• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2554 อริยสัจ4 540619C รอบสาย

อริยสัจ4 540619C รอบสาย


อริยสัจ ๔

วันอาทิตย์ที่  ๑๙  มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ (๐๙.๐๐ - ๑๑.๐๐ น.)

งานบุญวันอาทิตย์ ณ สภาธรรมกายสากล


ปรับกาย


เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไปให้ตั้งใจให้แน่แน่ว  มุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานกันทุกๆ คน 

 

ให้นั่งขัดสมาธิโดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ

 

หลับตาของเราเบาๆ ค่อนลูก พอสบายๆ หลับตาพริ้มๆ เปลือกตาไม่ถึงกับปิดสนิท เหมือนปรือๆ ตานิดหน่อย  อย่าดูเบาในเรื่องการปิดเปลือกตานะจ๊ะ ถ้าเราหลับตาเป็นจะผ่อนคลายทั้งกายและใจ

 

แล้วก็ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย  ตั้งแต่กล้ามเนื้อบนใบหน้า ศีรษะ ลำคอ บ่า ไหล่ แขนทั้งสอง ถึงปลายนิ้วมือ ให้ผ่อนคลาย กล้ามเนื้อบริเวณลำตัว ขาทั้งสอง ถึงปลายนิ้วเท้าให้ผ่อนคลาย ขยับเนื้อขยับตัวของเราให้ดี  ปรับท่านั่งให้ถูกส่วนจะได้ไม่ปวดไม่เมื่อย เลือดลมในตัวจะได้เดินได้สะดวก เราเสียเวลาตรงนี้สัก ๑ หรือ ๒ นาที  ต้องผ่อนคลายจริงๆ นะ สำรวจตรวจตราดูให้ดี

 

ปรับใจ


แล้วก็ทำใจของเราให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น ให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่ง  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม คน สัตว์ สิ่งของ ธุรกิจการงาน บ้านช่อง การศึกษาเล่าเรียน ครอบครัว หรือเรื่องอะไรที่นอกเหนือจากนี้

 

ให้ปลด ให้ปล่อย ให้วาง คลายความผูกพันจากทุกสิ่ง เพราะว่ายึดมั่นถือมั่นไปมันก็ไม่เกิดประโยชน์   โดยเฉพาะในช่วงที่เรากำลังจะหลับตาเจริญสมาธิภาวนา ต้องปลด ต้องปล่อย ต้องวาง ต้องคลายความผูกพันจากทุกสิ่ง

 

ทำประหนึ่งว่า เราอยู่คนเดียวในโลก  เพราะสรรพสัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลาย  ถ้าเราไม่พลัดพรากจากสิ่งเหล่านี้ไปก่อน สิ่งเหล่านี้ก็จะต้องพลัดพรากจากเราไปก่อน  ป่วยการที่จะไปยึดมั่นถือมั่นผูกพัน เพราะทุกสิ่งล้วนไปสู่จุดสลายทั้งสิ้น 

 

วางใจ

 

แล้วก็รวมใจไปหยุดนิ่งๆ นุ่มๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ

 

โดยสมมติว่า เราหยิบเส้นด้ายขึ้นมา ๒ เส้น นำมาขึงให้ตึง จากสะดือทะลุไปด้านหลังเส้นหนึ่ง จากด้านขวาทะลุไปด้านซ้ายอีกเส้นหนึ่ง ให้เส้นด้ายทั้ง ๒ ตัดกันเป็นกากบาท จุดตัดจะเล็กเท่ากับปลายเข็ม เหนือจุดตัดนี้ขึ้นมา ๒ นิ้วมือ เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗

 

ฐานที่ ๗ ต้นทางพระนิพพาน


ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗  นอกจากจะเป็นที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่นของเราแล้ว ยังเป็นต้นทางที่จะไปสู่อายตนนิพพาน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อท่านเห็นภัยในวัฏสงสาร ภัยแห่งการเวียนว่ายตายเกิด ชีวิตในสังสารวัฏไม่ปลอดภัยจากอบาย   เพราะว่าตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม กฎแห่งการกระทำ ทางกาย วาจา ใจ ล้วนมีผลทั้งสิ้น กฎแห่งไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ทุกสิ่งทุกอย่างไปสู่จุดสลาย

 

ท่านจึงเบื่อหน่ายชีวิตแห่งการเวียนว่ายตายเกิด จึงแสวงหาหนทางที่จะหลุดพ้นจากสิ่งเหล่านี้  และในที่สุดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงค้นพบว่า ใจหยุดนิ่งนี่แหละเป็นตัวสำเร็จ

 

ตรงกับคำที่พระสมณโคดมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้กับโจรองคุลีมาลว่า “สมณะหยุดแล้ว” แม้อาการภายนอกของท่านเคลื่อนไหว แต่พระองค์ตรัสว่า สมณะหยุดแล้ว  ก็แปลว่า ในใจท่านหยุดนิ่งสนิทแล้ว ดับกระหาย ดับความทะยานอยากแล้ว ใจไม่วิ่งวุ่นวาย ใจหยุดได้สนิทนิ่งอยู่ภายในตัวของท่าน โดยเฉพาะตำแหน่งศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้  เป็นตำแหน่งเดียวเท่านั้น ที่จะหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ   บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

อริยสัจ ๔

 

เรามาทบทวน อริยสัจ ๔ คำว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ในแง่ของการปฏิบัติ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์  ท่านพิจารณาเห็นชีวิตเป็นทุกข์ และพบว่าเหตุแห่งความทุกข์ (สมุทัย) เกิดจากความทะยานอยาก ที่ไม่ประกอบไปด้วยปัญญา  ไม่ประกอบไปด้วยความรู้เรื่องราวความเป็นจริงของชีวิตในสังสารวัฏ ทำให้เกิดการแสวงหาในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง อยากได้ อยากมี อยากเป็น ตามกระแสกิเลสที่บังคับให้คิดพูดทำ ทำให้ชีวิตเป็นทุกข์ ซึ่งตรงข้ามกับความอยากที่ประกอบด้วยปัญญา เช่น อยากพ้นจากทุกข์ อยากไปนิพพาน

 

แต่สมุทัย คือ ความทะยานอยากที่ไม่ได้ประกอบไปด้วยปัญญา ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด เกิดบ่อยๆ ก็แก่บ่อยๆ เจ็บบ่อยๆ ตายบ่อยๆ พลัดพรากจากสิ่งที่รักบ่อยๆ ประสบในสิ่งที่ไม่เป็นที่รักบ่อยๆ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นบ่อยๆ เกิดความโศกเศร้า เสียใจ คับแค้นใจ ร่ำพิไรรำพัน  ชีวิตจึงเป็นทุกข์

 

ต้องดับความทะยานอยากเหล่านั้น ซึ่งภาษาธรรมะ เรียกว่า นิโรธะ หรือ นิโรธ  ดับหรืออีกนัยหนึ่ง แปลว่า หยุด คือ หยุดความทะยานอยาก

 

เมื่อความทะยานอยากเกิดขึ้นที่ใจ  ต้องนำใจมาหยุดในตำแหน่งที่ถูกต้อง ตำแหน่งที่ผู้รู้ดั้งเดิม คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตที่ผ่านมานับพระองค์ไม่ถ้วน ใจท่านหยุดอยู่ที่ตรงนี้ เรียกว่า นิโรธะ แปลว่า ดับความทะยานอยาก ดับความทะยานอยากได้ก็ดับทุกข์ได้ หรือหยุดความทะยานอยากนั้น

 

ดับความทะยานอยากที่เกิดขึ้นที่ใจ  เมื่อใจไม่วิ่งวุ่นวายก็หยุดนิ่ง เรียกว่า นิโรธะ เมื่อหยุดนิ่งถูกส่วนก็ตกศูนย์เข้าไปสู่ภายใน มรรค ก็เกิดขึ้น คือ เห็นดวงปฐมมรรคเป็นดวงใสๆ เกิดขึ้นเมื่อใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗

 

ธรรมดวงแรก ที่เรียกว่า ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ความบริสุทธิ์ดวงแรก ซึ่งเป็นประดุจปากประตูที่จะไปสู่อายตนนิพพาน  ก็ลอยขึ้นมาเป็นดวงใสๆ อย่างเล็กก็ขนาดดวงดาวในอากาศ อย่างกลางก็ขนาดพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ อย่างใหญ่ก็ขนาดพระอาทิตย์ยามเที่ยงวัน หรือใหญ่กว่านี้ แล้วแต่กำลังบารมีที่ไม่เท่ากัน จะเป็นดวงใสๆ

 

เราจะเห็นว่า อริยสัจ ๔  ท่านก็เรียงกันไปตามลำดับอยู่แล้ว คือ เห็นทุกข์ เห็นบ่อเกิดแห่งทุกข์มาจากความทะยานอยากที่ไม่ได้ประกอบไปด้วยปัญญา ไม่ประกอบไปด้วยความเข้าใจในเรื่องราวของชีวิตสรรพสัตว์สรรพสิ่ง ถ้าดับได้ มรรคก็เกิดเป็นดวงใสๆ พอมรรคเกิดแล้วแสงสว่างส่องทางชีวิตก็เกิดขึ้น

 

มรรคเกิด ทุกข์ก็ดับ


การดับทุกข์ หรือความสุข เริ่มเกิดตั้งแต่มรรคเกิด

 

คู่แรก ทุกข์-สมุทัย เป็นเรื่องของทุกข์ คู่หลัง นิโรธะ- มรรค เป็นเรื่องของสุข ซึ่งจะตรงกันข้ามกัน

 

คู่แรก เป็นเรื่องของความมืด คู่หลัง เป็นเรื่องของความสว่าง

คู่แรก เป็นเรื่องของความไม่รู้  คู่หลังเป็นเรื่องของความรู้ 

ความรู้แจ้งที่เกิดจากการเห็นแจ้ง  จะเห็นเป็นภาพ  เพราะแสงสว่างที่เกิด มาพอมกับความสุข สุขที่เราไม่เคยเจอมาก่อน และความบริสุทธิ์ คือ สงัดจากกาม สงัดจากบาปอกุศลกรรมทั้งหลาย

 

คำว่า “สงัดจากกาม” นี้ไม่ใช่เป็นเรื่องเล็กๆ นอกจากเรื่องเพศแล้ว ยังหมายถึง เรื่องทรัพย์  ลาภ ยศ สรรเสริญ ตำแหน่ง หน้าที่ อำนาจ วาสนา เหล่านั้นด้วย

สงัด คือ ใจไม่กระสับกระส่ายไปในเรื่องเหล่านั้น สงัดจากกามและอกุศลธรรมที่เป็นบาปอกุศล  ทำให้ใจเป็นทุกข์ขุ่นมัว หงุดหงิดงุ่นง่าน ฟุ้งซ่านรำคาญใจ อะไรต่างๆ มันดับไป

 

เข้าถึงดวงธรรม

 

สุขก็เกิด คือ กายเบา ใจเบา สบายอย่างไม่เคยเป็น มาจากการเห็นภาพที่แสงสว่างเกิดขึ้น เป็นแสงสว่างภายในที่สว่างกว่าแสงสว่างภายนอก ที่เราเคยเห็นด้วยตาเนื้อ คือ  สว่างกว่าดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวัน  แต่ว่าเย็นตา เนียนตา ละมุนใจ ใจใสๆ เกลี้ยงเกลา ปีติสุขก็หล่อเลี้ยงใจว่า คนอย่างเราก็ทำได้ ชีวิตนี้เราเข้าถึงความสุขภายในได้ ถึงความบริสุทธิ์ได้ เพราะความรู้สึกอย่างนี้ทำให้ใจหยุดนิ่งแน่นกว่าเดิมในกลางดวงปฐมมรรค หรือ ดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานอย่างต่อเนื่อง นิ่งแน่นอย่างนุ่มนวล คือ จิตมันจะ Soft Soft นุ่มๆ

 

เราเข้าใจคำว่า นุ่มนวล ได้มากขึ้นกว่าที่เราเคยเข้าใจ คือ ใจจะขยาย กายขยาย มีความรักและปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย อย่างไม่มีประมาณ  มันเกิดขึ้นเอง ใจจะนุ่มๆ เหมือนหลุดจากกายหยาบไปติดอยู่ที่ตรงนั้น  กลางดวงใสๆ คล้ายๆ กายหยาบเหมือนบ้านเรือน เหมือนหุ่นที่ไม่มีชีวิต  มันหลุดออกไปเลย หลุดจากความเป็นหญิง หลุดจากความเป็นชาย  เป็นกลางๆ ใจก็ยิ่งแน่น แน่นในระดับความคิดอื่นเข้ามาแทรกไม่ได้ แล้วก็นุ่มนวล คือ มัน Soft Soft


เข้าถึงกายภายใน ถึงธรรมกาย

 

ดวงธรรมนั้นจะขยาย ทำให้ใจเราแล่นเข้าไปสู่ภายใน เคลื่อนไปเห็นสิ่งที่สลับซับซ้อนที่เราไม่เคยรู้เคยเห็นมาก่อน  ไม่เคยคิด ไม่เคยเฉลียวใจว่า มีสิ่งนี้ในตัวของเรา ที่มาพร้อมกับความสุขที่เพิ่มขึ้น  ความบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น

 

เราจะเห็นดวงธรรมในดวงธรรม กายในกายซ้อนๆ กันอยู่ เป็นชีวิตภายในที่ประณีตเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไปถึงกายธรรม คือ กายทั้งก้อนเป็นธรรมล้วนๆ บริสุทธิ์ล้วนๆ ประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ มีเกตุดอกบัวตูม กายใสเกินความใสใดๆ ในโลก สว่าง สวยงาม  มีความสุข สะอาด สงบ   มีอานุภาพไม่มีประมาณ  เข้าถึงแล้วก็อบอุ่น ปลอดภัย ปลื้มปีติเบิกบานใจ

 

เหมือนเรามีชีวิตใหม่ มาสู่โลกแห่งความเป็นจริง  คล้ายๆ กับอาการของคนที่ตื่นจากหลับ คนที่หลับอยู่มัน  ไม่รู้เรื่องรู้ราว ยังอยู่ในโลกแห่งความฝัน โลกแห่งมายา แต่นี่ตื่นแล้วมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง  เปลี่ยนสภาวะใจและกายของเรา  จากผู้ไม่รู้เรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต มาเป็นผู้รู้ เพราะมีธัมมจักขุ คือ มีดวงตาที่แตกต่างจากการเห็นด้วยตามนุษย์ ตาทิพย์  ตาพรหม หรือตาอรูปพรหม ด้วยตาใดๆ ทั้งสิ้นในภพทั้ง ๓ และมีญาณทัสสนะ ความรู้แจ้ง เห็นถึงไหนรู้ถึงนั่น จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างก็บังเกิดขึ้นด้วยกายนี้

 

ธรรมกาย คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

 

กายนี้ คือ ธรรมกาย หรือ กายพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะก็อยู่ในนี้  อยู่ในกลางซ้อนๆ กันอยู่

 

กายของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้วก็คือ ธรรมกาย  เป็นกายที่สวยงามมาก มีเหมือนกันทุกคนในโลก แต่เราไม่เคยรู้เลยว่า มีกายเหล่านี้อยู่ ที่จะเปลี่ยนเราจากผู้ไม่รู้มาเป็นผู้รู้ จากคนที่ยังงัวเงียหลับใหลอยู่ในโลกมายา กลายเป็นผู้ตื่น จากผู้ที่มีความทุกข์ทรมานของชีวิต จนกระทั่งต้องไปพึ่งพาสิ่งที่สร้างบาปอกุศล มีวิบากกรรมรองรับ ไปพึ่งในสิ่งเหล่านั้น ไปสูบ ไปเสพ เป็นต้น  มากลายเป็นผู้ที่เบิกบาน ไม่มีความทุกข์ทรมานของชีวิต

 

เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ด้วยการเข้าถึงกายธรรมที่อยู่ในตัวของเรา

 

ที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง

 

พระธรรมกายภายใน คือ ที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง  ช่วยให้เราพ้นจากความทุกข์ทรมานของชีวิต เป็นที่ระลึก คือ ที่ควรจะนึกถึงให้ได้ตลอดเวลา ทั้งนั่ง นอน ยืน เดิน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด หยุดนิ่ง ลิ้มรส เหยียดแขน คู้แขน จะทำอะไรก็แล้วแต่ ถ้านึกถึงท่านเมื่อไรก็จะมีความสุข ปีติ เบิกบาน อาจหาญ ร่าเริง อยากจะทำความดีงาม อยู่ตามลำพังในป่าเขา ห้วยหนองคลองบึงก็มีสุข สุขด้วยตัวเอง สุขตามลำพัง ไม่ต้องไปพึ่งวัตถุภายนอก  สุขด้วยตัวเอง เรียกว่า นิรามิสสุข สุขเพราะเข้าถึงกายธรรม นี้คือ ตัวพระรัตนตรัย

 

พระรัตนตรัย ประกอบด้วย พุทธรัตนะ  กลางพุทธรัตนะก็มี ธรรมรัตนะเป็นดวงกลมใสๆ เป็นแหล่งเก็บข้อมูลของความรู้เรื่องราวต่างๆ ของสรรพสัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลาย ในนั้นเต็มไปด้วยข้อมูลต่างๆ เรื่องในอดีตชาติก็ดี เรื่องการเวียนว่ายตายเกิดของชีวิตก็ดี เรื่องราวการบังคับบัญชาของกิเลสอาสวะพญามารก็อยู่ในธรรมรัตนะ  เหมือนห้องสมุดใหญ่ๆ และมีผู้ดูแลห้องสมุดนี้ คือ สังฆรัตนะ ซึ่งอยู่ในกลางธรรมรัตนะอีกทีหนึ่ง  เป็นกายธรรมที่มีลักษณะเหมือนกัน แต่ว่าละเอียดกว่า เหมือนกายฝันของเราที่ละเอียดกว่ากายมนุษย์หยาบตัวของเรา ซ้อนอยู่ภายใน

 

พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชื่อเรียกกันคนละอย่าง เพราะทำหน้าที่คนละอย่าง แต่แยกออกจากกันไม่ได้ จะต้องไปพร้อมๆ กัน เหมือนเพชรที่มีทั้งความแข็งความใสและมีสีสันไปด้วยกันอย่างนี้ นี่แหละคือ ที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง  เมื่อเข้าถึงแล้วก็จะมีสุขทั้งในปัจจุบันและอนาคต   ถ้ายังไม่ไปนิพพานก็เลือกภพภูมิเกิดได้ ไปนรกก็ได้ ไปสวรรค์ก็ได้ ไปนิพพานก็ได้

 

ทุกคนบรรลุธรรมได้

 

รัตนะทั้ง ๓ นี้อยู่ในตัวของเรา ถ้ามีเวลาว่างมากๆ พ้นจากพันธการของชีวิต  จะศึกษาเรื่องราวเหล่านี้ได้ง่ายกว่าผู้ที่มีพันธการของชีวิต เพศสมณะนี่แหละเป็นเพศที่เหมาะสมกว่าเพศของคฤหัสถ์ เพราะโอกาสปลอดกังวลมีมากกว่า แต่ก็ไม่ใช่ว่าเพศของคฤหัสถ์ทำไม่ได้ ก็สามารถทำควบคู่กันไปได้และเข้าถึงได้เช่นเดียวกัน แต่ว่ามีเครื่องกังวลมากกว่าเพศของบรรพชิต

 

เพราะฉะนั้น  เมื่อเราเข้าใจกันอย่างนี้แล้ว  ต่อจากนี้ไปเวลาที่เหลืออยู่ ลูกทุกคนฝึกใจให้หยุดนิ่งๆ นุ่มๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗  กำหนดบริกรรมนิมิตขึ้นมาเป็นดวงใสๆ หรือเพชรสักเม็ดหนึ่ง ก้อนน้ำแข็งสักก้อนหนึ่งกลมๆ หรือองค์พระสักองค์หนึ่งที่เราคุ้นเคย เป็นจุดเริ่มต้นที่จะดึงใจกลับมาหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ พร้อมกับประคองใจให้หยุดนิ่ง ด้วยบริกรรมภาวนาในใจเบาๆ ว่า สัมมาอะระหังๆๆ  ภาวนาอย่างนี้ไปเรื่อยๆ 

 

เช้านี้อากาศกำลังสดชื่นแจ่มใสเย็นสบาย เหมาะสมที่ลูกทุกๆ คน ซึ่งเป็นผู้มีบุญ  จะได้ประกอบความเพียรให้กลั่นกล้า ให้ถูกหลักวิชชา จะได้ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว  ขอให้ลูกทุกคนตั้งใจประกอบความเพียรกันไปอย่างถูกหลักวิชชา ให้ลูกทุกคนสมหวังดั่งใจในการเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวทุกๆ คน  ต่างคนต่างนั่งกันไปเงียบๆ นะจ๊ะ

Add Comment
2554
วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ▼  เดือน สิงหาคม (233)
      • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอ...
      • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
      • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
      • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
      • ม้าพยศ 450910F รอบค่ำ
      • วิธีปฏิบัติให้เข้าถึงประสบการณ์ภายใน 540724D รอบบ่าย
      • รสแห่งธรรมเลิศกว่ารสทั้งปวง 460112D รอบบ่าย
      • คิดพูดเรื่องละเอียดใจละเอียด 450909F รอบค่ำ
      • ประสบการณ์หนึ่งนาทีที่ใจหยุดนิ่ง 471114D รอบบ่าย
      • ยากตรงหยุดแรก 481225D รอบบ่าย
      • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
      • แผ่เมตตา และอธิษฐานจิต 500804F รอบค่ำ
      • มองผ่านๆ 451009F รอบค่ำ
      • ง่ายจึงจะถูกวิธี 520412C รอบสาย
      • ชีวิตที่ถูกหลอก 460824C รอบสาย
      • อารมณ์สบายอย่าฟังผ่าน 450928F รอบค่ำ
      • สติกับสบาย 361107C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
      • ประโยชน์ของสมาธิ 540102D รอบบ่าย
      • ฐานที่ ๗ ตำแหน่งของผู้รู้ 540522D รอบบ่าย
      • สิ่งดีๆเริ่มต้นเมื่อใจหยุด 490709D รอบบ่าย
      • ใจหยุดหลุดพ้นทุกข์ 560707C รอบสาย
      • เราเกิดมาเพื่อแสวงหาธรรม 590327D รอบบ่าย
      • บุญจะได้ช่องเมื่อใจเราสบาย 590222D รอบบ่าย
      • สุขอื่นยิ่งกว่าใจหยุดนิ่งไม่มี 590306D รอบบ่าย
      • โอวาทปาติโมกข์ 590222E รอบเย็น
      • อย่ามองข้ามความสบาย 590207D รอบบ่าย
      • กายสบายใจสบายก็ง่ายนิดเดียว 590101D รอบบ่าย
      • ประสูติตรัสรู้ปรินิพพานตำแหน่งเดียวกัน 580601E รอบ...
      • พิธีจุดไฟแก้วสดุดีนักรบกองทัพธรรม 580510E รอบเย็น
      • ยังแข็งแรงอยู่ต้องหาที่พึ่งให้เจอ 580405D รอบบ่าย
      • อานุภาพของดวงบุญ 580304D รอบบ่าย
      • ทบทวนบุญบูชาข้าวพระ 570706D รอบบ่าย
      • ความสุขในกลาง 520906D รอบบ่าย
      • เข้าถึงธรรมได้วิเศษที่สุด 590403D รอบบ่าย
      • ใจกับกายหนึ่งเดียวกัน 570101D รอบบ่าย
      • ปริญญา DOU 560707D รอบบ่าย
      • พระผู้ปราบมารพยานตรัสรู้ธรรม 560714D รอบบ่าย
      • นึกถึงหลวงปู่ หลวงปู่นึกถึงเรา 560512D รอบบ่าย
      • เชื่อมสายบุญกับหลวงปู่พระผู้ปราบมาร 560505D รอบบ่าย
      • สร้างบุญกับหลวงปู่บุคคลผู้เลิศ 560519D รอบบ่าย
      • ธรรมกายคือเป้าหมายชีวิต 560414D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งอย่างเดียว 560428D รอบบ่าย
      • ทำความเพียรอย่างถูกหลักวิชชา 560331D รอบบ่าย
      • ชาวพุทธที่แท้จริง 560317D รอบบ่าย
      • อานิสงส์หยุดเป็นตัวสำเร็จ 560203D รอบบ่าย
      • ปีใหม่สร้างบารมีให้เข้มข้นขึ้น 560101D รอบบ่าย
      • ความตายไม่มีนิมิตหมาย 551223D รอบบ่าย
      • ความลับของชีวิต 551209D รอบบ่าย
      • ตามรอยพุทธองค์ 551125D รอบบ่าย
      • ป้อมปราการของชีวิต 551014D รอบบ่าย
      • ตกระแสธรรม 551028D รอบบ่าย
      • จุดเทียนใจ 550902D รอบบ่าย
      • แก้วกายสิทธิ์ 550826D รอบบ่าย
      • หาพระในตัวให้เจอ 550819D รอบบ่าย
      • อธิปไตยในตัว 550708D รอบบ่าย
      • บวชเรียนเพื่อพ้นโลก 550715D รอบบ่าย
      • การบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้า 550422C รอบสาย
      • เข้าถึงธรรมง่ายถ้าใจปล่อยวาง 550408D รอบบ่าย
      • บูชาหลวงปู่ด้วยพวงมาลัยดอกมะลิ 550401D รอบบ่าย
      • สิ่งอัศจรรย์ 550415D รอบบ่าย
      • โอวาทปาติโมกข์ 550307E รอบเย็น
      • อานิสงส์ตักบาตรในเส้นทางพระผู้ปราบมาร 550311D รอบบ่าย
      • บุญอยู่เบื้องหลัง 550318D รอบบ่าย
      • ภาพในกลางดวงบุญ 550325D รอบบ่าย
      • ทางมรรคผลนิพพาน 550219D รอบบ่าย
      • ทางรอด 550212D รอบบ่าย
      • ต้องยึดศูนย์กลางกายให้ได้ 550129D รอบบ่าย
      • ฉลองชัยชิตัง เม 550125E รอบเย็น
      • V-Starครั้งที่6 550128E รอบเย็น
      • เส้นทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ 541211D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งอย่างเดียว 541218D รอบบ่าย
      • ทำไมต้องสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ 541112D รอบบ่าย
      • กฐินประวัติศาสตร์ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม 541106D รอบบ่าย
      • จิตวิญญาณพระแท้ 541120D รอบบ่าย
      • ความปลื้มสร้างทุกสิ่ง 541127D รอบบ่าย
      • ทำบุญแล้วต้องปลื้ม 540828D รอบบ่าย
      • ชีวิตในสังสารวัฏเป็นทุกข์ 540814D รอบบ่าย
      • รางวัลแห่งความเพียร 540724D รอบบ่าย
      • สุขกับเฉยไปด้วยกัน 540717D รอบบ่าย
      • ทางมรรคผลนิพพาน 540717C รอบสาย
      • พระแท้ 540710D รอบบ่าย
      • อริยสัจ4 540619C รอบสาย
      • วันวิสาขบูชา 540517C รอบสาย
      • คุ้มครองโลกอย่างถูกหลักวิชชา 540422C รอบสาย
      • วิชชา3 540424D รอบบ่าย
      • เดินธุดงค์เพื่อการบำเพ็ญสมณธรรม 540422D รอบบ่าย
      • เส้นทางมรรคผลนิพพาน 540410C รอบสาย
      • อายุพระศาสนา 540320C รอบสาย
      • คุณลักษณะที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง 540313D รอบบ่าย
      • เหลี่ยมคูพญามาร 540327C รอบสาย
      • พญามารกลัวมนุษย์หยุดใจได้ 540227C รอบสาย
      • สันติภาพโลกเริ่มต้นจากสันติสุขภายใน 540218C รอบสาย
      • การเห็นภายใน 540213C รอบสาย
      • นึกถึงบุญ 540227D รอบบ่าย
      • ความลับของชีวิต 540220D รอบบ่าย
      • พระธรรมกายภายใน 540109D รอบบ่าย
      • ง่ายจึงถูกวิธี 540109C รอบสาย
      • ความสำคัญของฐานที่7 531205D รอบบ่าย
      • วิชชา3 531219C รอบสาย
    • ►  เดือน กรกฎาคม (123)
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger