• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2549 ง่ายแต่ลึก3 สิ่งดีๆเริ่มต้นเมื่อใจหยุด 490709D รอบบ่าย

สิ่งดีๆเริ่มต้นเมื่อใจหยุด 490709D รอบบ่าย

 

สิ่งดีๆ เริ่มต้นเมื่อใจหยุด

วันอาทิตย์ที่  ๙  กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ (๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.)

งานบุญวันอาทิตย์ ณ สภาธรรมกายสากล


ปรับกาย


ตั้งใจหลับตาเจริญสมาธิภาวนากันนะจ๊ะ

 

หลับตาเบาๆ พอสบายๆ อย่าไปบีบเปลือกตา อย่ากดลูกนัยน์ตา เหมือนเรานอนหลับอย่างนั้นแหละ ซึ่งช่วงนั้นเราไม่ได้คิดอะไร แต่ก่อนหน้านั้นอาจจะมีเรื่องผ่านเข้ามาในใจ เมื่อเราปล่อยให้มันผ่านไป ก็ถึงจุดที่ไม่ได้คิดอะไร เปลือกตาของเราก็จะปิดพอสบายๆ

 

แล้วก็ขยับเนื้อขยับตัวของเราให้ดี  ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายของเราให้หมด ตั้งแต่ใบหน้า ศีรษะ คอ ทั้งเนื้อ ทั้งตัวของเราเลย ให้ผ่อนคลาย  จะนั่งสมาธิให้ดี ต้องผ่อนคลายร่างกายให้ดี

 

ปรับใจ

 

แล้วก็ทำใจให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น ให้สะอาด บริสุทธิ์ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่งนะจ๊ะ ปรับใจของเรา ต้องเบาๆ ทั้งกายและใจ  ต้องทำให้ถูกหลักวิชชานะ ใจจะได้หยุดนิ่งได้เร็ว  

 

วิธีแก้ฟุ้ง

 

ต้องยอมรับว่า ในแต่ละวันมีความคิดมากมายที่ผ่านเข้ามาในใจ  พอถึงเวลาเราเริ่มนั่งสมาธิ ใหม่ๆ มันก็มีความคิดเหล่านี้ผ่านเข้ามาในใจมากบ้าง น้อยบ้าง ก็ให้ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ถ้าเราไม่สนใจมัน ความคิดเหล่านั้นมันก็จะผ่านไป

 

แล้วอย่าไปถือว่า ความคิดที่ผ่านไปนั้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการงาน บ้านช่อง หรือเรื่องอะไรที่นอกเหนือจากนี้ก็ตาม เป็นอุปสรรคของการทำสมาธิ ถ้าเราคิดอย่างนี้แล้ว เดี๋ยวเราจะต่อต้าน คือพยายามจะฝืนจะบังคับไม่ให้ใจของเราไปคิดในเรื่องราวต่างๆ นั้นมากจนเกินไป จนทำให้เกิดอาการตึงและเครียดทั้งกายและใจ

 

ถ้าเราไปต่อต้าน ไปฝืนสิ่งนั้น หรือพยายามรวมใจให้เป็นสมาธิ ถ้าทำอย่างนี้มันจะได้ผลไม่เต็มที่ มันได้สำหรับบางคน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่เกิดประโยชน์อันใด เพราะฉะนั้นเรายอมรับธรรมชาติตรงนี้ แล้วเราก็เฉยๆ กับมัน ไม่ว่าสิ่งที่ผ่านเข้ามาในใจนั้นจะเป็นเรื่องดี หรือเรื่องไม่ดี หรือเรื่องกลางๆ จะเป็นเรื่องอะไรก็แล้วแต่เราเฉยๆ เดี๋ยวมันจะค่อยๆ หมดไปเอง มันจะอยู่กับเราได้ไม่นานหรอก

 

และถ้าเรารู้สึกว่า มันผ่านมามากเหลือเกิน ก็ให้เผยอเปลือกตาสักนิดหนึ่ง เพราะว่ามันจะฟุ้งตอนเราปิดเปลือกตา เผยอสักนิดหนึ่ง ความฟุ้งก็จะเบาบางลงไป แล้วเราก็ค่อยๆ เริ่มต้นใหม่อย่างง่ายๆ ทำอย่างนี้ทุกวันเลย ให้สม่ำเสมอ จากฟุ้งมากก็จะมาฟุ้งน้อย จากฟุ้งน้อยก็จะไม่ค่อยฟุ้ง และมันก็จะหยุดนิ่งเองอย่างสบายๆ ง่ายๆ ถ้าเราทำถูกหลักวิชชา

 

ฝึกใจให้คุ้นกับศูนย์กลางกายในทุกภารกิจ


ในชีวิตประจำวัน แม้เรามีภารกิจอะไรก็ตาม ต้องฝึกฝนอบรมใจให้คุ้นเคยกับศูนย์กลางกายฐานที่ ๗

 

เวลาเราลืมตาทำภารกิจต่างๆ ก็ทำความรู้สึกว่า ใจอยู่กลางท้อง เหนือสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ ให้ใจคุ้นๆ เราอาจจะนึกเป็นภาพดวงแก้วใสๆ เพชรใสๆ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว หรือองค์พระ หรือภาพมหาปูชนียาจารย์ จะช่วยได้มากในยามที่เราลืมตาทำภารกิจในชีวิตประจำวัน  

 

เราก็นึกธรรมดาๆ คือ นึกไปเรื่อยๆ  โดยไม่คาดหวังว่า จะชัดหรือไม่ชัด เพราะวัตถุประสงค์ของเรา ต้องการให้ใจคุ้นเคยกับศูนย์กลางกายฐานที่ ๗  เวลาหลับตาทำสมาธิจะได้ง่ายๆ

 

ทีนี้พอเราลืมตาทำภารกิจ ไม่ว่าจะอาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน รับประทานอาหาร ปัดกวาดบ้าน ถูบ้าน ไปทำงาน เรียนหนังสือ ก็ฝึกนึกไปเรื่อยๆ  ให้ใจคุ้นกับศูนย์กลางกาย ถ้าทำอย่างนี้ได้ทั้งวัน จะมีอานิสงส์ส่งให้ตอนที่เราทำสมาธิ  เพียงแค่เราหลับตาเบาๆ ใจเราก็จะมาอยู่ภายในศูนย์กลางกายแล้ว  ใจก็จะนิ่งง่าย ใจนิ่งๆ นุ่มๆ ละมุนละไม  เพราะเราตรึกบ่อยๆ นึกบ่อยๆ  ชัดไม่ชัดก็ไม่เป็นไร  ใจก็จะคุ้น

 

ฝึกหยุดนิ่งให้เป็นเสียก่อน

 

อย่าไปคาดหวังว่า เราจะต้องเห็นโน่น เห็นนี่ เห็นอะไรอย่างที่เราเคยได้ฟัง ในเบื้องต้นแค่ว่าใจคุ้นกับศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ แล้วก็ทำหยุดทำนิ่งให้เป็นเสียก่อน ให้ได้ปีติสุขที่เกิดจากสมาธิ ให้ได้ตรงนี้เสียก่อน แล้วสิ่งที่เราจะเห็นภายในมันจะเป็นขึ้นมาเอง เพราะว่ามันมีอยู่แล้วในตัว  เราไม่ต้องไปแสวงหา  หรือไปควานหา เป็นแต่เพียงสิ่งนั้นเป็นของละเอียด ใจเราต้องละเอียดเท่ากับสิ่งนั้นจึงจะเห็นกันได้

 

เพราะฉะนั้น เบื้องต้นเราฝึกให้ใจหยุดใจนิ่งอย่างเดียวก่อน  อย่าเพิ่งไปคาดหวังอะไร ใจหยุดใจนิ่งจะทำให้ใจละเอียด  พอใจละเอียด เดี๋ยวมันก็เคลื่อนเข้าไปข้างในเอง ยิ่งหยุด ยิ่งนิ่ง ยิ่งดิ่งไม่หยุดยั้งเลย แล้วเราจะได้สัมผัสกระแสธารแห่งความปีติสุขที่เกิดขึ้น

 

รางวัลสำหรับผู้มีความเพียร

 

กายสงบ ใจสงบ กายเบา ใจเบา เรียกว่า ปัสสัทธิ มันจะเบาๆ ตัวโล่ง โปร่ง เบาสบาย  ถ้าเรารักษาตรงนี้ให้ต่อเนื่อง ความสุขก็จะมา เป็นความสุขที่เราไม่เคยเจอมาก่อน

 

ถ้ากระแสธารแห่งความสุขอย่างนี้มา  เมื่อกายใจเราสงบระงับนิ่ง เราจะเกิดความพึงพอใจ ชอบใจ กับอารมณ์นี้ มากกว่าสิ่งที่เราเคยเจอในชีวิตประจำวัน คือ กายเบา ใจเบา ขยาย แล้วจะมีกระแสแห่งความสุขเกิดขึ้น ชนิดที่เราพูดไม่ออกบอกไม่ถูกเหมือนกันว่า เราจะไปอุปมาเทียบกับอะไร  เพราะว่าภาษาในเมืองมนุษย์มีข้อจำกัด ในการอธิบายความรู้สึกชนิดนี้ ที่ทำให้เราเกิดความพึงพอใจ ชวนติดตามต่อไปอีกอย่างไม่เบื่อหน่าย ความกระตือรือร้นด้วยความสมัครใจจะเกิดขึ้น นั่งในเบื้องต้น เอาให้ได้ตรงนี้กันเสียก่อน

 

ความสุขที่เกิดจากสมาธิ จะเป็นแรงจูงใจให้เรานั่งต่อไป เหมือนเป็นรางวัลสำหรับผู้ทำความเพียร เป็นรางวัลเบื้องต้น เราจะไม่อิ่ม ไม่เบื่อ ในการนั่งสมาธิ หรือทำสมาธิในอิริยาบถอื่น มันจะเกิดขึ้นมาเอง นั่นแหละรางวัลสำหรับผู้มีความเพียร

 

จนกระทั่งเกิดฉันทะขึ้นมา อยากอยู่กับอารมณ์นี้นานๆ โดยความสมัครใจ อยากหยุด อยากนิ่ง มีเวลาว่าง ๕ นาที ๑๐ นาที ก็อยากจะอยู่กับตนเองตรงกลางกาย อยู่กับอารมณ์ชนิดนี้ ที่หาไม่ได้จากคน สัตว์ สิ่งของ ธรรมชาติ หรือที่ใดๆ เลย ยังอยากจะอยู่กับตรงนี้นานๆ อย่างนั้นถูกหลักวิชชาแล้ว ใจมันจะนิ่งๆ นุ่มๆ กันไปเรื่อยๆ

 

จนกระทั่งนิ่งแน่นในระดับที่ความคิดอื่นๆ ไม่สามารถดึงใจหลุดจากอารมณ์นี้ได้ จะนิ่งๆ มีอารมณ์เดียว อารมณ์เป็นสุข เป็นกลางๆ บริสุทธิ์จากมลทินของใจ จากความโลภ ความโกรธ ความหลงในระดับหนึ่ง จากความหงุดหงิด งุ่นง่าน ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ จากการตรึกในเรื่องกาม เรื่องเพศ เรื่องรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ เรื่อง ลาภ ยศ สรรเสริญ เรื่องอะไรต่างๆ หรือความโกรธ ความพยาบาท ขัดเคืองใจ น้อยใจ โศกเศร้า เสียใจ คับแค้นใจ ร่ำพิไรรำพัน อะไรต่างๆ มันหายไป ใจจะสบาย จะบริสุทธิ์

 

และจนกระทั่งเรามีความรู้สึกเหมือน กาย วาจา ใจเราบริสุทธิ์ สะอาด เกลี้ยงเกลา จากสิ่งที่เราเคยทำผิดพลาดในชีวิตที่ผ่านมา คล้ายๆ บาปได้ถูกขจัดล้างออกไปด้วยกระแสธารแห่งบุญ จะมีความรู้สึกขึ้นมาเองว่า เหมือนเราหลุดจากข้อผิดพลาดที่ทำให้เกิดวิบากกรรม หรือใจเราก็จะปีติภาคภูมิใจเบิกบานว่า เราได้หลุดจากกระแสวิบากกรรมที่ทำผ่านมา มันจะเกิดขึ้นมาเองตอนนั้น

 

แม้ความจริงนั้นอาจจะหลุดจากวิบากกรรมไปในระดับหนึ่ง ๕ เปอร์เซ็นต์ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ โดยความรู้สึกของเรา เราจะรู้สึกว่ามันสูงส่งว่า บาปอกุศลกรรมได้ถูกถอดออกจากใจ วิบากกรรมต่างๆ

 

มันจะยิ้มๆ อยู่ภายในลึกๆ จนกระทั่งมันขยายมาสู่บนใบหน้า  และกระแสที่ออกไปรอบตัวไปในบรรยากาศ  และเราจะเข้าใจคำว่า “ใจใสๆ”  ที่บอกว่า ให้ทำใจใสๆ ถ้าเราไปถึง ณ ตรงนี้ เราก็เข้าใจในระดับหนึ่ง แต่อารมณ์ใสนั้นมันยังไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าถึงจุดที่หยุดนิ่งในระดับเห็นดวงใสขึ้นมา ดวงใสๆ แม้จะเล็กขนาดดวงดาวในอากาศก็ตาม เราจะรู้ว่า อ๋อ รู้จักแล้วว่า ให้ทำใจใสๆ มันเป็นอย่างนี้ เพราะใจที่ใสมันจะปราศจากนิวรณ์ ใจจะเกลี้ยง โปร่ง เบา สบาย บริสุทธิ์ในระดับหนึ่งทีเดียว จนกระทั่งมีความมั่นใจว่า เราบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากวิบากกรรม ความรักและปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายก็จะเกิดขึ้นเองตรงนี้

 

คำว่า “อยู่ในบุญ”

 

เมื่อดวงใสปรากฏเป็นความบริสุทธิ์เบื้องต้น เกิดขึ้นเป็นดวงใสๆ เราจะเข้าใจคำว่า อยู่ในบุญนะ, ให้นึกถึงบุญ, อยู่ในบุญ

 

ถ้ายังไม่ถึงดวงธรรมดวงนี้ เราก็เข้าใจในระดับหนึ่ง คือ เราต้องใช้จินตมยปัญญา คือต้องคิดว่า วันนั้น เดือนนั้น ปีนั้น เราได้ทำบุญอย่างนั้น อย่างนี้ อย่างโน้น ซึ่งก็ถูกในระดับหนึ่งของความหมายของคำว่า อยู่ในบุญ

 

แต่พอมาถึงดวงใสๆ ภายในกลางกาย เราจะเข้าใจเพิ่มขึ้น อ๋อ อยู่ในบุญมันเป็นอย่างนี้นะ พอถึงตรงนั้น มันจะแจ่มใส แจ่มกระจ่าง มีความปลื้มปีติเบิกบานในบุญ แต่นิ่งสงบ เยือกเย็น หนักแน่น มีอารมณ์เดียว และเกิดความรู้สึกว่า บุญนี่แหละจะคุ้มครองเราให้ปลอดภัยในทุกสิ่ง และจะนำความสุขและความสำเร็จในชีวิตให้บังเกิดขึ้นแก่เรา มันจะเกิดขึ้นเองพอถึงดวงใสๆ

 

ดวงธรรมใสๆ บ่อเกิดแห่งความดีงาม

 

เห็นไหมจ๊ะว่า เบื้องต้นเราก็ต้องฝึกกันไป นี่เป็นภารกิจของเรา งานที่แท้จริง ถ้าใจใสอย่างนี้ มันก็จะเป็นแหล่งกำเนิดของความคิด คำพูด และการกระทำที่ดี เพราะกระแสธารแห่งความดีมันอยู่ตรงกลางดวงธรรมใสๆ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของความคิด เราจะคิดดีแต่เรื่องเดียว คิดไม่ดี มันนึกไม่ออก มันไม่ได้ช่อง

 

คิดอยากจะให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ทำความดีทั้งด้วยตัวเอง แล้วก็ชวนคนอื่นทำความดีด้วย กำลังใจที่จะไปชวนคนอื่นทำความดีมันมากมายมหาศาล จนกระทั่งไม่ได้นึกถึงอะไรเป็นอุปสรรค ไม่ว่าบุคคลที่เราไปเชิญชวนนั้นเขาจะมีความขัดแย้ง ไม่เห็นด้วย กับคำแนะนำชักชวนของเราก็ตาม

 

จะเกิดดวงปัญญา ให้เรารู้วิธีที่จะตอบปัญหาขจัดข้อขัดแย้ง หรือความไม่เข้าใจของเขาว่า จะต้องพูดอย่างไร แล้วก็นำเขาไปสู่จุดหมาย คือเขาสมหวังในการที่ได้สร้างบุญกุศล บุญบารมี มันก็จะเกิดขึ้นโดยมีจุดเริ่มต้นจากดวงใสๆ นี่แหละ

 

แล้วก็จะมีอายตนะไปดึงดูดให้ผู้มีบุญมีอายตนะตรงกัน ที่พอเราชักชวนเขาทำบุญ แค่เขาเห็นเรา เขาก็จะเกิดความพึงพอใจไว้วางใจว่า ถ้ามอบใจของเขาดวงนี้มาไว้แก่เรา เชื่อถือได้ เชื่อฟังได้ ก็จะต้องนำเขาไปสู่สิ่งที่ดี เมื่อใจเขาเปิด ตอนนี้ความรู้จากภายในก็จะผ่านจากใจเราสู่ใจเขา ที่เราคุ้นเคยคำว่า ฮาร์ททูฮาร์ท นั่นแหละ จากใจถึงใจ ก็จะชักชวนให้มาทำความดีร่วมกันได้

 

รักษาดวงธรรมยิ่งชีวิต

 

เราก็พยายามทำความคุ้นเคยกับดวงธรรมใสๆ อย่าปล่อยให้หลุดลอยไป เพราะกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ มันไม่ง่ายเลย เมื่อได้แล้วก็ต้องรักษาให้อยู่กับตัวเราให้ได้ตลอดเวลา ด้วยการหมั่นทำความเพียร ใจจดจ่อ แล้วก็สังเกตว่า เราวางใจ หยุดใจ ด้วยวิธีการอย่างนี้ถึงเข้าถึงได้ ฝึกบ่อยๆ ให้ชำนาญ เป็นวสี ทั้งหลับตาลืมตาก็ให้เห็นชัด ใส แจ่ม อยู่ตลอดเวลา ค่อยๆ ฝึกกันไป

 

เวลานอนเราก็หลับอยู่ในดวงธรรมใสๆ ซึ่งจะมีความสว่างบังเกิดขึ้นด้วย ตื่นแรกก็คือต้องเห็นดวงธรรมใสๆ จะอาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน ขับถ่าย หรือทำอะไรก็แล้วแต่ ก็อยู่ในดวงธรรมใสๆ จะรับประทานอาหาร จะแต่งตัวก็อยู่ในดวงธรรมใสๆ ที่เราหลับตาลืมตาเห็นได้ตลอดเวลา

 

ความละเอียดก็จะค่อยๆ ก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเรามีชั่วโมงหยุด ชั่วโมงนิ่ง ชั่วโมงกลางเยอะๆ ให้โอกาสกับตัวเราเอง อยู่กับตัวเราที่ศูนย์กลางกาย กลางดวงธรรมนั้นบ่อยๆ ก็จะชัดขึ้น สว่างขึ้น แล้วก็จะขยายออกไปเรื่อยๆ ใจเราก็เคลื่อนเข้าไปสู่ภายในเรื่อยๆ เดี๋ยวก็มีดวงธรรมต่างๆ ผุดเกิดขึ้นมา ซึ่งตอนนี้เราก็เริ่มมีความสุข สนุกสนานกับการฝึกใจให้หยุดให้นิ่ง  

 

ฝึกไปเรื่อยๆ หยุดในหยุดไปเรื่อยๆ หยุดอย่างเดียว นิ่งในนิ่งตรงกลาง แล้วก็จะมีกลางใหม่เกิดขึ้นอีก แล้วก็อยู่ตรงกลางของกลางใหม่ คือกลางของใจเข้าไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องไปลุ้น ไปเร่ง ไปเพ่ง ไปจ้องอะไร แค่เราหยุดดูไปเฉยๆ  

 

การดูเฉยๆ ก็คือ การหยุดใจนิ่งๆ เบาๆ สบายๆ อย่างเป็นธรรมชาติ แต่ถ้าหากว่า เราลุ้น พยายามจะเข้าไปข้างใน พยายามไปดันมัน ยิ่งดันก็จะยิ่งเด้งเข้ามา ใจก็จะถอนจากความละเอียดในระดับต้นออกมา แต่ถ้าเราดูเฉยๆ มันก็จะดึงดูดดิ่งเข้าไปสู่ภายใน เคลื่อนเข้าไปเรื่อยๆ

 

ไตรสรณคมน์

 

อาการที่เคลื่อนไหว เขาเรียกว่า คมนะ ที่เราได้ยินคำว่า ไตรสรณคมน์

คมนะ แปลว่า เคลื่อนเข้าไป จะเข้าใจคำว่า คมนะ ได้ ต้องเอาใจหยุดนิ่งอย่างนี้


ไตรสรณาคมน์ คือ เคลื่อนเข้าไปหาพระรัตนตรัย ก็แปลว่า พระรัตนตรัยนั้นมีอยู่ในตัวของเรา ใจของเรากำลังเคลื่อนเข้าไป

 

เรามีหน้าที่เพียงเป็นผู้ดูที่ดี ดูปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในด้วยใจที่เป็นปกติ เหมือนผู้เจนโลก มองชีวิตขึ้นๆ ลงๆ ของมวลมนุษยชาติและสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยใจที่เป็นปกติ หรือเหมือนเราไปยืนฝั่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ เห็นเรือผ่านไป ผักตบชวาผ่านไป ใจก็เฉยๆ ไม่ได้คิดอะไร ให้ดูอย่างนั้น ดูโดยปราศจากความคิดปรุงแต่ง นิ่งๆ นุ่มๆ  เบาๆ สบายๆ เดี๋ยวก็จะมีอะไรใหม่ๆ มาให้เราดู

 

ลุ้น เร่ง เพ่ง จ้อง


แต่ถ้าหากว่า ไม่มีอะไรใหม่ๆ มาให้ดู แสดงว่า ใจเราหยุดไม่สนิท หรือเราไปลุ้นเร่งเพ่งจ้องแล้วแหละ ถ้ามีอาการอย่างนี้ เราก็ต้องค่อยๆ เผยอเปลือกตาขึ้นมาสักนิดหนึ่ง จนกระทั่งความรู้สึกลุ้นเร่งเพ่งจ้องหายไปจากใจ  เมื่อมันอันตรธานไปจากใจแล้วก็ค่อยๆ เริ่มต้นใหม่อย่างง่ายๆ

 

สอนตัวเราเองว่า เราเป็นนักเรียนอนุบาล อย่าเพิ่งไปเรียนอะไรให้มันลึกซึ้ง ทำหยุดทำนิ่งตรงนี้ให้ถูกหลักวิชชาที่มหาปูชนียาจารย์หรือบัณฑิตนักปราชญ์ในกาลก่อนเขาได้ทำกัน

 

ฝึกไปเรื่อยๆ สบายๆ เดี๋ยวใจก็จะเคลื่อนเข้าไปเอง แปลว่า เราบังคับให้เคลื่อนเข้าไปไม่ได้ แต่จะไปเองเมื่อใจหยุดนิ่งได้สนิทสมบูรณ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วความสุขก็จะเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่เคลื่อนเข้าไป สมมติว่าเราเคลื่อนเข้าไปในระยะแรกๆ ความสุขได้สัก ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่พอเรานิ่ง เราจะเพิ่ม ๑๐๐, ๒๐๐, ๓๐๐ ไปเรื่อยๆ

 

สิ่งดีๆ เริ่มต้นเมื่อใจหยุด

 

การปฏิบัติธรรม คือสิ่งสำคัญที่สุดของชีวิต ยิ่งกว่าทรัพย์สินเงินทองใดๆ แม้ว่าสิ่งนั้นจะจำเป็น เพื่อให้ได้ปัจจัย ๔ มาหล่อเลี้ยงสังขาร แต่ว่าสิ่งเหล่านี้เรานำติดตัวไปในภพเบื้องหน้าไม่ได้ ยกเว้นเราเปลี่ยนมาเป็นบุญ เพราะจะหอบเอามันไปไม่ได้ ถ้าเปลี่ยนเป็นบุญถึงจะเอาไปได้

 

เวลาใกล้จะละโลก จะไปนึกถึงทรัพย์สมบัติ ลาภ ยศ สรรเสริญ ก็ช่วยเราไม่ได้ แต่ตรงนี้ ที่เราเห็นดวงธรรมก็ดี กายภายในก็ดี องค์พระก็ดี จะช่วยเราได้ ให้เรามีความสุข แม้มีทุกข์เวทนาที่กายเนื้อ แต่ใจมันจะล่อนออก เหมือนเงาะกับเปลือกมันไม่ติดกันอย่างนั้น

 

ใจจะเกลี้ยงๆ ข้างนอกอาจจะมีอาการทุกข์เวทนาบ้าง เพราะว่าสังขารมันก็เป็นของมันอย่างนั้น เวลาจะแตกดับมันก็มี แต่ว่าใจข้างในมันจะนิ่ง สงบ มั่นคง และมีสุขเกิดขึ้น มั่นใจ อบอุ่นใจ ปลอดภัยว่า ถ้าเราหลุดออกไปแล้วไม่ไปอบาย มีแต่ไปสวรรค์สุคติโลกสวรรค์ก็จะเป็นที่พึ่งได้

 

การอยู่กับตัวเองอย่างนี้ดีที่สุด อยู่กับคนอื่นนั้น แต่ละคนมันก็มีปัญหาของส่วนตัวด้วยกันทั้งนั้น คนมีปัญหามารวมกับคนที่มีปัญหาเยอะๆ มันก็ทำให้สิ่งแวดล้อมมีปัญหา ความทุกข์ทรมาน ความเครียดก็ระบาดว่า เราไม่อาจจะแก้ตรงนั้นได้ มาปรับปรุงคนอื่นได้ ไปตามความปรารถนาของเรา

 

เราแก้ไม่ได้ก็ต้องทำอย่างนี้ หยุดกับนิ่งอยู่กับตัวเอง พอใจใส เห็นดวงธรรมใส กายภายในใส องค์พระใสๆ เราก็จะอยู่เหนือสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ เหมือนลิ้นที่อยู่ในปากงูพิษ งูพิษกัดคนตาย แต่ลิ้นอยู่ใกล้เขี้ยวพิษไม่เป็นไร หรือจุดเย็นในกลางเตาหลอมอย่างนั้น แล้วจะอยู่เหนือสิ่งแวดล้อมได้เอง ด้วยตัวของตัวเองเลย เป็นไปตามธรรมชาติ และเดี๋ยวสิ่งดีๆ ก็จะค่อยๆ ขยายจากตัวเราไปสู่คนข้างเคียง

 

พอไปถึงจุดนี้ได้ การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นก็จะเกิดแก่เรา โดยที่เราไม่รู้สึกตัว แต่ผู้ที่สังเกตเราอยู่ เพราะเราอยู่ในสายตาเขาตลอดเวลา จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของเราไปในทางที่ดีขึ้น เมื่อเป็นอย่างนี้เขาก็จะเกิดแรงบันดาลใจ อยากทำตามบ้าง

 

ถ้าเราเย็น เขาก็จะเย็นตาม ค่อยๆ เยือกเย็น สงบนิ่งไปเรื่อยๆ สิ่งดีๆ ก็จะค่อยๆ ขยาย จากตัวเราถึงผู้ที่อยู่รอบข้าง และก็ขยายกันต่อๆ กันไป เป็นบ้าน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ นานาชาติแล้วก็ทั่วโลก

 

สิ่งดีๆ ในโลกนี้ เริ่มต้นจากศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ จุดเล็กๆ ที่เราหยุดนิ่งได้นี่แหละ ถ้าลูกทุกคนให้ความสำคัญอย่างนี้ได้ เราก็จะมีความสุขในทุกหนทุกแห่ง และพลอยให้เพื่อนมนุษย์มีความสุขตามไปด้วย

 

ต้นไม้ต้นเดิมที่บ้านเรา หรือที่ไหนก็ตาม ถ้าเราดูด้วยสายตาที่มาจากรากฐานของความสุขภายใน ต้นเดิมต้นเดียวกันนั้น บางวันเราดูไม่สดชื่น เมื่อเราไม่ถึงตรงนี้ ต้นไม้ก็ยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไร แต่ถ้าเราเปลี่ยนแปลงภายในตัวของเรา ในใจเรา เราก็จะมองต้นไม้นั้นด้วยความผาสุก คน สัตว์ สิ่งของก็จะเป็นอย่างนั้น

 

เพราะฉะนั้น หยุดกับนิ่งสำคัญนะลูกนะ ฝึกเอาไว้ ให้โอกาสตัวเราเอง ฝึกไว้เพื่อตัวเราและชาวโลก และเพื่อทุกๆ คนในโลก หยุดกับนิ่งมันมีอานิสงส์และอานุภาพที่ยิ่งใหญ่ พลังแห่งคำพูดของผู้ที่หยุดนิ่งได้แล้ว มันจะมีพลัง คำเดียวกัน ประโยคเดียวกัน แต่ผู้ที่พูดออกมาจากใจผู้หยุดนิ่งได้ คนรับฟังเขาก็จะมีความปีติ เบิกบาน อาจหาญ ร่าเริง อยากจะทำตาม แต่ถ้ามันออกมาจากใจคนที่ไม่หยุด ไม่นิ่ง เขาฟังแล้วเขาก็ผ่านไป

 

หยุดกับนิ่งสำคัญ การที่จะก้าวไปข้างหน้าไปได้ไกลและปลอดภัยมีชัยชนะ มันต้องหยุดนิ่งให้มั่นคงเสียก่อน หยุดจึงเป็นจุดเริ่มต้นของทุกๆ กิจกรรม ไม่ว่าจะอาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน ขับถ่าย รับประทานอาหาร แต่งตัว เรื่องครอบครัว การศึกษาเล่าเรียน ธุรกิจการงาน

 

แม้กระทั่งวัยชราที่จะอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน ดูแลลูกหลาน ก็ให้ความอบอุ่นลูกหลาน หรือเมื่อเผชิญต่ออุปสรรคของชีวิต ทุกข์ โศก โรคภัย มรณภัย อะไรต่างๆ ใจมันก็จะเป็นปกติ ไม่ได้พรากหรือห่างไกลจากความสุขที่แท้จริงเลย เพราะฉะนั้นต้องขยันนั่งกันนะลูกนะ นั่งกันไปทุกวัน

 

เวลาที่เหลืออยู่นี้ก็หยุดใจนิ่งๆ นุ่มๆ เบาๆ สบายๆ เพื่อที่ว่าหลังจากที่เราออกจากสมาธิแล้ว เราก็จะได้มานะสร้างมหาทานบารมีกัน บุญก็จะได้เกิดขึ้นอย่างมากมาย เพราะถูกหลักวิชชา จะรับของขวัญที่ระลึกก็ศักดิ์สิทธิ์ มีอานุภาพ เพราะฉะนั้นนั้นก็หยุดให้นิ่งๆ นุ่มๆ เบาๆ สบายๆ กันนะจ๊ะ ต่างคนต่างนั่งกันไปเงียบๆ 

Add Comment
2549, ง่ายแต่ลึก3
วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ▼  เดือน สิงหาคม (233)
      • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอ...
      • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
      • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
      • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
      • ม้าพยศ 450910F รอบค่ำ
      • วิธีปฏิบัติให้เข้าถึงประสบการณ์ภายใน 540724D รอบบ่าย
      • รสแห่งธรรมเลิศกว่ารสทั้งปวง 460112D รอบบ่าย
      • คิดพูดเรื่องละเอียดใจละเอียด 450909F รอบค่ำ
      • ประสบการณ์หนึ่งนาทีที่ใจหยุดนิ่ง 471114D รอบบ่าย
      • ยากตรงหยุดแรก 481225D รอบบ่าย
      • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
      • แผ่เมตตา และอธิษฐานจิต 500804F รอบค่ำ
      • มองผ่านๆ 451009F รอบค่ำ
      • ง่ายจึงจะถูกวิธี 520412C รอบสาย
      • ชีวิตที่ถูกหลอก 460824C รอบสาย
      • อารมณ์สบายอย่าฟังผ่าน 450928F รอบค่ำ
      • สติกับสบาย 361107C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
      • ประโยชน์ของสมาธิ 540102D รอบบ่าย
      • ฐานที่ ๗ ตำแหน่งของผู้รู้ 540522D รอบบ่าย
      • สิ่งดีๆเริ่มต้นเมื่อใจหยุด 490709D รอบบ่าย
      • ใจหยุดหลุดพ้นทุกข์ 560707C รอบสาย
      • เราเกิดมาเพื่อแสวงหาธรรม 590327D รอบบ่าย
      • บุญจะได้ช่องเมื่อใจเราสบาย 590222D รอบบ่าย
      • สุขอื่นยิ่งกว่าใจหยุดนิ่งไม่มี 590306D รอบบ่าย
      • โอวาทปาติโมกข์ 590222E รอบเย็น
      • อย่ามองข้ามความสบาย 590207D รอบบ่าย
      • กายสบายใจสบายก็ง่ายนิดเดียว 590101D รอบบ่าย
      • ประสูติตรัสรู้ปรินิพพานตำแหน่งเดียวกัน 580601E รอบ...
      • พิธีจุดไฟแก้วสดุดีนักรบกองทัพธรรม 580510E รอบเย็น
      • ยังแข็งแรงอยู่ต้องหาที่พึ่งให้เจอ 580405D รอบบ่าย
      • อานุภาพของดวงบุญ 580304D รอบบ่าย
      • ทบทวนบุญบูชาข้าวพระ 570706D รอบบ่าย
      • ความสุขในกลาง 520906D รอบบ่าย
      • เข้าถึงธรรมได้วิเศษที่สุด 590403D รอบบ่าย
      • ใจกับกายหนึ่งเดียวกัน 570101D รอบบ่าย
      • ปริญญา DOU 560707D รอบบ่าย
      • พระผู้ปราบมารพยานตรัสรู้ธรรม 560714D รอบบ่าย
      • นึกถึงหลวงปู่ หลวงปู่นึกถึงเรา 560512D รอบบ่าย
      • เชื่อมสายบุญกับหลวงปู่พระผู้ปราบมาร 560505D รอบบ่าย
      • สร้างบุญกับหลวงปู่บุคคลผู้เลิศ 560519D รอบบ่าย
      • ธรรมกายคือเป้าหมายชีวิต 560414D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งอย่างเดียว 560428D รอบบ่าย
      • ทำความเพียรอย่างถูกหลักวิชชา 560331D รอบบ่าย
      • ชาวพุทธที่แท้จริง 560317D รอบบ่าย
      • อานิสงส์หยุดเป็นตัวสำเร็จ 560203D รอบบ่าย
      • ปีใหม่สร้างบารมีให้เข้มข้นขึ้น 560101D รอบบ่าย
      • ความตายไม่มีนิมิตหมาย 551223D รอบบ่าย
      • ความลับของชีวิต 551209D รอบบ่าย
      • ตามรอยพุทธองค์ 551125D รอบบ่าย
      • ป้อมปราการของชีวิต 551014D รอบบ่าย
      • ตกระแสธรรม 551028D รอบบ่าย
      • จุดเทียนใจ 550902D รอบบ่าย
      • แก้วกายสิทธิ์ 550826D รอบบ่าย
      • หาพระในตัวให้เจอ 550819D รอบบ่าย
      • อธิปไตยในตัว 550708D รอบบ่าย
      • บวชเรียนเพื่อพ้นโลก 550715D รอบบ่าย
      • การบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้า 550422C รอบสาย
      • เข้าถึงธรรมง่ายถ้าใจปล่อยวาง 550408D รอบบ่าย
      • บูชาหลวงปู่ด้วยพวงมาลัยดอกมะลิ 550401D รอบบ่าย
      • สิ่งอัศจรรย์ 550415D รอบบ่าย
      • โอวาทปาติโมกข์ 550307E รอบเย็น
      • อานิสงส์ตักบาตรในเส้นทางพระผู้ปราบมาร 550311D รอบบ่าย
      • บุญอยู่เบื้องหลัง 550318D รอบบ่าย
      • ภาพในกลางดวงบุญ 550325D รอบบ่าย
      • ทางมรรคผลนิพพาน 550219D รอบบ่าย
      • ทางรอด 550212D รอบบ่าย
      • ต้องยึดศูนย์กลางกายให้ได้ 550129D รอบบ่าย
      • ฉลองชัยชิตัง เม 550125E รอบเย็น
      • V-Starครั้งที่6 550128E รอบเย็น
      • เส้นทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ 541211D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งอย่างเดียว 541218D รอบบ่าย
      • ทำไมต้องสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ 541112D รอบบ่าย
      • กฐินประวัติศาสตร์ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม 541106D รอบบ่าย
      • จิตวิญญาณพระแท้ 541120D รอบบ่าย
      • ความปลื้มสร้างทุกสิ่ง 541127D รอบบ่าย
      • ทำบุญแล้วต้องปลื้ม 540828D รอบบ่าย
      • ชีวิตในสังสารวัฏเป็นทุกข์ 540814D รอบบ่าย
      • รางวัลแห่งความเพียร 540724D รอบบ่าย
      • สุขกับเฉยไปด้วยกัน 540717D รอบบ่าย
      • ทางมรรคผลนิพพาน 540717C รอบสาย
      • พระแท้ 540710D รอบบ่าย
      • อริยสัจ4 540619C รอบสาย
      • วันวิสาขบูชา 540517C รอบสาย
      • คุ้มครองโลกอย่างถูกหลักวิชชา 540422C รอบสาย
      • วิชชา3 540424D รอบบ่าย
      • เดินธุดงค์เพื่อการบำเพ็ญสมณธรรม 540422D รอบบ่าย
      • เส้นทางมรรคผลนิพพาน 540410C รอบสาย
      • อายุพระศาสนา 540320C รอบสาย
      • คุณลักษณะที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง 540313D รอบบ่าย
      • เหลี่ยมคูพญามาร 540327C รอบสาย
      • พญามารกลัวมนุษย์หยุดใจได้ 540227C รอบสาย
      • สันติภาพโลกเริ่มต้นจากสันติสุขภายใน 540218C รอบสาย
      • การเห็นภายใน 540213C รอบสาย
      • นึกถึงบุญ 540227D รอบบ่าย
      • ความลับของชีวิต 540220D รอบบ่าย
      • พระธรรมกายภายใน 540109D รอบบ่าย
      • ง่ายจึงถูกวิธี 540109C รอบสาย
      • ความสำคัญของฐานที่7 531205D รอบบ่าย
      • วิชชา3 531219C รอบสาย
    • ►  เดือน กรกฎาคม (123)
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger