครื่องประดับที่ประณีตติดตัวละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆ

กายอรูปพรหมหยาบ-ละเอียด ก็ซ้อนอยู่ใน กายรูปพรหมหยาบ-ละเอียด มีเครื่องประดับที่ประณีตและสวยงามมาก

 

ในกลางกายอรูปพรหมหยาบ-ละเอียด ก็จะเข้าถึงพระธรรมกายของ กายธรรมโคตรภู หน้าตักหย่อนกว่า ๕ วา นิดหน่อย เป็นกายที่สวยงามกว่ากายอรูปพรหม สวยงามกว่ากายพรหม หรือกายทิพย์ มนุษย์ต่างๆ เพราะประกอบไปด้วยลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ เกตุดอกบัวตูม เหมือนดอกบัวสัตตบงกช ไม่ใหญ่ไม่เล็กตั้งอยู่บนจอมกระหม่อม บนพระเศียรของท่าน ที่มีเส้นพระศก เส้นผมขดเวียนเป็นทักษิณาวรรต ตามเข็มนาฬิกาเรียงรายการเป็นระเบียบ บนพระวารกายที่ประกอบไปด้วยลักษณะมหาบุรุษ

 

กายธรรมโคตรภู เป็นกายผู้รู้ ผู้เห็น ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว มีธรรมจักษุ มีญาณทัสนะ เห็นได้รอบตัวทุกทิศทุกทางในเวลาเดียวกัน แล้วก็รู้ได้รอบตัวด้วยญาณทัสสนะ

 

ในกลางกายธรรมโคตรภูก็จะมี กายธรรมพระโสดาบัน หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา ลักษณะเหมือนกัน ต่างแต่ขนาดและความใสที่บริสุทธิ์ เพราะหลุดพ้นจากกิเลสเพิ่มขึ้น กายก็ขยายใหญ่ขึ้น ๕ วา สูง ๕ วา

 

กลางกายธรรมพระโสดาบัน ก็จะมี กายธรรมพระสกิทาคามี หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา รูปร่างเหมือนกัน ต่างแต่ขนาด และความบริสุทธิ์ที่เพิ่มขึ้น เพราะละกิเลสได้มากขึ้น

 

ในกลางกายธรรมพระสกิทาคามีหรือพระสกทาคามีก็จะมี กายธรรมพระอนาคามี หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา หน้าตาเหมือนกัน ลักษณะเหมือนกัน ต่างแต่ขนาดและความใส ที่ละกิเลสได้เพิ่มขึ้น

 

ในกลางกายธรรมพระอนาคามีก็จะมี กายธรรมพระอรหัต หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา ทั้งหยาบละเอียด หน้าตาลักษณะเหมือนกันกับกายธรรมต่างๆ แต่ต่างกันขนาดและความใสบริสุทธิ์ เพราะหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ

 

กายธรรมอรหัตผล หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา คือ เป้าหมายของชีวิต กายทั้งหมดจะซ้อนกันอยู่ภายใน มีอยู่ในมนุษย์ทุกคนในโลก ในสรรพสัตว์ทั้งปวงในเทวดา พรหม อรูปพรหมมีหมด แต่ว่าไม่รู้ว่ามี

 

เพราะฉะนั้น มีมนุษย์ที่ไหนก็มีพระธรรมกายที่นั่น พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดของตัวเราหรือชาวโลกของสรรพสัตว์ทั้งหลาย

 

พระพุทธศาสนาเริ่มต้นที่ธรรมกาย

 

พระพุทธศาสนาเริ่มต้นที่กายธรรม ตั้งแต่กายธรรมโคตรภูขึ้นไป ถ้าเข้าถึง เรียกว่าเข้าถึง ไตรสรณคมน์ ที่เราได้ยินได้ฟังบ่อยๆ ว่า บรรลุธรรมาพิสมัย ได้เข้าถึงไตรสรณคมน์เท่านั้นเท่านี้

 

คนเป็นพระอริยบุคคล หมายถึง การเข้าถึงพระธรรมกายที่มีอยู่ในตัวของเรา แล้วก็ละกิเลสสังโยชน์ได้ไปตามลำดับ

 

เหตุการณ์วันตรัสรู้

 

พุทธศาสนาเริ่มจากกายธรรม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านก็ได้เข้าถึงอย่างนี้ไปตามลำดับ เข้าถึงกายธรรมในวันวิสาขบูชา

 

ตั้งแต่ปฐมยาม ได้เข้าถึงกายธรรมพระโสดาบัน

ยามสอง ยามสาม วิชชาเกิดขึ้น

ยามสุดท้าย เข้าไปถึงกายธรรมอรหัต หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ เพราะท่านเห็นด้วยธรรมจักษุของพระธรรมกาย และญาณทัสนะ เห็นการถอดเป็นชั้นๆ กระทั่งถึงกายธรรมอรหัตผลก็ได้ดับขันธ์ทั้งหลายได้หมด ขันธ์ที่มีกิเลสห่อหุ้มหลุดหมด เหลือเพียงกายธรรมอรหัตผลกับกายมนุษย์หยาบเท่านั้น นอกนั้นดับไปหมด เมื่อทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท ด้วยกายธรรมอรหัตผล ก็หลุดพ้นไปทั้งหมดเลย

 

เมื่อใครถามว่า ท่านเป็นมนุษย์รึ เทวดารึ อมนุษย์รึ ท่านบอก ไม่ใช่ ตถาคต คือ ธรรมกาย เพราะหลุดหมด ดับไปหมดแล้วในทุกกาย ดับเพราะกิเลสหมดในแต่ละกาย จึงสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษกันไปเลย หมายถึงขันธ์เหล่านั้นไม่สามารถจะดึงดูดให้พระองค์มาบังเกิดขึ้นได้อีก มันดับไปหมดแล้ว รอคอยแต่วันเวลาที่จะเข้าสู่อายตนนิพพาน เมื่อดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบนั้นดับตามไปแล้วก็หมดเวลาของอายุสังขาร เมื่อพญามารเอาโรคภัยไข้เจ็บมาถล่มทลายแล้วก็มาถอดกายหยาบ เพราะฉะนั้นข้างในท่านจะเกลี้ยง จะมีอยู่แค่ ๒ กายเท่านั้น คือ กายธรรมอรหัตผล กับกายมนุษย์หยาบที่ประกอบไปด้วยลักษณะมหาบุรุษ

 

แล้วเมื่อถึงสัปดาห์ที่ ๕ ใต้ต้นอัชชปาลนิโครธ ท่านทบทวน ปฏิจจสมุปบาท ทบทวนธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ บรรลุกลับไปกลับมาจึงได้บรรลุเข้าไปถึงกายธรรมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉัพพรรณรังสีจึงเปล่งสว่างเจิดจ้าขึ้น สว่างไสว

 

นี่จึงไม่ใช่เรื่องธรรมดา เรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ที่มนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหมทั้งหลายไม่อาจเข้าใจได้ เพราะเข้าไม่ถึง เมื่อเข้าถึงกายธรรมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ฉัพพรรณรังสีก็เปล่ง เมื่อทบทวนความรู้ที่ท่านได้รู้ ได้เห็นในวันตรัสรู้ ท่านได้เข้าถึงกายธรรมอรหัตผล

 

วันวิสาขบูชา

 

วันนี้เป็นวันวิสาขบูชา วันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพานในวันเดียวกัน ซึ่งเป็นวันสำคัญที่เราชาวพุทธจะต้องมาระลึกนึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่ท่านประสูติอย่างไร ตรัสรู้อย่างไร ดับขันธปรินิพพานอย่างไร

 

ด้วยการฝึกใจของเราให้มาหยุดมานิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อย่าส่งใจไปที่อื่น ให้ทำความเพียรกันไประลึกทบทวนเรื่องราวของพระองค์ท่าน หรือจะวางใจนิ่งๆ หยุดไปตามที่พระองค์ได้ทำในวันนี้ เมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปี

 

ท่านทำอย่างไร เราทำอย่างนั้น เรียกว่า ปฏิบัติบูชา เป็นการบูชายิ่งกว่าการบูชาใดๆ เพราะเป็นวัตถุประสงค์ที่พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เพื่อปรารถนาที่จะมาสั่งสอนเราและชาวโลก สรรพสัตว์ทั้งปวงให้หลุดพ้น เช่นเดียวกับพระองค์ไปด้วย พระองค์ทำอย่างไรเราก็จะต้องทำอย่างนั้น เมื่อท่านเป็นอย่างไรเราก็จะเป็นอย่างนั้น

 

เพราะฉะนั้น ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพานก็ที่เดียวกัน ที่ฐานที่ ๗ ตรงนี้ ประสูติภายใน ตรัสรู้ ปรินิพพาน บังเกิดขึ้นด้วยธรรมกายก็ตรงฐานที่ ๗ และดับขันธปรินิพพานก็ตรงนี้ เพราะเหลืออยู่ ๒ กายเท่านั้น กายมนุษย์หยาบกับกายอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

ไปถึงคราวจะเข้าอนุปาทิเสสนิพพาน ท่านก็เข้าสมาบัติหยุดในหยุดไปเรื่อยๆ นิ่งเข้าไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถูกส่วนก็ตกศูนย์ดับขันธ์ของกายมนุษย์หยาบ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบมันดับ ก็เข้าสู่อายตนนิพพาน อนุปาทิเสสนิพพาน มีพระธรรมกายไปปรากฏอยู่ตรงนั้น สว่างไสว

 

วันนี้เราก็จะต้องตั้งใจฝึกให้หยุดให้นิ่ง ให้เข้าถึงธรรมเช่นเดียวกับพระองค์ เวลาที่เหลืออยู่นี้ให้ลูกทุกคนประคองใจให้หยุดให้นิ่ง เราจะนึกถึงดวงธรรมใสๆ หรือพระแก้วใสๆ แทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้ นึกอยู่ในกลางท้องของเรา

 

พร้อมกับประคองใจด้วยบริกรรมภาวนา สัมมาอะระหังๆๆ อย่างนี้เรื่อยไป จนกว่าใจจะหยุดจะนิ่ง แล้วจะทิ้งคำภาวนาไปเอง เราก็รักษาใจให้หยุดนิ่งอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าจะถึงเวลาสว่าง ที่เราจะได้ประกอบพิธีถวายภัตตาหารเป็นสังฆทานแด่ภิกษุสามเณร ผู้ประพฤติธรรมกันต่อไป เช้านี้ให้ลูกทุกคนสมหวังดังใจในการเข้าถึงพระธรรมกายในตัวทุกๆ คนนะลูกนะ ต่างคนต่างทำกันไปเงียบๆ นะจ๊ะ

Add Comment
2548
วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ►  เดือน สิงหาคม (233)
    • ▼  เดือน กรกฎาคม (123)
      • ความเพลินส่วนเกินของชีวิต 481030C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว 481023C รอบสาย
      • โลกุตรธรรม ๙ 481016C รอบสาย
      • พิจารณามี ๒ อย่าง 481009D รอบบ่าย
      • เส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน 481009C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวเรา 480828C รอบสาย
      • ที่มาของพระพุทธรูป 480717C รอบสาย
      • วัตถุประสงค์ของชีวิต 480710C รอบสาย
      • เมื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว 480605D รอบบ่าย
      • เหตุการณ์วันตรัสรู้ 480522C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จในสมัยพุทธกาล 480515D รอบบ่าย
      • อิสรภาพที่แท้จริง 480417D รอบบ่าย
      • กรณียกิจ 480313C รอบสาย
      • สมาธิเหมือนเส้นผมบังภูเขา 480130C รอบสาย
      • ชีวิตในสังสารวัฏมีภัยมาก 480123C รอบสาย
      • HOW TO เข้าถึงธรรม 480116C รอบสาย
      • พุทธภาวะภายในตัว 470711C รอบสาย
      • สมถวิปัสสนา 470516C รอบสาย
      • สติปัฏฐาน ๔ 470620C รอบสาย
      • ป่วยอย่างสง่างาม 470502D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งคืองานที่แท้จริง 490122D รอบบ่าย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน 481211D รอบสาย
      • การเห็นด้วยปัญญา 481225C รอบสาย
      • อานิสงส์การฝึกใจให้หยุดนิ่ง 481211D รอบบ่าย
      • การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 460316C รอบสาย
      • ภาพที่สำคัญของชีวิต 460309C รอบสาย
      • มโณปริธานอันยิ่งใหญ่ 460119D รอบบ่าย
      • จริงต้องได้ 460504D รอบบ่าย
      • ลูกมีบุญที่จะเข้าถึงธรรมได้ 450515F รอบค่ำ
      • ฝึกใจหยุดนิ่งอย่างสบาย 450516F รอบค่ำ
      • งานที่แท้จริง 450306F รอบค่ำ
      • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
      • นึกถึงสิ่งที่คุ้นเคย 450525F รอบค่ำ
      • หยุดนิ่งสำคัญที่สุด 450529F รอบค่ำ
      • ชีวิตเป็นของน้อย 450428C รอบสาย
      • หยุดแค่พริบตาเดียวได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ 450305F รอบค่ำ
      • หลับตื่นในอู่ทะเลบุญ 450510F รอบค่ำ
      • ทางเดินของใจ 7 ฐาน 450613F รอบค่ำ
      • อานุภาพหยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • กิเลสประจำกายและวิธีแก้ 450912F รอบค่ำ
      • ปรับที่ใจใช่ที่ภาพ/แก้กดลูกนัยน์ตา 450615F รอบค่ำ
      • เทคนิควิธีการปฏิบัติธรรม 450528F รอบค่ำ
      • นึกบริกรรมนิมิตด้วยสิ่งที่คุ้นเคย 450524F รอบค่ำ
      • หนีกรรมไม่พ้น 450302F รอบค่ำ
      • แผนผังชีวิต 450514F รอบค่ำ
      • หาตัวกลัวให้เจอ 450629F รอบค่ำ
      • ลูกไก่เจาะกระเปาะไข่ 450518F รอบค่ำ
      • วิธีแก้ กดลูกนัยน์ตา 450607F รอบค่ำ
      • อานิสงส์การเข้าถึงพระรัตนตรัย 451022F รอบค่ำ
      • การตอบประสบการณ์ภายใน 560212D รอบบ่าย
      • ฝึกเป็นผู้ให้ 571205D รอบบ่าย
      • นอกรอบให้หมั่นประคองใจ 571211
      • สิ่งที่แสวงหาอยู่ที่ใจหยุดนิ่ง 451028F รอบค่ำ
      • อโห พุทโธ 451113F รอบค่ำ
      • เจริญมรณานุสติ 451118F รอบค่ำ
      • หวงห่วงแบบอริยะ 451209F รอบค่ำ
      • นึกได้ก็เห็นได้ 460309C รอบสาย
      • ต้องฝึกบ่อยๆ ให้ชำนาญ 460202D รอบบ่าย
      • ชีวิตเป็นของน้อย 460126C รอบสาย
      • นิ่งแล้วต้องขยาย 460101D รอบบ่าย
      • สมบัติที่แท้จริง 451231C รอบสาย
      • วันพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม 451227F รอบค่ำ
      • ฐานที่7ที่เกิดดับหลับตื่น 451222D รอบบ่าย
      • กายสบาย ใจสบาย บุญเก่าก็ได้ช่อง 481221
      • หมั่นทบทวนบุญ 451123F รอบค่ำ
      • บุญคือที่พึ่ง 451119F รอบค่ำ
      • ทำไมเด็กจึงเห็นธรรมะง่าย 521025D รอบบ่าย
      • ในท้องมีพระธรรมกาย 520904C รอบสาย
      • มหัศจรรย์สมาธิ 530314C รอบสาย
      • ภาวิตา พหุลีกตา 550806D รอบบ่าย
      • อวิชชา 550722D รอบบ่าย
      • Set Zero 590304D รอบบ่าย
      • คนเราเกิดมาทำไม/ในตัวเรามีองค์พระ 511207C รอบสาย
      • นิมิตเลื่อนลอยหลุมพรางของพญามาร 451013D รอบบ่าย
      • ธรรมกายเอฟเฟค 430423C รอบสาย
      • นิวรณ์ 5 451010F รอบค่ำ
      • นั่งอย่างมีชีวิตชีวา 450924F รอบค่ำ
      • อย่ากินบุญเก่า 450926F รอบค่ำ
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • หลับในอู่ทะเลบุญ 451004F รอบค่ำ
      • เริ่มต้นจากจุดสบายแล้วจะง่าย 451008
      • ตำแหน่งแห่งความสมปรารถนา 521206D รอบบ่าย
      • คำภาวนา สัมมาอะระหัง 510622C รอบสาย
      • บุญพลังแห่งความสุขและความสำเร็จ 511109D รอบบ่าย
      • อริยมรรคมีองค์๘ 510706C รอบสาย
      • หลักสูตรชีวิต 510203D รอบบ่าย
      • เห็นสิ่งใดฝึกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้น 51...
      • เริ่มต้นจากจุดที่ง่าย 510629D รอบบ่าย
      • จุดเล็กใสที่คล้ายเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร 511005C รอบสาย
      • หยุดนิ่งได้แล้วฝึกขยายย่อ 510615D รอบบ่าย
      • พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมใด 511010C รอบสาย
      • พระคุณของ หลวงปู่ฯพระผู้ปราบมาร 511005D รอบบ่าย
      • นั่งมาตั้งนาน ทำไมยังไม่ได้ผล 481127D รอบบ่าย
      • ต้องสบายทุกขั้นตอน 480821D รอบบ่าย
      • หลักวิชชาใจหยุดนิ่งและอาการตกศูนย์ 481218D รอบบ่าย
      • อุปสรรคและหลักวิชชาในการปฏิบัติธรรม 490604C รอบสาย
      • การปฏิบัติธรรมคือการแสวงหาความพอดี 480626C รอบสาย
      • อย่าท้อ_เฉยในทุกประสบการณ์ 471205D รอบบ่าย
      • วิธีปฏิบัติธรรม 480206D รอบบ่าย
      • ง่ายแต่ลึก 480130D รอบบ่าย
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger