• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2546 ง่ายแต่ลึก2 นิ่งแล้วต้องขยาย 460101D รอบบ่าย

นิ่งแล้วต้องขยาย 460101D รอบบ่าย

 

ทำถูกแล้วนิ่งไว้             กลางดวง

เฉยต่อสิ่งทั้งปวง             อย่างนั้น

ตรงกลางจักค่อยกลวง    ทะลุโล่ง

พระผุดเป็นชุดชั้น           หลายชั้นเป็นตอนตอน

ตะวันธรรม


 

นิ่งแล้วต้องขยาย

วันพุธที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๖

 

Link ไฟล์เสียงนำนั่งสมาธิใน youtube

ง่ายแต่ลึก​ 2 |EP.21| : นิ่งแล้วต้องขยาย


(เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้วต่อจากนี้ไปตั้งใจเจริญสมาธิภาวนากันนะ........)

 

...ทำใจให้ใสๆ นะ หลับตาเบาๆ พอสบายๆ หลับตาสักค่อนลูก คล้ายๆ กับตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าไปบีบเปลือกตาอย่ากดลูกนัยน์ตา

 

หลับตาเป็นจะเห็นภาพภายใน


อย่ากดลูกนัยน์ตานะ ต้องจำตรงนี้เอาไว้ให้ดี เดี๋ยวเวลาปฏิบัติจริงๆ แล้วมันลืม หลับพอสบายๆ ถ้าหลับตาเป็นเดี๋ยวเราจะเห็นภาพภายใน เห็นแสงสว่าง เห็นสิ่งที่มีอยู่จริง เพราะฉะนั้นหลับตาให้เป็น แล้วก็ทำใจให้เบิกบาน แช่มชื่น ให้สะอาดบริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม

 

ให้ปลด ปล่อย วาง ทำใจให้ว่างๆ แล้วก็สมมติว่า ภายในร่างกายของเรานั้นปราศจากอวัยวะ ไม่มีปอด ตับ ม้าม ไตหัวใจ เป็นต้น สมมติให้เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพรง เป็นที่โล่งๆ ว่างๆ กลวงภายใน คล้ายๆ ท่อแก้ว ท่อเพชรใสๆทำไปตามขั้นตอนอย่างนี้นะ

 

แล้วก็นึกว่า ร่างกายของเราขยายไปเรื่อยๆ ทำความรู้สึกก็ได้ รู้สึกว่าร่างกายของเราพองโตขยายไปจนสุดขอบฟ้าไปเลยทำบ่อยๆ จะมีความรู้สึกอย่างนี้จริงๆ ภายในศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ของเรา มีแต่ดวงใสๆ กลมรอบตัว เหมือนดวงแก้วกายสิทธิ์ ใสบริสุทธิ์ประดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ไม่มีตำหนิไม่มีขีดข่วนคล้ายขนแมว มีแต่ความใส ความบริสุทธิ์ ใสเหมือนเพชร แล้วก็สว่างเจิดจ้าเหมือนดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวัน แต่ว่าแสงนั้นไม่เคืองตา นุ่มเนียน ละมุนละไม เหมือนแสงจันทร์ในคืนวันเพ็ญ ทำความรู้สึกอย่างนี้ไปก่อนนะ แต่สำหรับผู้ที่ใจยังไม่ละเอียดก็ค่อยๆ ทำไป

 

หรือจะนึกถึงองค์พระใสๆ ใสเป็นเพชรนะ ให้เจิดจ้าเหมือนเพชรต้องแสงเกตุดอกบัวตูม เหมือนดอกบัวสัตตบงกชที่มีลักษณะป้อมๆ ขนาดกำลังพอดี ตั้งอยู่บนจอมกระหม่อมบนพระเศียรที่มีเส้นพระศกหรือเส้นผมขดเวียนเป็นทักษิณาวรรตหมุนขวาตามเข็มนาฬิกา เรียงรายอย่างมีระเบียบ ใสบริสุทธิ์ประดุจเพชรเหมือนกัน

 

เราก็มองลงไป จะเห็นบ่าทั้งสอง หัวไหล่ ต้นแขน ไล่ไปถึงข้อมือถึงฝ่ามือที่หงาย นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักขององค์พระที่ใสบริสุทธิ์ ในท่าขัดสมาธิขาขวาทับขาซ้าย เมื่อเรานึกถึงท่านซึ่งเป็นตัวแทนของพุทธรัตนะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ถ้าดวงใสๆ ก็แทนธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ เราจะนึกถึงพระเดชพระคุณหลวงปู่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายก็ได้ให้เรามองดู อย่างไหนเหมาะกับเรา คือนึกแล้วง่าย เราก็เอาอย่างนั้น

 

ทำให้มันง่าย มันก็จะง่าย

 

เราจะเห็นว่า การทำสมาธิไม่ได้ยากอะไรเลย เป็นเรื่องง่ายๆ สบายๆ แล้วก็ปลอดภัย เรียบง่าย สบาย ปลอดภัยไม่มีพิษมีภัยจากการทำสมาธิ เหมือนพระเดชพระคุณหลวงปู่ที่อยู่ในโพรงต้นโพธิ์ ท่านก็ยืนยันว่า การทำใจให้เกิดสมาธิ ให้ใจตั้งมั่น มันไม่ได้ยากอย่างที่คิด สามารถทำได้กันทุกคน ขอให้เข้าใจหลักวิชชา เรียบง่าย สบาย ปลอดภัย ถ้าเราทำให้มันง่าย มันก็จะง่าย

 

ตอนนี้เรานึกถึงดวงหรือองค์พระก็ได้ ในช่วงที่เราจะกลั่นจิตกลั่นใจของเราให้ใสๆ เพื่อให้ใจของเราเหมาะสมที่จะเป็นภาชนะรองรับบุญใหญ่ก็ดี รองรับพระของขวัญก็ดี หรือจะไปดึงดูดเชื่อมโยงกับบุญเก่าก็ดีใจต้องใส ต้องหยุด ต้องนิ่ง อย่างสบายๆถ้าเราฝึกตรงนี้ได้ ไม่ช้าเราก็จะเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว แล้วเราก็จะได้มีโอกาสศึกษาวิชชาธรรมกาย ซึ่งเป็นความรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

และหลังจากนั้นเราก็มีอุปกรณ์ในการที่จะไปศึกษาค้นคว้าความรู้ที่มีบันทึกอยู่ในพระไตรปิฎก จะเป็นเรื่องกฎแห่งกรรมก็ดีเรื่องอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือสุคติโลกสวรรค์อะไรต่างๆเหล่านั้น มันก็อยู่ในวิสัยที่เราจะไปศึกษาได้

 

สำคัญฝึกตรงนี้ให้ได้กันเสียก่อน ให้หยุดนิ่งต้องฝึกกันทุกวัน ถึงขั้นหลงใหลนั่นล่ะ เหมือนเรารักสิ่งใด อยากจะได้สิ่งนั้นมากๆ ต้องถึงขั้นหลงใหล ถ้าไม่ได้ยอมตาย ต้องอย่างนั้น การปฏิบัติธรรมถึงจะก้าวหน้า เดี๋ยวสิ่งที่ยากก็จะง่ายสิ่งที่ง่ายอยู่แล้วก็ยิ่งเปิดเผยความจริงออกมาแล้วในที่สุดก็เข้าถึงได้

 

ตอนนี้เราหยุดใจนิ่งๆ อยู่ในกลางดวงใสๆ หรือหยุดในกลางองค์พระใสๆ ให้ใสเหมือนกับเพชร หรือเหมือนดวงดาวในอากาศ ที่เรามองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือดวงจันทร์ในคืนวันเพ็ญ หรือดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวัน ตรึกนึกถึงดวงใสบริสุทธิ์กลมรอบตัวเหมือนดวงแก้วกายสิทธิ์ ทำความรู้สึกอย่างนี้นะ

 

ทำให้ใจคลอเคลีย

 

ให้ใจคลอเคลียอยู่กับความใสของดวงใสๆ หรือองค์พระใสๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเวลาเรานึกก็ต้องนึกเบาๆค่อยๆ นึก อย่าไปใช้กำลังในการนึกคิด หรือถ้าหากว่าเราอดใช้กำลังไม่ได้ ก็ไม่ต้องไปนึก ทำใจให้นิ่งอย่างเดียว นิ่งอย่างสบาย ใจก็เบิกบาน แช่มชื่น


ผิดหลักวิชชา อย่าฝืน


นิ่ง...ขยายไม่ใช่นิ่งแล้วแคบ ถ้าเรานิ่งเป็นจะขยาย ถ้านิ่งไม่เป็นมันจะแคบ นิ่งแคบมันจะเป็นตอนที่เราตั้งใจมากเกินไปไปบีบ ไปเค้น บีบเค้นใจของเรา อย่างนี้ผิดหลักวิชชา อย่าฝืนดันทุรังทำต่อ นิ่งแล้วต้องขยาย ต้องรู้สึกสบาย แม้จะยังไม่เห็นอะไรก็ตาม อยากให้ลูกทุกคนได้ตรงนี้ เข้าใจตรงนี้นะ เพราะฉะนั้นก็ต้องค่อยๆ วางใจเบาๆ เหมือนขนนกที่ล่องลอยไปในอากาศ แล้วค่อยๆ ตกไปในพื้นดินก็ดี พื้นน้ำก็ดี ต้องเบาอย่างนั้นนะ

 

นึกง่ายๆ


เวลาจะนึกถึงดวงหรือองค์พระ ให้นึกง่ายๆ คล้ายกับเรานึกถึงดอกบัวที่เราบูชาพระเจดีย์อย่างนั้น พอเรานึกภาพดอกบัว ดอกบัวก็เกิด บางคนชัดมาก บางคนชัดน้อย แต่ที่นึกไม่ออกเป็นไม่มี พอเรานึกถึงดอกบัว เราก็นึกเห็นได้ นั่นแหละคือภาพทางใจ ที่เราเรียกว่า “เห็น”

 

เห็นอย่างนั้นไปก่อน แต่มันยังไม่สมบูรณ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์จะได้ ๒๐, ๓๐ เปอร์เซ็นต์ จาก ณ จุดตรงนั้นก็จะค่อยๆ นิ่งไปเรื่อยๆ นิ่ง นุ่ม ละมุนละไม ใจไม่ไปที่ไหนเลย และพอถึงจุดๆ หนึ่ง มันนิ่งจริงๆ นิ่งเหมือนเราวางของเอาไว้อยู่กับที่อย่างนั้น ตอนนี้เราจะขยาย เบา สบาย ภาพที่เห็นรัวๆ รางๆ ก็จะชัดขึ้นมาเลย ชัดมาในระดับที่เรามีความปลื้มปีติว่า เออ เรานึกเห็นได้จริงๆ นะ ที่นึกเห็นได้อย่างสบาย ไม่ใช่นึกเห็นได้อย่างลำบาก จะมาอยู่ในระดับนี้

 

แล้วพอเรานิ่งหนักเข้าไปเรื่อยๆ เดี๋ยวจากนึกเห็นจะแปรเปลี่ยนมาเป็นการเห็นจริงๆ เห็นเหมือนกับเราลืมตาเห็นวัตถุภายนอก เหมือนจำลองหรือซีร็อกซ์เข้าไปเลย จะชัดอย่างนั้นแต่บางทียังไม่ใส หรือบางทีใสแต่ยังไม่สว่าง ก็ต้องค่อยๆให้มีชั่วโมงหยุด ชั่วโมงนิ่ง ชั่วโมงกลางให้เยอะๆ ต้องทำบ่อยๆทำซ้ำแล้วซ้ำอีก อย่าไปทอดทิ้งการฝึกหยุดนิ่ง ต้องฝึกให้ปะติดปะต่อกันสม่ำเสมอทุกวัน

 

เพิ่มชั่วโมงหยุด ชั่วโมงนิ่ง

 

โดยเฉพาะการบ้านที่ให้ไปนั่นแหละสำคัญมาก จะช่วยเพิ่มชั่วโมงหยุด ชั่วโมงนิ่ง ชั่วโมงกลาง และความคุ้นเคยกับสิ่งที่เรานึก ภาพก็จะชัดขึ้นมาเรื่อยๆ บางทีอาจจะชัดขึ้นมาแวบหนึ่ง แค่นาทีหนึ่ง พอเราไม่ทอดทิ้งการฝึก มันก็นานเป็น๕ นาทีบ้าง ๑๐ นาทีบ้าง และก็มากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งชัดเจน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ นี่สำหรับการฝึกฝนของบางท่านนะแต่บางท่านพอใจนิ่งแล้ว บุญเก่ากับบุญใหม่เชื่อมโยงกันถูกส่วนก็จะสว่างพรึบเลย อย่างนี้ก็มี แต่ถือว่าเป็นกรณีพิเศษ ที่บุญเก่าทำมามาก ตามมาส่งผล แต่สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มฝึกก็จะเป็นไปตามขั้นตอนที่หลวงพ่อว่า

 

ปีใหม่นี้อยากให้ลูกทุกคนฝึกให้ได้ ให้สม่ำเสมอ ตั้งแต่เริ่มต้นปีใหม่เรื่อยไปเลย อย่าให้ขาดเลยแม้แต่เพียงวันเดียวทำให้สม่ำเสมอทุกวัน เพื่อที่ว่าเมื่อครบ ๓๖๕ วันแล้ว เมื่อเรานึกย้อนหลังจะได้มีปีติปลาบปลื้มใจที่เราทำความดี เพราะทำได้สม่ำเสมอ และมันก็จะมีผลให้ใจเราละเอียด สั่งสมความละเอียดเพิ่มขึ้น จนกระทั่งไปถึงจุดที่เราละเอียดจริงๆ มันจะต้องฝึกไปเรื่อยๆ นะ

 

หาบุญได้ใช้บุญเป็น


เวลาในโลกนี้ เดี๋ยววัน เดี๋ยวคืน เดี๋ยวก็จะหมดเวลาแล้วเราเกิดมาสร้างบารมีนะ เกิดมาสร้างบารมีจริงๆ ไม่ใช่เกิดมาเพื่อหมกมุ่นอยู่ในโลกนี้ หรือแสวงหาทรัพย์เพียงอย่างเดียว โดยไม่แสวงหาบุญ หรือที่พึ่งภายใน ถ้าเราแสวงทรัพย์ เราก็จะได้แต่ทรัพย์ บางคนได้พอกินพอใช้ บางคนก็ได้ไปเรื่อยๆ และก็เพลินกันไปจนกระทั่งหมดเวลา

 

หาบุญได้ ใช้บุญเป็น

 

บุญเก่าที่เราทำมา เรายังเอามาใช้ได้ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ ที่จริงส่วนหนึ่งเราควรจะเอามาใช้ดูดทรัพย์เพื่อนำมาเลี้ยงสังขาร เพื่อเอาสังขารไปแสวงหาพระรัตนตรัยในตัว ทรัพย์ที่ได้มาก็เอามาสร้างบารมี นี่วัตถุประสงค์เป็นอย่างนี้อย่างนี้ถึงจะเรียกว่า เราใช้บุญเก่าได้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์เพราะฉะนั้นบุญเก่าที่เรามีอยู่ ต้องใช้ให้เป็น หาบุญได้ ใช้บุญเป็น เรื่องนี้สำคัญ ถ้าใช้ไม่เป็นมันก็จะสูญเสียกันไปเปล่าๆ

 

แต่ถ้าพอเราได้บุญมา และเราก็ใช้บุญไปอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน โดยเราไม่รู้ตัวว่าทุกอนุวินาทีเรากำลังใช้บุญเก่าทำให้เรามีชีวิตดำรงอยู่ เราจะไปสู้รบปรบมืออะไรกับใครก็ต้องใช้บุญทั้งนั้นจึงจะเอาชนะเขาได้ เมื่อใช้ไปก็มีวันหมด ชีวิตมันเป็นอย่างนี้นะ เพราะฉะนั้นบุญเขามีเอาไว้ใช้สนับสนุนการทำหยุดทำนิ่ง เพื่อให้เข้าถึงสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัว เข้าถึงแผนผังของชีวิต ความจริงของชีวิต จะได้หลุดพ้นจากการเป็นบ่าวเป็นทาสของพญามาร เขามีเอาไว้เพื่อการนี้เท่านั้น


Add Comment
2546, ง่ายแต่ลึก2
วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ►  เดือน สิงหาคม (233)
    • ▼  เดือน กรกฎาคม (123)
      • ความเพลินส่วนเกินของชีวิต 481030C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว 481023C รอบสาย
      • โลกุตรธรรม ๙ 481016C รอบสาย
      • พิจารณามี ๒ อย่าง 481009D รอบบ่าย
      • เส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน 481009C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวเรา 480828C รอบสาย
      • ที่มาของพระพุทธรูป 480717C รอบสาย
      • วัตถุประสงค์ของชีวิต 480710C รอบสาย
      • เมื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว 480605D รอบบ่าย
      • เหตุการณ์วันตรัสรู้ 480522C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จในสมัยพุทธกาล 480515D รอบบ่าย
      • อิสรภาพที่แท้จริง 480417D รอบบ่าย
      • กรณียกิจ 480313C รอบสาย
      • สมาธิเหมือนเส้นผมบังภูเขา 480130C รอบสาย
      • ชีวิตในสังสารวัฏมีภัยมาก 480123C รอบสาย
      • HOW TO เข้าถึงธรรม 480116C รอบสาย
      • พุทธภาวะภายในตัว 470711C รอบสาย
      • สมถวิปัสสนา 470516C รอบสาย
      • สติปัฏฐาน ๔ 470620C รอบสาย
      • ป่วยอย่างสง่างาม 470502D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งคืองานที่แท้จริง 490122D รอบบ่าย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน 481211D รอบสาย
      • การเห็นด้วยปัญญา 481225C รอบสาย
      • อานิสงส์การฝึกใจให้หยุดนิ่ง 481211D รอบบ่าย
      • การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 460316C รอบสาย
      • ภาพที่สำคัญของชีวิต 460309C รอบสาย
      • มโณปริธานอันยิ่งใหญ่ 460119D รอบบ่าย
      • จริงต้องได้ 460504D รอบบ่าย
      • ลูกมีบุญที่จะเข้าถึงธรรมได้ 450515F รอบค่ำ
      • ฝึกใจหยุดนิ่งอย่างสบาย 450516F รอบค่ำ
      • งานที่แท้จริง 450306F รอบค่ำ
      • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
      • นึกถึงสิ่งที่คุ้นเคย 450525F รอบค่ำ
      • หยุดนิ่งสำคัญที่สุด 450529F รอบค่ำ
      • ชีวิตเป็นของน้อย 450428C รอบสาย
      • หยุดแค่พริบตาเดียวได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ 450305F รอบค่ำ
      • หลับตื่นในอู่ทะเลบุญ 450510F รอบค่ำ
      • ทางเดินของใจ 7 ฐาน 450613F รอบค่ำ
      • อานุภาพหยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • กิเลสประจำกายและวิธีแก้ 450912F รอบค่ำ
      • ปรับที่ใจใช่ที่ภาพ/แก้กดลูกนัยน์ตา 450615F รอบค่ำ
      • เทคนิควิธีการปฏิบัติธรรม 450528F รอบค่ำ
      • นึกบริกรรมนิมิตด้วยสิ่งที่คุ้นเคย 450524F รอบค่ำ
      • หนีกรรมไม่พ้น 450302F รอบค่ำ
      • แผนผังชีวิต 450514F รอบค่ำ
      • หาตัวกลัวให้เจอ 450629F รอบค่ำ
      • ลูกไก่เจาะกระเปาะไข่ 450518F รอบค่ำ
      • วิธีแก้ กดลูกนัยน์ตา 450607F รอบค่ำ
      • อานิสงส์การเข้าถึงพระรัตนตรัย 451022F รอบค่ำ
      • การตอบประสบการณ์ภายใน 560212D รอบบ่าย
      • ฝึกเป็นผู้ให้ 571205D รอบบ่าย
      • นอกรอบให้หมั่นประคองใจ 571211
      • สิ่งที่แสวงหาอยู่ที่ใจหยุดนิ่ง 451028F รอบค่ำ
      • อโห พุทโธ 451113F รอบค่ำ
      • เจริญมรณานุสติ 451118F รอบค่ำ
      • หวงห่วงแบบอริยะ 451209F รอบค่ำ
      • นึกได้ก็เห็นได้ 460309C รอบสาย
      • ต้องฝึกบ่อยๆ ให้ชำนาญ 460202D รอบบ่าย
      • ชีวิตเป็นของน้อย 460126C รอบสาย
      • นิ่งแล้วต้องขยาย 460101D รอบบ่าย
      • สมบัติที่แท้จริง 451231C รอบสาย
      • วันพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม 451227F รอบค่ำ
      • ฐานที่7ที่เกิดดับหลับตื่น 451222D รอบบ่าย
      • กายสบาย ใจสบาย บุญเก่าก็ได้ช่อง 481221
      • หมั่นทบทวนบุญ 451123F รอบค่ำ
      • บุญคือที่พึ่ง 451119F รอบค่ำ
      • ทำไมเด็กจึงเห็นธรรมะง่าย 521025D รอบบ่าย
      • ในท้องมีพระธรรมกาย 520904C รอบสาย
      • มหัศจรรย์สมาธิ 530314C รอบสาย
      • ภาวิตา พหุลีกตา 550806D รอบบ่าย
      • อวิชชา 550722D รอบบ่าย
      • Set Zero 590304D รอบบ่าย
      • คนเราเกิดมาทำไม/ในตัวเรามีองค์พระ 511207C รอบสาย
      • นิมิตเลื่อนลอยหลุมพรางของพญามาร 451013D รอบบ่าย
      • ธรรมกายเอฟเฟค 430423C รอบสาย
      • นิวรณ์ 5 451010F รอบค่ำ
      • นั่งอย่างมีชีวิตชีวา 450924F รอบค่ำ
      • อย่ากินบุญเก่า 450926F รอบค่ำ
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • หลับในอู่ทะเลบุญ 451004F รอบค่ำ
      • เริ่มต้นจากจุดสบายแล้วจะง่าย 451008
      • ตำแหน่งแห่งความสมปรารถนา 521206D รอบบ่าย
      • คำภาวนา สัมมาอะระหัง 510622C รอบสาย
      • บุญพลังแห่งความสุขและความสำเร็จ 511109D รอบบ่าย
      • อริยมรรคมีองค์๘ 510706C รอบสาย
      • หลักสูตรชีวิต 510203D รอบบ่าย
      • เห็นสิ่งใดฝึกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้น 51...
      • เริ่มต้นจากจุดที่ง่าย 510629D รอบบ่าย
      • จุดเล็กใสที่คล้ายเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร 511005C รอบสาย
      • หยุดนิ่งได้แล้วฝึกขยายย่อ 510615D รอบบ่าย
      • พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมใด 511010C รอบสาย
      • พระคุณของ หลวงปู่ฯพระผู้ปราบมาร 511005D รอบบ่าย
      • นั่งมาตั้งนาน ทำไมยังไม่ได้ผล 481127D รอบบ่าย
      • ต้องสบายทุกขั้นตอน 480821D รอบบ่าย
      • หลักวิชชาใจหยุดนิ่งและอาการตกศูนย์ 481218D รอบบ่าย
      • อุปสรรคและหลักวิชชาในการปฏิบัติธรรม 490604C รอบสาย
      • การปฏิบัติธรรมคือการแสวงหาความพอดี 480626C รอบสาย
      • อย่าท้อ_เฉยในทุกประสบการณ์ 471205D รอบบ่าย
      • วิธีปฏิบัติธรรม 480206D รอบบ่าย
      • ง่ายแต่ลึก 480130D รอบบ่าย
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger