• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2553 เมื่อเราสว่าง โลกก็สว่างด้วย 530110C รอบสาย

เมื่อเราสว่าง โลกก็สว่างด้วย 530110C รอบสาย

เมื่อเราสว่าง โลกก็สว่างด้วย

วันอาทิตย์ที่  ๑๐  มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓  ๐๙.๐๐ - ๑๑.๐๐ น.

งานบุญวันอาทิตย์ สภาธรรมกายสากล  วัดพระธรรมกาย   


ปรับกาย

 

เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไป ตั้งใจให้แน่แน่วมุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานกันทุกๆ คนนะลูกนะ

 

ให้นั่งขัดสมาธิโดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ

 

หลับตาของเราเบาๆ ค่อนลูกพอสบายๆ คล้ายกับที่เราใกล้จะหลับ อย่าไปบีบเปลือกตา อย่ากดลูกนัยน์ตานะจ๊ะ

 

ผ่อนคลายทุกส่วนของร่างกายของเรา ทั้งเนื้อทั้งตัวให้มีความรู้สึกว่าสบาย ตั้งแต่กล้ามเนื้อบนใบหน้า ศีรษะ ลำคอ บ่า ไหล่ แขนทั้งสองถึงปลายนิ้วมือ ให้ผ่อนคลาย กล้ามเนื้อบริเวณลำตัว ขาทั้งสองถึงปลายนิ้วเท้าให้ผ่อนคลาย ผ่อนคลายทั้งเนื้อทั้งตัว ให้ทำใจใสๆ

 

ปรับใจ


ทำใจของเรา ให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น ให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้กังวลใน ทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ให้ปลด ให้ปล่อย ให้วาง ทำใจของเราให้ว่างๆ ว่างเปล่าจากความคิดทั้งมวล ให้คลายความผูกพันจากทุกสิ่ง

 

วางใจ

 

แล้วก็รวมใจไปหยุดนิ่งๆ นุ่มๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเราในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ

 

โดยสมมติว่า เราหยิบเส้นด้ายขึ้นมา ๒ เส้น นำมาขึงให้ตึงจากสะดือทะลุไปด้านหลังเส้นหนึ่ง จากด้านขวาทะลุไปด้านซ้ายอีกเส้นหนึ่ง ให้เส้นด้ายทั้งสองตัดกันเป็นกากบาท จุดตัดจะเล็กเท่ากับปลายเข็ม เหนือจุดตัดนี้ขึ้นมา ๒ นิ้วมือ เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญ

 

นอกจากจะเป็นที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่นของเราแล้ว ยังเป็นต้นทางไปสู่อายตนะนิพพานที่พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ทุกๆ พระองค์นับอสงไขยพระองค์ไม่ถ้วน ท่านเริ่มหยุดใจเอาใจมาหยุดนิ่งนุ่มเบาสบายอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้ หลังจากที่ท่านทิ้งทุกอย่าง ปล่อยวางทุกสิ่ง เพราะว่าเห็นทุกข์โทษภัยของชีวิตในสังสารวัฏ ในการเวียนว่ายตายเกิด เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อเบื่อหน่ายก็คลายความผูกพันจากทุกสิ่ง ใจก็หลุดแล้วก็มาหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้แหละ หยุดนิ่งอย่างเดียวตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นิ่งอย่างเดียวไม่ได้ทำอะไรที่นอกเหนือจากนี้

 

หยุดนิ่งเฉยๆ อย่างสบายๆ ไม่ห่วงใย ไม่ผูกพัน ไม่อาลัยอาวรณ์ในสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น แม้กระทั่งชีวิต ซึ่งเป็นที่สุดของทุกสิ่ง ท่านก็ปล่อยวางหมด เนื้อเลือดจะแห้งเหือดหายไปเหลือแต่กระดูกหนังช่างมัน นิ่งอย่างเดียว   ฟ้าจะถล่มแผ่นดินจะทลาย คอขาดบาดตายก็ช่าง ใจท่านนิ่งอย่างเดียว นิ่ง นุ่ม เบา สบาย จนกระทั่งนิ่งแน่น ใจนิ่งแน่น ไม่เขยื้อน ไม่เคลื่อนจากฐานที่ ๗ เลย ไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ ไม่ยินดียินร้ายอะไรทั้งสิ้น ใจเป็นกลางๆ นิ่ง

 

สภาวธรรมภายใน

 

พอถูกส่วนเข้า ใจก็จะเคลื่อนเข้าไปสู่ภายใน ตกศูนย์เหมือนตกจากที่สูง เหมือนตกสุญญากาศโล่งๆ ว่างๆ ใจก็หล่นลงไปอย่างละมุนละไม เหมือนน้ำไหลรินนะ แล้วก็มีดวงธรรมลอยขึ้นมา

 

ความบริสุทธิ์แรกก็ปรากฏเกิดขึ้นเป็นดวงใสๆ อย่างเล็กก็ขนาดดวงดาวในอากาศ อย่างกลางก็ขนาดพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ อย่างใหญ่ก็ขนาดพระอาทิตย์ยามเที่ยงวันหรือ    ใหญ่กว่านั้น แล้วแต่กำลังบารมีที่ไม่เท่ากัน  แต่ว่ากลมรอบตัวเหมือนดวงแก้ว  ใสบริสุทธิ์ เหมือนน้ำใสๆ บ้าง เหมือนกระจกใสๆ บ้าง เหมือนเพชรใสๆ บ้าง หรือใสเกินความใสๆ ในโลกบ้าง  จะใสบริสุทธิ์ กลมรอบตัวใสบริสุทธิ์

 

มาพร้อมกับความสุขที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ที่ไม่เคยพบ ไม่เคยเจอมาก่อน ไม่เคยได้ความสุขอย่างนี้จากชีวิตที่ผ่านมา ไม่ว่าสมบัติทางโลกกระทั่งถึงสมบัติจักรพรรดิราชสมบัติอะไรต่างๆ ก็ไม่เคยให้ความสุขได้ขนาดนี้ เป็นความสุขเบื้องต้นที่ยิ่งใหญ่ สุขไม่มีประมาณ มาพร้อมกับความบริสุทธิ์ของใจ ทั้งสุข ทั้งความบริสุทธิ์ในเบื้องต้น ที่ใจนั้นเกลี้ยงเกลาจากความรู้สึกแบบโลกๆ ใจจะใสๆ เย็นๆ มีความรู้สึกปีติสุขและก็ภาคภูมิใจในความบริสุทธิ์ของตัวเอง ในระดับเลื่อมใสตัวเองได้ ศรัทธาในตัวเองได้ ภาคภูมิใจในตัวเองได้

 

ความสุข ความบริสุทธิ์ แสงสว่าง มาพร้อมกับการเห็นดวงใสๆ ที่เกิดจากใจที่หยุดนิ่ง เพราะทิ้งทุกอย่าง ปล่อยวางทุกสิ่ง ใจของท่านก็จะนิ่งอย่างนี้ไปเรื่อยๆ นิ่งอย่างเดียว เพราะว่าเมื่อใจหยุดนิ่งอยู่ตรงนี้ ใจจะอยู่เย็นเป็นสุข ใจจึงไม่เคลื่อนย้ายไปที่ไหน นิ่งอยู่ตรงกลางดวงใสๆ

 

พอถูกส่วนดวงใสๆ นี้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่เรียกว่า ดวงปฐมมรรค เบื้องต้นของหนทางไปสู่อายตนนิพพาน ก็ขยายกว้างออก ขยายใหญ่ขึ้นไปทั้งดวง จนกระทั่งเข้าถึงอีกดวงหนึ่งที่อยู่ภายในซึ่งละเอียดกว่า ใสบริสุทธิ์กว่า แต่กลมเหมือนกัน เรียกว่า ดวงศีล จะมีดวงเหล่านี้ผุดซ้อนๆ กันเมื่อใจหยุดนิ่ง แล้วก็ดึงดูดให้ใจจะเคลื่อนเข้าไปสู่ภายใน เป็นการเดินทางภายในไปสู่

 

ความบริสุทธิ์ที่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ความสุขที่เพิ่มขึ้น ความรู้เพิ่มขึ้น ความลับของชีวิตก็ค่อยๆ ถูกเปิดเผยขึ้นว่า ในตัวมีดวงธรรมที่ซ้อนๆ กันอยู่เป็นชั้นๆ ตั้งแต่ดวงศีล ในกลางดวงศีลก็มีดวงสมาธิ ในกลางดวงสมาธิก็มีดวงปัญญา ในกลางดวงปัญญาก็มีดวงวิมุตติ  ในกลางดวงวิมุตติก็มีดวงวิมุตติญาณทัสสนะ

 

ชื่อแต่ละดวง เรียกจากประสบการณ์ภายใน ตามสภาวธรรมของใจที่เป็นอย่างนั้น ตั้งแต่ดวงปฐมมรรคหรือดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ จะซ้อนๆ กันอยู่ภายในเป็นชั้นๆ เข้าไปเรื่อยๆ ชุดหนึ่งก็มี ๖ ดวง ซึ่งจะเชื่อมเข้าไปถึงกายภายใน เป็นชีวิตภายในที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนที่ซ้อนกันอยู่

 

ก็จะเข้าถึงกายต่างๆ เป็นชั้นๆ เข้าไป เป็นกายในกาย กายภายในที่ซ้อนอยู่ในกายภายนอก และก็มีกายภายในที่ซ้อนอยู่ในกลางกายภายใน เป็นชั้นๆ เข้าไป คือเข้าถึง กายมนุษย์ละเอียด ที่หน้าตาเหมือนกับตัวเรา ท่านหญิงก็เหมือนกับท่านหญิง ท่านชายก็เหมือนกับท่านชาย แต่อยู่ในวัยที่เจริญวัยที่สดใสในอิริยาบถสมาธิ อิริยาบถเดียวกันเลยตลอด ตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งกายสุดท้าย อยู่ในอิริยาบถของสมาธิ หันหน้าออกไปทางเดียวกับตัวของเรา จะมีกายซ้อนๆ กันอยู่เขาเรียกว่า กายในกาย

 

กายในกาย

 

กายมนุษย์ละเอียดซ้อนอยู่ในกายมนุษย์หยาบ กายจะเป็นคู่ คือ มีกายหยาบแล้วก็มีกายละเอียด

 

ในกลางกายมนุษย์ละเอียด ก็จะมีกายทิพย์ ทิพย์ก็มีทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด  แต่ละกายจะถูกเชื่อมด้วยดวงธรรม ๖ ดวงนั่นแหละชุดหนึ่ง ที่ใสสะอาดบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น

 

ในกลางกายทิพย์ ก็จะมีกายรูปพรหมซ้อนอยู่ ทั้งกายหยาบและกายละเอียด คือ เป็นคู่เข้าไปอย่างนี้แหละ ที่ใสบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น

 

ในกลางกายรูปพรหมหยาบละเอียด ก็มีกายอรูปพรหมหยาบละเอียดซ้อนอยู่ภายใน  เข้าถึงได้เมื่อใจหยุดนิ่งแน่นเพิ่มขึ้น  เพิ่มในระดับหลุดพ้นจากกายหนึ่งไปสู่อีกกายหนึ่ง  หลุดพ้นจนกระทั่งในระดับความละเอียดเท่ากับอีกกายหนึ่งที่ซ้อนอยู่ที่ละเอียดกว่า  จะดึงดูดใจที่มีความละเอียดเท่ากันเข้าถึง เมื่อเข้าถึงก็จะเห็นกายเหล่านั้น

 

ในกลางกายอรูปพรหมทั้งหยาบละเอียด ก็เข้าถึง กายธรรมโคตรภู เป็นกายองค์พระ เกตุดอกบัวตูมใสบริสุทธิ์ งามกว่าทุกกายที่ผ่านมา เพราะประกอบไปด้วยลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ  แต่ลักษณะที่แตกต่างก็คือ มีเกตุดอกบัวตูม คล้ายๆ ดอกบัวสัตตบงกชไม่ใหญ่ไม่เล็กอยู่บนจอมกระหม่อมที่เป็นลักษณะพิเศษของลักษณะมหาบุรุษ กายจะใสเกินความใสใดๆ ในโลก เหมือนรัตนะอย่างนั้น แต่ว่าใสมาก เป็นรัตนะภายในที่ใสบริสุทธิ์

 

เป็นกายผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว  ผู้รู้ คือ ไม่มีความลับสำหรับกายนี้ เป็นผู้ตื่น คือ ตื่นมาสู่ชีวิตของความเป็นจริง เหมือนคนตื่นจากหลับอย่างนั้นแหละ และก็ตื่นตัวภายใน สดใส เป็นผู้เบิกบาน คือ มีชีวิตชีวา ใจขยาย เบิกบาน ไม่คับแคบ และก็ใสเหมือนรัตนชาติอย่างนั้น ถึงเรียกว่า พุทธรัตนะ

 

กายนี้จะใสสะอาดบริสุทธิ์ เกตุดอกบัวตูมในอิริยาบถสมาธิ นั่งอยู่บนแผ่นฌานกลมแบนใสบริสุทธิ์ กายธรรมโคตรภูนี้จะหย่อนกว่า ๕ วานิดหน่อย มีหยาบ มีละเอียด  กายธรรมโคตรภูหยาบ กายธรรมโคตรภูละเอียด เป็นกายองค์พระ  พระพุทธศาสนาเริ่มต้นจากตรงนี้ เพราะตรงนี้ คือ ตัวพระรัตนตรัยเลย

 

กายธรรมนี้มีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคนในโลก เป็นที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง เพราะว่าพ้นจากสภาวะความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พ้นจากอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เข้าสู่สภาวะนิจจัง สุขัง อัตตา คือ มีความสุขที่เป็นนิรันดร คงที่ เป็นไปตามความปรารถนาของใจที่ใสบริสุทธิ์

 

เป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสรภาพ เป็นเนื้อเป็นตัว เหมือนดวงอาทิตย์ที่เป็นอยู่ได้ด้วยตัวเอง มีแสงสว่างในตัวเอง มีพลังงาน มีความร้อน มีอะไรต่างๆ เหล่านั้น มีความรอบรู้ ความเข้าใจ การอยู่เป็นสุข

 

มีธรรมจักขุ คือ การเห็น มีดวงตาที่เห็นได้รอบตัวในเวลาเดียวกันทุกทิศทุกทางทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต ในเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต

 

มีญาณทัสสนะ คือ รู้แจ้งเกิดขึ้นในกลางธรรมกายโคตรภูนี้

 

กลางกายธรรมโคตรภู ก็จะมีกายธรรมที่ซ้อนๆ กันอยู่เป็นคู่ๆ กันไป กายธรรมพระโสดาบัน หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา ที่ละกิเลสได้ในระดับหนึ่ง ที่จะไม่มีวันกลับมาเปลี่ยนแปลงอีก ก็จะมีกายธรรมพระโสดาบันทั้งหยาบทั้งละเอียดอย่างนี้เป็นชั้นๆๆ เข้าไป

 

ในกลางกายธรรมพระโสดาบัน ก็มีกายธรรมพระสกิทาคามี หรือพระสกทาคามีซ้อน อยู่ หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา ใสบริสุทธิ์หนักขึ้นไปเรื่อยมากกว่าเดิม  ใจก็จะยิ่งนิ่งแน่นหนักเข้าไปอีก หนักแน่น ละกิเลสได้เพิ่มขึ้น

 

ในกลางกายธรรมพระสกิทาคามี ก็มีกายธรรมพระอนาคามี หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา ซ้อนอยู่ ทั้งหยาบทั้งละเอียด

 

ในกลางกายธรรมพระอนาคามี ก็มีกายธรรมพระอรหัตหยาบละเอียดซ้อนอยู่ หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา

 

ทั้งหมดรวมกันแล้วได้ ๑๘ กาย เป็นคู่ๆ กันเข้าไปอย่างนี้ กายที่เป็นเป้าหมายที่หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีก คือ กายธรรมอรหัตผล กายสุดท้ายที่ใสบริสุทธิ์ ดวงเกิดดับไปแล้ว ไม่ต้องมาเกิดในภพสามอีกแล้ว ก็มีอายตนนิพพานเป็นที่ไป

 

มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว


ทั้งหมดนี้เป็นแผนผังของชีวิตมนุษย์  ที่มนุษย์ไม่ได้ให้โอกาสตัวเองศึกษาเรียนรู้เลย  และก็ไม่รู้เลยว่า ตัวเองยังไม่รู้อะไรเลย  หรือแม้รู้ว่ายังไม่รู้อะไรเลย ก็ไม่รู้ว่าจะไปแสวงหาความรู้จากที่ไหน  จนกระทั่งมาศึกษาจากท่านผู้รู้แจ้งเห็นแจ้ง คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วนั่นแหละ จึงจะเข้าใจในระดับหนึ่ง  ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติและมีประสบการณ์ภายใน  

 

เพราะฉะนั้น มรรคผลนิพพานอยู่ในตัว ทางดับทุกข์ซึ่งเป็นเป้าหมายอันสูงสุดของชีวิตที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในแต่ละภพแต่ละชาติ  มีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคนในโลกไม่มีเว้นเลย ต่างแต่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ เพราะฉะนั้นถ้าเราให้โอกาสแก่ตัวของเราเอง มองกลับเข้าไปสู่ภายใน เริ่มต้นหยุดใจนิ่งนุ่มเบาสบายดังกล่าวก็จะบรรลุได้

 

ดังนั้นมรรคผลนิพพานจึงไม่พ้นกาลสมัย  เป็นอกาลิโกจริงๆ  เพราะมันอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน วิธีการปฏิบัติมันก็มีอยู่แล้ว ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านก็สอนเอาไว้  เหลือแต่ว่าเราต้องลงมือปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจังกันทีเดียว  ประกอบความเพียรให้กลั่นกล้าอย่างถูกหลักวิชชา นิ่ง นุ่ม เบา สบาย เราก็จะเข้าถึงได้ ถึงได้ทุกคนในโลกยกเว้นคนที่สูญเสียระบบประสาทเพราะวิบากกรรม คือคนที่เป็นบ้านะจ๊ะ

 

ดังนั้น  ถ้าเป็นคนปกติดีๆ  ก็สามารถที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้  ชีวิตของเราเกิดมาเพื่อการนี้ นี่คือวัตถุประสงค์ของชีวิต  ผู้รู้ทุกพระองค์ท่านกล่าวอย่างนี้ ยืนยันเหมือนกันหมด เพราะว่าท่านผ่านขั้นตอนของชีวิตในสังสารวัฏมาหมดแล้ว  ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นล่างท่านก็เคยเกิด ชนชั้นกลางก็เป็นมาแล้ว  ชนชั้นสูงก็เป็นมาแล้ว  ท่านก็พบว่าทุกชนชั้นล้วนมีทุกข์ทั้งสิ้น  ชนชั้นล่างก็ทุกข์แบบชนชั้นล่าง  ชนชั้นกลางก็ทุกข์แบบชนชั้นกลาง  ชนชั้นสูงก็ทุกข์แบบชนชั้นสูง

 

แต่ทุกข์ที่มีเหมือนกัน คือ ทุกข์ที่เกิดจากความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ประสบสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์อย่างนี้ เป็นกันอย่างสม่ำเสมอ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เสมอภาค ไม่ว่าหญิง ไม่ว่าชาย ทุกเชื้อชาติ ศาสนา และเผ่าพันธุ์ก็มีเป็นอย่างนี้ และก็มีทุกข์แยกย่อยกันไปตามลำดับของชนชั้นดังกล่าว

 

เมื่อเราสว่าง โลกก็สว่างด้วย

 

เรามีบุญมากได้เกิดมาเป็นชาวพุทธ ได้อยู่ในบุญเขต เราก็ต้องใช้บุญให้เป็นสมกับที่เราหาบุญมา หาบุญได้เราก็ต้องใช้บุญให้เป็น  อย่าให้กาลเวลามันผ่านไปโดยล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์  เพราะเวลาของชีวิตมันก็ประเดี๋ยวประด๋าว เดี๋ยวก็วันเดี๋ยวก็คืน เดี๋ยวก็จะหมดเวลาของชีวิตกันไปแล้ว

 

เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราจะต้องทำอย่างเร่งด่วน ก็คือฝึกใจให้หยุดนิ่งอยู่ภายใน ให้เข้าถึงประสบการณ์ภายในจนเป็นผู้ที่สว่างแล้ว มวลมนุษยชาติหรือเพื่อนร่วมโลกของเราจะได้รับประโยชน์ตรงนี้ จากประสบการณ์ภายในของเรา ซึ่งจะเป็นเครื่องยืนยันที่จะบอกกล่าวให้กับเพื่อนมนุษย์ทั้งหลายได้รับทราบว่า ในตัวเขาก็มีเช่นเดียวกับในตัวของเรา และเขาก็สามารถเข้าถึงได้

 

นี่คือวัตถุประสงค์ของชีวิตที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ไม่ว่าเกิดมาในเชื้อชาติ ศาสนาและเผ่าพันธุ์ใดก็ตาม  จะมีความแตกต่างกันจากขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณี  ภาษาหรืออะไรก็ตาม  มันเป็นความแตกต่างแต่เพียงภายนอก แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน  อยู่ที่เราไม่ได้ศึกษาเรียนรู้ ไม่รู้จักเลย คือสิ่งที่เรากำลังแสวงหากันอยู่นั่นแหละ

 

ที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง คือ พระรัตนตรัยที่อยู่ในตัว พระธรรมกายที่อยู่ในตัวนั่นแหละคือตัวพระรัตนตรัย ที่เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดอันประเสริฐ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เลื่อนลอยหรือสมมุติฐานที่ตั้งกันขึ้นมา

 

ในยามที่เรามีทุกข์ เราอยากหาที่พึ่งที่จะช่วยเราพ้นทุกข์ไปตามความเข้าใจ ตามรสนิยมของเรา หรือสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมา เข้าใจว่าต้นไม้เป็นที่พึ่งได้ก็จะไปไหว้ต้นไม้ เข้าใจว่าจอมปลวกเป็นที่พึ่ง ก็จะไปไหว้จอมปลวก เข้าใจว่าภูเขาเป็นที่พึ่ง ก็จะไปไหว้ภูเขา จนกระทั่งนึกสมมุติฐานขึ้นมาในสิ่งที่มองไม่เห็นที่เลื่อนลอย เพราะยังหาคำตอบไม่ได้ว่า ใครสร้างโลกหรือสรรพสัตว์สรรพสิ่งทั้งหลาย ก็จะตั้งสมมุติฐานว่า สิ่งนั้นคือที่พึ่ง นั่นยังเป็นสิ่งที่ยังเลื่อนลอยอยู่

 

แต่ถ้าวันใดที่เราสว่าง ด้วยการฝึกใจให้หยุดนิ่งอยู่ภายใน แล้วเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวเอง เราพิสูจน์ได้ เราได้มีประสบการณ์แล้ว มันเป็นความสุขจริงๆ เป็นที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง เมื่อเข้าถึงแล้วอบอุ่น ปลอดภัย มีความเบิกบานอยู่เป็นนิจ  เวลานำไปบอกเล่ากับเพื่อนมนุษย์ เขาก็จะได้รับประโยชน์กับตรงนี้  สันติสุขอันไพบูลย์ก็จะเกิดขึ้นในโลกใบนี้อย่างง่ายๆ  เมื่อเราสว่างแล้ว  โลกก็จะสว่างด้วย

 

ดังนั้น ลูกทุกคนซึ่งเป็นชาวพุทธต้องให้ความสัมคัญกับสิ่งนี้ เพราะชาวโลกกำลังรอคอยเราอยู่  รอคอยประสบการณ์ภายในที่เราได้เข้าถึง  เพื่อจะได้ยืนยันอย่างองอาจ อย่างสง่างามด้วยความปีติสุขที่หล่อเลี้ยงใจ

 

บริกรรมนิมิต บริกรรมภาวนา

 

เวลาที่เหลืออยู่นี้ ให้ลูกทุกคนฝึกใจให้หยุดนิ่งอยู่ภายใน ให้ใจหยุดนิ่ง นุ่ม เบา สบาย ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ โดยกำหนดบริกรรมนิมิตขึ้นมา เป็นดวงใสๆ หรือจะวางใจเฉยๆ นิ่งๆ นุ่มๆ อยู่ภายในศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ในกลางท้องที่เรามั่นใจว่านี่คือศูนย์กลางกายฐานที่ ๗

 

แล้วก็ประคองใจให้หยุดนิ่งด้วยบริกรรมภาวนาในใจเบาๆ ให้สม่ำเสมอว่า สัมมาอะระหังๆ ประคองใจกันไปอย่างนี้จนกว่าใจจะหยุดนิ่ง เมื่อใจหยุดนิ่งมันก็จะทิ้งคำภาวนาไปเอง เหมือนเราลืมไปว่าไม่อยากจะภาวนา สัมมาอะระหัง อีกต่อไป อยากหยุดใจนิ่งเฉยๆ อย่างสบายๆ ถ้าเกิดความรู้สึกอย่างนี้ เราก็ไม่ต้องภาวนา สัมมาอะระหัง ต่อไป แต่ว่าเมื่อใดใจฟุ้งไปคิดเรื่องอื่น  เราจึงย้อนกลับมาภาวนา สัมมาอะระหัง ใหม่ ประคองใจกันไปอย่างนี้นะจ๊ะ

 

ส่วนผู้ที่หยุดนิ่งได้ในระดับหนึ่งแล้ว เข้าถึงดวงธรรมใสๆ เข้าถึงกายภายในใสๆ องค์พระใสๆ ก็หยุดใจนิ่งต่อไปตรงกลางของกลางนั่นแหละ กลางสิ่งที่เราเห็น กลางดวง กลางกายภายใน หรือกลางองค์พระภายใน อย่างสบายๆ ใจเย็นๆ ใจใสๆ

 

เช้านี้อากาศกำลังสด ชื่นเย็นสบาย เหมาะสมที่ลูกผู้มีบุญทุกคนจะได้ประกอบความเพียรให้กลั่นกล้า ให้สมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์มาพบพระพุทธศาสนา ก็ให้ตั้งอกตั้งใจประกอบความเพียรกันไปให้ถูกหลักวิชชา ให้ลูกทุกคนสมหวังดังใจในการเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวทุกๆ คนนะลูก ต่างคนต่างนั่งกันไปเงียบๆ นะจ๊ะ

Add Comment
2553
วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ▼  เดือน สิงหาคม (233)
      • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอ...
      • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
      • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
      • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
      • ม้าพยศ 450910F รอบค่ำ
      • วิธีปฏิบัติให้เข้าถึงประสบการณ์ภายใน 540724D รอบบ่าย
      • รสแห่งธรรมเลิศกว่ารสทั้งปวง 460112D รอบบ่าย
      • คิดพูดเรื่องละเอียดใจละเอียด 450909F รอบค่ำ
      • ประสบการณ์หนึ่งนาทีที่ใจหยุดนิ่ง 471114D รอบบ่าย
      • ยากตรงหยุดแรก 481225D รอบบ่าย
      • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
      • แผ่เมตตา และอธิษฐานจิต 500804F รอบค่ำ
      • มองผ่านๆ 451009F รอบค่ำ
      • ง่ายจึงจะถูกวิธี 520412C รอบสาย
      • ชีวิตที่ถูกหลอก 460824C รอบสาย
      • อารมณ์สบายอย่าฟังผ่าน 450928F รอบค่ำ
      • สติกับสบาย 361107C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
      • ประโยชน์ของสมาธิ 540102D รอบบ่าย
      • ฐานที่ ๗ ตำแหน่งของผู้รู้ 540522D รอบบ่าย
      • สิ่งดีๆเริ่มต้นเมื่อใจหยุด 490709D รอบบ่าย
      • ใจหยุดหลุดพ้นทุกข์ 560707C รอบสาย
      • เราเกิดมาเพื่อแสวงหาธรรม 590327D รอบบ่าย
      • บุญจะได้ช่องเมื่อใจเราสบาย 590222D รอบบ่าย
      • สุขอื่นยิ่งกว่าใจหยุดนิ่งไม่มี 590306D รอบบ่าย
      • โอวาทปาติโมกข์ 590222E รอบเย็น
      • อย่ามองข้ามความสบาย 590207D รอบบ่าย
      • กายสบายใจสบายก็ง่ายนิดเดียว 590101D รอบบ่าย
      • ประสูติตรัสรู้ปรินิพพานตำแหน่งเดียวกัน 580601E รอบ...
      • พิธีจุดไฟแก้วสดุดีนักรบกองทัพธรรม 580510E รอบเย็น
      • ยังแข็งแรงอยู่ต้องหาที่พึ่งให้เจอ 580405D รอบบ่าย
      • อานุภาพของดวงบุญ 580304D รอบบ่าย
      • ทบทวนบุญบูชาข้าวพระ 570706D รอบบ่าย
      • ความสุขในกลาง 520906D รอบบ่าย
      • เข้าถึงธรรมได้วิเศษที่สุด 590403D รอบบ่าย
      • ใจกับกายหนึ่งเดียวกัน 570101D รอบบ่าย
      • ปริญญา DOU 560707D รอบบ่าย
      • พระผู้ปราบมารพยานตรัสรู้ธรรม 560714D รอบบ่าย
      • นึกถึงหลวงปู่ หลวงปู่นึกถึงเรา 560512D รอบบ่าย
      • เชื่อมสายบุญกับหลวงปู่พระผู้ปราบมาร 560505D รอบบ่าย
      • สร้างบุญกับหลวงปู่บุคคลผู้เลิศ 560519D รอบบ่าย
      • ธรรมกายคือเป้าหมายชีวิต 560414D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งอย่างเดียว 560428D รอบบ่าย
      • ทำความเพียรอย่างถูกหลักวิชชา 560331D รอบบ่าย
      • ชาวพุทธที่แท้จริง 560317D รอบบ่าย
      • อานิสงส์หยุดเป็นตัวสำเร็จ 560203D รอบบ่าย
      • ปีใหม่สร้างบารมีให้เข้มข้นขึ้น 560101D รอบบ่าย
      • ความตายไม่มีนิมิตหมาย 551223D รอบบ่าย
      • ความลับของชีวิต 551209D รอบบ่าย
      • ตามรอยพุทธองค์ 551125D รอบบ่าย
      • ป้อมปราการของชีวิต 551014D รอบบ่าย
      • ตกระแสธรรม 551028D รอบบ่าย
      • จุดเทียนใจ 550902D รอบบ่าย
      • แก้วกายสิทธิ์ 550826D รอบบ่าย
      • หาพระในตัวให้เจอ 550819D รอบบ่าย
      • อธิปไตยในตัว 550708D รอบบ่าย
      • บวชเรียนเพื่อพ้นโลก 550715D รอบบ่าย
      • การบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้า 550422C รอบสาย
      • เข้าถึงธรรมง่ายถ้าใจปล่อยวาง 550408D รอบบ่าย
      • บูชาหลวงปู่ด้วยพวงมาลัยดอกมะลิ 550401D รอบบ่าย
      • สิ่งอัศจรรย์ 550415D รอบบ่าย
      • โอวาทปาติโมกข์ 550307E รอบเย็น
      • อานิสงส์ตักบาตรในเส้นทางพระผู้ปราบมาร 550311D รอบบ่าย
      • บุญอยู่เบื้องหลัง 550318D รอบบ่าย
      • ภาพในกลางดวงบุญ 550325D รอบบ่าย
      • ทางมรรคผลนิพพาน 550219D รอบบ่าย
      • ทางรอด 550212D รอบบ่าย
      • ต้องยึดศูนย์กลางกายให้ได้ 550129D รอบบ่าย
      • ฉลองชัยชิตัง เม 550125E รอบเย็น
      • V-Starครั้งที่6 550128E รอบเย็น
      • เส้นทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ 541211D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งอย่างเดียว 541218D รอบบ่าย
      • ทำไมต้องสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ 541112D รอบบ่าย
      • กฐินประวัติศาสตร์ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม 541106D รอบบ่าย
      • จิตวิญญาณพระแท้ 541120D รอบบ่าย
      • ความปลื้มสร้างทุกสิ่ง 541127D รอบบ่าย
      • ทำบุญแล้วต้องปลื้ม 540828D รอบบ่าย
      • ชีวิตในสังสารวัฏเป็นทุกข์ 540814D รอบบ่าย
      • รางวัลแห่งความเพียร 540724D รอบบ่าย
      • สุขกับเฉยไปด้วยกัน 540717D รอบบ่าย
      • ทางมรรคผลนิพพาน 540717C รอบสาย
      • พระแท้ 540710D รอบบ่าย
      • อริยสัจ4 540619C รอบสาย
      • วันวิสาขบูชา 540517C รอบสาย
      • คุ้มครองโลกอย่างถูกหลักวิชชา 540422C รอบสาย
      • วิชชา3 540424D รอบบ่าย
      • เดินธุดงค์เพื่อการบำเพ็ญสมณธรรม 540422D รอบบ่าย
      • เส้นทางมรรคผลนิพพาน 540410C รอบสาย
      • อายุพระศาสนา 540320C รอบสาย
      • คุณลักษณะที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง 540313D รอบบ่าย
      • เหลี่ยมคูพญามาร 540327C รอบสาย
      • พญามารกลัวมนุษย์หยุดใจได้ 540227C รอบสาย
      • สันติภาพโลกเริ่มต้นจากสันติสุขภายใน 540218C รอบสาย
      • การเห็นภายใน 540213C รอบสาย
      • นึกถึงบุญ 540227D รอบบ่าย
      • ความลับของชีวิต 540220D รอบบ่าย
      • พระธรรมกายภายใน 540109D รอบบ่าย
      • ง่ายจึงถูกวิธี 540109C รอบสาย
      • ความสำคัญของฐานที่7 531205D รอบบ่าย
      • วิชชา3 531219C รอบสาย
    • ►  เดือน กรกฎาคม (123)
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger