• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2551 ง่ายแต่ลึก2 เห็นสิ่งใดฝึกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้น 510622D รอบบ่าย

เห็นสิ่งใดฝึกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้น 510622D รอบบ่าย

ต้องมองจึ่งเห็นไซร้       ในใจ

หมั่นหยุดมองเรื่อยไป    สิ่งนั้น

มองพระเห็นพระใส       ผุดผ่าน

เชื่อพ่ออย่าดื้อรั้น          อย่างนี้เห็นใส

ตะวันธรรม

 



เห็นสิ่งใดฝึกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้น

วันอาทิตย์ที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑


Link ไฟล์เสียงนำนั่งสมาธิใน youtube

ง่ายแต่ลึก​ 2 |EP.20| : เห็นสิ่งใดฝึกให้เป็นอันเดียวกับสิ่งนั้น

 

ใครที่เข้าถึงดวงธรรมภายในแล้ว ก็แตะใจไปเบาๆ นิ่งๆ นุ่มๆ เบาๆ สบายๆ เดี๋ยวดวงธรรมนั้นจะขยายใหญ่ขึ้นแล้วก็จะมีดวงใหม่ผุดซ้อนขึ้นมาเรื่อยๆ ถ้าใครเข้าถึงองค์พระก็แตะใจเบาๆ ไปที่กลางองค์พระ ทำใจนิ่งๆ นุ่มๆ เบาๆสบายๆ พอถูกส่วนเดี๋ยวองค์พระก็จะขยายใหญ่ขึ้นใสบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น เราก็นิ่งอยู่ในกลางนะ แล้วจะมีองค์ใหม่ผุดซ้อนๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ เอง เกิดขึ้นมาเอง มาพร้อมกับความสุขและความบริสุทธิ์ของใจเรา

 

ให้หยุดในหยุด นิ่งในนิ่ง ใครทำดวงได้ใสแล้ว ก็พยายามฝึกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งที่เราเห็น เห็นดวงก็ต้องฝึกให้นิ่งสนิทจนกระทั่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับดวงธรรม เห็นกายไหนก็ฝึกหยุดฝึกนิ่ง จนกระทั่งเข้าไปเป็นหนึ่งเดียวกับกายนั้น เห็นกายธรรมองค์พระเกตุดอกบัวตูมใสๆ เราก็ฝึกหยุดนิ่ง อย่างเบาๆ สบายๆ พอถูกส่วนก็จะไปเป็นหนึ่งเดียวกับองค์พระนั้น

 

เห็นสิ่งใดต้องฝึกให้ไปเป็นสิ่งนั้นให้ได้ เป็นสิ่งเดียวกันด้วยวิธีหยุดกับนิ่งอย่างเบาๆ สบายๆ ฝึกทำซ้ำๆ ทุกวัน อย่างสม่ำเสมอ ใจก็จะค่อยๆ สั่งสมความละเอียด ความบริสุทธิ์สั่งสมสมาธิเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งสักวันหนึ่งใจของเราจะนิ่งแน่น คือ ความนิ่งจะแน่นเข้าไปเรื่อยๆ คือนิ่งแล้วก็มีในนิ่งเข้าไปอีก นิ่งในนิ่งเข้าไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมันหนาแน่น คือนิ่งอย่างเดียวจนไม่เขยื้อน ไม่เคลื่อนจากกลางเลย

 

ยิ่งนิ่ง ยิ่งแน่น ยิ่งแน่น ยิ่งโปร่ง เบา สบาย มีความสุข แล้วจิตก็จะนุ่มนวล คือมันละเอียดอ่อน ประณีต เราจะน้อมนึกอย่างไรก็จะเป็นอย่างนั้น เช่น จะนึกให้ดวงที่เราเข้าถึงนั้นขยายใหญ่ก็จะใหญ่ตามได้ นึกย่อให้เล็กลงก็จะเล็กนิดหนึ่ง เท่ากับปลายเข็มได้ หรือจะนึกให้องค์พระขยาย องค์พระจะขยายได้ถ้านึกให้ย่อ องค์พระก็จะย่อเหลือนิดหนึ่ง เท่ากับปลายเข็ม แต่ก็เห็นเส้นผมของท่านชัดเจน เห็นรายละเอียดได้ ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ เพระว่าเล็กเท่ากับปลายเข็ม แต่เห็นทุกอย่างเหมือนกับเห็นองค์ใหญ่ๆ อย่างนั้นแหละ

 

เราก็ฝึกทำซ้ำๆ ขยายแล้วก็ย่อ ขยาย ย่อ ทำอย่างนี้จนกว่าดวงหรือองค์พระที่ขยายแล้วเราขยายตามไปด้วย เพราะเราเป็นหนึ่งเดียวกับดวงใสๆ หรือองค์พระใสๆ หรือท่านย่อลงมาเราก็ย่อลงมาด้วย ฝึกอย่างนี้ซ้ำๆ ทำซ้ำๆ ให้ชำนาญ ถ้าใจนิ่งแน่นนุ่มนวลก็จะควรแก่การงานที่เราจะน้อมใจให้เป็นดังกล่าวได้อย่างง่ายๆ สบายๆ

 

แต่ถ้าเกิดวันไหนเราพยายามทำอย่างนี้แล้ว มันไม่ง่ายเหมือนวันก่อนๆ ที่ผ่านมา คือมันอดจะเค้นภาพไม่ได้ หรือไปบีบบังคับไม่ได้ อดกดดันตัวเองไม่ได้ เราก็จะต้องทิ้งภาพนั้นทิ้งความรู้สึกนั้นไปเลย แล้วก็หันกลับมาเริ่มต้นใหม่ ในสิ่งที่เรานึกได้ง่ายที่สุด สบายที่สุด มีความสุขที่สุด พึงพอใจที่สุดในการที่จะทำอย่างนั้น อย่างนั้นไปก่อนนะ แล้วก็ทิ้งสิ่งที่เรากดดันออกไปเลย ลืมไปเลย แล้วก็มาเริ่มต้นใหม่อย่างง่ายๆ หาจุดที่สบาย

 

เช่น สมมติเราทิ้งดวง หรือองค์พระที่เราพยายามจะเข้ากลางแบบดันๆ แหวกๆ แล้วไม่เข้า แถมเหมือนยิ่งแคบลงไปแล้วก็อึดอัด ไม่มีความสุข เราก็ทิ้งไป ถ้าเรายังนึกดวงเดิมไม่ได้องค์พระเดิมไม่ได้ เราก็นึกทบทวนว่า เราจะนึกอะไรที่ง่ายที่สุด เช่น นึกถึงมหาปูชนียาจารย์ นึกถึงพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ก่อนอย่างนี้ก็ได้นะ หรือนึกถึงคุณยายอาจารย์ฯ แล้วเราสบายใจ เราก็มานึกในองค์ท่าน จะทั้งองค์หรือบางส่วนของท่าน แล้วแต่เราสบายใจ เราก็เริ่มตรงนั้นใหม่ไปก่อน เพื่อให้ใจไปสู่จุดที่ทำให้เกิดอารมณ์สบาย

 

สมาธินั้นต้องสบาย ง่ายที่สุด สบายที่สุดจึงจะถูกหลักวิชชา เราก็ฝึกกันมาอย่างนี้ ทำทุกวัน ให้สม่ำเสมอ ทำซ้ำๆ ตอกย้ำซ้ำเดิมไป เหมือนตอกตะปูเพื่อให้ใจมั่นคง ถูกตรึงติดแน่นกับศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อย่างนั้นแหละ ซึ่งเป้าหมายของเราจะต้องครอบครองศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ให้ได้ เพราะว่าเราห่างเหิน เราส่งใจออกไปสู่ภายนอกในเรื่องราวต่างๆ มานานแล้ว

 

เราจะต้องฝึกตอกย้ำนำใจกลับสู่ที่ตั้งดั้งเดิมในตำแหน่งที่ถูกต้อง เพราะเป็นตำแหน่งแห่งความบริสุทธิ์ ความสุข ปัญญาอันเลิศ ความรอบรู้ไม่มีประมาณ อานุภาพที่เรานึกไม่ถึง ต้องนำใจให้กลับมาสู่ตรงนี้ทุกวัน ทั้งวัน ควบคู่กับภารกิจประจำวันอย่างสบายๆ ใจของเราจะได้ใสๆ ละเอียดอ่อน นิ่งแน่นนุ่มนวลควรแก่การงาน

 

ถ้าเราทำชั้นอนุบาลตรงนี้ได้ การศึกษาธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ลึกซึ้งอีกเยอะแยะก็ง่ายแล้วล่ะ มันก็อยู่ในกำมือของเรา สำคัญที่เราฝึกตรงนี้ ต้องมีฉันทะ มีความสนุกเบิกบาน กับการฝึกใจหยุดนิ่งควบคู่กับชีวิตประจำวัน ให้มีฉันทะตรงนี้ โดยเห็นประโยชน์ของการทำเช่นนี้ ที่จะนำความสุข ความบริสุทธิ์ ความรู้แจ้ง อานุภาพต่างๆ มาสู่ตัวเราเป็นการพัฒนาชีวิตของเราให้มีคุณภาพสูงส่งขึ้น บริสุทธิ์ขึ้น

 

เราเห็นประโยชน์อย่างนี้ เป็นต้น ฉันทะก็จะเกิด พึงพอใจสมัครใจ อยากจะทำสมาธิ แล้วความเพียรก็จะมาเองโดยไม่มีความรู้สึกว่า จำใจต้องขยัน จำใจต้องนั่ง จำใจต้องพยายามทำสมาธิ มันจะเป็นไปอย่างกลมกลืนเป็นอัตโนมัติ เหมือนเราอาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน เป็นกิจวัตรประจำวัน โดยไม่มีใครมาบังคับให้เราทำ

 

แล้วการจดจ่อก็จะต่อเนื่องกันไปกับความขยันที่สมัครใจทำ มันจะจดจ่อใจแตะตรงกลาง ก็จะหมั่นสังเกตตัวเองว่า ทำอย่างไรใจถึงจะหยุดนิ่ง จะละเอียด จะเกิดขึ้นเองเป็นอัตโนมัติว่าทำอย่างไรใจถึงไม่ละเอียด เพราะเหตุใดใจไม่ละเอียด ทำอย่างไรใจจะละเอียด มันก็จะวนเวียนอยู่อย่างนี้ แล้วความสำเร็จก็จะเกิดขึ้นกับเรา นี่เป็นเรื่องดี เรื่องสำคัญที่เราจะต้องศึกษาฝึกฝนสั่งสอนตัวเองอยู่เสมอ

 

อย่าลืม! การเข้าถึงพระธรรมกายในตัว ต้องง่าย ต้องสบายที่สุด มีความสุขที่สุด บริสุทธิ์ที่สุด ง่ายที่สุด ถ้ายากแล้วไม่ใช่ ต้องง่าย สบายบริสุทธิ์ มีความสุข นี่คือข้อสังเกต แล้วพอใจบริสุทธิ์แล้ว มันก็ไม่ได้คิดหวังอยากได้อย่างอื่นจะเป็นคำยกย่องชื่นชม อยากเด่น อยากดังลาภสักการะอะไร มันจะรู้สึกเฉยๆ ใจจะนิ่งเบิกบานอยู่ภายใน กลับกลายเป็นผู้ที่อยากเป็นผู้ให้มากกว่า ส่วนการได้รับก็จะได้รับแบบมีเหตุมีผล แบบบุญบันดาล จะได้อย่างง่ายๆ สบายๆเมื่อได้อริยทรัพย์ภายใน โลกียทรัพย์มันก็ง่ายตามอย่าว่าแต่โลกียทรัพย์ หรือมนุษย์สมบัติ ตอนเราเป็นมนุษย์อยู่เลย แม้แต่ทิพยสมบัติ เมื่อเราละจากโลกนี้ไปแล้วก็จะได้อย่างง่ายๆ เกินควรเกินคาด ประณีต ละเอียดอ่อน

 

เวลาที่เหลืออยู่นี้ เราก็ฝึกหยุดกับนิ่ง ต่างคนต่างนั่งกันไปเงียบๆ นะ

 

หลวงพ่อธัมมชโย

  

Add Comment
2551, ง่ายแต่ลึก2
วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ►  เดือน สิงหาคม (233)
    • ▼  เดือน กรกฎาคม (123)
      • ความเพลินส่วนเกินของชีวิต 481030C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว 481023C รอบสาย
      • โลกุตรธรรม ๙ 481016C รอบสาย
      • พิจารณามี ๒ อย่าง 481009D รอบบ่าย
      • เส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน 481009C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวเรา 480828C รอบสาย
      • ที่มาของพระพุทธรูป 480717C รอบสาย
      • วัตถุประสงค์ของชีวิต 480710C รอบสาย
      • เมื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว 480605D รอบบ่าย
      • เหตุการณ์วันตรัสรู้ 480522C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จในสมัยพุทธกาล 480515D รอบบ่าย
      • อิสรภาพที่แท้จริง 480417D รอบบ่าย
      • กรณียกิจ 480313C รอบสาย
      • สมาธิเหมือนเส้นผมบังภูเขา 480130C รอบสาย
      • ชีวิตในสังสารวัฏมีภัยมาก 480123C รอบสาย
      • HOW TO เข้าถึงธรรม 480116C รอบสาย
      • พุทธภาวะภายในตัว 470711C รอบสาย
      • สมถวิปัสสนา 470516C รอบสาย
      • สติปัฏฐาน ๔ 470620C รอบสาย
      • ป่วยอย่างสง่างาม 470502D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งคืองานที่แท้จริง 490122D รอบบ่าย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน 481211D รอบสาย
      • การเห็นด้วยปัญญา 481225C รอบสาย
      • อานิสงส์การฝึกใจให้หยุดนิ่ง 481211D รอบบ่าย
      • การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 460316C รอบสาย
      • ภาพที่สำคัญของชีวิต 460309C รอบสาย
      • มโณปริธานอันยิ่งใหญ่ 460119D รอบบ่าย
      • จริงต้องได้ 460504D รอบบ่าย
      • ลูกมีบุญที่จะเข้าถึงธรรมได้ 450515F รอบค่ำ
      • ฝึกใจหยุดนิ่งอย่างสบาย 450516F รอบค่ำ
      • งานที่แท้จริง 450306F รอบค่ำ
      • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
      • นึกถึงสิ่งที่คุ้นเคย 450525F รอบค่ำ
      • หยุดนิ่งสำคัญที่สุด 450529F รอบค่ำ
      • ชีวิตเป็นของน้อย 450428C รอบสาย
      • หยุดแค่พริบตาเดียวได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ 450305F รอบค่ำ
      • หลับตื่นในอู่ทะเลบุญ 450510F รอบค่ำ
      • ทางเดินของใจ 7 ฐาน 450613F รอบค่ำ
      • อานุภาพหยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • กิเลสประจำกายและวิธีแก้ 450912F รอบค่ำ
      • ปรับที่ใจใช่ที่ภาพ/แก้กดลูกนัยน์ตา 450615F รอบค่ำ
      • เทคนิควิธีการปฏิบัติธรรม 450528F รอบค่ำ
      • นึกบริกรรมนิมิตด้วยสิ่งที่คุ้นเคย 450524F รอบค่ำ
      • หนีกรรมไม่พ้น 450302F รอบค่ำ
      • แผนผังชีวิต 450514F รอบค่ำ
      • หาตัวกลัวให้เจอ 450629F รอบค่ำ
      • ลูกไก่เจาะกระเปาะไข่ 450518F รอบค่ำ
      • วิธีแก้ กดลูกนัยน์ตา 450607F รอบค่ำ
      • อานิสงส์การเข้าถึงพระรัตนตรัย 451022F รอบค่ำ
      • การตอบประสบการณ์ภายใน 560212D รอบบ่าย
      • ฝึกเป็นผู้ให้ 571205D รอบบ่าย
      • นอกรอบให้หมั่นประคองใจ 571211
      • สิ่งที่แสวงหาอยู่ที่ใจหยุดนิ่ง 451028F รอบค่ำ
      • อโห พุทโธ 451113F รอบค่ำ
      • เจริญมรณานุสติ 451118F รอบค่ำ
      • หวงห่วงแบบอริยะ 451209F รอบค่ำ
      • นึกได้ก็เห็นได้ 460309C รอบสาย
      • ต้องฝึกบ่อยๆ ให้ชำนาญ 460202D รอบบ่าย
      • ชีวิตเป็นของน้อย 460126C รอบสาย
      • นิ่งแล้วต้องขยาย 460101D รอบบ่าย
      • สมบัติที่แท้จริง 451231C รอบสาย
      • วันพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม 451227F รอบค่ำ
      • ฐานที่7ที่เกิดดับหลับตื่น 451222D รอบบ่าย
      • กายสบาย ใจสบาย บุญเก่าก็ได้ช่อง 481221
      • หมั่นทบทวนบุญ 451123F รอบค่ำ
      • บุญคือที่พึ่ง 451119F รอบค่ำ
      • ทำไมเด็กจึงเห็นธรรมะง่าย 521025D รอบบ่าย
      • ในท้องมีพระธรรมกาย 520904C รอบสาย
      • มหัศจรรย์สมาธิ 530314C รอบสาย
      • ภาวิตา พหุลีกตา 550806D รอบบ่าย
      • อวิชชา 550722D รอบบ่าย
      • Set Zero 590304D รอบบ่าย
      • คนเราเกิดมาทำไม/ในตัวเรามีองค์พระ 511207C รอบสาย
      • นิมิตเลื่อนลอยหลุมพรางของพญามาร 451013D รอบบ่าย
      • ธรรมกายเอฟเฟค 430423C รอบสาย
      • นิวรณ์ 5 451010F รอบค่ำ
      • นั่งอย่างมีชีวิตชีวา 450924F รอบค่ำ
      • อย่ากินบุญเก่า 450926F รอบค่ำ
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • หลับในอู่ทะเลบุญ 451004F รอบค่ำ
      • เริ่มต้นจากจุดสบายแล้วจะง่าย 451008
      • ตำแหน่งแห่งความสมปรารถนา 521206D รอบบ่าย
      • คำภาวนา สัมมาอะระหัง 510622C รอบสาย
      • บุญพลังแห่งความสุขและความสำเร็จ 511109D รอบบ่าย
      • อริยมรรคมีองค์๘ 510706C รอบสาย
      • หลักสูตรชีวิต 510203D รอบบ่าย
      • เห็นสิ่งใดฝึกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้น 51...
      • เริ่มต้นจากจุดที่ง่าย 510629D รอบบ่าย
      • จุดเล็กใสที่คล้ายเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร 511005C รอบสาย
      • หยุดนิ่งได้แล้วฝึกขยายย่อ 510615D รอบบ่าย
      • พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมใด 511010C รอบสาย
      • พระคุณของ หลวงปู่ฯพระผู้ปราบมาร 511005D รอบบ่าย
      • นั่งมาตั้งนาน ทำไมยังไม่ได้ผล 481127D รอบบ่าย
      • ต้องสบายทุกขั้นตอน 480821D รอบบ่าย
      • หลักวิชชาใจหยุดนิ่งและอาการตกศูนย์ 481218D รอบบ่าย
      • อุปสรรคและหลักวิชชาในการปฏิบัติธรรม 490604C รอบสาย
      • การปฏิบัติธรรมคือการแสวงหาความพอดี 480626C รอบสาย
      • อย่าท้อ_เฉยในทุกประสบการณ์ 471205D รอบบ่าย
      • วิธีปฏิบัติธรรม 480206D รอบบ่าย
      • ง่ายแต่ลึก 480130D รอบบ่าย
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger