• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2547 ง่ายแต่ลึก2 หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย

หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย

 

หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย

เป็นจุดสำคัญหมาย          สู่เป้า

ตัวสมมติถูกมลาย             สลายหมด

สำเร็จพระพุทธเจ้า            เสด็จเข้านิพพาน เขษม

ตะวันธรรม



หยุดเป็นตัวสำเร็จ

วันอาทิตย์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗


Link ไฟล์เสียงนำนั่งสมาธิใน youtube

ง่ายแต่ลึก​ 2 |EP.19| : หยุดเป็นตัวสำเร็จ


ตั้งใจหลับตาเจริญสมาธิภาวนากันนะ หลับตาเบาๆ พอสบายๆ เอาใจหยุดนิ่งๆ ไปที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นะหรือจำง่ายๆ ว่าอยู่ในกลางท้องของเรา ตรงไหนก็ได้ในกลางท้องแล้วเราก็นึกว่าตรงนั้นแหละคือ ฐานที่๗

 

อย่าไปกังวลกับฐานที่ ๗ มากเกินไป แต่ต้องให้รู้จักเอาไว้ว่า อยู่ตรงไหน แต่ในแง่ของการปฏิบัติจริงๆ การหลับตาสบาย หยุดใจไว้ในกลางกายนิ่งๆ เฉยๆ จะนึกเป็นภาพองค์พระ หรือดวงแก้วก็ได้ นึกในลักษณะที่เราเห็นเป็นภาพองค์พระ top view หรือวางใจนิ่งๆ กลางท้อง แล้วก็ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย ตรงนี้ต้องฝึกให้ได้นะ ฝึกทุกวันอย่าให้ขาด

 

ความสม่ำเสมอนี่สำคัญ จะทำให้เราค่อยๆ เรียนรู้วิธีการที่ถูกต้อง มันจะค่อยๆ ปรับไปใจเราก็จะถูกบ่มอินทรีย์ให้แก่รอบขึ้น แก่กล้าขึ้นไปเรื่อยๆ คือใจจะค่อยๆ คุ้นกับศูนย์กลางกายกับกลางท้องมากขึ้น แล้วก็อยู่กับเนื้อกับตัวเราได้มากขึ้น นานขึ้นกว่าเดิม เพราะแต่เดิมเราส่งใจไปข้างนอกไม่เคยเอาใจไว้กลางกายเลย นี่สำหรับผู้ที่มาใหม่นะ

 

เราก็ต้องฝึกไปเรื่อยๆ ใหม่ๆ มันก็ไม่คุ้นเคยกับการนึกอย่างนี้ในกลางท้อง แต่พอทำบ่อยๆ เข้า มันก็จะค่อยๆ ง่ายขึ้นชำนาญขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ต้องจับหลักให้ได้ว่า หยุดเป็นตัว

สำเร็จ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เราต้องการตรงนี้

 

หยุดกับนิ่งเฉยๆ ไม่ว่าจะมืดหรือสว่างก็ตาม หมายความว่า เวลาเราหลับตาไปแล้วมันมืด เราก็อย่าไปทุกข์ใจ อย่าไปรำคาญว่า ทำไมมันมืดอย่างนี้ หรืออย่าไปกังวลกลัวว่าเรานั่งแล้วมันจะไม่สว่าง แล้วก็คิดเลยเถิดไปว่า ชาตินี้เราคงไม่ได้มั้งอย่างนั้นแสดงว่าไม่นิ่งแล้ว ถ้านิ่งมันจะปลอดความคิด

 

หลับตาแล้วมืด เราก็ต้องถือว่า ความมืดคือสหายหรือเกลอของเรา เป็นมิตรของเรา เหมือนเรานั่งอยู่กลางแจ้งในคืนเดือนมืด เมื่อเรานิ่งๆ พอคุ้นกับความมืด เดี๋ยวเราจะเห็นดวงดาวบนท้องฟ้าปรากฏขึ้น ทำลักษณะอย่างนั้น นิ่งๆ ไม่ว่ามืดหรือสว่าง พอเรานิ่งหนักเข้า พอถูกส่วน ทำถูกวิธีเข้า มันก็สว่างขึ้น

 

พอสว่างขึ้นก็อย่าไปตื่นเต้นตกใจ หรืออย่าดีใจจนเกินไปพอตกใจ ตื่นเต้นหรือดีใจเกินไป เดี๋ยวมันก็มามืดอีกแล้ว มันหรี่สลัวไป เพราะฉะนั้นจะมืดหรือสว่างก็ตาม เราก็ต้องหยุดนิ่งเฉยๆ ต้องเข้าใจตรงนี้ให้ดีนะ ถ้าไม่เข้าใจตรงนี้ เดี๋ยวทำไม่ถูกวิธี

 

ถ้ามืดแล้วเรากลุ้ม มันก็ยิ่งมืดหนักเข้าไปอีก เดี๋ยวก็จะยิ่งเบื่อ ถ้าสว่างแล้วไปตื่นเต้นดีใจ เอ้า กลับมามืดอีก เดี๋ยวเราก็จะเสียดาย พอเสียดายมันก็จะโหยหา อยากได้ความสว่างหวนคืนมายิ่งอยาก ก็ยิ่งหยาบ หยาบเพิ่มไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็เบื่ออีก เพราะฉะนั้นตรงนี้อย่าฟังผ่านจะมืดหรือสว่างก็ตาม เรามีหน้าที่หยุดกับนิ่งอย่างเดียว เหมือนคนมีอารมณ์เดียว หรือไร้อารมณ์ นิ่งๆ

 

ทีนี้พอนิ่งไปนานๆ เข้า บางคนภาพไม่เกิด แต่รู้สึกสบายคือ ตัวมันโล่ง โปร่ง เบา สบาย ไม่ฟุ้ง ความคิดอื่นที่เป็นความคิดหยาบๆ ไม่เข้ามาแทรกเลย แต่ภาพไม่เกิด พอเราเลิกนั่งไปฟังเพื่อนวงบุญของเรา เพื่อนนักเรียนด้วยกันเขาเล่าให้ฟังว่า เขาเห็นภาพ พอเราฟังเราก็กลุ้มว่า เรานั่งก็ไม่ได้ฟุ้งเลยแถมสบายด้วย ตัวโล่ง โปร่ง เบา สบาย แต่ไม่เห็น พอไม่เห็นก็จะมีความคิดว่า เอ้ นิ่งอย่างนี้ทำไมไม่เห็น มันน่าจะเห็น แต่มันไม่เห็น พอใจคิดอย่างนี้ก็ถอยมาหยาบอีก ต้องมานับหนึ่งใหม่อีก เพราะฉะนั้นแม้ไม่เห็นภาพ แต่ไม่ฟุ้งหยาบ เราก็ไม่ควรฟุ้งละเอียด ก็คือต้องทำหยุดทำนิ่งเฉยๆ

 

ทีนี้พอเราทำหยุดนิ่งเฉยๆ ไประดับหนึ่งเข้า ความสว่างเกิด ภาพเกิด เป็นองค์พระบ้าง ดวงบ้าง ก็ปลื้มตื่นเต้นดีใจ อ้ะ พอดีใจหายไปอีกแล้ว พอหายไปอีกก็เสียดาย นั่งครั้งต่อไปก็อยากจะเห็นเหมือนเดิม แต่ว่าความอยากที่จะเห็นมันเดินหน้า ภาวนาตามหลัง ก็เลยไปไม่ถึงจุดนั้นสักที มันก็ไม่เห็นภาพอีก ไม่เห็นดวง ไม่เห็นองค์พระ เพราะฉะนั้นจึงให้ทำเฉยๆ แม้เห็นภาพก็ต้องเฉยๆ

 

ทีนี้พอเห็นภาพไปในระดับหนึ่ง เห็นบ่อยเข้า พอเราเฉยบ่อยเข้า แต่ว่ามันเป็นความเฉยที่ยังไม่สมบูรณ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เฉยในระดับ ๙๘ เปอร์เซ็นต์ มันก็ไม่มีภาพใหม่ให้ดู ก็จะมีแต่ดวงเดิม องค์พระเดิมที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง พอเราเลิกนั่งเราก็มาฟังเพื่อนนักเรียนพูดว่า โอ้ องค์พระขยาย มีผุดผ่านมาเยอะแยะ เอ้ ทำไมเราไม่เห็นอย่างนั้นบ้าง เห็นแต่องค์พระ เฉยๆ ดวงเฉยๆ ทีนี้ก็พยายามเร่งสิ แหวกๆ ดันๆ จะเข้ากลางดวง จะเข้ากลางองค์พระ ยิ่งแหวกก็ยิ่งแวบหายไปเลยยิ่งดันจะเข้ากลาง ยิ่งเด้งออกมาอีก

 

เพราะฉะนั้น ถึงบอกว่าให้ดูเฉยๆ หยุดนิ่งเฉยๆ พอเรานิ่งถูกส่วน เอ้า คราวนี้มากันใหญ่ มาเยอะแยะ พอมาเยอะแยะ อ้ะ ความสงสัยมาอีกแล้ว เพราะไปได้ยินเพื่อนนักเรียนด้วยกัน นั่งมา ๑๐ ปี แล้วก็ไม่เห็น แต่ทำไมเราเห็นขนาดนี้ สงสัยเราจะคิดไปเองมั้ง ถึงได้เห็นง่ายอย่างนี้ คือมันง่ายจนสงสัย อย่างนี้ก็มีเหมือนกัน สงสัยว่า คิดไปเอง หรือว่ามันไม่ใช่ เพราะธรรมะลึกซึ้งมันต้องเข้าถึงยากๆ เชื่อมั่นอย่างนั้น แต่ความจริงมันไม่เป็นอย่างนั้น ถ้าทำถูกวิธี แม้ลึกซึ้งก็เข้าถึงง่าย เพราะฉะนั้นถึงให้ดูเฉยๆ

 

ดังนั้น จึงบอกว่า จะเห็นหรือไม่เห็นก็ตามให้หยุดกับนิ่งเฉยๆ อย่างนี้เรื่อยไป และก็มีคำของพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ มารองรับอีก “หยุด” อย่างเดียว ตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งเป็นพระอรหันต์ ก็แปลว่า ไม่ต้องทำอะไรที่นอกเหนือจากหยุด จะไปบีบ ไปเค้น จะไปกำกับ จะไปแหวก ไปดัน ไปลุ้น ไปเร่ง ไปเพ่ง ไปจ้อง ไม่ได้ทั้งนั้น เพราะมันผิดหลักวิชชาหลักวิชชาพระเดชพระคุณท่านก็บอกอยู่แล้ว หยุดเป็นตัวสำเร็จ ตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งเป็นพระอรหันต์ มันง่ายขนาดนี้แล้ว ไม่เห็นจะต้องไปค้นอะไรอีก แค่คว้าตามที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ บอก ก็จะจบกันในวันนี้แหละ จะเข้าถึงกัน คือ ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ ความจริงมันไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเอาอะไรมารกรุงรัง แค่หยุดนิ่งเฉยๆ สบายๆ เดี๋ยวเราก็จะเห็นเป็นขั้นตอนกันไปเรื่อยๆ ฝึกอย่างนี้ไป

 

ทีนี้บางคนทำไปได้ในระดับหนึ่ง จริงๆ แล้วจิตยังหยุดนิ่งไม่สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ มันหยุดระดับหนึ่ง ก็เห็นภาพอะไรต่างๆ เยอะแยะ ดูแล้วคล้ายๆ กับ ๑๘ กาย ซึ่งมันละเอียดอ่อน ได้ยินได้ฟังเรื่องนรกสวรรค์ ก็อยากจะไปเรียนรู้บ้าง แต่เรียนรู้ด้วยตัวเอง เพราะเข้าใจว่าในระดับนี้น่าจะไปเรียนรู้ได้ ซึ่งความจริงยังไม่ใช่ แม้หยุดได้ร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว ยังต้องหยุดในหยุดไม่ซ้ำที่เข้าไปอีก คือ จากร้อยเปอร์เซ็นต์ เป็นพันเปอร์เซ็นต์ เป็นหมื่น เป็นแสน เป็นล้านเปอร์เซ็นต์ ยังมีสิ่งที่จะต้องศึกษากันอีกเยอะ ดังนั้นเรื่องนั้นเอาไว้ก่อน ในระดับที่เราจะไปศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรม

 

เอาว่าทำตรงนี้ให้คล่องเสียก่อน ให้ชัดเจนแจ่มแจ้งกันจริงๆ เลย แล้วเราก็จะค่อยๆ หายสงสัยไปทีละเล็กทีละน้อยบารมีก็จะถูกบ่มไปเรื่อยๆ ญาณก็ถูกบ่มไปเรื่อยๆ บ่มญาณบ่มบารมี เติมความบริสุทธิ์ไปเรื่อยๆ มันต้องถึงจุดๆ หนึ่งนั่นแหละถึงจะไปศึกษาวิชชาธรรมกายได้ แต่ต้องทำเป็นขั้นตอนตามแบบฝึกหัด หรือบทเรียนที่ให้เอาไว้ ค่อยๆ ฝึกไปเรื่อยๆ เดี๋ยวเราก็จะทำได้ เพราะฉะนั้นตอนนี้เราถึงขั้นไหนก็หยุดไปเรื่อยๆ นิ่งไปเรื่อยๆ มีอะไรให้ดู เราก็ดูไปอย่างสบายๆ ไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น

 

วิชชาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความรู้ต้องคู่กับความสุข คือ ต้องมีความสุข มีความสบาย มีความบริสุทธิ์ ความรู้ก็ค่อยๆ รู้ไปเรื่อยๆ ทีละเล็กทีละน้อย ค่อยๆ เพิ่มขึ้นๆ ไปตามลำดับอย่างนี้

 

ให้ตั้งใจฝึกกัน เพราะเป็นงานที่แท้จริงของเราที่ได้มาเกิดเป็นมนุษย์ และเป็นทางมาแห่งบุญใหญ่เป็นมหัคคตกุศลไม่ใช่บุญเล็กๆ แค่กามาวจร ที่ยังข้องอยู่ในกามภพ แต่เป็นบุญที่จะทำให้เราหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ บรรลุมรรคผลนิพพานได้

 

แล้วที่สำคัญเราเกิดมานี่ ถึงแม้ว่ายังไม่รู้ว่า พระนิพพานเป็นเป้าหมาย แต่เราก็อยากจะได้ความสุข ความสุขคือยอดปรารถนา อยากนั่งเป็นสุข ยืนเป็นสุข เดินเป็นสุข นอนเป็นสุขหลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข จะอยู่แห่งหนตำบลใดก็เป็นสุข จะเข้าถึงความสุขอย่างนี้ได้ ต้องหยุดกับนิ่งอีกนั่นแหละ

 

นตฺถิสนฺติปรํสุขํ สุขอื่นนอกจากใจหยุดใจนิ่งไม่มี

 

ไปหาดูเถอะ ไม่มี ไม่ว่าสุขจากการแสวงหาทรัพย์ มีทรัพย์ได้ใช้จ่ายทรัพย์ ประกอบการงานไม่มีหนี้ ประกอบการงานไม่มีโทษ มันก็เป็นสุขแบบโลกๆ จะไปดริ๊งค์ ไปดื่ม ไปดูด ไปดูไปฟังไปเที่ยวอะไรก็แล้วแต่ มันสุขน้อย แต่ทุกข์มาก คือ สุขไม่จริง แล้วก็แคบไม่ค่อยกว้าง มักจะมีความหายนะเข้าครอบงำเราอยู่ในตัว แต่ถ้าหยุดกับนิ่ง ไม่ต้องเสียเงินเสียทองหรือทำอะไรเลย แต่เป็นสุขที่เป็นอิสระ กว้าง ขยาย เบาเนื้อเบาตัว เบากายเบาใจ เบาสบาย เกลี้ยงเกลา

 

เพราะฉะนั้น หยุดนิ่งนอกจากจะเป็นทางมาแห่งบุญแล้ว ยังเป็นทางมาแห่งความสุข และเป็นทางไปสู่อายตนนิพพานด้วย จึงเป็นสิ่งที่เราจะต้องทำให้สม่ำเสมอ แล้วนอกจากบุญจะเกิดขึ้นกับตัวของเราแล้ว ยังไปถึงพ่อแม่ บรรพบุรุษบุพการีหมู่ญาติของเรา ทั้งมีชีวิตอยู่หรือละโลกไปแล้ว โดยเฉพาะที่ละโลกไปแล้วเขาทำบุญเองไม่ได้ ก็หวังจะได้บุญจากผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ทำและอุทิศไปให้ หยุดนี่แหละเป็นทางมาแห่งบุญทางหนึ่ง นอกเหนือจากทานบารมี ศีลบารมี ที่จะทำให้บรรพบุรุษบุพการี หมู่ญาติดังกล่าว มีส่วนแห่งบุญนี้

 

พอเราเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวได้ นิสัยอยากเด่นอยากดังจะหมดไปเรื่อยๆ เหลือแต่อยากดีอย่างเดียว อยากได้บุญเยอะๆ ไม่ยินดียินร้ายในรูปธรรมต่างๆ มันอยากจะมุ่งเข้าไปสู่ภายใน ศึกษาความรู้ภายในไปเรื่อยๆ อยากมีความรู้เพิ่ม อยากได้ความดีเพิ่ม อยากได้ความบริสุทธิ์เพิ่ม อยากได้บุญเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างอื่นก็จะเฉยๆ ลงไปเรื่อยๆ จะดีไปเรื่อยๆ ใสไปเรื่อยๆ อันนี้คือข้อสังเกตตัวของเรา

 

อยากศึกษากายทั้ง ๑๘ ไปแล้วเป็นอย่างไร วิชชา ๓ วิชชา ๘ เป็นอย่างไร โดยที่สุดวิชชาที่ทำอาสวะให้สิ้น อาสวะคืออะไร เครื่องหมักดองใจเรา ความโลภ ความโกรธ ความหลงเป็นอย่างไร ทำให้เราอยากจะรู้ว่า ทำไมมันถึงมีฤทธิ์มาก บังคับข้ามชาติได้ แล้วก็นับชาติไม่ถ้วนด้วย ลักษณะมันเป็นอย่างไร เข้ามาอย่างไรมาหุ้ม มาเคลือบ มาเอิบอาบซึมซาบปนเป็นสวมซ้อนร้อยไส้ธาตุธรรมเห็นจำคิดรู้ของเราอย่างไร เราก็อยากจะศึกษาเรียนรู้ เราอยากจะรู้ว่า ใครเป็นคนผลิตอาสวกิเลสเหล่านี้มาหมักดองแช่อิ่ม ใครมีวัตถุประสงค์อย่างไร ทำไมต้องเป็นเรา หรือชาวโลก หรือสรรพสัตว์ทั้งหลาย มันก็มีสิ่งที่น่าเรียนรู้ไปเรื่อยๆ แล้วใครนั้นน่ะ เขาอยู่ที่ไหน ที่อยู่ของเขาเป็นอย่างไร ทำไมต้องคิดอย่างนี้ก็จะค่อยๆ ศึกษาเรียนรู้กันไป สาวกันไป

 

มันก็มีรสมีชาติในการศึกษา เขาเรียกว่ารสแห่งธรรม มีรสมีชาติ อร่อย สนุกสนานเบิกบาน เราก็จะค่อยๆ เข้าใจไปเรื่อยๆ เป็นความเข้าใจที่เมื่อหันมามองชาวโลกแล้วมันจะแตกต่างกัน ชาวโลกเข้าใจอย่าง เราเข้าใจอีกอย่าง ชาวโลกเข้าใจอย่างไรเขาก็แสวงหาอย่างนั้น เราเข้าใจอย่างไร เราก็จะแสวงหาไปอีกอย่าง เพราะฉะนั้นก็จะค่อยๆ สาวไป ศึกษาไปเรื่อยๆ ด้วยหยุดกับนิ่งนี่แหละ

 

เพราะฉะนั้น หยุดเป็นตัวสำเร็จ ที่ลูกทุกคนจะต้องให้เวลาเพื่อการนี้ ควบคู่กับภารกิจในชีวิตประจำวัน เพื่อตัวของเราเอง และคนรอบข้าง กระทั่งขยายไปในสังคม ประเทศชาตินานาชาติ โลกใบนี้

 

ถ้าเรามีความสุข คนรอบข้างก็จะพลอยได้รับกระแสแห่งความสุขนี้ไปด้วย แล้วก็จะเกิดแรงบันดาลใจ แสวงหาความสุขภายในตนเองเช่นเดียวกับตัวของเรา การขยายนี้มันก็จะขยายต่อๆ กันไปเรื่อยๆ ทุกสิ่งก็เริ่มต้นจากตัวเรา ตัวเราก็เริ่มต้นจากศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ถูกต้อง ด้วยวิธีหยุดกับนิ่ง ต้องแจ่มแจ้งแทงตลอดในหลักวิชชานี้

 

จับสูตรหลักนี้ให้ได้ หลักคือ หยุดเป็นตัวสำเร็จ ตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งเป็นพระอรหันต์ ในเส้นทางเอกสายเดียว ที่เรียกว่า เอกายนมรรค มันง่ายที่เราจะปฏิบัติไปสู่ทางหลุดพ้นในสิ่งที่เราปรารถนา เราจะได้สมหวังในชีวิตว่า มีทางเดียวไม่มีสองทาง ซึ่งมันง่ายกว่าทางโลกซึ่งมีหลายทาง มันทำให้เราสับสนไม่ทราบว่าจะไปทางไหน เราก็หมดเวลาไปกับการแสวงหาทดลอง ลองผิดลองถูกกันไปอย่างนั้น แต่นี่ไม่ต้องเลย วิธีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า หยุดเป็นตัวสำเร็จ เพราะฉะนั้นเรามีบุญมาก ที่ได้มาถึง ณ จุดนี้

 

ดังนั้น จับหลักให้ได้ แล้วลงมือฝึกฝนอบรมใจตัวเราเองทุกวัน ให้สม่ำเสมอ ให้เป็นกิจวัตร เหมือนอาบน้ำ ล้างหน้าแปรงฟันอย่างนั้น เดี๋ยวเราก็ทำได้ จากคนทำไม่ได้ มันก็จะทำได้ จากคนที่ไม่เคยมีความสุขก็จะมีความสุข จากมืดก็มาสว่าง เป็นต้น อย่างนี้นะ

Add Comment
2547, ง่ายแต่ลึก2
วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ►  เดือน สิงหาคม (233)
    • ▼  เดือน กรกฎาคม (123)
      • ความเพลินส่วนเกินของชีวิต 481030C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว 481023C รอบสาย
      • โลกุตรธรรม ๙ 481016C รอบสาย
      • พิจารณามี ๒ อย่าง 481009D รอบบ่าย
      • เส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน 481009C รอบสาย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ในตัวเรา 480828C รอบสาย
      • ที่มาของพระพุทธรูป 480717C รอบสาย
      • วัตถุประสงค์ของชีวิต 480710C รอบสาย
      • เมื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว 480605D รอบบ่าย
      • เหตุการณ์วันตรัสรู้ 480522C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จในสมัยพุทธกาล 480515D รอบบ่าย
      • อิสรภาพที่แท้จริง 480417D รอบบ่าย
      • กรณียกิจ 480313C รอบสาย
      • สมาธิเหมือนเส้นผมบังภูเขา 480130C รอบสาย
      • ชีวิตในสังสารวัฏมีภัยมาก 480123C รอบสาย
      • HOW TO เข้าถึงธรรม 480116C รอบสาย
      • พุทธภาวะภายในตัว 470711C รอบสาย
      • สมถวิปัสสนา 470516C รอบสาย
      • สติปัฏฐาน ๔ 470620C รอบสาย
      • ป่วยอย่างสง่างาม 470502D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งคืองานที่แท้จริง 490122D รอบบ่าย
      • มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน 481211D รอบสาย
      • การเห็นด้วยปัญญา 481225C รอบสาย
      • อานิสงส์การฝึกใจให้หยุดนิ่ง 481211D รอบบ่าย
      • การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 460316C รอบสาย
      • ภาพที่สำคัญของชีวิต 460309C รอบสาย
      • มโณปริธานอันยิ่งใหญ่ 460119D รอบบ่าย
      • จริงต้องได้ 460504D รอบบ่าย
      • ลูกมีบุญที่จะเข้าถึงธรรมได้ 450515F รอบค่ำ
      • ฝึกใจหยุดนิ่งอย่างสบาย 450516F รอบค่ำ
      • งานที่แท้จริง 450306F รอบค่ำ
      • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
      • นึกถึงสิ่งที่คุ้นเคย 450525F รอบค่ำ
      • หยุดนิ่งสำคัญที่สุด 450529F รอบค่ำ
      • ชีวิตเป็นของน้อย 450428C รอบสาย
      • หยุดแค่พริบตาเดียวได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ 450305F รอบค่ำ
      • หลับตื่นในอู่ทะเลบุญ 450510F รอบค่ำ
      • ทางเดินของใจ 7 ฐาน 450613F รอบค่ำ
      • อานุภาพหยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • กิเลสประจำกายและวิธีแก้ 450912F รอบค่ำ
      • ปรับที่ใจใช่ที่ภาพ/แก้กดลูกนัยน์ตา 450615F รอบค่ำ
      • เทคนิควิธีการปฏิบัติธรรม 450528F รอบค่ำ
      • นึกบริกรรมนิมิตด้วยสิ่งที่คุ้นเคย 450524F รอบค่ำ
      • หนีกรรมไม่พ้น 450302F รอบค่ำ
      • แผนผังชีวิต 450514F รอบค่ำ
      • หาตัวกลัวให้เจอ 450629F รอบค่ำ
      • ลูกไก่เจาะกระเปาะไข่ 450518F รอบค่ำ
      • วิธีแก้ กดลูกนัยน์ตา 450607F รอบค่ำ
      • อานิสงส์การเข้าถึงพระรัตนตรัย 451022F รอบค่ำ
      • การตอบประสบการณ์ภายใน 560212D รอบบ่าย
      • ฝึกเป็นผู้ให้ 571205D รอบบ่าย
      • นอกรอบให้หมั่นประคองใจ 571211
      • สิ่งที่แสวงหาอยู่ที่ใจหยุดนิ่ง 451028F รอบค่ำ
      • อโห พุทโธ 451113F รอบค่ำ
      • เจริญมรณานุสติ 451118F รอบค่ำ
      • หวงห่วงแบบอริยะ 451209F รอบค่ำ
      • นึกได้ก็เห็นได้ 460309C รอบสาย
      • ต้องฝึกบ่อยๆ ให้ชำนาญ 460202D รอบบ่าย
      • ชีวิตเป็นของน้อย 460126C รอบสาย
      • นิ่งแล้วต้องขยาย 460101D รอบบ่าย
      • สมบัติที่แท้จริง 451231C รอบสาย
      • วันพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม 451227F รอบค่ำ
      • ฐานที่7ที่เกิดดับหลับตื่น 451222D รอบบ่าย
      • กายสบาย ใจสบาย บุญเก่าก็ได้ช่อง 481221
      • หมั่นทบทวนบุญ 451123F รอบค่ำ
      • บุญคือที่พึ่ง 451119F รอบค่ำ
      • ทำไมเด็กจึงเห็นธรรมะง่าย 521025D รอบบ่าย
      • ในท้องมีพระธรรมกาย 520904C รอบสาย
      • มหัศจรรย์สมาธิ 530314C รอบสาย
      • ภาวิตา พหุลีกตา 550806D รอบบ่าย
      • อวิชชา 550722D รอบบ่าย
      • Set Zero 590304D รอบบ่าย
      • คนเราเกิดมาทำไม/ในตัวเรามีองค์พระ 511207C รอบสาย
      • นิมิตเลื่อนลอยหลุมพรางของพญามาร 451013D รอบบ่าย
      • ธรรมกายเอฟเฟค 430423C รอบสาย
      • นิวรณ์ 5 451010F รอบค่ำ
      • นั่งอย่างมีชีวิตชีวา 450924F รอบค่ำ
      • อย่ากินบุญเก่า 450926F รอบค่ำ
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450930F รอบค่ำ
      • หลับในอู่ทะเลบุญ 451004F รอบค่ำ
      • เริ่มต้นจากจุดสบายแล้วจะง่าย 451008
      • ตำแหน่งแห่งความสมปรารถนา 521206D รอบบ่าย
      • คำภาวนา สัมมาอะระหัง 510622C รอบสาย
      • บุญพลังแห่งความสุขและความสำเร็จ 511109D รอบบ่าย
      • อริยมรรคมีองค์๘ 510706C รอบสาย
      • หลักสูตรชีวิต 510203D รอบบ่าย
      • เห็นสิ่งใดฝึกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้น 51...
      • เริ่มต้นจากจุดที่ง่าย 510629D รอบบ่าย
      • จุดเล็กใสที่คล้ายเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร 511005C รอบสาย
      • หยุดนิ่งได้แล้วฝึกขยายย่อ 510615D รอบบ่าย
      • พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมใด 511010C รอบสาย
      • พระคุณของ หลวงปู่ฯพระผู้ปราบมาร 511005D รอบบ่าย
      • นั่งมาตั้งนาน ทำไมยังไม่ได้ผล 481127D รอบบ่าย
      • ต้องสบายทุกขั้นตอน 480821D รอบบ่าย
      • หลักวิชชาใจหยุดนิ่งและอาการตกศูนย์ 481218D รอบบ่าย
      • อุปสรรคและหลักวิชชาในการปฏิบัติธรรม 490604C รอบสาย
      • การปฏิบัติธรรมคือการแสวงหาความพอดี 480626C รอบสาย
      • อย่าท้อ_เฉยในทุกประสบการณ์ 471205D รอบบ่าย
      • วิธีปฏิบัติธรรม 480206D รอบบ่าย
      • ง่ายแต่ลึก 480130D รอบบ่าย
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger