• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2554 คุณลักษณะที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง 540313D รอบบ่าย

คุณลักษณะที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง 540313D รอบบ่าย


คุณลักษณะที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง

วันอาทิตย์ที่   ๑๓   มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ (๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.)

งานบุญวันอาทิตย์ ณ สภาธรรมกายสากล


ปรับกาย-ปรับใจ

 

ตั้งใจหลับตาเจริญสมาธิภาวนากันนะจ๊ะ หลับตาเบาๆ พอสบายๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย ทั้งเนื้อทั้งตัวให้มีความรู้สึกว่าสบาย ขยับเนื้อขยับตัวของเราให้ดี ปรับท่านั่งให้ถูกส่วน จะได้ไม่ปวด ไม่เมื่อย ให้รู้สึกว่า สบายๆ ผ่อนคลาย

 

วางใจ


รวมใจไปหยุดนิ่งๆ นุ่มๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในตำแหน่งที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เป็นตำแหน่งที่สำคัญ ที่หยุดใจของเรา เพราะเป็นตำแหน่งเดียวกับที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พระอรหันตเจ้าทั้งปวง นับอสงไขยพระองค์ไม่ถ้วน ที่ท่านได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ดับทุกข์หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ เข้าถึงอายตนนิพพานได้ ก็เพราะใจมาหยุดนิ่งอยู่ที่ตรงนี้ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้ที่เดียว ตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งท่านบรรลุอรหันต์ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นพระอรหันต์ทั้งปวงใจท่านจะมาหยุดนิ่งอยู่ที่ตรงนี้ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗

 

ชีวิตเป็นทุกข์

 

เมื่อท่านผู้รู้ทั้งหลาย เบื่อหน่ายชีวิตแห่งการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ในกามภพ รูปภพ หรืออรูปภพ เมื่อเกิดความเบื่อหน่าย ท่านก็จะคลายความผูกพันจากทุกสิ่ง เบื่อหน่ายเพราะเห็นทุกข์โทษภัยในชีวิตสังสารวัฏ ไม่ว่าจะเกิดไปเป็นอะไรก็ตาม

 

เป็นมนุษย์ชั้นล่างก็ทุกข์แบบชนชั้นล่าง ชั้นกลางก็ทุกข์แบบชนชั้นกลาง ชั้นสูงก็ทุกข์แบบชนชั้นสูง ล้วนมีทุกข์อยู่ด้วยกันทั้งสิ้น ทั้งทุกข์ประจำตัวกับทุกข์ที่จรมา

 

ทุกข์ประจำตัว ได้แก่ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก ประสบสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เกิดการโศกเศร้าเสียใจคับแค้นใจร่ำพิไรรำพัน คือไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ตกอยู่ในสภาพอย่างนั้น

ทุกข์จรมา คือ ทุกข์จากข้างนอกกระทบมาถึง

อีกทั้งยังต้องตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม กฎแห่งการกระทำ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ล้วนมีผลทั้งสิ้น กฎแห่งไตรลักษณ์ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความเป็นอนัตตา ไม่เป็นอิสรภาพ ไม่เป็นตัวของตัวเอง แล้วก็ยังมีกฎเกณฑ์อีกเยอะแยะที่คอยบังคับบัญชาอยู่

 

เส้นทางพระอริยเจ้า


เมื่อท่านให้โอกาสตัวเอง พิจารณาเห็นทุกข์โทษภัยในสิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นกับชีวิตของท่าน ก็เกิดความเบื่อหน่ายการเวียนว่ายตายเกิด อยากพ้นจากสภาพชีวิตอย่างนี้ ก็คลายความผูกพันจากสิ่งที่ไม่เป็นสาระแก่นสารของชีวิต พอคลายใจก็หลุดพ้นจากสิ่งที่เคยไปผูกพัน ไม่ว่าเป็นรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ คน สัตว์ สิ่งของ ลาภ ยศ สรรเสริญ อำนาจ วาสนา เป็นต้น ที่มันไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงได้อยู่ตลอดเวลา

 

พอหลุด ใจก็จะกลับเข้ามาสู่ที่ตั้งดั้งเดิม คือ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เป็นตำแหน่งที่ตั้งดั้งเดิมของใจของเรา พอหยุดนิ่งได้ถูกส่วน ก็เข้าถึงดวงธรรมที่มีอยู่ภายใน คือ ใจจะตกศูนย์เข้าไปสู่ภายใน แล้วดวงธรรมก็ลอยขึ้นมา เป็นดวงใสๆ

 

อย่างน้อยก็ใสเหมือนกับน้ำใสๆ กระจกใสๆ หรือเพชรใสๆ กลมรอบตัวเหมือนดวงแก้ว สว่างเหมือนดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวัน ใสเย็นเหมือนแสงจันทร์ในคืนวันเพ็ญ

 

อย่างเล็กก็ขนาดดวงดาวในอากาศ อย่างกลางก็ขนาดพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ อย่างใหญ่ก็ขนาดพระอาทิตย์ยามเที่ยงวัน หรือใหญ่กว่านี้ แล้วแต่ตามกำลังบารมีที่ไม่เท่าเทียมกัน

 

ปรากฏเกิดขึ้นมาพร้อมกับความสุขที่ไม่เคยเจอ ความบริสุทธิ์ของใจในระดับที่เราปีติและภาคภูมิใจในตัวเอง เคารพตัวเองได้ ใจจะเกลี้ยงๆ มีปีติสุขหล่อเลี้ยงใจ ใจจะใสๆ เยือกเย็น

 

แล้วจะเห็นเส้นทางสายกลางของพระอริยเจ้า เป็นเส้นทางไปสู่ความเป็นพระอริยเจ้า และเป็นเส้นทางที่พระอริยเจ้า ได้ดำเนินจิตของท่านในเส้นทางนี้ จะเป็นจุดใสๆ เล็กๆ สว่างกว่าดวงปฐมมรรคที่ปรากฏเกิดขึ้น จะเป็นจุดศูนย์กลางของดวงปฐมมรรค หรือดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

 

จุดเริ่มต้นในการไปสู่อายตนนิพพาน ใจจะนิ่งแน่นหยุดนิ่งอยู่ที่ตรงนี้ แล้วการเคลื่อนเข้าไปสู่ภายใน หรือการเดินทางเข้าไปสู่ในเส้นทางของพระอริยเจ้าก็เกิดขึ้น คือ จะเคลื่อนเข้าไปข้างใน จะพบสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัว เป็นดวงธรรมที่ซ้อนๆ กันอยู่ เป็นกายในกายที่ซ้อนๆ กัน มีความสุข ความบริสุทธิ์ที่ซ้อนๆ กันอยู่ เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ไปตามลำดับ ผุดผ่านมาตรงกลางตรงนั้น ใจก็จะนิ่งดิ่งเข้าไปสู่ภายใน โดยไม่มีอะไรเหนี่ยวรั้งเลย จะเคลื่อนเข้าไป จะเห็นเข้าไปตามลำดับ

 

จนกระทั่งเข้าไปถึงกายธรรมหรือพระธรรมกาย เป็นองค์พระแก้วขาวใสเกินความใสใดๆ ในโลก สว่างมากๆ สวยงามมาก เกตุดอกบัวตูม ในอิริยาบถนั่งสมาธิ นั่งอยู่บนแผ่นฌาน กลม แบน ใสๆ หันหน้าออกไปทางเดียวกับตัวของเรา เป็นกายของผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว เป็นกายของผู้รู้แจ้งเห็นแจ้งแทงตลอดในธรรมทั้งปวง ในเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต สรรพสัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลาย สิ่งที่เกี่ยวเนื่องกัน ที่ผ่านมาแล้วในอดีต กำลังบังเกิดขึ้นในปัจจุบัน และที่จะมีต่อไปในอนาคต

 

วิชชา ๓


วิชชา ๓ จะเกิดขึ้นในกายธรรมนี้

บุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติหนหลังได้

จุตูปปาตญาณ เห็นภพภูมิต่างๆ การเวียนว่ายตายเกิด กฎแห่งกรรม

อาสวักขยญาณ เห็นกิเลสทั้งหยาบและละเอียด มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป แต่เป็นกิเลสในตระกูลทั้งสาม คือ โลภะ โทสะ โมหะ ที่พญามารเขาเอาไปหมักดองเอาไว้ เอาชีวิตทั้งชีวิต ทั้งธาตุ ทั้งธรรม เห็น จำ คิด รู้ ทุกกายไปหมักดอง ดองด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง เหมือนเราเอาผักผลไม้ไปดองเค็ม ดองเปรี้ยว ดองหวานอย่างนั้น

 

จะเห็นเป็นภาพขึ้นมา เห็นได้ด้วยธัมมจักขุของพระธรรมกาย เห็นได้รอบตัว ทุกทิศทุกทางในเวลาเดียวกัน เป็นการเห็นที่แจ่มแจ้ง ไม่มีอะไรกำบัง แตกต่างจากการเห็นด้วยตามนุษย์ ตาทิพย์ พรหม หรืออรูปพรหม คือเห็นได้กว้างไกลลึกกว่าดวงตาเหล่านั้น   เห็นถึงไหนก็รู้ถึงนั่น

 

มีญาณทัสสนะ ความรู้แจ้งก็เกิดขึ้น ความรู้แจ้งที่เกิดจากการเห็น เรียกว่า เห็นด้วยปัญญา เกิดธัมมจักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง มีประชุมรวมพร้อมอยู่ในกายธรรมนี้

 

คำว่า วิปัสสนา


ความลับของชีวิตก็จะถูกเปิดเผย เปิดเผยด้วยกายธรรมที่อยู่ภายใน ที่มีลักษณะสวยงามมาก เหมือนกันทุกคนในโลก ในแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล เป็นกายที่สวยงาม มีการเห็นที่พิเศษแจ่มแจ้งแตกต่างจากการเห็นทั่วไป ที่ภาษาบาลีใช้คำว่า วิปัสสนา

วิ แปลว่า วิเศษ แจ้ง ต่าง

ปัสสนา แปลว่า การเห็น

วิปัสสนา คือ การเห็นอย่างวิเศษ แจ่มแจ้งแตกต่างจากการเห็นด้วยดวงตามนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม เพราะกว้างไกลกว่ากันเยอะแยะ ทั่วถึงหมด

 

กายธรรมที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง


กายธรรมนี้มีแต่ความสุขล้วนๆ ไม่มีทุกข์เจือปนเลย เป็นกายเดียวที่พ้นจากกฎของไตรลักษณ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เพราะว่ากายธรรมนี้จะเป็นอมตะ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มีแต่สุขล้วนๆ ไม่มีทุกข์เจือเลย

 

เป็นกายดั้งเดิมตัวจริงของเรา เป็นอิสรภาพ พ้นจากกฎทั้งไตรลักษณ์ จึงเป็นที่พึ่งที่ระลึกของเราได้ เพราะว่าท่านเป็นอยู่ได้ด้วยตัวเอง ทุกข์ทั้งหลายเมื่อบังเกิดขึ้นกับเรา ถ้าใจเรานำกลับเข้าไปสู่ภายใน อยู่ในกลางกายธรรมนี้ ทุกข์นั้นก็ดับไป

 

เหมือนคบเพลิงที่เราถือทวนลม เกิดความร้อนกระทบหน้ากระทบตัว ความร้อนนั้นดับได้เมื่อคบเพลิงจุ่มลงไปในน้ำ กายธรรมก็จะมีสภาวะคล้ายๆ อย่างนั้น จึงเป็นที่พึ่งได้ อบอุ่น ปลอดภัย ปลอดจากภัยทั้งหลาย มีภัยในอบายภูมิ เป็นต้น

 

เข้าถึงกายธรรมนี้ก็ปิดอบาย มีสุคติโลกสวรรค์เป็นที่ไป มีสุขในปัจจุบัน แม้ว่าปัญหายังมีอยู่ ที่เกิดจากความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพราก เป็นต้น แม้มีปัญหาแต่มันก็ไม่เป็นปัญหา เพราะใจหยุดนิ่งอยู่ในกลางกายธรรม กายที่มีลักษณะมีคุณสมบัติอย่างนี้ จึงจะเป็นที่พึ่งได้

 

เป็นที่ควรระลึกนึกถึง และต้องระลึกนึกถึง ให้เห็น ชัด ใส แจ่ม อยู่ตลอดเวลา ทั้งหลับตา ลืมตา นั่ง นอน ยืน เดิน เห็นท่านชัดใสแจ่มอยู่ตลอดเวลา จะมีความสุข สดชื่น เบิกบาน มีชีวิตชีวา อบอุ่น และรู้สึกปลอดภัยจากภัยทั้งปวง ปัญหาต่างๆ แม้มีอยู่ ก็ไม่เป็นปัญหา คือ ไม่ทำให้ใจมีความทุกข์ทรมานได้

 

ปัญหามีก็แก้ไป ด้วยกำลังแห่งสติปัญญา ตามกำลังแห่งบุญบารมีของตัว เพราะผู้ที่ประสบปัญหานั้น ไม่มีเว้นเลยแม้แต่คนเดียว ไม่ใช่เฉพาะมนุษย์ แม้เทวดาก็มีปัญหา หมดกำลังบุญก็ต้องจุติลงมา พรหม อรูปพรหมก็เหมือนกัน

 

แต่ถ้าเข้าถึงกายธรรมแล้ว มีปัญหาก็ไม่เป็นปัญหา สิ่งที่มีลักษณะอย่างนี้ จึงจะเป็นสรณะให้กับตัวของเราได้ ถ้าไม่มีสภาวะอย่างนี้เป็นสรณะไม่ได้ เช่น เวลาเรามีทุกข์ บางคนก็ไปพึ่งต้นไม้ ภูเขา อารามศักดิ์สิทธิ์ พึ่งสัตว์เดรัจฉาน สมมติว่าเป็นปู่นั่น ปู่นี่ เข้าใจเอาเอง แต่สิ่งเหล่านั้นไปสู่จุดสลายทั้งสิ้น ยังพึ่งตัวเองไม่ได้ เพราะฉะนั้น จะเป็นที่พึ่งให้กับเราได้อย่างไร

 

ที่พึ่งที่แท้จริงนั้นมีอยู่เพียงที่เดียว คือ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ กายนี้เท่านั้น คือ กายธรรมของเราเอง ดังนั้นเราก็จะต้องนำใจกลับมาอยู่ที่ตรงนี้ ให้เห็นชัดใสแจ่มอยู่ตลอดเวลา อย่างนี้ถึงจะเรียกว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ เราเข้าถึงที่พึ่งที่ระลึกของเราได้แล้ว พึ่งตัวเองได้แล้ว แม้อยู่คนเดียวในโลกก็มีสุขได้ อยู่ในป่าในเขา ห้วย หนอง คลอง บึง ก็มีสุขได้ อยู่ในสถานการณ์อย่างไรก็มีสุขได้

 

เพราะฉะนั้น ลูกทุกคนก็จะต้องให้โอกาสตัวเอง หมั่นศึกษาฝึกฝนพัฒนาตัวของเราให้หยุด ให้นิ่ง ให้เข้าถึงกายธรรมให้ได้ พอถึงกายธรรมแล้ว สิ่งที่จะศึกษาเรียนรู้ วิชชาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอีกเยอะแยะมากมายก่ายกอง เรียนกันไปตลอดชีวิตก็ไม่หมด แต่ถ้าเรียนเพื่อดับทุกข์นั้น ก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าจะเรียนเพื่อรื้อวัฏฏะนั้น ก็อีกเรื่องหนึ่ง สิ่งที่จะศึกษาเรียนรู้ได้จะต้องเข้าถึงกายธรรมนี้เท่านั้น

 

เวลาที่เหลืออยู่นี้ ให้ลูกทุกคนตั้งใจประกอบความเพียรให้กลั่นกล้า ให้สมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ มาพบพระพุทธศาสนา ให้ใช้บุญที่เรามี สร้างวาสนาให้เกิดขึ้นกับตัวของเราเอง ให้เข้าถึงพระธรรมกายให้ได้ อีกทั้งกาย วาจา ใจ ก็จะได้ใสสะอาด บริสุทธิ์ เหมาะสมที่จะเป็นภาชนะรองรับบุญใหญ่ที่จะเกิดขึ้น จากการสร้างมหาทานบารมีของเราต่อไป ต่างคนต่างนั่งกันไปเงียบๆ นะจ๊ะ

Add Comment
2554
วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ▼  เดือน สิงหาคม (233)
      • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอ...
      • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
      • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
      • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
      • ม้าพยศ 450910F รอบค่ำ
      • วิธีปฏิบัติให้เข้าถึงประสบการณ์ภายใน 540724D รอบบ่าย
      • รสแห่งธรรมเลิศกว่ารสทั้งปวง 460112D รอบบ่าย
      • คิดพูดเรื่องละเอียดใจละเอียด 450909F รอบค่ำ
      • ประสบการณ์หนึ่งนาทีที่ใจหยุดนิ่ง 471114D รอบบ่าย
      • ยากตรงหยุดแรก 481225D รอบบ่าย
      • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
      • แผ่เมตตา และอธิษฐานจิต 500804F รอบค่ำ
      • มองผ่านๆ 451009F รอบค่ำ
      • ง่ายจึงจะถูกวิธี 520412C รอบสาย
      • ชีวิตที่ถูกหลอก 460824C รอบสาย
      • อารมณ์สบายอย่าฟังผ่าน 450928F รอบค่ำ
      • สติกับสบาย 361107C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
      • ประโยชน์ของสมาธิ 540102D รอบบ่าย
      • ฐานที่ ๗ ตำแหน่งของผู้รู้ 540522D รอบบ่าย
      • สิ่งดีๆเริ่มต้นเมื่อใจหยุด 490709D รอบบ่าย
      • ใจหยุดหลุดพ้นทุกข์ 560707C รอบสาย
      • เราเกิดมาเพื่อแสวงหาธรรม 590327D รอบบ่าย
      • บุญจะได้ช่องเมื่อใจเราสบาย 590222D รอบบ่าย
      • สุขอื่นยิ่งกว่าใจหยุดนิ่งไม่มี 590306D รอบบ่าย
      • โอวาทปาติโมกข์ 590222E รอบเย็น
      • อย่ามองข้ามความสบาย 590207D รอบบ่าย
      • กายสบายใจสบายก็ง่ายนิดเดียว 590101D รอบบ่าย
      • ประสูติตรัสรู้ปรินิพพานตำแหน่งเดียวกัน 580601E รอบ...
      • พิธีจุดไฟแก้วสดุดีนักรบกองทัพธรรม 580510E รอบเย็น
      • ยังแข็งแรงอยู่ต้องหาที่พึ่งให้เจอ 580405D รอบบ่าย
      • อานุภาพของดวงบุญ 580304D รอบบ่าย
      • ทบทวนบุญบูชาข้าวพระ 570706D รอบบ่าย
      • ความสุขในกลาง 520906D รอบบ่าย
      • เข้าถึงธรรมได้วิเศษที่สุด 590403D รอบบ่าย
      • ใจกับกายหนึ่งเดียวกัน 570101D รอบบ่าย
      • ปริญญา DOU 560707D รอบบ่าย
      • พระผู้ปราบมารพยานตรัสรู้ธรรม 560714D รอบบ่าย
      • นึกถึงหลวงปู่ หลวงปู่นึกถึงเรา 560512D รอบบ่าย
      • เชื่อมสายบุญกับหลวงปู่พระผู้ปราบมาร 560505D รอบบ่าย
      • สร้างบุญกับหลวงปู่บุคคลผู้เลิศ 560519D รอบบ่าย
      • ธรรมกายคือเป้าหมายชีวิต 560414D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งอย่างเดียว 560428D รอบบ่าย
      • ทำความเพียรอย่างถูกหลักวิชชา 560331D รอบบ่าย
      • ชาวพุทธที่แท้จริง 560317D รอบบ่าย
      • อานิสงส์หยุดเป็นตัวสำเร็จ 560203D รอบบ่าย
      • ปีใหม่สร้างบารมีให้เข้มข้นขึ้น 560101D รอบบ่าย
      • ความตายไม่มีนิมิตหมาย 551223D รอบบ่าย
      • ความลับของชีวิต 551209D รอบบ่าย
      • ตามรอยพุทธองค์ 551125D รอบบ่าย
      • ป้อมปราการของชีวิต 551014D รอบบ่าย
      • ตกระแสธรรม 551028D รอบบ่าย
      • จุดเทียนใจ 550902D รอบบ่าย
      • แก้วกายสิทธิ์ 550826D รอบบ่าย
      • หาพระในตัวให้เจอ 550819D รอบบ่าย
      • อธิปไตยในตัว 550708D รอบบ่าย
      • บวชเรียนเพื่อพ้นโลก 550715D รอบบ่าย
      • การบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้า 550422C รอบสาย
      • เข้าถึงธรรมง่ายถ้าใจปล่อยวาง 550408D รอบบ่าย
      • บูชาหลวงปู่ด้วยพวงมาลัยดอกมะลิ 550401D รอบบ่าย
      • สิ่งอัศจรรย์ 550415D รอบบ่าย
      • โอวาทปาติโมกข์ 550307E รอบเย็น
      • อานิสงส์ตักบาตรในเส้นทางพระผู้ปราบมาร 550311D รอบบ่าย
      • บุญอยู่เบื้องหลัง 550318D รอบบ่าย
      • ภาพในกลางดวงบุญ 550325D รอบบ่าย
      • ทางมรรคผลนิพพาน 550219D รอบบ่าย
      • ทางรอด 550212D รอบบ่าย
      • ต้องยึดศูนย์กลางกายให้ได้ 550129D รอบบ่าย
      • ฉลองชัยชิตัง เม 550125E รอบเย็น
      • V-Starครั้งที่6 550128E รอบเย็น
      • เส้นทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ 541211D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งอย่างเดียว 541218D รอบบ่าย
      • ทำไมต้องสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ 541112D รอบบ่าย
      • กฐินประวัติศาสตร์ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม 541106D รอบบ่าย
      • จิตวิญญาณพระแท้ 541120D รอบบ่าย
      • ความปลื้มสร้างทุกสิ่ง 541127D รอบบ่าย
      • ทำบุญแล้วต้องปลื้ม 540828D รอบบ่าย
      • ชีวิตในสังสารวัฏเป็นทุกข์ 540814D รอบบ่าย
      • รางวัลแห่งความเพียร 540724D รอบบ่าย
      • สุขกับเฉยไปด้วยกัน 540717D รอบบ่าย
      • ทางมรรคผลนิพพาน 540717C รอบสาย
      • พระแท้ 540710D รอบบ่าย
      • อริยสัจ4 540619C รอบสาย
      • วันวิสาขบูชา 540517C รอบสาย
      • คุ้มครองโลกอย่างถูกหลักวิชชา 540422C รอบสาย
      • วิชชา3 540424D รอบบ่าย
      • เดินธุดงค์เพื่อการบำเพ็ญสมณธรรม 540422D รอบบ่าย
      • เส้นทางมรรคผลนิพพาน 540410C รอบสาย
      • อายุพระศาสนา 540320C รอบสาย
      • คุณลักษณะที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง 540313D รอบบ่าย
      • เหลี่ยมคูพญามาร 540327C รอบสาย
      • พญามารกลัวมนุษย์หยุดใจได้ 540227C รอบสาย
      • สันติภาพโลกเริ่มต้นจากสันติสุขภายใน 540218C รอบสาย
      • การเห็นภายใน 540213C รอบสาย
      • นึกถึงบุญ 540227D รอบบ่าย
      • ความลับของชีวิต 540220D รอบบ่าย
      • พระธรรมกายภายใน 540109D รอบบ่าย
      • ง่ายจึงถูกวิธี 540109C รอบสาย
      • ความสำคัญของฐานที่7 531205D รอบบ่าย
      • วิชชา3 531219C รอบสาย
    • ►  เดือน กรกฎาคม (123)
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger