• label
  • Home

นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย

  • Home
  • Search
  • Title
  • Label
  • List
Menu
2553 ตกศูนย์ เส้นทางสุขที่แท้จริง 530808C รอบสาย

เส้นทางสุขที่แท้จริง 530808C รอบสาย


เส้นทางแห่งสุขที่แท้จริง

วันอาทิตย์ที่  ๘  สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ (๐๙.๐๐ - ๑๑.๐๐ น.)

งานบุญวันอาทิตย์ ณ สภาธรรมกายสากล


ปรับกาย

 

เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ต่อจากนี้ไปให้ตั้งใจ ให้แน่แน่ว มุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานกัน ทุกๆ คนนะลูกนะ

 

ให้นั่งขัดสมาธิ  โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย  มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวา จรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ

 

หลับตาของเราเบาๆ พอสบายๆ หลับตาค่อนลูก คือ ไม่ถึงกับปิดสนิท พอสบายๆ คล้ายกับตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าไปบีบเปลือกตา อย่ากดลูกนัยน์ตา เหมือนเราปรือๆ ตา นิดๆ แตะๆ แค่สัมผัส ระดับขนตาชนกัน แตะๆ เบาๆ พอสบายๆ

 

ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายของเรา ตั้งแต่กล้ามเนื้อบนใบหน้า ศีรษะ ลำคอ บ่า ไหล่ แขนทั้งสองถึงปลายนิ้วมือ ให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณลำตัว  ขาทั้งสองถึงปลายนิ้วเท้า ให้ผ่อนคลาย แล้วเราก็ขยับเนื้อขยับตัวของเราให้ดี ทุกส่วนต้องผ่อนคลาย ท่านั่งให้ถูกส่วนให้พอเหมาะพอดี

 

เราเสียเวลาตรงนี้สัก ๑ นาที ให้ผ่อนคลาย ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายของเรามันตึง มันเกร็ง ต้องผ่อนคลาย

 

ปรับใจ


ทำใจของเราให้เบิกบาน แช่มชื่น ให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม เรื่องคน สัตว์ สิ่งของ ธุรกิจ การงาน บ้านช่อง การศึกษาเล่าเรียน เรื่องครอบครัว หรือเรื่องอะไรที่นอกเหนือจากนี้ ให้ปลด ให้ปล่อย ให้วาง ให้คลายความผูกพันจากทุกสิ่ง เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นแค่เครื่องอาศัย อาศัยอยู่ชั่วครั้งชั่วคราว สักวันหนึ่งเราก็จะต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป หรือแม้เรามีชีวิตอยู่สิ่งเหล่านี้ บางอย่างก็พลัดพรากจากตัวเราไป

 

เพราะว่าทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ไปสู่จุดสลาย ต้องเสื่อมสลายไปทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิต หรือไม่มีชีวิต รวมกระทั่งตัวของเราสักวันหนึ่งเราก็จะต้องจากโลกนี้ไป

 

ทุกข์ในสังสารวัฎ


เรามาเกิดในแต่ละครั้ง มาเพื่อแสวงหาหนทางพ้นทุกข์ ดับทุกข์ เพราะชีวิตในสังสารวัฏนี้ ไม่ว่าจะเกิดไปเป็นอะไรก็ตาม จะเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหม อรูปพรหม  ล้วนไม่ปลอดภัยในชีวิตทั้งสิ้น  

 

เพราะว่ายังตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม กฎแห่งการกระทำ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ไม่ว่าดีหรือชั่ว ล้วนมีผลทั้งสิ้น  ตกอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา คือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมสลาย ความทุกข์ทรมานของชีวิต ความ ไม่เป็นอิสรภาพเป็นตัวของตัวเอง ยังเป็นบ่าว เป็นทาสของพญามาร

 

ไม่ว่าจะเกิดเป็นชนชั้นล่าง ชั้นกลาง ชั้นสูง ล้วนมีทุกข์ทั้งสิ้น ชนชั้นล่างก็ทุกข์แบบชนชั้นล่าง  ชนชั้นกลางก็ทุกข์แบบชนชั้นกลาง  ชนชั้นสูงก็ทุกข์แบบชนชั้นสูง

 

ทุกข์ที่เสมอกันก็คือ ทุกข์ที่เกิดจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพราก จากสิ่งที่เป็นที่รัก ประสบสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้ดังใจอย่างนี้ เป็นต้น

 

เราต้องตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม กฎแห่งไตรลักษณ์ แล้วก็กฎเกณฑ์ของชีวิตอีกมากมายที่มันซ้อนๆ กันอยู่ กฎหมายบ้าง กฎแต่ละหนแต่ละแห่ง ในครอบครัว ในบ้าน นอกบ้าน ที่ทำงาน มันเหมือนมีกฎซ้อนกฎ กันเป็นชั้นๆ ซับซ้อนมาก

 

แถมมีภพภูมิเป็นที่รองรับอีก มีอบาย มีมหานรก อุสสทนรก ยมโลก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ซึ่งมันทุกข์ทรมานมากกว่าตอนที่เรามีชีวิตอยู่

 

ทุกข์ที่สำคัญ คือ ความไม่รู้เรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต ไม่รู้ว่าเราจะดับทุกข์  ได้อย่างไร ไม่รู้ว่าจะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดนี้ได้อย่างไร ความทุกข์ทรมานที่ไม่รู้เรื่องราวในอดีตของเรา ของสรรพสัตว์ของสรรพสิ่งทั้งหลาย เรื่องราวในปัจจุบันและในอนาคต  ความไม่รู้นี่แหละเป็นอันตรายสำหรับชีวิต ของเราทุกๆ คนในโลก

 

เราจึง ต้องปลด ต้องปล่อย ต้องวาง ต้องคลายความผูกพัน เพื่อที่ว่า ใจของเราจะได้ปลอดกังวลในระดับหนึ่ง  แล้วเราก็จะได้แสวงหาหนทางพ้นทุกข์ ดับทุกข์  ให้ถูกวัตถุประสงค์การมาเกิดเป็นมนุษย์ในแต่ละครั้ง

 

หนทางดับทุกข์


เราโชคดีที่ได้เกิดมาเป็นชาวพุทธ ได้ศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรารู้ว่าชีวิตเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะเกิดจากความทะยานอยาก ที่ไม่ได้ประกอบไปด้วยดวงปัญญา หรือความเข้าใจชีวิตอย่างแจ่มแจ้ง

 

เรารู้ทางดับทุกข์ และวิธีการที่จะดำเนินไปสู่จุดนั้นได้ นี่คือบุญลาภของเรา ที่ได้เกิดมาเป็นชาวพุทธ เรามีบุญ เหลืออย่างเดียว คือ วาสนาที่เราจะเข้าถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ การบรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งพระองค์ได้ค้นพบว่า

 

                  มีหนทางเดียวเท่านั้น ที่จะดับทุกข์ หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ทรมานของชีวิตได้ ก็คือ การนำใจกลับเข้าไปสู่ภายใน ไปสู่ที่ตั้งดั้งเดิม ในตำแหน่งแห่งการบรรลุธรรม ซึ่งอยู่ภายในตัว เป็นทางเอกสายเดียว ทางสายกลาง ที่อยู่ภายใน นอกเหนือจากทางสายกลางภายนอก

 

                  เราได้ศึกษาเรียนรู้มาในระดับนี้ แต่มาแจ่มแจ้งอีกครั้งหนึ่งในยุคนี้ เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ท่านได้พบหนทางตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็สามารถปฏิบัติเข้าถึงได้ นำมาถ่ายทอดว่า

 

                  ตำแหน่งสำคัญที่จะดับทุกข์ หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะได้นั้น คือ นำใจกลับมาสู่ที่ตั้งดั้งเดิมของใจ คือ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ

 

โดยสมมติว่า หยิบเส้นด้ายขึ้นมา ๒ เส้น นำมาขึงให้ตึง จากสะดือทะลุไปด้านหลังเส้นหนึ่ง จากด้านขวาทะลุไปด้านซ้ายอีกเส้นหนึ่ง ให้เส้นด้ายทั้งสอง ตัดกันเป็นกากบาท จุดตัดจะเล็กเท่ากับปลายเข็ม เหนือจุดตัดนี้ขึ้นมา ๒ นิ้วมือ เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งเราจำง่ายๆ ว่า อยู่ในบริเวณกลางท้อง ในระดับที่เรามั่นใจว่า เหนือสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ เพราะว่าฐานที่ ๗ จะเห็นได้จริงๆ ก็ต่อเมื่อใจหยุดได้สนิท จึงจะเห็นชัด

 

เพราะฉะนั้น เราก็ไม่ต้องไปกังวลกับฐานที่ ๗ มากจนเกินไป แต่ให้ทำความเข้าใจว่า ฐานที่ ๗ อยู่ตรงนี้บริเวณนี้ แล้วเราก็เอาใจของเรามาหยุดนิ่งๆ นุ่มๆ อยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งเป็นแหล่งของการตรัสรู้ธรรม แหล่งสติ มหาสติ แหล่งของมหาปัญญา แหล่งแห่งความบริสุทธิ์ ความสุข ความสว่าง ความสะอาดของใจ อยู่ที่ตรงนี้

 

เส้นทางสายกลาง เส้นทางแห่งความสุข

 

แล้วเราก็เอาใจมาหยุดนิ่งๆ นุ่มๆ เบาๆ ต้องเบาๆ นะลูกนะ ตั้งใจมากก็ไม่ได้ จะไปบีบไปเค้นอะไรก็ไม่ได้

 

ต้องจำกฎเกณฑ์ว่า เส้นทางสายกลางภายในนี้ ใจต้องหยุดนิ่งอย่างง่ายๆ ตลอดเส้นทาง มีแต่เรื่องง่ายๆ ง่ายเพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ถ้ามันยากตอนช่วงไหนของการฝึกฝน แปลว่า เราทำไม่ถูกวิธี  วิธีที่ถูกต้องง่าย  ต้องผ่อนคลาย  เพราะเป็นเส้นทางแห่งการดับทุกข์

 

ทุกข์ต้องบรรเทาเบาบางลดลงไปเรื่อยๆ มันจะมีแต่ความสุขอย่างเดียว  เป็นเส้นทางแห่งความสุข ตั้งแต่สุขเล็กน้อย สุขพอประมาณ จนกระทั่งไปถึงสุขอย่างยิ่ง คือ บรมสุข

 

ตลอดเส้นทางสายกลางภายใน ที่มีจุดเริ่มต้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นี้ มีแต่ความสุขอย่างเดียว ที่จะเพิ่มปริมาณแห่งความสุขมากขึ้นไปเรื่อยๆ แม้ไม่สุข ไม่ทุกข์ก็ไม่มี มีแต่สุขเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ และจะต้องมีการเห็นไปเรื่อยๆ

 

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านรู้แจ้ง แจ่มแจ้งเพราะเห็นแจ้ง  แปลว่า ต้องมีการเห็นไปเรื่อยๆ จะเห็นได้ก็ต้องมีแสงสว่างเกิดขึ้น  เป็นแสงสว่างภายใน ที่สว่างกว่าแสงภายนอก สว่างกว่าแสงดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือดวงดาวบนท้องฟ้า สว่างกว่าแสงที่มนุษย์ประดิษฐ์ แต่เป็นแสงสว่างที่ไม่แสบตา ไม่จ้าตา มาพร้อมกับความสุขสดชื่น เบิกบาน และความเข้าใจแจ่มแจ้งในเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต

 

เส้นทางสายกลางภายใน มันจะเป็นช่องทางกลวงๆ โล่งๆ ว่างๆ ไม่มีทึบ ไม่มีตื้อ ไม่มีตัน จากจุดเล็กๆที่อยู่กลางกาย จะไปในแนวดิ่งลงไปตรงกลาง แล้วก็ไปสู่โลกกว้าง ไปสู่ที่โล่งๆ ว่างๆ หายคับแคบ หายอึดอัด ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข ความบริสุทธิ์อย่างที่เราไม่เคยเจอ

 

สาเหตุที่ไม่เจอความสุขที่แท้จริง


ความสว่างที่เกิดขึ้น เมื่อเรามองผ่านแสงสว่างไป ก็จะเห็นภาพภายในที่มีอยู่แล้ว แต่เราไม่รู้ว่ามี เพราะเราไม่ได้ศึกษา ไม่ได้เรียนรู้ ไม่ได้เฉลียวใจว่า มีอยู่ เพราะเราเอาใจไปใช้ในเรื่องราวภายนอก ในเรื่องคน สัตว์ สิ่งของ การทำมาหากิน พบปะผู้คน การครองเรือน เหล่านี้เป็นต้น

 

วันเวลาก็หมดเปลืองไปกับสิ่งเหล่านั้น แล้วก็ไม่เคยเจอความสุขเลย เจอแต่ทุกข์มากหรือทุกข์น้อย เศร้า ซึม เซ็ง เครียด เบื่อ กลุ้ม แล้วก็หาทางคลายความเครียด ตามรสนิยมของเรา คิดว่า สิ่งไหนจะผ่อนคลายให้เราหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ หรือให้เราลืมความทุกข์ไปได้ชั่วครั้งชั่วคราว ในระดับที่กลบความทุกข์  แต่ไม่ใช่แก้ความทุกข์

 

ใจวันหนึ่งคืนหนึ่งก็จะวนเวียนอยู่อย่างนี้แหละ ทั้งตื่น ทั้งหลับ ทั้งฝัน วันๆ ก็วนเวียนอยู่อย่างนี้ จึงไม่ได้เจอความสุขที่แท้จริง ไม่ได้เจอความสว่างภายใน ทำให้ไม่เห็นภาพที่มีอยู่ภายใน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของชีวิตเรา

 

เราไม่รู้จักชีวิตที่อยู่ภายในตัวของเราที่ผ่านกลางกาย เป็นชีวิตที่ละเอียดอ่อน ประณีต สูงส่งขึ้นไปเรื่อยๆ เราไม่รู้จักว่า อะไรคือที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง ที่สามารถพึ่งได้ตลอดเวลา และเป็นสิ่งที่ควรแก่การระลึกนึกถึง เพราะนึกถึงแล้วมีความสุข ปีติสุขหล่อเลี้ยงใจ

 

เมื่อเราส่งใจไปภายนอก หลับตาแล้วเราจะมืด แต่เมื่อเราส่งใจกลับเข้ามาสู่ภายใน หลับตาแล้วมันจะสว่าง  แต่จะสว่างได้ต่อเมื่อเราทิ้งความผูกพันภายนอก  ให้ใจอยู่ในระดับกลางๆ ไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใด และใจก็จะมาหยุดนิ่งๆ นุ่มๆ เบาๆ สบายๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้แหละ

 

บริกรรมนิมิต


เมื่อเราฝึกใหม่ๆ ใจยังคุ้นเคยกับการนึกถึงเรื่องภายนอก จึงต้องมีที่ยึดที่เกาะของใจเรา เพื่อเชื่อมใจเรากับศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ให้ใจกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว จึงต้องกำหนดบริกรรมนิมิตขึ้นมา

 

คือ สร้างมโนภาพให้เป็น Landmark เป็นเครื่องหมายที่ใส สะอาด บริสุทธิ์ ประดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ไม่มีตำหนิเลย ต้องเป็นของใสๆ ที่จะทำให้ใจเราใสๆ บริสุทธิ์ หรือจะนึกถึงสิ่งที่เราคุ้นเคยก็ได้ แต่ต้องทำให้ใจเราสูงส่ง เช่น นึกถึงภาพพระพุทธรูป ภาพบิดามารดาอย่างนี้เป็นต้น

 

ต้องนึกอย่างง่ายๆ สบายๆ ธรรมดาๆ คล้ายๆ กับเรานึกถึงสิ่งที่เราคุ้นเคยอย่างนั้น โดยไม่ได้ใช้กำลังในการเค้นภาพ นึกภาพ แม้ไม่ชัดเจนมาก ก็ไม่เป็นไร วัตถุประสงค์ของการนึก ก็แค่ให้ใจมีหลักยึดติดกับศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เป็นเครื่องหมายอย่างนั้นแหละ

 

ทีนี้เรากำหนดเครื่องหมาย Landmark เป็นเพชรสักเม็ดหนึ่ง ใสๆ หรือก้อนน้ำแข็งสักก้อนหนึ่งใสๆ กลมรอบตัวเหมือนดวงแก้วที่เจียระไนแล้ว ต้องนึกเบาๆ เหมือนไม่ได้นึก นึกเผินๆ เหมือนมองผ่านๆ นึกที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗

 

แล้วก็เอาใจไปแตะๆ ใช้ระบบสัมผัส แตะๆ บรรจงหยุดใจนิ่งๆ นุ่มๆ เบาๆ สบายๆ ใจใสๆ เย็นๆ อย่าไปฮึดฮัด ถ้าไม่ได้ดังใจ ถ้ามันไม่ชัดเจน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เหมือนเราลืมตาเห็นวัตถุภายนอก ก็อย่าไปฮึดฮัด อย่าไปรำคาญใจ เอาเท่าที่เราจะนึกได้ นึกได้ ๕ เปอร์เซ็นต์  ๑๐ เปอร์เซ็นต์  ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ก็ไม่เป็นไร แม้นึกไม่ออกก็ไม่เป็นไร จะเห็น หรือไม่เห็น ก็ไม่เห็นเป็นไร ขอให้ใจเราหยุดนิ่งตรงนี้ ก็เพียงพอแล้ว

 

บริกรรมภาวนา

 

นิ่ง นุ่ม เบา สบาย ตรึกนึกถึงดวงใส ใจหยุดอยู่ในกลางดวงใสๆ ที่ใสเหมือนกับเพชรที่เจียระไนแล้ว ไม่มีตำหนิเลย หรือก้อนน้ำแข็งใสๆ กลมรอบตัวเหมือนดวงแก้ว พร้อมกับประคองใจให้หยุดนิ่ง ด้วยบริกรรมภาวนาในใจ เบาๆ ให้สม่ำเสมอ ไม่เร็วนัก ไม่ช้านัก  

 

โดยให้เสียงคำภาวนาดังออกมาจากในกลางท้องของเรา ไม่ใช่ที่สมองของเรานะจ๊ะ คล้ายๆ กับเป็นเสียงที่ละเอียดอ่อน มาจากแหล่งแห่งความบริสุทธิ์ แหล่งแห่งอานุภาพอันไม่มีประมาณ ผ่านกลางกายของเรา ผ่านกลางบริกรรมนิมิตที่เป็นดวงใสๆ หรือก้อนน้ำแข็งใสๆ กลมๆ ให้ดังออกมาจากในกลางท้องของเรา

 

ประคองใจด้วยบริกรรมภาวนาว่า สัมมาอะระหังๆๆ ตรึกนึกถึงดวงใส ใจหยุดอยู่ในกลางดวงใสๆ อย่างเบาๆ สบายๆ ใจเย็นๆ ตรึกนึกถึงดวงใส

 

จะภาวนา สัมมาอะระหัง กี่ครั้งก็ได้ จนกว่าจะหมดความจำเป็นที่จะใช้ คือ เราลืมภาวนาไปเอง เหมือนเราลืมไป คำภาวนาเลือนหายไป เหลือแต่ใจหยุดนิ่งเฉยๆ อยู่ที่กลางกายตรงนี้ แต่ว่าเมื่อใดใจฟุ้งไปคิดเรื่องอื่น เราจึงย้อนกลับมาภาวนา สัมมาอะระหัง ใหม่ ประคับประคองใจกันไปอย่างนี้ จนกระทั่งใจถูกส่วน

 

ใจตกศูนย์


พอถูกส่วน เดี๋ยวมันก็จะเหมือนกับตกหลุมอากาศ เหมือนหล่นจากที่สูงลงไปบ้าง อาจจะมีอาการตกใจบ้างก็ไม่เป็นไร  ตกหลุมคู่กับตกใจ แต่เราทำบ่อยๆ มันก็จะคุ้นเคย ไม่มีอันตรายอะไรหรอก เหมือนเรากำลังจะหลุดจากความเป็นตัวตนของเราไปสู่สภาวะที่ละเอียดอ่อน ในที่โล่งกว้าง กลางอวกาศโล่งๆ กลางสุญญากาศโล่งๆ ซึ่งเราไม่คุ้นเคย ก็จะตกใจนิดหน่อย  แต่จะไม่มีอันตรายอะไร จะไม่พบสิ่งที่น่ากลัว ไปแล้วก็สามารถกลับมาใหม่ได้ ไม่ตาย

 

จะเจอแต่สิ่งดีๆ เป็นรางวัลสำหรับคนนำใจกลับมาหยุดนิ่งได้ จะเป็นรางวัลให้กับเรา  ที่มาพร้อมกับความสุข ความสว่าง ความสะอาดของใจ สะอาด สว่าง สงบ สุข ใส เย็น สบาย และการเห็นที่จะเกิดขึ้นตามมาในภายหลัง

 

แต่จะเห็นอะไรก็ตาม ให้ดูเฉยๆ เท่าที่มีให้ดู อย่างสบายๆ โดยไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น ต้องจำนะลูกนะ เราจะใช้วิธีการนี้ไปตลอดเส้นทางสายกลาง ตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งเป็นพระอรหันต์

 

วัตถุประสงค์ของการบวช


โดยเฉพาะลูกพระธรรมทายาท เรามาบวชในคราวนี้ วัตถุประสงค์หลักของการบวช ก็เพื่อให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน จะได้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ นี่คือวัตถุประสงค์ดั้งเดิมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านนำมาถ่ายทอด นำมาสั่งสอน เพื่อให้ทุกคนหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ บรรลุมรรคผลนิพพาน  เช่นเดียวกับพระองค์

 

แล้วเมื่อมีผู้ทำตามพระองค์  ก็ได้บรรลุตามพระองค์กันมากมาย เป็นพระอรหันต์ก็ เยอะ เป็นพระอริยเจ้าในระดับต่างๆ ก็มากมาย

 

อย่างน้อยก็เป็น โคตรภูบุคคล คือ อยู่กึ่งทาง ครึ่งทางระหว่างความเป็นปุถุชนและความเป็นพระอริยเจ้า กล่าวคือ เลยความเป็นปุถุชน คนมีกิเลสหนา ปัญญาหยาบ แต่ยังไม่ได้เป็นพระอริยเจ้า ได้เข้าถึงพระธรรมกายในตัว ถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ อย่างน้อยก็มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เป็นชาวพุทธที่สมบูรณ์ แต่ถ้าเป็นบรรพชิตก็บวชสองชั้น อย่างน้อยก็อย่างนี้  ที่เรามาบวชก็เพื่อการนี้

 

ส่วนผลพลอยดีที่จะได้รับจากการบวชและบำเพ็ญสมณธรรม การฝึกตน ทนหิว บำเพ็ญตบะ เป็นพระแท้ ก็คือการสั่งสมเนกขัมมบารมี บารมีแห่งการบวชของเรา การสั่งสมบุญ การช่วยปิดประตูมหานรกให้กับบิดามารดา การเปิดประตูสวรรค์ให้กับท่านทั้งสอง อย่างน้อยก็อย่างนี้

 

เพราะฉะนั้น  ให้ลูกพระธรรมทายาททุกรูป ต้องใช้วันเวลาที่เหลืออยู่น้อยนิดนี้ ทุกอนุวินาที เพื่อการหยุดใจให้นิ่ง นุ่ม เบา สบาย ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ฝึกตน ทนหิว บำเพ็ญตบะ อย่างนี้แหละ

 

พระแท้

 

ความเป็นพระแท้เกิดขึ้นเมื่อใจหยุดนิ่ง และเข้าถึงพระธรรมกายในตัว เห็นท่านชัด ใส แจ่มกระจ่าง อยู่ที่กลางกายของเรา ทั้งหลับตาลืมตา หลับตาก็เห็น ลืมตาก็เห็น นั่น นอน ยืน เดิน ก็เห็น ชัด ใส แจ่มกระจ่าง กลางกาย บวชสองชั้นก็จะเกิดขึ้น  

 

สมณสัญญา หรือความรู้สึกว่า เราเป็นพระ ก็จะบังเกิดขึ้นมาเองเป็นอัตโนมัติ โดยไม่ต้องใช้ความพยายามนึกคิด เป็นพระภายใน มีสมณสัญญาอย่างผ่อนคลาย อย่างสุขใจ ด้วยความเต็มใจ สมัครใจ ปลื้มปีติและภาคภูมิใจด้วยตัวของตัวเอง ในการเป็นพระแท้ เมื่อใจของเราหยุดนิ่ง เข้าถึงพระธรรมกายในตัว แม้ไม่ได้ตั้งใจสำรวม สงบเสงี่ยมก็ตาม แต่ความสำรวมและความสงบเสงี่ยมก็จะเกิดขึ้นเองเป็นอัตโนมัติ

 

เมื่อใจหยุดนิ่งได้สนิทเป็นหนึ่งเดียวกับพระธรรมกายในตัว สมณสัญญาก็จะเกิดขึ้นอย่างง่ายๆ และผ่อนคลาย สุขใจเต็มเปี่ยม ปีติแล้วก็ภาคภูมิใจ ความรู้สึกนี้จะหล่อเลี้ยงใจของเรา จนขยายมาสู่ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ตลอดจนกระทั่งสิ่งแวดล้อม มันจะขยายไปในบรรยากาศ

 

สมณสัญญาจะรุกเงียบไปในบรรยากาศ แผ่ขยายออกไปเอง ใครได้เห็นเรา เขาก็จะ มีความรู้สึกที่จิตใจสูงส่ง แล้วก็เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตจิตใจของเขาขึ้นมาเอง เกิดความสัทธาปสาทะขึ้นมาเอง และก็จะมีความรู้สึกว่า การเห็นสมณะอย่างนี้เป็นมงคล เป็นการเห็นอัน ประเสริฐ เลิศกว่าการเห็นในสิ่งที่ตัวเคยเห็นผ่านๆ มา ไม่ว่าคน สัตว์ สิ่งของ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมอะไรต่างๆ เหล่านั้น

 

และความรู้สึกว่า อยากจะเข้าใกล้ อยากจะฟังธรรม อยากจะปฏิบัติธรรม และอยากจะเข้าถึงธรรมอย่างเราก็จะเกิดขึ้นกับตัวเขาผู้พบเห็นสมณะ ความเป็นมงคล และความเป็นเนื้อนาบุญ ก็จะเคลื่อนที่ได้ในทุกหนทุกแห่ง

 

การบวชคราวนี้เราก็จะสมปรารถนา เป็นการสืบทอดลมหายใจแห่งพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไปอย่างธรรมชาติ อย่างเป็นไปเอง ด้วยความสุขใจและผ่อนคลาย

 

เพราะฉะนั้น เวลาที่เหลืออยู่นี้ ให้ลูกทุกคน ลูกพระธรรมทายาททุกรูป ตั้งใจฝึกใจให้หยุดนิ่ง นุ่มอย่างสบายๆ ตามหลักวิชชาที่ได้แนะนำมานี้ เช้านี้อากาศกำลังสดชื่น แจ่มใส เย็นสบาย เหมาะสมที่ลูกทุกคนผู้มีบุญ จะได้ประกอบความเพียรอย่างกลั่นกล้า อย่างถูกหลักวิชชา ก็ให้ตั้งอกตั้งใจ ฝึกฝนอบรมตนกันต่อไป ขอให้ลูกทุกคนสมหวังดังใจ ในการเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว ทุกๆ คนนะลูกนะ ต่างคนต่าง นั่งกันไปเงียบๆ 


Add Comment
2553, ตกศูนย์
วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2565
  • Share
  • Share

Related Posts

Newer Older 🏠

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Translate

นำนั่งสมาธิโดยหลวงพ่อธัมมชโย

  • ▼  พ.ศ.2565 (362)
    • ▼  เดือน สิงหาคม (233)
      • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอ...
      • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
      • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
      • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
      • ม้าพยศ 450910F รอบค่ำ
      • วิธีปฏิบัติให้เข้าถึงประสบการณ์ภายใน 540724D รอบบ่าย
      • รสแห่งธรรมเลิศกว่ารสทั้งปวง 460112D รอบบ่าย
      • คิดพูดเรื่องละเอียดใจละเอียด 450909F รอบค่ำ
      • ประสบการณ์หนึ่งนาทีที่ใจหยุดนิ่ง 471114D รอบบ่าย
      • ยากตรงหยุดแรก 481225D รอบบ่าย
      • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
      • แผ่เมตตา และอธิษฐานจิต 500804F รอบค่ำ
      • มองผ่านๆ 451009F รอบค่ำ
      • ง่ายจึงจะถูกวิธี 520412C รอบสาย
      • ชีวิตที่ถูกหลอก 460824C รอบสาย
      • อารมณ์สบายอย่าฟังผ่าน 450928F รอบค่ำ
      • สติกับสบาย 361107C รอบสาย
      • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
      • ประโยชน์ของสมาธิ 540102D รอบบ่าย
      • ฐานที่ ๗ ตำแหน่งของผู้รู้ 540522D รอบบ่าย
      • สิ่งดีๆเริ่มต้นเมื่อใจหยุด 490709D รอบบ่าย
      • ใจหยุดหลุดพ้นทุกข์ 560707C รอบสาย
      • เราเกิดมาเพื่อแสวงหาธรรม 590327D รอบบ่าย
      • บุญจะได้ช่องเมื่อใจเราสบาย 590222D รอบบ่าย
      • สุขอื่นยิ่งกว่าใจหยุดนิ่งไม่มี 590306D รอบบ่าย
      • โอวาทปาติโมกข์ 590222E รอบเย็น
      • อย่ามองข้ามความสบาย 590207D รอบบ่าย
      • กายสบายใจสบายก็ง่ายนิดเดียว 590101D รอบบ่าย
      • ประสูติตรัสรู้ปรินิพพานตำแหน่งเดียวกัน 580601E รอบ...
      • พิธีจุดไฟแก้วสดุดีนักรบกองทัพธรรม 580510E รอบเย็น
      • ยังแข็งแรงอยู่ต้องหาที่พึ่งให้เจอ 580405D รอบบ่าย
      • อานุภาพของดวงบุญ 580304D รอบบ่าย
      • ทบทวนบุญบูชาข้าวพระ 570706D รอบบ่าย
      • ความสุขในกลาง 520906D รอบบ่าย
      • เข้าถึงธรรมได้วิเศษที่สุด 590403D รอบบ่าย
      • ใจกับกายหนึ่งเดียวกัน 570101D รอบบ่าย
      • ปริญญา DOU 560707D รอบบ่าย
      • พระผู้ปราบมารพยานตรัสรู้ธรรม 560714D รอบบ่าย
      • นึกถึงหลวงปู่ หลวงปู่นึกถึงเรา 560512D รอบบ่าย
      • เชื่อมสายบุญกับหลวงปู่พระผู้ปราบมาร 560505D รอบบ่าย
      • สร้างบุญกับหลวงปู่บุคคลผู้เลิศ 560519D รอบบ่าย
      • ธรรมกายคือเป้าหมายชีวิต 560414D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งอย่างเดียว 560428D รอบบ่าย
      • ทำความเพียรอย่างถูกหลักวิชชา 560331D รอบบ่าย
      • ชาวพุทธที่แท้จริง 560317D รอบบ่าย
      • อานิสงส์หยุดเป็นตัวสำเร็จ 560203D รอบบ่าย
      • ปีใหม่สร้างบารมีให้เข้มข้นขึ้น 560101D รอบบ่าย
      • ความตายไม่มีนิมิตหมาย 551223D รอบบ่าย
      • ความลับของชีวิต 551209D รอบบ่าย
      • ตามรอยพุทธองค์ 551125D รอบบ่าย
      • ป้อมปราการของชีวิต 551014D รอบบ่าย
      • ตกระแสธรรม 551028D รอบบ่าย
      • จุดเทียนใจ 550902D รอบบ่าย
      • แก้วกายสิทธิ์ 550826D รอบบ่าย
      • หาพระในตัวให้เจอ 550819D รอบบ่าย
      • อธิปไตยในตัว 550708D รอบบ่าย
      • บวชเรียนเพื่อพ้นโลก 550715D รอบบ่าย
      • การบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้า 550422C รอบสาย
      • เข้าถึงธรรมง่ายถ้าใจปล่อยวาง 550408D รอบบ่าย
      • บูชาหลวงปู่ด้วยพวงมาลัยดอกมะลิ 550401D รอบบ่าย
      • สิ่งอัศจรรย์ 550415D รอบบ่าย
      • โอวาทปาติโมกข์ 550307E รอบเย็น
      • อานิสงส์ตักบาตรในเส้นทางพระผู้ปราบมาร 550311D รอบบ่าย
      • บุญอยู่เบื้องหลัง 550318D รอบบ่าย
      • ภาพในกลางดวงบุญ 550325D รอบบ่าย
      • ทางมรรคผลนิพพาน 550219D รอบบ่าย
      • ทางรอด 550212D รอบบ่าย
      • ต้องยึดศูนย์กลางกายให้ได้ 550129D รอบบ่าย
      • ฉลองชัยชิตัง เม 550125E รอบเย็น
      • V-Starครั้งที่6 550128E รอบเย็น
      • เส้นทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ 541211D รอบบ่าย
      • หยุดนิ่งอย่างเดียว 541218D รอบบ่าย
      • ทำไมต้องสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ 541112D รอบบ่าย
      • กฐินประวัติศาสตร์ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม 541106D รอบบ่าย
      • จิตวิญญาณพระแท้ 541120D รอบบ่าย
      • ความปลื้มสร้างทุกสิ่ง 541127D รอบบ่าย
      • ทำบุญแล้วต้องปลื้ม 540828D รอบบ่าย
      • ชีวิตในสังสารวัฏเป็นทุกข์ 540814D รอบบ่าย
      • รางวัลแห่งความเพียร 540724D รอบบ่าย
      • สุขกับเฉยไปด้วยกัน 540717D รอบบ่าย
      • ทางมรรคผลนิพพาน 540717C รอบสาย
      • พระแท้ 540710D รอบบ่าย
      • อริยสัจ4 540619C รอบสาย
      • วันวิสาขบูชา 540517C รอบสาย
      • คุ้มครองโลกอย่างถูกหลักวิชชา 540422C รอบสาย
      • วิชชา3 540424D รอบบ่าย
      • เดินธุดงค์เพื่อการบำเพ็ญสมณธรรม 540422D รอบบ่าย
      • เส้นทางมรรคผลนิพพาน 540410C รอบสาย
      • อายุพระศาสนา 540320C รอบสาย
      • คุณลักษณะที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง 540313D รอบบ่าย
      • เหลี่ยมคูพญามาร 540327C รอบสาย
      • พญามารกลัวมนุษย์หยุดใจได้ 540227C รอบสาย
      • สันติภาพโลกเริ่มต้นจากสันติสุขภายใน 540218C รอบสาย
      • การเห็นภายใน 540213C รอบสาย
      • นึกถึงบุญ 540227D รอบบ่าย
      • ความลับของชีวิต 540220D รอบบ่าย
      • พระธรรมกายภายใน 540109D รอบบ่าย
      • ง่ายจึงถูกวิธี 540109C รอบสาย
      • ความสำคัญของฐานที่7 531205D รอบบ่าย
      • วิชชา3 531219C รอบสาย
    • ►  เดือน กรกฎาคม (123)
    • ►  เดือน มิถุนายน (1)
    • ►  เดือน พฤษภาคม (5)

บทความที่ได้รับความนิยม

  • มีความสุขทุกวันแม้วันตาย 500527D รอบบ่าย
    กายธรรมควรเทิดไว้    ในใจ เป็นสรณะภายใน        เที่ยงแท้ กว่านี้ บ่ มีใด               เทียบได้ น้อมนบท่านไว้แล… อ่านต่อ
  • ๔ ส. สำเร็จ/เราเป็น ศูนย์กลางของจักรวาล 470102C รอบสาย
    จำคำนี้ “สักแต่ว่า” นะลูกเอ๋ย จะเปิดเผยสิ่งล้ำค่าให้ลูกเห็น เห็นความมืดติดตาอย่าลำเค็ญ สักแต่ว่าฉันเห็นก็เป็นพอ … อ่านต่อ
  • ทำลาย สุสานแห่งความกลัว 450621F รอบค่ำ
    กระรอกวิ่งไม่วิ่งเหมือนชะมด วิ่งแล้วหยุดร้อง “อด อด” กระดกหาง นั่งธรรมะเดี๋ยวทำเดี๋ยวทิ้งขว้าง ก็เหมือนอย่างกระ… อ่านต่อ
  • วิธีใช้บุญ/ความพร้อม ไม่มีในโลก 500708D รอบบ่าย
    ความสุขที่หยุดได้ ในกลาง เป็นสุขสุดตามทาง พุทธเจ้า สะอาดสงบสว่าง พราวแผ้ว หยุดนิ่งทุกค่ำเช้า จักได้สุดธรรม ตะวั… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 450620F รอบค่ำ
    หยุด คือสุดยอดแท้ ศาสตร์ศิลป์ หยุด พระธรรมหลั่งริน ธารแก้ว หยุด อาจเผด็จสิ้น มารพ่าย หยุด นิ่งดิ่งได้แล้ว สุขล้… อ่านต่อ
  • อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ 530502D รอบบ่าย
    อานิสงส์บุญบูชาข้าวพระ วันอาทิตย์ที่   ๒   พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมกายสากล ปรั… อ่านต่อ
  • ตามใจเขาไปก่อน 450520F รอบค่ำ
    ตามใจเขาไปก่อน   วันจันทร์ที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕    ( ๑๙.๐๐ - ๒๐.๑๕ น.)   บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย  สภา… อ่านต่อ
  • หยุดเป็นตัวสำเร็จ 470208D รอบบ่าย
    หยุดใจนิ่งสนิทไว้      กลางกาย เป็นจุดสำคัญหมาย            สู่เป้า ตัวสมมติถูกมลาย               สลายหมด สำเร็จ… อ่านต่อ
  • นิวรณ์5_Let it be 480116D รอบบ่าย
    หากซึ้งคำพ่อได้ สั่งสอน จงอย่าได้เกี่ยงงอน ค่ำเช้า ทั้งยืนนั่งเดินนอน หมั่นตรึก ระลึกถ้อยพุทธเจ้า ย่างก้าวเดินต… อ่านต่อ
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด 500225D รอบบ่าย
    สิ่งที่สำคัญที่สุด วันอาทิตย์ที่   ๒๕   กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๕๐ ( ๑๓ . ๓๐ - ๑๕ . ๓๐ น .) งานบุญวันอาทิตย์ ณ  สภาธรรมก… อ่านต่อ
นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ป้ายกำกับ

2536 2540 2543 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 กระแสธารแห่งความบริสุทธิ์ กายดั้งเดิม กายตรัสรู้ธรรม กายธรรม กายสบายใจสบาย การแก้ไขอุปสรรคการปฏิบัติธรรม การตรึก การนึกนิมิต การหลับตา การเห็นภาพ การเห็นภาพภายใน กำลังใจการปฏิบัติธรรม ความใจเย็น ความพอใจ ความมืดเป็นมิตร ความสบาย ความสำคัญของ ฐานที่ ๗ ความหมายของธรรมะ ความหมายวิปัสสนา ง่ายแต่ลึก1 ง่ายแต่ลึก2 ง่ายแต่ลึก3 ง่ายแต่ลึก4 จุดเทียนใจ จุดไฟแก้ว จุดสบาย ฐานทั้ง7 ดวงธรรม ดวงปฐมมรรค ตกศูนย์ ตถาคตคือธรรมกาย ตามติดยาย ทางเดินของใจ ทางสายกลาง ทำง่ายมาก ได้ง่ายมาก นิวรณ์5 นึกนิมิต บวชสองชั้น บวชอุบาสิกาแก้ว ประโยชน์ของสมาธิ ไปเกิดมาเกิด พระผู้ปราบมาร วันวิสาขบูชา วิชชา ๓ วิสาขบูชา ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายฐานที่7 สติกับสบาย สติสบาย สบาย สม่ำเสมอ สายตึง สายหย่อน สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรม หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่บรรลุธรรม เห็นไม่เห็นก็ไม่เห็นจะเป็นไร เห็นแสงสว่าง อธิษฐานจิต อนุสติ10 อวิชชา อานิสงส์ใจหยุด อานิสงส์ถวายประทีป อานิสงส์บูชาข้าวพระ อุปสรรคและวิธีแก้ไขสมาธิ โอวาทปาติโมกข์ vstar

copyright © นำนั่งสมาธิ โดย หลวงพ่อธัมมชโย All Right Reserved . Created by PhotoTheme . Powered by Blogger